xs
xsm
sm
md
lg

“มาร์ค” ค้าน ม.44 เลิกไพรมารี แนะใช้ กม.แก้ ถาม รปช.หนุน “เอนก” จับมือ พท.หรือไม่

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ (แฟ้มภาพ)
หัวหน้า ปชป.ย้อนคนบอกอย่าทำไพรมารี แล้วจะตอบสังคมอย่างไร ค้านใช้ ม.44 ยกเลิก แนะแก้ กม.ด้วย กม. ยัน ปชป.พร้อมเดินหน้าทำไพรมารี ชี้ควรปลดล็อกให้ กกต.-พรรคฯ ทำงานได้ ไม่แปลกใจ “เอนก” พร้อมลืมอดีต และจับมือ พท.ดันนิรโทษกรรม ย้อนถามสมาชิก รปช.เห็นด้วยหรือไม่ อัดยุทธศาสตร์ชาติเขียนไม่เคลียร์จนไม่เป็นยุทธศาสตร์ เชื่อมีปรับแก้แน่นอน

วันนี้ (18 มิ.ย.) นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า หากบอกว่าอย่าทำไพรมารีเลย แล้วจะตอบสังคมอย่างไร ที่บอกให้ประชาชนมีส่วนร่วม ปัญหาทั้งหมด เหมือนแม่น้ำ 5 สายไม่ทำให้ทุกอย่างสอดคล้องกับสิ่งที่โฆษณาหรือสิ่งที่พูดไว้ มาสร้างอุปสรรคกันเอง การไม่ปลดล็อกก็ทำให้การทำไพรมารียากยิ่งขึ้น และการที่ไม่รู้ว่าแบ่งเขตเลือกตั้งอย่างไรก็ไม่สามารถทำไพรมารีโหวตได้ เรื่องแบ่งเขตเป็นตัวปัญหามาจากตัวล็อกที่ คสช.ทำเอาไว้หลายชั้น คือ 1. เมื่อทำกิจกรรมทางการเมืองไม่ได้ คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) จะแบ่งเขตเลือกตั้งต้องไปปรับฟังความคิดเห็นจากประชาชน ซึ่งเขาก็ตีความว่าการไปรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนเป็นกิจรรมทางการเมือง แม้ กกต.จะบอกว่าแบ่งไว้หลายแบบแต่เขาเดินหน้าไม่ได้ และ 2. สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) จงใจให้กฎหมายเลือกตั้ง ส.ส. แม้ประกาศแล้วก็ยังไม่ให้ใช้บังคับเลื่อนไป 90 วัน กลายเป็นว่าถึง กกต.ทำเรื่องแบ่งเขตเสร็จก็ยังไม่สามารถประกาศเขตเลือกตั้งอย่างเป็นทางการได้เพราะต้องรอกฎหมายเลือกตั้งบังคับใช้ก่อน และกลับมาพันกฎหมายพรรคการเมือง ถ้ายังไม่สามารถแบ่งเขตเลือกตั้งได้ การจัดตั้งสาขาถ้าไม่ใช่พวกที่ทำพิธีกรรมตามกฎหมายก็ยังไม่ได้เพราะแต่ละสาขาต้องมีสมาชิก 500 คน เมื่อสาขาตั้งไม่ได้ คนที่จะทำไพรมารีควรจะเป็นสาขา ในกรณีตัวแทนพรรคประจำจังหวัดคือกรณีที่ไม่มีสาขา จึงย้อนกลับไปว่าสิ่งที่ทำมาทั้งหมดกลายเป็นส่งเสริม อยากสลาย อยากได้เปรียบ อยากคุมให้การเมืองเป็นแบบเก่าๆ ก็ทำตามกฎหมายเป็นพิธีกรรมไป

