xs
xsm
sm
md
lg

มาแล้วโบนัสคนท้องถิ่น! ก.กลาง เปิดเกณฑ์ปฏิบัติ ปี 60 ต้องผ่านประเมินทุกด้าน 60%

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online


มาแล้วโบนัสคนท้องถิ่น! ก.กลาง เปิดแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับเงินโบนัส (เงินประโยชน์ตอบแทนอื่น) เพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ปฏิบัติตาม เผย มติเปลี่ยนจากเดิมเล็กน้อย ท้องถิ่นต้องได้คะแนนประเมินจากกรมการปกครองส่วนท้องถิ่น ในปีงบประมาณที่ผ่านมาของปีที่ขอรับการประเมินทุกด้านๆ ละไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60 ย้ำ “ไม่ใช่ด้านเดียว” เผยปี 59 อปท. ได้จัดสรรโบนัสรวม 200 ล้าน

วันนี้ (29 ธ.ค.) มีรายงานจากกระทรวงมหาดไทย ว่า เมื่อเร็วๆ นี้ ที่ประชุมคณะกรรมการกลางท้องถิ่น (ก.กลาง) ส่วนท้องถิ่น ได้เห็นชอบแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับเงินโบนัส (เงินประโยชน์ตอบแทนอื่น) เพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ปฏิบัติตาม ล่าสุด กรมการปกครองส่วนท้องถิ่นได้ส่งหนังสือไปยังผู้ว่าราชการจังหวัด และประธานกรรมการกลาง อบจ. เทศบาล อบต.ทั่วประเทศ ให้ทำการซักซ้อมจ่ายโบนัสประจำปีให้กับพนักงานในสังกัด อปท. ในปี 2559

ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามระเบียบ ปฏิบัติตาม การคำนวณวงเงินประโยชน์ตอบแทนอื่นเป็นกรณีพิเศษ (เงินรางวัลประจำปี) ที่สามารถจ่ายได้ให้ถือปฏิบัติตามหนังสือสำนักงาน ก.จ., ก.ท. และ ก.อบต. ที่ มท 0809.3/ว5 ลงวันที่ 9 มกราคม 2550 โดยคำนวณจากงบประมาณรายจ่ายและรายได้จริง โดยมีเจตนารมณ์ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประหยัดงบประมาณรายจ่ายเพื่อนำไปพัฒนาท้องถิ่น แทนแนวทางปฏิบัติเดิมที่กำหนดเกินร้อยละ 40

ขณะที่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ต้องได้รับผลคะแนนการประเมินมาตรฐานการปฏิบัติราชการ ของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นในปีงบประมาณที่ผ่านมาของปีที่ขอรับการประเมินทุกด้านๆ ละไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60 และหากคะแนนการประเมินคะแนนรวมไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60 แต่มีบางด้านไม่ผ่านการประเมินจะถือว่าเข้าเงื่อนไขขององค์กรที่ขอรับการประเมิน โดยในข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีต้องมีงบประมาณรายจ่ายเพื่อการพัฒนาไม่น้อยกว่า ร้อยละ 10 ของงบประมาณรายจ่ายประจำปีที่ขอรับการประเมิน

ขณะที่ คุณสมบัติของผู้มีสิทธิได้รับเงินประโยชน์ตอบแทนอื่นเป็นกรณีพิเศษกำหนดว่า คุณสมบัติของผู้มีสิทธิได้รับเงินประโยชน์ตอบแทนอื่นเป็นกรณีพิเศษ โดยต้องมีระยะเวลาการปฏิบัติงาน ณ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ขอรับการประเมินแห่งนั้นไม่น้อยกว่า 8 เดือน โดยผู้มีสิทธิได้รับเงินรางวัลประจำปี ต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้ 1. ได้ผ่านการประเมินผลการปฏิบัติงานทั้งปี 2 ครั้ง ตามประกาศ ก.จ., ก.ท. และ ก.อบต. ดังกล่าว 2. ข้าราชการ ลูกจ้าง พนักงานจ้าง ที่มีสิทธิได้รับเงินรางวัลประจำปี จะต้องมีระยะเวลาในการปฏิบัติงานไม่น้อยกว่า 8 เดือน ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่สังกัดอยู่ (ณ วันที่ 30 กันยายน) และ 3. การจ่ายเงินรางวัลประจำปีให้เป็นไปตามสัดส่วนระยะเวลาในการปฏิบัติงานในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามข้อ 2

