ตามดู “สถานการณ์แรงงานต่างด้าว” ก่อนรัฐบาลสั่งถอยขยายเวลาบังคับใช้ พ.ร.ก.ต่างด้าว 120 วัน พบคนต่างด้าวได้รับอนุญาตทำงานทั่วราชอาณาจักรทั้งสิ้น 1,481,535 คน รอพิสูจน์สัญชาติ 855,575 คน เผยเป็นแรงงานต่างด้าวพม่า ลาว กัมพูชา ได้รับอนุญาตทำงาน 1,267,671 คน ประเภทงานที่ได้รับความนิยมสูงุด 3 อันดับแรก ก่อสร้าง 153,127 คน ให้บริการต่างๆ 119,671 คน ภาคเกษตรและปศุสัตว์ 112,851 คน
วันนี้(3 ก.ค.) มีรายงานจากกระทรวงแรงงานว่า เมื่อเร็วๆ นี้ กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน ได้เผยแพร่สถานการณ์แรงงานต่างด้าว ณ เดือนพฤษภาคม 2560 พบว่าคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตทำงานทั่วราชอาณาจักร มีจำนวนทั้งสิ้น1,481,535 คน จำแนกตามลักษณะการเข้าเมืองสรุปรายละเอียดได้ ดังนี้ 1. คนต่างด้าว มาตรา 9 ประเภททั่วไป มีจำนวน1,369,945 คน - ตลอดชีพ* 241 คน - ประเภททั่วไป 102,033 คน - พิสูจน์สัญชาติ 855,575 คน - นำเข้าตาม MOU 412,096 คน 2. คนต่างด้าว มาตรา 12 ส่งเสริมการลงทุนและกฎหมายอื่นๆ 43,848 คน 3. คนต่างด้าว มาตรา 13 ชนกลุ่มน้อย 53,776 คน 4. คนต่างด้าว มาตรา 14 คนต่างด้าวที่เข้ามาทำงานในลักษณะไปกลับ หรือตามฤดูกาล 13,966 คน
โดยสามารถจำแนกได้ดังนี้ มาตรา 9 ประเภททั่วไป ประเภทอาชีพที่ได้รับอนุญาตทำงานมากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ 1. ผู้จัดการฝ่ายอื่นๆ 36,092 ตำแหน่ง 2. ผู้ประกอบอาชีพด้านการสอน 23,642 ตำแหนง 3. กรรมการผู้จัดการ ผู้บริหารระดับสูง 22,803 ตำแหน่ง มาตรา 12 ประเภทส่งเสริมการลงทุน ประเภทอาชีพที่ได้รับอนุญาตทำงานมากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ 1. ผู้จัดการฝ่ายอื่นๆ 22,939 ตำแหน่ง 2. ช่างเทคนิคด้านต่างๆ 4,535 ตำแหน่ง 3. สถาปนิก วิศวกร 4,500 ตำแหน่ง มาตรา 13 ประเภทชนกลุ่มน้อย ประเภทอาชีพที่ได้รับอนุญาตทำงานมากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ 1. งานกรรมกร 44,919 ตำแหน่ง 2. งานทำสวนผักและผลไม้ 2,385 ตำแหน่ง 3. งานซักรีดเสื้อผ้า 239 ตำแหน่ง
สำหรับสถานการณ์แรงงานต่างด้าว 3 สัญชาติ (พม่า ลาว และกัมพูชา) ณ เดือนพฤษภาคม ได้รับอนุญาตทำงานตาม มาตรา 9 มีจำนวนทั้งสิ้น 1,267,671 คน สรุปรายละเอียดได้ ดังนี้ ประเภทพิสูจน์สัญชาติ 855,575 คน - นำเข้าตาม MOU 412,096 คน
งานที่ได้รับอนุญาตทำงานใน 2 ตำแหน่งงาน คือ งานกรรมกร และงานรับใช้ในบ้าน ใน 24 ประเภทกิจการ “ประเภทพิสูจน์สัญชาติ” ประเภทกิจการที่ได้รับอนุญาตทำงานมากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ 1. กิจการก่อสร้าง 153,127 คน 2. การให้บริการต่างๆ 119,671 คน 3. เกษตรและปศุสัตว์ 112,851 คน และ “ประเภทนำเข้าตาม MOU” ประเภทกิจการที่ได้รับอนุญาตทำงานมากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ 1. การให้บริการต่างๆ 85,050 คน 2. กิจการก่อสร้าง 71,382 คน 3. กิจการต่อเนื่องการเกษตร 59,296 คน
มาตรา 14 คนต่างด้าวที่เข้ามาทำงานในลักษณะไปกลับ หรือตามฤดูกาล 13,966 คน ประเภทกิจการที่ได้รับอนุญาตทำงานมากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ 1. เกษตรและปศุสัตว์ 5,624 คน 2. กิจการก่อสร้าง 2,064 คน 3. ประมง 1,576 คน
หมายเหตุ : คนต่างด้าวประเภทตลอดชีพ สำรวจเมื่อ 3 มีนาคม 2560 ไม่รวมยอดการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าว One Stop Service ทั่วประเทศ (พม่า ลาว กัมพชูา และเวียดนาม)
เมื่อช่วงเช้า พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม เปิดเผยว่า รัฐบาลอยู่ระหว่างการพิจารณาความจำเป็นในการเสนอให้นายกรัฐมนตรี ในฐานะหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ออกประกาศตามมาตรา 44 เพื่อให้ขยายเวลาการบังคับใช้ข้อกำหนดบางประกาศใน พ.ร.ก.การบริหารจัดการของแรงงานต่างด้าว ออกไปเป็นเวลา 120 วันเพื่อให้นายจ้างและแรงงานต่างด้าวดำเนินการด้านเอกสารต่างๆ ให้ถูกต้องตามกฎหมาย ทั้งนี้ คาดว่าจะเสนอเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) และ คสช.ในวันที่ 4 ก.ค.นี้