ส่วนที่มีการขอให้ใช้มาตรา 44 ยกเลิกการทำไพรมารีนั้น นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า ตนไม่นิยมเรื่องมาตรา 44 และไม่ค่อยแน่ใจว่าจะเป็นรูปแบบที่เหมาะสมหรือไม่ คำสั่ง คสช.ต้องแก้ด้วยคำสั่ง คสช. ฉะนั้นเรื่องปลดล็อกก็ใช้ได้ เพราะใช้มาตรา 44 สร้างไว้ แต่หากมาตรา 44 ไปใช้กับกฎหมายจะมีปัญหา เพราะกฎหมายอยู่ในขั้นตอนการทูลเกล้าฯ ถวาย เป็นห่วงเวลาของการใช้พระราชอำนาจ ยังไม่มีใครบอกได้ว่ากฎหมายจะตราออกมาอย่างนี้ เพราะพระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจอาจจะยับยั้ง หรือเห็นชอบก็ตาม เมื่อยังไม่เป็นกฎหมาย แล้วจะใช้มาตารา 44 ถ้ากฎหมายออกมากลายเป็นว่ากฎหมายออกมาทีหลังมาตรา 44 ก็ต้องแก้คำสั่งอีก นี่คือความสบสนที่เกิดขึ้น เพราะฉะนั้นในมุมของตนที่จะไปแตะต้องเรื่องกฎหมายในขณะนี้ทำได้ยาก ถ้าจะทำได้คือเรื่องปฏิบัติ เช่นตอนนี้ทำอย่างไรให้พรรคหาสมาชิกได้ทำกิจกรรมได้ เพื่อให้ระบบของพรรคมีความพร้อมมากที่สุด หรือปลดล็อกเพื่อให้ กกต.ทำงานได้ ทั้งนี้ ขอย้ำอีกครั้งว่าถ้าให้เดินหน้าทำไพรมารี ประชาธิปัตย์เราทำเต็มที่

ส่วนที่นายอเนก เหล่าธรรมทัศน์ แกนนำก่อตั้งพรรครวมพลังประชาชาติไทย (รปช.) ระบุว่า ไม่ขัดแย้งที่จะร่วมงานกับพรรคเพื่อไทย และจะทำกฎหมายนิรโทษกรรม นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า กลุ่มคนที่ไปทำพรรคนี้ส่วนใหญ่บอกว่าผลักดันการปฏิรูป และสู้กับระบอบทักษิณ แต่นายเอนกพูดเสมอว่าจะทำพรรคแบบลืมอดีต แต่ตอนนี้ท่าทีของนายอเนกบอกว่าพร้อมจะจับมือกับทุกพรรค พร้อมลืมอดีตและพูดถึงเรื่องนิรโทษกรรมซึ่งก็ไม่น่าแปลกใจเพราะว่าในการทำงานของนายเอนก ที่ผ่านมาหลายสถานะก็ได้เสนอความคิดทำนองนี้ ฉะนั้นก็อยู่ที่สมาชิก รปช.เองว่าเห็นด้วยหรือไม่ และการที่จะทำเรื่องนิรโทษกรรมหรือปรองดอง มันสลายขั้วหรือกลุ่มการเมืองจริงหรือไม่ ตนสนับสนุนให้นิรโทษกรรมคดีของประชาชนเล็กน้อย แต่ในเรื่องของบางคดีถ้าเรานิรโทษกรรมเหมือนกับเรากำลังส่งสัญณาณให้ใช้ความรุ่นแรง ในที่สุดก็ไม่มีความผิด หรือดีทุจริต ไม่ได้เกี่ยวอะไรกับการเมืองแต่เป็นการปล้นทรัพยากรของแผ่นดิน เพียงเพราะเขามีอำนาจ อันนี้อันตรายมาก