สำหรับข้าราชการ ลูกจ้าง และพนักงานจ้างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2558 ให้นำฐานอัตราเงินเดือน หรือค่าจ้าง หรือค่าตอบแทน ณ วันที่ 30 กันยายน ของปีงบประมาณที่ขอรับการประเมินมาเป็นฐานในการจ่ายเงินประโยชน์ตอบแทนอื่นเป็นกรณีพิเศษ โดยมีวัตถุประสงค์ให้ใช้ฐานเงินเดือน ค่าจ้างก่อนเลื่อนขั้นเงินเดือน ค่าจ้างจ่ายเป็นเงินรางวัลประจำปี ดังนั้น กรณีข้าราชการหรือลูกจ้างประจำที่เกษียณอายุราชการจะต้องนำฐานเงินเดือนก่อนเลื่อนขั้นเงินเดือนหรือค่าจ้างมาเป็นฐานในการจ่ายเงินประโยชน์ตอบแทนอื่นเป็นกรณีพิเศษ

สำหรับข้าราชการ ลูกจ้าง และพนักงานจ้างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2558 กำหนดให้พนักงานจ้างที่มีสิทธิได้รับเงินประโยชน์ตอบแทนอื่นเป็นกรณีพิเศษต้องเป็นผู้ที่มีคะแนนผลการประเมินผลการปฏิบัติงานทั้งปีของปีงบประมาณที่ขอรับการประเมินเฉลี่ยอยู่ในระดับดีขึ้นไป ดังนั้น กรณีของพนักงานจ้างถึงแม้จะไม่ได้รับการต่อสัญญาจ้าง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะต้องประเมินผลการปฏิบัติงานให้กับพนักงานจ้างผู้นั้น เพื่อใช้ประกอบการจ่ายเงินรางวัลประจำปีได้ โดยเป็นการประเมินผลการปฏิบัติงานประจำปีของพนักงานจ้างตามประกาศมาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับพนักงานจ้าง ข้อ 34 ประกอบกับข้อ 36 เพื่อนำผลการประเมินการปฏิบัติงานไปใช้ในเรื่องอื่นๆ

ทั้งนี้ ข้าราชการหรือลูกจ้างประจำจะต้องเป็นผู้ที่มีคะแนนการประเมินผลการปฏิบัติงานทั้งปี 2 ครั้ง ได้แก่ ครั้งที่ 1 (1 ตุลาคม ถึง 31 มีนาคม ของปีถัดไป) และครั้งที่ 2 (1 เมษายน ถึง 30 กันยายน ของปีเดียวกัน) ในปีงบประมาณที่ขอรับการประเมินและต้องได้รับการเลื่อนขั้นเงินเดือนหรือค่าจ้างทั้งปีไม่น้อยกว่า 1 ขั้น ดังนั้น ข้าราชการหรือลูกจ้างประจำที่มีการปรับปรุง หรือย้ายตำแหน่งที่มีผลการประเมินผลการปฏิบัติงานทั้งปี 2 ครั้ง และได้เลื่อนขั้นเงินเดือนหรือค่าจ้างทั้งปีงบประมาณไม่น้อยกว่า 1 ขั้น เช่น

