xs
xsm
sm
md
lg

ชู “ตำนานแม่นากพระโขนง” เป็นมรดกภูมิปัญญา กทม. สาขาวรรณกรรมพื้นบ้าน - “กระโดดเชือก” สาขาการละเล่นพื้นบ้าน

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online


ชู “ตำนานแม่นากพระโขนง” เขตสวนหลวง เป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม กทม. สาขาวรรณกรรมพื้นบ้านและภาษา พร้อมอีก 5 สาขา เตรียมเสนอขึ้นบัญชีในระดับชาติ ประจำปี 2561 เผยสำรวจจาก “มรดก กทม.105 รายการ” ระหว่างปี 2559-2561 ส่วน “กระโดดเชือก” ได้สาขาการละเล่นพื้นบ้าน กีฬาพื้นบ้าน และศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัว

วันนี้ (17 เม.ย.) มีรายงานจากศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร ว่าเมื่อเร็วๆ นี้ นายภัทรุตม์ ทรรทานนท์ ปลัดกรุงเทพมหานคร (กทม.) ในฐานะประธานการประชุมคณะกรรมการส่งเสริมและรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมกรุงเทพมหานคร ออกประกาศรายการมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมกรุงเทพมหานคร ประจำปี 2560 ตามที่คณะกรรมการส่งเสริมและรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม กรุงเทพมหานคร ดำเนินการร่วมกับชุมชนเพื่อรวบรวมมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมในพื้นที่นำไปเผยแพร่แก่ประชาชนเพื่อตระหนักรับรู้ถึงความสำคัญของภูมิปัญญาท้องถิ่น ประชาชนสามารถค้นคว้า อ้างอิงและตรวจสอบได้

โดยผลการคัดเลือก เพื่อประกาศให้เป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมกรุงเทพมหานคร ประจำปี 2560 จำนวน 6 รายการ ประกอบด้วย 1. สาขาวรรณกรรมพื้นบ้านและภาษา “ตำนานแม่นากพระโขนง เขตสวนหลวง” 2. สาขาศิลปะการแสดง “ละครชาตรีบางกอกถิ่นสนามควาย” เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย 3. สาขาแนวปฏิบัตทางสังคม พิธีกรรม ประเพณี และเทศกาล “ประเพณีอัฏฐมีบูชา วัดด่าน เขตยานนาวา” 4.สาขาความรู้และการปฏิบัติเกี่ยวกับธรรมชาติและจักรวาล “ขนมฝรั่งกุฏีจีน เขตธนบุรี” 5. สาขาช่างฝีมือดั้งเดิม “ขันลงหินบ้านบุ เขตบางกอกน้อย” และ 6. สาขาการละเล่นพื้นบ้าน กีฬาพื้นบ้าน และศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัว “กระโดดเชือก”

มีรายงานว่า ที่ประชุมคณะกรรมการส่งเสริมและรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมกรุงเทพมหานคร ที่มีผู้ทรงคุณวุฒิทั้ง 6 สาขา จากหน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชน ร่วมกับสำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว และสำนักงานเขตกรุงเทพมหานคร (กทม.) ได้พิจารณาคัดเลือกรายการมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ที่จะจัดทำข้อมูลเพื่อเสนอขึ้นบัญชีในระดับชาติ ประจำปี 2561 โดยเป็นรายการที่ได้ทำการ จำนวน 88 รายการ รวมทั้งมรดกภูมิปัญญาที่คณะกรรมการฯ นำเสนออีก 17 รายการ รวมเป็น 105 รายการ

โดย 105 รายการ ที่เข้ารอบ เช่น สาขาวรรณกรรมพื้นบ้านและภาษา 4 รายการได้แก่ 1. ภาษาไทยสำเนียงกรุงเทพ 2. ภาษาอาหรับ และภาษามลายู 3. ภาษามอญ 4. ตำนานแม่นากพระโขนง เขตสวนหลวง สาขาศิลปะการแสดงจำนวน 16 รายการ ได้แก่ 1. โขนและหุ่นละครเล็ก จอมทอง 2. วงดนตรีไทยชุมชนศาลเจ้าพ่อจุ้ย เขตตลิ่งชัน 3. วงดนตรีไทยและการแสดงชุมชนบ้านคู่คลอง เขตตลิ่งชัน 4. เพลงวณิพก : ขอทานกระยาสารท เขตทวีวัฒนา 5. ลำตัดหลานหวังเต๊ะ เขตทุ่งครุ 6. ปี่พาทย์ (ตระกูลพาทยโกศล) เขตธนบุรี 7. ทะแยมอญหมู่บ้านมอญ ชุมชนบางกระดี่ เขตบางขุนเทียน 8. โขนสดคณะโขนประยุทธ ดาวใต้ เขตประเวศ 9. ลิเกเลียบชุมชนทับช้างล่าง ฝั่งธน เขตประเวศ 10. ละครชาตรีบางกอกถิ่นสนามควาย เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย 11. บ้านดุริยประณีต เขตพระนคร 12. กระตั้วแทงเสือ เขตภาษีเจริญ 13. ลำตัดคณะแม่แววตา ลูกแม่สังเวียนใหญ่ เขตวัฒนา 14. ดิเกร์ฮูลูชุมชนสุเหร่าบ้านดอน เขตวัฒนา 15.นเสบ (มุสลิม) เขตหนองจอก 16. หุ่นสายเสมา เขตหลักสี่

