ที่ปรึกษาสำนักนายกฯ ร่วมถกเอกชนหาทางออกปัญหา พ.ร.บ.อำนวยความสะดวกฯ ชี้ยุ่งยากขึ้นทะเบียนวัตถุอันตรายเกษตร ล่าช้าเรื่องกองอยู่เพียบ จี้ไม่มีข้อสรุปจะใช้ กม.นี้ยื่นฟ้องหน่วยงานรัฐเอง รบ.ยันไม่มีการฟ้องพูดคุยกันได้ รับบางประเด็น ขรก.-ผู้ประกอบการมองไม่ตรงกัน
วันนี้ (8 ก.ย.) เมื่อเวลา 11.00 น. ที่สำนักงาน ก.พ. นายโชติ ตราชู ที่ปรึกษาประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นประธานหาทางออกกรณีมีผู้ประกอบการเอกชนร้องเรียนปัญหาการไม่ได้รับความสะดวกจากการบังคับใช้พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) อำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ พ.ศ. 2558 ในการขึ้นทะเบียนวัตถุอันตราย เช่น ยาฆ่าแมลง ปุ๋ย โดยผู้ร่วมหารือประกอบด้วย สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ตัวแทนผู้ประกอบการ เช่น สมาคมการค้าผู้ผลิตปุ๋ยไทย สมาคมการค้าปุ๋ยและธุรกิจการเกษตรไทย สมาคมธุรกิจปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยชีวภาพไทย สมาคมคนไทยธุรกิจเกษตร สมาคมอารักขาพืชไทย สมาคมค้าเมล็ดพันธุ์ไทย
โดยผู้ประกอบการได้ชี้แจงถึงความยุ่งยากของขั้นตอนในการออกในอนุญาตด้านการเกษตรที่ต้องขึ้นทะเบียนวัตถุอันตรายว่ามีความยุ่งยากซับซ้อน บางครั้งต้องใช้ระยะเวลาขึ้นทะเบียน 2-3 ปี และต้องมีค่าใช้จ่ายในการทดสอบสูง ทำให้รายการคำขอขึ้นทะเบียนที่มีเอกสารครบถ้วนแต่รอการพิจารณาตั้งแต่ปี 2556 ถึงปัจจุบัน รวมกว่า 4,000 คำขอที่ยังไม่ถูกพิจารณา ซึ่งมองว่าความล่าช้าในการขึ้นทะเบียนอาจจะขัดต่อ พ.ร.บ.อำนวยความสะดวก หากรัฐบาลไม่มีข้อสรุปจะมีการยื่นฟ้องกรมวิชาการเกษตรต่อศาลปกครองในประเด็นไปปฏิบัติตามพระราชบัญญัติอำนวยความสะดวก ถือว่าเป็นกรณีแรกๆ ที่เอกชนใช้พระราชบัญญัติอำนวยความสะดวกฯ ยื่นฟ้องหน่วยงานของรัฐ
ทั้งนี้ ภายหลังการหารือ นายโชติ ตราชู เปิดเผยว่า ได้รับมอบหมายจากรองนายกรัฐมนตรี วิษณุ เครืองาม ให้หารือกับภาคเอกชน โดยมอบนโยบายว่าในเมื่อมี พ.ร.บ.อำนวยความสะดวกแล้ว ขอให้อยู่บนการแข่งขันที่เป็นธรรมและเท่าเทียมกัน แต่การหารือในวันนี้ยังไม่มีข้อยุติ ต้องนัดหารืออีกครั้ง เพราะบางประเด็นผู้ประกอบการกับราชการยังมีมุมมองต่างกัน โดยผู้ประกอบการยืนยันว่ามีคำขอขึ้นทะเบียนที่ตกค้างว่า 4,000 คำขอ เป็นคำขอเดิมที่ยื่นขอก่อนการมี พ.ร.บ.อำนวยความสะดวก ที่บางรายรอคิว 2-3 ปี ก็ยังไม่ได้รับการอนุมัติเพราะขณะนั้นยังเป็นเรื่องของการใช้ดุลพินิจ ซึ่งผู้ประกอบการต้องการให้สะสางของเก่าให้หมด
ส่วนการยื่นเรื่องใหม่ก็มีระยะเวลากำหนดที่แน่นอนและทุกรายทราบคิวของตัวเองว่าอยู่ในลำดับที่เท่าไร แต่ทั้งนี้ความรวดเร็วในการอนุมัติตาม พ.ร.บ.อำนวยความสะดวกก็ขึ้นอยู่กับผลิตภัณฑ์ที่มีการระบุอยู่ในกฎหมาย ดังนั้น ผลิตภัณฑ์แต่ละชนิดจะมีระยะเวลาไม่เท่ากัน บางชนิดจะต้องมีการทดลอง เช่น สารเคมีปราบวัชพืช จะต้องมีการทดลองจริงว่ามีพิษ มีสารตกค้างหรือไม่ ซึ่งผู้ประกอบการยอมรับได้หากต้องมีระยะเวลาในการทดลอง เพื่อให้เกิดความมั่นใจสำหรับกรณีที่ผู้ประกอบการอาจจะรวมตัวฟ้องศาลปกครองจากการไม่ได้รับความสะดวกจาก พ.ร.บ.อำนวยความสะดวกนั้น ที่ปรึกษาประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า คงไม่มีการฟ้อง เพราะสามารถพูดคุยและร่วมมือกันได้ว่าจะสะสางอย่างไร