- ครึ่งปีแรกได้เลื่อนขั้นเงินเดือน 0.5 ขั้น ครึ่งปีหลังได้เลื่อนขั้นเงินเดือน 0.5 ขั้น
- ครึ่งปีแรกได้เลื่อนขั้นเงินเดือน 0 ขั้น ครึ่งปีหลังได้เลื่อนขั้นเงินเดือน 1 ขั้น
- ครึ่งปีแรกได้เลื่อนขั้นเงินเดือน 1 ขั้น ครึ่งปีหลังได้เลื่อนขั้นเงินเดือน 0 ขั้น

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จึงสามารถที่จะจ่ายเงินรางวัลประจำปีให้กับข้าราชการ หรือลูกจ้างประจำดังกล่าวได้ ทั้งนี้ การจ่ายเงินรางวัลประจำปีต้องมีวงเงินคงเหลือจากค่าใช้จ่ายเงินเดือน ค่าจ้าง และประโยชน์ตอบแทนอื่นที่กำหนดไว้ไม่สูงกว่าร้อยละ 40 ของงบประมาณรายจ่ายประจำปีที่ขอรับการประเมินเท่านั้น โดยให้ใช้เงินของปีงบประมาณนั้น

ทั้งนี้ ข้าราชการหรือลูกจ้างประจำจะต้องเป็นผู้ที่มีคะแนนการประเมินผลการปฏิบัติงานทั้งปี 2 ครั้ง ได้แก่ ครั้งที่ 1 (1 ตุลาคม ถึง 31 มีนาคม ของปีถัดไป) และครั้งที่ 2 (1 เมษายน ถึง 30 กันยายน ของปีเดียวกัน) ในปีงบประมาณที่ขอรับการประเมินและต้องได้รับการเลื่อนขั้นเงินเดือนหรือค่าจ้างทั้งปีไม่น้อยกว่า 1 ขั้น และประกาศ ก.จ., ก.ท. และ ก.อบต. เรื่อง มาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับพนักงานจ้าง (ฉบับที่ 3) กำหนดว่า พนักงานจ้างได้รับค่าตอบแทนถึงขั้นสูงของอัตราค่าตอบแทน ให้ได้รับอัตราค่าตอบแทนพิเศษได้ไม่เกินร้อยละ 6 ของอัตราค่าตอบแทนขั้นสูงตำแหน่งนั้น ดังนั้น ข้าราชการหรือลูกจ้างประจำ รวมถึงพนักงานจ้างที่ได้รับเงินเดือน ค่าจ้าง ค่าตอบแทนถึงขั้นสูงของบัญชีเงินเดือน ค่าจ้าง หรือค่าตอบแทนแล้ว ให้นำการได้รับเงินตอบแทนพิเศษครึ่งขั้น (ร้อยละ 2) และหนึ่งขั้น (ร้อยละ 4) สำหรับข้าราชการและลูกจ้างประจำ หรือไม่เกินร้อยละ 6 ของอัตราค่าตอบแทนของพนักงานจ้างในปีงบประมาณนั้นมารวมเพื่อประกอบการพิจารณาจ่าย

ยังกำหนดให้พนักงานจ้างที่มีสิทธิได้รับเงินประโยชน์ตอบแทนอื่นเป็นกรณีพิเศษต้องเป็นผู้ที่มีคะแนนผลการประเมินผลการปฏิบัติงานทั้งปีของปีงบประมาณที่ขอรับการประเมินเฉลี่ยอยู่ในระดับดีขึ้นไป ประกอบหนังสือสำนักงาน ก.อบต. ที่ มท 0809.5/ ว272 ลงวันที่ 17 ธันวาคม 2552 หนังสือสำนักงาน ก.ท. ที่ มท 0809.5/ว35 ลงวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2553 และหนังสือสำนักงาน ก.จ. ที่ มท 0809.5/ว122 ลงวันที่ 14 พฤษภาคม 2553 ดังนั้น พนักงานจ้างที่มีการต่อสัญญาจ้างใหม่และมีการทำสัญญาต่อเนื่องจากวันที่สัญญาจ้างสิ้นสุดลงในตำแหน่งเดิมและมีการทำสัญญาจ้างใหม่โดยวันต่อเนื่องกันในตำแหน่งที่คล้ายคลึงกัน (ลักษณะงานเกื้อกูลหรือลักษณะงานภารกิจเดียวกัน) หรือเป็นกรณีปรับปรุงจากตำแหน่งพนักงานจ้างทั่วไปเป็นพนักงานจ้างตามภารกิจประเภทผู้มีทักษะถือว่าเป็นผู้มีสิทธิได้รับเงินรางวัลประจำปีได้ หากมีผลการประเมินผลการปฏิบัติงานทั้งปีไม่ต่ำกว่าระดับดี และจะต้องปฏิบัติงานมาแล้วไม่น้อยกว่า 8 เดือนในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเดิมที่ขอรับการประเมิน

