คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย ยื่นหนังสือนายกฯ ทบทวนมติบอร์ดค่าจ้าง ปรับค่าแรง 5-10 บาท ชี้ไม่สะท้อนภาพเศรษฐกิจปัจจุบัน เรียกร้องให้ขึ้นเท่ากันทั่วประเทศ
ที่ศูนย์บริการประชาชน สำนักงาน ก.พ. วันนี้ (26 ต.ค.) คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) นำโดยนายชาลี ลอยสูง พร้อมเครือข่ายประมาณ 20 คน เดินทางมายื่นหนังสือถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ผ่านนายพีระ ทองโพธิ์ ผู้อำนวยการศูนย์บริการประชาชน โดยขอให้ทบทวนมติคณะกรรมการค่าจ้างเมื่อวันที่ 19 ตุลาคมที่ผ่านมา ในเรื่องการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำประจำปี 2560 ระหว่าง 5-10 บาททั่วประเทศ ส่งผลให้ปรับขึ้นจากปัจจุบันเป็น 305-310 บาท โดยเห็นว่ามติที่ออกมายังไม่สะท้อนภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน รวมถึงการปรับที่ไม่เท่ากัน และพื้นที่บางจังหวัดไม่ได้ปรับขึ้น มองว่าขัดแย้งกับเป้าหมายพัฒนาประเทศและทำให้เกิดความไม่เป็นธรรมและเหลื่อมล้ำมากขึ้น
ที่สำคัญหากพิจารณาการปรับขึ้นในอัตรา 5, 8 และ 10 บาท ถือว่าน้อยมาก และส่งผลกระทบต่อแรงงาน ที่รอการปรับขึ้นมานานกว่า 3 ปี ดังนั้นจึงข้อเรียกร้องถึงรัฐบาล 3 ข้อ คือ 1. ขอให้ปรับค่าจ้างขั้นต่ำเท่ากันทั่วประเทศ 2. ขอให้รัฐบาลมีนโยบายโครงสร้างค่าจ้างที่สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจที่ต้องมีการปรับขึ้นค่าจ้างประจำปีทุกสถานประกอบการ และ 3. ขอให้รัฐบาลมีมาตรการควบคุมราคาสินค้าอุปโภคบริโภค เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายให้แก่ประชาชน
นายชาลีกล่าวว่า การยื่นหนังสือถึงนายกรัฐมนตรีครั้งนี้ไม่ใช่เป็นการกดดัน แต่เป็นความเดือดร้อนของภาคแรงงานที่คาดหวังให้เกิดความเป็นธรรมบนพื้นฐานหลักการเดียวกับภาคข้าราชการ และรัฐวิสาหกิจที่ได้รับการพิจารณาก่อนหน้านี้
ที่ศูนย์บริการประชาชน สำนักงาน ก.พ. วันนี้ (26 ต.ค.) คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) นำโดยนายชาลี ลอยสูง พร้อมเครือข่ายประมาณ 20 คน เดินทางมายื่นหนังสือถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ผ่านนายพีระ ทองโพธิ์ ผู้อำนวยการศูนย์บริการประชาชน โดยขอให้ทบทวนมติคณะกรรมการค่าจ้างเมื่อวันที่ 19 ตุลาคมที่ผ่านมา ในเรื่องการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำประจำปี 2560 ระหว่าง 5-10 บาททั่วประเทศ ส่งผลให้ปรับขึ้นจากปัจจุบันเป็น 305-310 บาท โดยเห็นว่ามติที่ออกมายังไม่สะท้อนภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน รวมถึงการปรับที่ไม่เท่ากัน และพื้นที่บางจังหวัดไม่ได้ปรับขึ้น มองว่าขัดแย้งกับเป้าหมายพัฒนาประเทศและทำให้เกิดความไม่เป็นธรรมและเหลื่อมล้ำมากขึ้น
ที่สำคัญหากพิจารณาการปรับขึ้นในอัตรา 5, 8 และ 10 บาท ถือว่าน้อยมาก และส่งผลกระทบต่อแรงงาน ที่รอการปรับขึ้นมานานกว่า 3 ปี ดังนั้นจึงข้อเรียกร้องถึงรัฐบาล 3 ข้อ คือ 1. ขอให้ปรับค่าจ้างขั้นต่ำเท่ากันทั่วประเทศ 2. ขอให้รัฐบาลมีนโยบายโครงสร้างค่าจ้างที่สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจที่ต้องมีการปรับขึ้นค่าจ้างประจำปีทุกสถานประกอบการ และ 3. ขอให้รัฐบาลมีมาตรการควบคุมราคาสินค้าอุปโภคบริโภค เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายให้แก่ประชาชน
นายชาลีกล่าวว่า การยื่นหนังสือถึงนายกรัฐมนตรีครั้งนี้ไม่ใช่เป็นการกดดัน แต่เป็นความเดือดร้อนของภาคแรงงานที่คาดหวังให้เกิดความเป็นธรรมบนพื้นฐานหลักการเดียวกับภาคข้าราชการ และรัฐวิสาหกิจที่ได้รับการพิจารณาก่อนหน้านี้