xs
xsm
sm
md
lg

“ประยุทธ์” ชวน ปชช.เสนอทางออกแก้ปัญหาใต้ ชี้ “คุยสันติภาพ” เร่งรัดไม่ได้

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online


“ประยุทธ์” ย้ำปัจจัยความสำเร็จแก้ปัญหาภาคใต้ทุกฝ่ายต้องร่วมมือ ชวน ปชช. เสนอทางออก ยันพร้อมรับฟังมาพิจารณา ชี้ “พูดคุยสันติภาพ” เร่งรัดไม่ได้ เพราะอีกฝ่ายจะใช้เป็นจุดอ่อนทำไทยเสียเปรียบ

วันนี้ (2 ก.ย.) เมื่อเวลา 20.15 น. พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวในรายการ “คืนความสุขให้คนในชาติ” ออกอากาศทางโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย ช่วงหนึ่งว่า ปัญหาการจราจรในกรุงเทพฯ แก้ทั้งระบบทำได้ยากมาก เพราะว่าหลายอย่างทับซ้อนกันอยู่ ไม่ได้ปัดความรับผิดชอบ เป็นปัญหาเรื้อรัง ไม่ได้เกิดวันนี้ ไม่ได้เกิดมาจากปริมาณรถ หรือเส้นทางที่มีอยู่ปัจจุบันไม่สมดุลเท่านั้น เราต้องมองปัญหาทั้งระบบ และแก้ปัญหาอย่างมียุทธศาสตร์ ระยะสั้น ระยะกลาง ระยะยาว ก็ขอเพียงความเข้าใจ และร่วมมือจากทุกฝ่าย ต้องมีการบูรณาการร่วมกันในหลายมาตรการ รัฐบาลทุกรัฐบาลก็พยายามจะแก้ แต่ก็แก้ไม่ได้ ตอนหลังก็คงเลิกแก้ไปแล้ว รัฐบาลนี้ก็พยายามจะแกะออกใหม่ แล้วแก้ให้ได้อย่างที่ประชาชนต้องการแต่ทุกคนต้องร่วมมือ ไม่อย่างนั้น เราก็ไม่สามารถจะแก้ในทุกมิติได้อย่างบูรณาการ ประชาชนอาจจะไม่ยินยอมพร้อมใจ

การจัดซื้อจัดจ้างก็ทำไม่ได้ สร้างถนน สร้างทางด่วน สร้างรถไฟ อะไรก็แล้วแต่ เพราะว่าปัญหาสำคัญ ก็คือ ปัญหาด้านงบประมาณด้วย มาตรการบางอย่างก็อาจจะกระตุ้นเศรษฐกิจ แต่ส่งผลกระทบด้านสังคมจิตวิทยาบ้าง อาทิเช่น ไม่เข้าใจกันก็อยากได้ แต่ก็ต้องมีหนี้ ต้องกู้เงิน มีภาระหนี้สินสูง เราก็ต้องไปหาให้ได้ รัฐบาลนี้ทำทุกอย่าง เอาปัญหามา แล้วก็คิดโครงการออกมา แล้วทำยังไงประชาชนจะเข้าใจ และยินยอมพร้อมใจในการที่จะดำเนินการให้ได้ ถ้าอยากได้ แต่ไม่ลงทุนอะไรกันเลย ก็ไม่ได้หมดทุกเรื่อง

พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวอีกว่า วันนี้เราคิดในโครงสร้างใหญ่ด้วย อาทิเช่น การเชื่อมโยงกรุงเทพฯ - ชานเมือง และหัวเมืองใหญ่ ทั้งนี้ เราต้องการจะกระจายความเจริญ ความแออัดออกนอกเขตเมืองกรุงเทพฯ และเมืองใหญ่โดยได้มีการเร่งรัดโครงการก่อสร้างด้านคมนาคม ทั้งทางด่วน ทางพิเศษ วงแหวน และรถไฟ แล้วให้มีที่อยู่อาศัยของประชาชน ทุกกลุ่ม ทุกฝ่าย รายได้ปานกลาง รายได้น้อย รายได้มาก อะไรก็แล้วแต่กระจายไปอยู่ชานเมือง ทั้งภาคธุรกิจด้วยประชาชนสามารถเดินทางไปทำงานเช้า - กลับเย็นได้ อาทิเช่น โครงการรถไฟความเร็วสูงใน 4 เส้นทาง รัฐบาลนี้ก็ได้เร่งรัดดำเนินการในระยะแรกให้ได้ โดยพิจารณาเรื่องของการพัฒนาพื้นที่ 2 ข้างทางในเชิงธุรกิจด้วย เราก็ต้องไปดูเรื่องกฎหมาย ต้องมีการปรับปรุง ทั้งนี้ เพื่อจะยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชนที่ถูกเวนคืนที่ดิน หรือในพื้นที่ที่รถไฟผ่าน เราแก้ปัญหาหนึ่ง จะต้องไม่ให้ชระชาชนเดือดร้อน จะทำยังไง กฎหมายว่ายังไง รัฐศาสตร์จะแก้ยังไง เราจะต้องให้มีที่อยู่อาศัย มีตลาด มีชุมชนใหม่เกิดขึ้น หรือแม้กระทั่งเป็นศูนย์ซ่อม สร้างงาน สร้างรายได้ในท้องถิ่นเหล่านี้ เป็นต้น

ในเรื่องของการจัดระเบียบรถตู้โดยสารประจำทางมาตรฐาน ก็พยายามเต็มที่ วันนี้เส้นทางกรุงเทพฯ - จังหวัดต่าง ๆ ในระยะทาง ไม่เกิน 300 กิโลเมตร ก็จะต้องไปใช้พื้นที่สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ ทั้ง 3 สถานี จตุจักร สายใต้ เอกมัย ภายในเดือนตุลาคมปีนี้ ขออย่าต่อต้านเลย ต้องช่วยกัน ไม่เช่นนั้นก็ติดอยู่เหมือนเดิม การจราจรก็ต้องเริ่มทุกอัน ถ้าทุกคนยังต้องการประโยชน์อย่างเดิม กฎหมายไม่สนใจ เหล่านี้ก็พัลวันกันอยู่แบบนี้ ก็อาจจะช่วยลดปริมาณการจราจรรถตู้ฯ กว่า 4,000 คัน ในใจกลางเมือง ขอให้เคารพกติกาด้วย ไม่ใช่เริ่มแล้วก็กลับมาใหม่ เรียกร้องโน่นนี่ ผลักดันให้ประชาชนมาเรียกร้องหรืออะไรทำนองนี้ ตนจะต้องเข้าไปสอบสวนในทุกเรื่องในการประกอบการต่าง ๆ ทั้งหมดด้วย เราจะต้องเชื่อมโยงกับทางด่วนให้ได้ แล้วระบบขนส่งมวลชนอื่น ๆ ที่เราจะสามารถบริหารจัดการได้ง่ายขึ้น ทั้งมิติปริมาณการจราจร มาตรฐานการให้บริการ ก็เห็นใจผู้มีรายได้น้อย จะทำอย่างไร ล่าสุด ก็เพิ่งเปิดตัวทางพิเศษ สายศรีรัช - วงแหวนรอบนอก เพื่อเพิ่มข่ายเส้นทางเชื่อมโยงถนนกาญจนาภิเษก ที่ด่านบรมราชชนนี บริเวณตลิ่งชัน เชื่อมโยงทางด่วนศรีรัช ที่ด่านกำแพงเพชร 2 บริเวณชุมทางรถไฟบางซื่อ ใกล้สถานีขนส่งหมอชิต เป็นต้น