กำหนดว่า หากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใดที่ได้รับคะแนนประเมินผลตั้งแต่ 95 คะแนนขึ้นไป และประสงค์จะจ่ายเงินรางวัลประจำปีในอัตราไม่เกิน 1.5 เท่าของอัตราเงินเดือนหรือค่าจ้าง หรือค่าตอบแทน จะต้องเสนอต่อคณะกรรมการช้าราชการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นพิจารณาให้ความเห็นชอบก่อน ดังนั้น หากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไม่ประสงค์ที่จะจ่ายเงินรางวัลประจำปีเกิน 1 เท่า แต่ไม่เกิน 1.5 เท่าของอัตราเงินเดือน หรือค่าจ้าง หรือค่าตอบแทน ต้องเสนอขอความเห็นชอบจาก ก.จ.จ., ก.ท.จ. หรือ ก.อบต.จังหวัด แต่หากจะจ่ายไม่เกิน 1 เท่า ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินการได้โดยไม่ต้องขอความเห็นชอบจาก ก.จ.จ., ก.ท.จ. หรือ ก.อบต.จังหวัด แล้วแต่กรณีตามข้อ 2.2 (1)

ให้คณะกรรมการพิจารณาจ่ายเงินนำวงเงินที่ได้มาพิจารณาจัดสรร ให้แก่ ข้าราชการ ลูกจ้างประจำ และพนักงานจ้างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้วยความเป็นธรรม และโปร่งใส โดยให้พิจารณาจ่ายลดหลั่นกันตามผลการเลื่อนขั้นเงินเดือน หรือค่าจ้างหรือค่าตอบแทน โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถจ่ายเงินประโยชน์ตอบแทนอื่นเป็นกรณีพิเศษได้ไม่เกินจำนวนเท่าตามผลคะแนนการประเมิน โดยลดหลั่นกันลงมาตามผลการเลื่อนขั้นเงินเดือน หรือค่าจ้าง หรือค่าตอบแทน เช่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีผลคะแนนประเมินได้ 80 คะแนน ให้จ่ายเงินประโยชน์ตอบแทนอื่นได้ไม่เกิน 0.5 เท่า ดังนั้น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแห่งนั้นจะต้องจ่ายเงินประประโยชน์ตอบแทนอื่นตามวงเงินคงเหลือที่เป็นเงินรายได้ที่ไม่รวมเงินอุดหนุนและเงินกู้ อื่นใด โดยอาจจ่ายได้ในอัตรา 0.5 เท่า 0.4 เท่า 0.3 เท่า 0.2 เท่า 0.1 เท่าของอัตราเงินเดือน หรือค่าจ้าง หรือค่าตอบแทน โดยให้บริหารอยู่ในวงเงินและไม่เกินจำนวนเท่า โดยลดหลั่นได้ตามความเหมาะสมโดยต้องพิจารณาตามผลการเลื่อนขั้นเงินเดือน หรือค่าจ้าง หรือค่าตอบแทน

กำหนดมาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการกำหนดเงินประโยชน์ตอบแทนอื่นเป็นกรณีพิเศษอันมีลักษณะเป็นเงินรางวัลประจำปีสำหรับข้าราชการ ลูกจ้าง และพนักงานจ้างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2558 ข้อ 1.2 คุณสมบัติของผู้มีสิทธิได้รับเงินประโยชน์ตอบแทนอื่นเป็นกรณีพิเศษ (3) กำหนดว่า ข้าราชการหรือลูกจ้างประจำจะต้องเป็นผู้ที่มีคะแนนการประเมินผลการปฏิบัติงานทั้งปี 2 ครั้ง ได้แก่ ครั้งที่ 1 (1 ตุลาคม ถึง 31 มีนาคม ของปีถัดไป) และครั้งที่ 2 (1 เมษายน ถึง 30 กันยายน ของปีเดียวกัน) ในปีงบประมาณที่ขอรับการประเมินและต้องได้รับการเลื่อนขั้นเงินเดือน หรือค่าจ้างทั้งปีไม่น้อยกว่า 1 ขั้น สำหรับพนักงานจ้างต้องเป็นผู้ที่มีคะแนนผลการประเมินผลการปฏิบัติงานทั้งปีของปีงบประมาณที่ขอรับการประเมินเฉลี่ยอยู่ในระดับดีขึ้นไป ดังนั้น กรณีที่ข้าราชการมีผลการประเมินผลการปฏิบัติงานไม่ครบตามเงื่อนไขที่กำหนดจึงไม่มีสิทธิที่จะได้รับเงินรางวัลประจำปี

กำหนดว่า ข้าราชการหรือลูกจ้างประจำจะต้องเป็นผู้ที่มีคะแนนการประเมินผลการปฏิบัติงานทั้งปี 2 ครั้ง ได้แก่ ครั้งที่ 1 (1 ตุลาคม ถึง 31 มีนาคม ของปีถัดไป) และครั้งที่ 2 (1 เมษายน ถึง 30 กันยายน ของปีเดียวกัน) ในปีงบประมาณที่ขอรับการประเมินและต้องได้รับการเลื่อนขั้นเงินเดือนหรือค่าจ้างทั้งปีไม่น้อยกว่า 1 ขั้น กรณีข้าราชการที่มีสิทธิได้รับเงินรางวัลประจำปีต้องมีระยะเวลาการปฏิบัติงาน ณ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ขอรับการประเมินแห่งนั้นไม่น้อยกว่า 8 เดือน โดยต้องมีคะแนนการประเมินผลการปฏิบัติงานทั้งปี 2 ครั้ง ได้แก่ ครั้งที่ 1 (1 ตุลาคม ถึง 31 มีนาคม ของปีถัดไป) และครั้งที่ 2 (1 เมษายน ถึง 30 กันยายน ของปีเดียวกัน) ในปีงบประมาณที่ขอรับการประเมินและต้องได้รับการเลื่อนขั้นเงินเดือนหรือค่าจ้างทั้งปีไม่น้อยกว่า 1 ขั้น ดังนั้น หากมีการได้รับการเลื่อนขั้นเงินเดือนทั้งปีไม่น้อยกว่า 1 ขั้น และได้รับราชการมาแล้วไม่น้อยกว่า 8 เดือน จึงถือว่าเป็นผู้มีสิทธิได้รับเงินรางวัลประจำปีตามประกาศกำหนดมาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการกำหนดเงินประโยชน์ตอบแทนอื่นเป็นกรณีพิเศษอันมีลักษณะเป็นเงินรางวัลประจำปีสำหรับข้าราชการ ลูกจ้าง และพนักงานจ้างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2558 ข้อ 1.2 (3)

กำหนดการจ่ายเงินประโยชน์ตอบแทนอื่นเป็นกรณีพิเศษเกี่ยวกับหลักเกณฑ์และวิธีการจ่ายเงินว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะต้องมีคุณสมบัติครบถ้วนตามเงื่อนไขในกรณีที่จะจ่ายเงินรางวัลประจำปีด้วย จึงมีสิทธิได้รับเงินประโยชน์ตอบแทนอื่นเป็นกรณีพิเศษ ดังนั้น กรณีจะจ่ายเงินประโยชน์ตอบแทนอื่น คุณสมบัติองค์กรปกครองส่วนมท้องถิ่นเกี่ยวกับงบประมาณรายจ่ายเพื่อการลงทุนไม่เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนด จึงทำให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขาดคุณสมบัติตามประกาศดังกล่าว จึงไม่สามารถที่จะจ่ายเงินรางวัลประจำปีได้