สาขาแนวปฏิบัติทางสังคมพิธีกรรม ประเพณี และเทศกาล จำนวน 8 รายการ ได้แก่ 1. การตั้งศาลพระภูมิเขตดอนเมือง 2. ฮะเมิน (สงกรานต์มอญ บ้านบางกระดี่) เขตบางขุนเทียน 3. งานประเพณีแห่เรือชักพระหลวงพ่อสัมฤทธิ์ วัดเวตวันธรรมาวาส (วัดเชิงหวาย) เขตบางซื่อ 4. ประเพณีอัฏฐมีบูชาวัดด่าน เขตยานนาวา 5. ประเพณีตักบาตรพระร้อยทางเรือ(วัดสุทธาโภชน์)เขตลาดกระบัง 6. การทำขวัญข้าวเขตลาดกระบัง 7. พิธีตัมมัตอัลกุรอาน และพิธีสุหนัตชุมชนบ้านดอน เขตวัฒนา 8. เทศกาลตรุษจีน เทศกาลงานเจ เยาวราช และเทศกาลวันไหว้พระจันทร์ เขตสัมพันธวงศ์

สาขาความรู้และการปฏิบัติเกี่ยวกับธรรมชาติและจักรวาลจำนวน 9 รายการ ได้แก่ 1. แหนมดอนเมือง เขตดอนเมือง 2. ผงสีฟันทนดี เขตดอนเมือง 3. การกวนกระยาสารท เขตทวีวัฒนา 4. ขนมฝรั่งกุฏีจีน เขตธนบุรี 5. ขนมตึงตัง เขตบางนา 6. ขนมไทยเก้ามงคล เขตประเวศ 7. บำรุงชาติสาสนายาไทย (บ้านหมอหวาน) เขตพระนคร 8. สวนอนุรักษ์ครูหวาน เขตยานนาวา 9. สวนเกษตรดาดฟ้าเขตหลักสี่

สาขางานช่างฝีมือดั้งเดิม จำนวน 36 รายการ ได้แก่ 1. ศิลปะไม้ดัดและเขามอของไทย (ไม้ตำรา) เขตคลองเตย 2. บ้านโขนไทย (หัวโขนไทย) ชุมชนซอยวัดสุวรรณเขตคลองสาน 3. กลุ่มอาชีพภูมิปัญญาพ่อ (ทำโต๊ะหมู่บูชา) เขตคลองสาน 4. บ้านเรือนไทยพัฒนาศาลพระภูมิไม้สัก เขตคลองสาน 5. ป้านางผ้าฝ้าย (สายใยแห่งภูมิปัญญา)เขตคลองสาน 6. งานประดิษฐ์หัวโขนตุ๊กตารำไทย เขตคันนายาว 7. เครื่องทองลงหินชุมชนประดิษฐ์โทรการ เขตจตุจักร 8. งานประดิษฐ์หุ่นมือ เขตจอมทอง 9. งานประดิษฐ์พัดหนังตะลุง เขตจอมทอง 10. ขลุ่ยบ้านลาว เขตธนบุรี 11. ขันลงหินบ้านบุ เขตบางกอกน้อย 12. เรือกระทงกาบมะพร้าว เขตบางกอกน้อย 13. หล่อพระบ้านช่างหล่อ เขตบางกอกน้อย 14. เรือไทยโบราณจำลอง เขตบางคอแหลม 15. สมุดข่อย เขตบางซื่อ 16. โอ่งแดงชาตรี เขตบางบอน 17. โอ่งแดงชาตรี เขตบางพลัด

18. การเจียระไนพลอย ชุมชนบ้านเจียระไนพลอย เขตประเวศ 19. การปักผ้าสตรีชาวมุสลิม เขตประเวศ 20. บาตรบ้านบาตร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย 21. ปักชุดโขนละครรำไทย ชุมชนตรอกเขียนนิวาสน์ เขตพระนคร 22. ข้าวต้มน้ำวุ้นชุมชนวัดสามพระยา เขตพระนคร 23. แทงหยวกชุมชนวัดใหม่อมตรส เขตพระนคร 24. เครื่องถม ขันน้ำพานรอง ชุมชนบ้านพานถม เขตพระนคร 25. เย็บสบงจีวรและสัปทน ชุมชนวังกรมพระสมมตอมรพันธ์ เขตพระนคร 26. ช่างทองชุมชนมัสยิดจักรพงษ์ เขตพระนคร 27. ทองคำเปลวย่านมัสยิด บ้านตึกดิน เขตพระนคร 2. อู่วิเชียรซ่อมรถโบราณ เขตพระนคร 28. ผ้าไหมบ้านครัว เขตราชเทวี 30. เครื่องประดับลงยาราชาวดี เขตวังทองหลาง 31. เครื่องดนตรีไทยบ้านรื่นเริง เขตสวนหลวง 32. กรงนกเขตหนองจอก 33. หัวโขนชุมชนตลาดบางเขน เขตหลักสี่ 34. บ้านหุ่นกระบอกไทย เขตหลักสี่ 35. ชุมชนทำว่าว เขตหลักสี่ 36. งานแทงหยวก

สาขาการละเล่นพื้นบ้านกีฬาพื้นบ้าน และศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัว 7 รายการ ได้แก่ 1. กระโดดเชือก 2. วิ่งสวมกระสอบ 3. รีรีข้าวสาร 4. สะบ้าทอยบ้านช่างหล่อ เขตบางกอกน้อย 5. ฮะนิ เจิ้น (สะบ้าทอย) เขตบางขุนเทียน 6. การแข่งขันเรือยาว เขตสะพานสูง 7. ศิลปะป้องกันตัวค่ายพระยาตาก (นายกฤษณ์ฤทธิ์เดชา) เขตหนองแขม



กำลังโหลดความคิดเห็น