นายกฯ กล่าวต่ออีกว่า ได้สั่งการเพิ่มเติมในที่ประชุม ครม. ไปแล้วให้พิจารณาหาโครงการรถไฟฟ้า “โครงสร้างเบา” เพื่อราคาถูก ลง ทุนน้อย เป็นพวก แทรม (Tram) รถราง ใช้เหมือนต่างประเทศเขามี เช่นหลายประเทศเขาทำ ในการสัญจรไปมาในตัวเมืองใหญ่ ไม่ว่าจะไปสถานประกอบการธุรกิจ การค้า ที่อยู่อาศัยต่าง ๆ เป็นระยะสั้น เป็นรถไฟฟ้า ทั้งเหนือคลอง และเส้นทางด้วย ในเมืองใหญ่ เข้าถึงชุมชน สถานประกอบการ แล้วก็สถานที่สำคัญต่าง ๆ ในกรุงเทพฯ ต่างจังหวัดก็คิดมาอยู่แล้ว ตอนนี้ก็เริ่มคิดกันมาหลาย ๆ จังหวัดแล้วต้องช่วยกัน

สำหรับระบบขนส่งมวลชนทางถนนนั้น เราจำเป็นต้องมีการจัดระเบียบคิวรถตู้ วินมอเตอร์ไซค์ ทั้งมาตรฐาน การให้บริการความปลอดภัยและเส้นทางเดินรถ ที่จะสามารถเสริมระบบขนส่งหลักอื่น ๆ ทั้ง ขสมก. และระบบรถไฟฟ้า ปัญหาที่ผ่านมา การบริหารโครงการอาจจะไม่เป็นระบบ ไม่บูรณาการ ต่างคนต่างทำ เพราะคนละโครงการ เชื่อมโยงกันไม่ได้ คนละระบบอีก การเดินรถก็มีปัญหา ที่สำคัญคือล่าช้า ทำโครงการไปแล้ว ทำอะไรไม่ได้ จัดซื้อจัดจ้างไม่ได้ ไม่โปร่งใส เหล่านี้ไม่ได้หมายความว่าจะทุจริตทั้งหมด อาจจะมีวาระอื่น ๆ ซ่อนเร้นอยู่ นโยบายก็เปลี่ยนไปตามรัฐบาลทุกรัฐบาลที่ผ่านมา ก็เลยทำให้เราคิดว่า เพราะทุกเรื่องไม่มียุทธศาสตร์ แก้ไขไม่ต่อเนื่อง ไม่เชื่อมโยง ไม่เป็นระบบ

รัฐบาลนี้ต้องทำทุกอย่างเพื่อจะเชื่อมโยงทุกระบบให้ได้ ในระยะเวลาที่เราอยู่นี้ แบบไร้รอยต่อ แต่ก็ต้องทำกันต่อไปในวันหน้าด้วย คงทำไม่เสร็จ ต้องแก้ของเก่าที่เป็นปัญหาเร่งด่วนก่อน วางระบบใหม่ให้ครบวงจร และรีบดำเนินการให้ได้เพื่อพวกเราทุกคนและลูกหลานในอนาคต อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญที่สุดคือ จิตสำนึก ในเรื่องของวินัยจราจร การมีน้ำใจ การใช้รถใช้ถนน ไม่ฝ่าฝืนกฎจราจร ไม่จอดรถในพื้นที่ห้ามจอด มีการให้ทางเป็นต้น ก็ได้ปรับปรุงหลายอย่างทั้งเจ้าหน้าที่ด้วย ไม่ใช่บังคับใช้กฎหมายอย่างเดียว

พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวอีกว่า สำหรับการแก้ไขปัญหาความมั่นคงจังหวัดชายแดนภาคใต้ ปัจจัยแห่งความสำเร็จ มันอยู่ที่ ประชาชน ประชาสังคม NGO เจ้าหน้าที่รัฐ นักวิชาการ นิสิต นักศึกษา ทั้งหมดในพื้นที่นอกพื้นที่ด้วย สื่อ ทั้งสื่อสิ่งพิมพ์ โซเชียลมีเดีย ต่าง ๆ ทั้งหมด ต้องเข้าใจปัญหา ร่วมมือกันแก้ไข และแสดงความคิดเห็นอันเป็นประโยชน์ ตนฟังหมด มาพิจารณาทั้งหมด อะไรทำได้ทำไม่ได้