กำหนดว่า ข้าราชการหรือลูกจ้างประจำจะต้องเป็นผู้ที่มีคะแนนการประเมินผลการปฏิบัติงานทั้งปี 2 ครั้ง ได้แก่ ครั้งที่ 1 (1 ตุลาคม ถึง 31 มีนาคม ของปีถัดไป) และครั้งที่ 2 (1 เมษายน ถึง 30 กันยายน ของปีเดียวกัน) ในปีงบประมาณที่ขอรับการประเมิน โดยให้มีคะแนนประเมินผลการปฏิบัติงานไม่น้อยกว่า 2 ครั้ง ณ สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแห่งใดก็ได้ แต่จะจ่ายเงินรางวัลประจำปีได้ต้องปฏิบัติงานในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแห่งใดแห่งหนึ่งไม่น้อยกว่า 8 เดือน

กำหนดว่าหากลักษณะงานของลูกจ้างประจำหรือพนักงานจ้างมีลักษณะคล้ายคลึงกับงานในตำแหน่งของข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น สามารถนำผลการประเมินและระยะเวลาการปฏิบัติงานขณะดำรงตำแหน่งลูกจ้างประจำหรือพนักงานจ้างและข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นมาพิจารณารวมกัน โดยต้องมีผลการประเมินในสัดส่วนของลูกจ้างประจำ พนักงานจ้าง และข้าราชการตั้งแต่ระดับดีเป็นต้นไป โดยต้องมีระยะเวลาปฏิบัติงานในองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นแห่งนั้นมาแล้วไม่น้อยกว่า 8 เดือน และให้ใช้ฐานเงินเดือนในวันที่ 30 กันยายน สำหรับการจ่ายเงินรางวัลประจำปี

กำหนดให้มีการประเมินประสิทธิภาพประสิทธิผลการปฏิบัติราชการ ดังนี้

1. ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินการประเมินผลการปฏิบัติราชการตามแบบประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลการปฏิบัติราชการเป็นระยะเวลา 12 เดือน โดยให้เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม ของปีงบประมาณที่ขอรับการประเมินเป็นต้นไป ซึ่งต้องมีการประเมินตลอดทั้งปี

2. กรณีให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดจ้างสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาตามบัญชีรายชื่อสถาบันการศึกษาที่คณะกรรมการข้าราชการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกำหนด เพื่อดำเนินการสำรวจความพึงพอใจของผู้รับบริหาร ตามมิติที่ 2 และรายงานผลการประเมินความพึงพอใจให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทราบนั้น ให้มีการสุ่มตรวจความพึงพอใจได้เมื่อได้มีการดำเนินการโครงการ/กิจกรรมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้ดำเนินการตามโครงการหรือกิจกรรมนั้นไปแล้ว

อย่างไรก็ตาม การจ่ายโบนัสให้กับ พนักงาน อปท.นั้นจะต้องผ่านมติเป็นประกาศหลักเกณฑ์ วิธีการ และอัตราการจัดสรรเงินอุดหนุนเพื่อเป็นรางวัลสําหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจูงใจเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการของท้องถิ่นปีงบประมาณ พ.ศ.... จากคณะกรรมการการกระจายอํานาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ของปี 2560 ก่อน โดยเมื่อปี 2559 อปท. ได้รับโบนัสรวมกว่า 200 ล้านบาท

อ่านหลังเกณฑ์ฉบับเต็ม http://www.dla.go.th/upload/document/type2/2016/12/17641_1_1482999803990.pdf?time=1483009496091


กำลังโหลดความคิดเห็น