xs
xsm
sm
md
lg

กฤษฎีกา ชี้ช่อง “สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน” เริ่มสรรหาบอร์ดสถาบันฯชุดใหม่ได้ แม้ร่าง กม.ใหม่ ยังไม่เสนอ ครม.

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online


กฤษฎีกา ชี้ช่อง “สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน” สามารถเริ่มกระบวนการสรรหาประธาน - กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ใน “บอร์ดสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน” ที่ครบวาระ 4 ปีต่อไปได้ แม้กระบวนการร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันวิจัย แสงซินโครตรอน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... จะยังอยู่ในขั้นตอนร่าง กม. ใหม่ ใน ก.พ.ร. เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีอยู่

วันนี้ (2 มิ.ย.) มีรายงานจากสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ว่า นายดิสทัต โหตระกิตย์ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา ลงนามในเรื่องเสร็จที่ 662/2560 เผยแพร่ กรณีประเด็น คณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ 13) ได้พิจารณาข้อหารือของสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) เพื่อสอบถามถึงความชัดเจนในข้อกฎหมาย ประเด็นการดำเนินสรรหาประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการบริหารสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน ที่ได้ครบวาระการดำรงตำแหน่ง 4 ปี ไปเมื่อวันที่ 6 พ.ค. 2560 แต่คาบเกี่ยวกับกระบวนการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันวิจัย แสงซินโครตรอน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (จัดตั้งสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) พ.ศ. 2551 ให้สอดคลองกับ พระราชบัญญัติองค์การมหาชน พ.ศ. 2542 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติองค์การมหาชน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2559)

โดย คณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ 13) เห็นว่า มาตรา 191 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติองค์การมหาชน พ.ศ. 2542 กำหนดให้คณะรัฐมนตรีเป็นผู้แต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการขององค์การมหาชน คณะรัฐมนตรีจึงมีอำนาจที่จะกำหนดหลักเกณฑ์ในการสรรหา หรือจะมอบหมายให้บุคคลใดหรือองค์กรใดเป็นผู้ดำเนินการสรรหาบุคคล ตามหลักเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีกำหนดเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งก็ได้ และเมื่อปรากฏว่า คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2552 เรื่อง แนวทางการบริหารของคณะกรรมการ องค์การมหาชน ซึ่งตามแนวทางดังกล่าว

มีข้อเท็จจริงปรากฏว่า สำนักงาน ก.พ.ร. กำลังดำเนินการ เสนอต่อ คณะกรรมการพัฒนาและสงเสริมองค์การมหาชน (กพม.) พิจารณาและนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อกำหนดเป็นหลักเกณฑ์กลางต่อไป เมื่อคณะรัฐมนตรียังไม่ได้กำหนดหลักเกณฑ์กลางดังกล่าว จึงต้องถือว่ามติคณะรัฐมนตรี วันที่ 19 พฤษภาคม 2552 ยังมีผลใช้บังคับอยู่

ดังนั้น ในการสรรหาและแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิขึ้นใหม่ จะต้องดำเนินการให้มีองค์ประกอบคณะกรรมการเป็นไปตามมาตรา 19 วรรคสาม แหงพระราชบัญญัติดังกล่าว ซึ่งจะต้องมีจำนวนกรรมการไม่เกินสิบเอ็ดคน โดยกรรมการไม่น้อยกวากึ่งหนึ่งตองไม่เป็นข้าราชการ ซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำ พนักงานหรือลูกจ้างของส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือองค์กรปกครองส่วนทองถิ่น เว้นแต่เป็นผู้สอนในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ

สำหรับในประเด็นการพ้นจากการดำรงตำแหน่งของประธานกรรมการ และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งได้สรรหาและแต่งตั้งขึ้นใหม่นั้น เห็นวา เมื่อการสรรหาและแต่งตั้ง ได้ดำเนินการโดยสอดคล้องกับมาตรา 19 วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติองค์การมหาชน พ.ศ. 2542 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติองค์การมหาชน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2559 แล้ว ควรต้องกำหนดบทเฉพาะกาลในพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) ที่ได้แก้ไขเพิ่มเติมเพื่อรองรับประธานกรรมการ กรรมการโดยตำแหน่ง และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งไดรับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันวิจัย แสงซินโครตรอน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ใช้บังคับ ให้เป็นประธานกรรมการ กรรมการโดยตำแหน่ง และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิต่อไปจนครบวาระการดำรงตำแหนงตามมาตรา 166 แห่งพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) พ.ศ. 2551
กำลังโหลดความคิดเห็น