นายอภิสิทธิ์ยังกล่าวถึงร่างยุทธศาสตร์ชาติว่า ตนไม่แน่ใจว่าคนที่บอกจะฉีกยุทธศาสตร์ อ่านและชี้ให้เห็นได้หรือมว่ามีอะไรบางที่จำเป็นถึงขั้นตอนฉีก ถ้าเอา 6 ข้อที่เป็นยุทธศาสตร์ ตนไม่แน่ใจว่ามีตรงไหนที่เป็นปัญหา ส่วนเนื้อหาก็เป็นเรื่องปลก ตนดูแล้วเขียนออกมาก็ไม่ค่อยเป็นยุทธศาสตร์ เพราะการเป็นยุทธศาสตร์ต้องมาจัดลำดับความสำคัญว่าต่อไปนี้ทิศทางจะเดินต้องไปอย่างนี้ ทรัพยากรที่ใช้ต้องไปอย่างนี้ และยุทธศาสตร์ 20 ปี ที่เขียนมาเหมือนนั่งไร่เรียงสิ่งที่อยากให้เกิด สิ่งที่อยากจะได้ และ6 ข้อที่ว่าใครไม่อยากได้บ้าง แต่ไม่ค่อยชัดเจนเท่าไหร่ และมีการบังคับกันจริงจังแค่ไหน ทำไมเราอยากได้ทุกอย่างแล้วไม่เอาทุกอย่าง คำตอบคือทรัพยากรไม่ได้มีทุกอย่างเราต้องเลือก และสิ่งที่อยากได้บางทีขัดกันเอง เช่นการลดความเหลื่อมล้ำ หรือยากได้พลังงานสะอาด แต่รัฐบาลยังเดินหน้าทำพลังงานถ่านหิน หากทำโรงไฟฟ้าถ่านหิน ถือว่าขัดยุทธศาสตร์ชาติหรือไม่ ตนถึงบอกว่า เขาพยายามเขียนให้กว้างเลยไม่ค่อยเป็นยุทธศาสตร์ สิ่งที่เป็นปัญหาคือถ้าเอามาเป็นเงื่อนไขทางการเมืองก็จะเกิดความยุ่งยากขึ้น

“สำหรับจุดยืนประชาธิปัตย์ ผมยืนยันว่าพรรคมีวิสัยทัศน์อนาคตของประเทศ เป็นไปได้ว่าเมื่อเข้าไปทำงาน หรือเมื่อนำเสนอนโยบายในการเลือกตั้ง บางเรื่องอาจจะถูกตีความว่าไม่ตรง ไม่อยู่ในยุทธศาสตร์ แต่ถึงขั้นจะขัดก็ยังไม่แน่ใจ เพราะถ้าเขียนกว้างแบบนี้ แต่ผมก็จะเสนอ ถ้าประชาชนเห็นพร้องก็ต้องพยายามไปปรับแก้ให้ไปด้วยกันได้ เพราะไม่ต้องการให้หลังการเลือกตั้งสังคมกลับสู่ความขัดแย้งทันที โดยเอารัฐธรรมนูญและยุทธศาสตร์ชาติมาเป็นสัญลักษณ์ของการต่อสู้ ผมอยากเห็นรัฐบาลหลังการเลือกตั้งแก้ปัญหาของประชาชน เรียกศรัทธาให้กลับคืนสู่ฝ่ายการเมืองให้ได้เสียก่อน แล้วค่อยบอกกับประชาชนว่ามีความจำเป็นในการที่จะต้องแก้รัฐธรรมนูญ แก้ยุทธศาสตร์ชาติเพื่อให้เดินหน้าได้ดียิ่งขึ้นต่อไป ในใจผมในที่สุดทั้งรัฐธรรมนูญและยุทธศาสตร์ชาติคงต้องมีการปรับแก้แน่ แต่ไม่อยากให้สังคมกระโดดเข้าไป พอหลังการเลือกตั้งปั๊บก็เอาสิ่งเหล่านี้มาเป็นสัญลักษณ์ความขัดแย้งรอบใหม่ สุดท้ายประชาชนคนไทยกับประเทศก็เสียโอกาสในเรื่องอื่นๆ อีก” นายอภิสิทธิ์กล่าว


กำลังโหลดความคิดเห็น