วันนี้ (8 ก.ย.) เมื่อเวลา 11.00 น. ที่สำนักงาน ก.พ. นายโชติ ตราชู ที่ปรึกษาประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นประธานหาทางออกกรณีมีผู้ประกอบการเอกชนร้องเรียนปัญหาการไม่ได้รับความสะดวกจากการบังคับใช้พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) อำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ พ.ศ. 2558 ในการขึ้นทะเบียนวัตถุอันตราย เช่น ยาฆ่าแมลง ปุ๋ย โดยผู้ร่วมหารือประกอบด้วย สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ตัวแทนผู้ประกอบการ เช่น สมาคมการค้าผู้ผลิตปุ๋ยไทย สมาคมการค้าปุ๋ยและธุรกิจการเกษตรไทย สมาคมธุรกิจปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยชีวภาพไทย สมาคมคนไทยธุรกิจเกษตร สมาคมอารักขาพืชไทย สมาคมค้าเมล็ดพันธุ์ไทย
โดยผู้ประกอบการได้ชี้แจงถึงความยุ่งยากของขั้นตอนในการออกในอนุญาตด้านการเกษตรที่ต้องขึ้นทะเบียนวัตถุอันตรายว่ามีความยุ่งยากซับซ้อน บางครั้งต้องใช้ระยะเวลาขึ้นทะเบียน 2-3 ปี และต้องมีค่าใช้จ่ายในการทดสอบสูง ทำให้รายการคำขอขึ้นทะเบียนที่มีเอกสารครบถ้วนแต่รอการพิจารณาตั้งแต่ปี 2556 ถึงปัจจุบัน รวมกว่า 4,000 คำขอที่ยังไม่ถูกพิจารณา ซึ่งมองว่าความล่าช้าในการขึ้นทะเบียนอาจจะขัดต่อ พ.ร.บ.อำนวยความสะดวก หากรัฐบาลไม่มีข้อสรุปจะมีการยื่นฟ้องกรมวิชาการเกษตรต่อศาลปกครองในประเด็นไปปฏิบัติตามพระราชบัญญัติอำนวยความสะดวก ถือว่าเป็นกรณีแรกๆ ที่เอกชนใช้พระราชบัญญัติอำนวยความสะดวกฯ ยื่นฟ้องหน่วยงานของรัฐ
ทั้งนี้ ภายหลังการหารือ นายโชติ ตราชู เปิดเผยว่า ได้รับมอบหมายจากรองนายกรัฐมนตรี วิษณุ เครืองาม ให้หารือกับภาคเอกชน โดยมอบนโยบายว่าในเมื่อมี พ.ร.บ.อำนวยความสะดวกแล้ว ขอให้อยู่บนการแข่งขันที่เป็นธรรมและเท่าเทียมกัน แต่การหารือในวันนี้ยังไม่มีข้อยุติ ต้องนัดหารืออีกครั้ง เพราะบางประเด็นผู้ประกอบการกับราชการยังมีมุมมองต่างกัน โดยผู้ประกอบการยืนยันว่ามีคำขอขึ้นทะเบียนที่ตกค้างว่า 4,000 คำขอ เป็นคำขอเดิมที่ยื่นขอก่อนการมี พ.ร.บ.อำนวยความสะดวก ที่บางรายรอคิว 2-3 ปี ก็ยังไม่ได้รับการอนุมัติเพราะขณะนั้นยังเป็นเรื่องของการใช้ดุลพินิจ ซึ่งผู้ประกอบการต้องการให้สะสางของเก่าให้หมด
ส่วนการยื่นเรื่องใหม่ก็มีระยะเวลากำหนดที่แน่นอนและทุกรายทราบคิวของตัวเองว่าอยู่ในลำดับที่เท่าไร แต่ทั้งนี้ความรวดเร็วในการอนุมัติตาม พ.ร.บ.อำนวยความสะดวกก็ขึ้นอยู่กับผลิตภัณฑ์ที่มีการระบุอยู่ในกฎหมาย ดังนั้น ผลิตภัณฑ์แต่ละชนิดจะมีระยะเวลาไม่เท่ากัน บางชนิดจะต้องมีการทดลอง เช่น สารเคมีปราบวัชพืช จะต้องมีการทดลองจริงว่ามีพิษ มีสารตกค้างหรือไม่ ซึ่งผู้ประกอบการยอมรับได้หากต้องมีระยะเวลาในการทดลอง เพื่อให้เกิดความมั่นใจสำหรับกรณีที่ผู้ประกอบการอาจจะรวมตัวฟ้องศาลปกครองจากการไม่ได้รับความสะดวกจาก พ.ร.บ.อำนวยความสะดวกนั้น ที่ปรึกษาประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า คงไม่มีการฟ้อง เพราะสามารถพูดคุยและร่วมมือกันได้ว่าจะสะสางอย่างไร