วิธีการแก้ปัญหาที่มีความสลับซับซ้อนเช่นนี้ ไม่ใช่ว่าจะกำหนดเวลาว่าจะต้องยุติเมื่อไหร่ ช้าหรือเร็ว เพราะเกิดมานานแล้ว ก็ยิ่งพันกันไปเรื่อยถ้าเราไม่แกะออกมา การแกะเรื่องปัญหาออกมาก็ยาก สิ่งสำคัญวันนี้ที่เราต้องเร่งอยู่ก็คือ ทำอย่างไรประชาชนจะปลอดภัย มีการพัฒนาในทุก ๆ ด้าน

นายกฯ กล่าวต่อว่า อยากจะขอร้อง เรื่องการเสนอความคิดเห็นของนักวิชาการบางคน บางกลุ่ม ทั้งในพื้นที่และนอกพื้นที่ มักกล่าวอ้างเสมอว่า มีการละเมิดสิทธิมนุษยชน ผมถามว่า แล้วกฎหมาย อยู่ตรงไหน ไปดูว่ากฎหมายเขาเขียนว่าอย่างไร อย่าเอาประเด็นเหล่านี้มาขัดแย้งกันไปเสียทั้งหมด แล้วประเทศชาติก็เสียหาย เราต้องคำนึงถึงชีวิตผู้บาดเจ็บ สูญเสียบ้าง ทั้งประชาชนผู้บริสุทธิ์ และเจ้าหน้าที่รัฐ ตายกันไปเท่าไหร่แล้ว ขณะนี้คนวิพากษ์วิจารณ์ ไม่ได้เดือดร้อนกับเขา รวมถึงการกระทำผิดกฎหมายต่าง ๆ อีกด้วย เช่น กฎหมายปกติ กฎหมายพิเศษ เหล่านี้จะต้องนำไปสู่การปฏิบัติ การบังคับใช้ ด้วยความร่วมมือความยินยอมพร้อมใจซึ่งกันและกัน อย่าไปอาศัยกลุ่ม NGO กลุ่มองค์กรอิสระ ทั้งในและต่างประเทศ ที่ดี ๆ เขาก็มี ก็ขอร่วมมือกับที่ดี ๆ ก็แล้วกัน ที่ไม่ดีก็ช่วยกันขจัดออกไป ทั้งนี้เขาก็พยายามใช้ทางด้านนี้ ความกดดันเหล่านี้มาบังคับให้รัฐไม่ใช้กฎหมายอย่างเต็มที่ อ้างสิทธิมนุษยชน ทั้งที่เราก็บังคับใช้กฎหมายปกติ บ้านเมืองปกติเหมือนที่เคยใช้บังคับทั่วประเทศไทย กฎหมายอาญาเหล่านี้มีหมดอยู่แล้ว มีการบิดเบือนเรื่องราวต่าง ๆ พยายามทำให้เป็นความขัดแย้งทางศาสนา พุทธ - มุสลิม ซึ่งมีการอยู่กันมาช้านานอย่างเป็นปกติสุข คราวที่แล้วก็ตรวจพบเอกสาร ไปตัดทอนออกเอาแต่พุทธเข้าไป ทุกศาสนาตัดทิ้งออกไปเลยก็ทำให้ประชาชนเดือดร้อน เขาก็ไม่ยอมรับรัฐธรรมนูญ ก็มีส่วนหนึ่ง อันนี้ไม่ได้กล่าวอ้างเพราะเจ้าหน้าที่รายงานเข้ามาแบบนี้จริงในทางลึก เพราะฉะนั้นเราจะต้องไม่ถูกบิดเบือนด้วยประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์คือประวัติศาสตร์ จำจะได้ไม่ต้องมาต่อสู้กันอีก วันนี้ต้องอยู่อย่างสันติ ประเทศทุกประเทศในโลกมีประวัติศาสตร์ทั้งนั้น สมัยก่อนก็ไม่ได้เป็นประเทศ รบกันไปรบกันมาใครแข็งแรงกว่าตั้งประเทศขึ้นมาก็เท่านั้นเอง วันนี้เราก็เป็นญาติพี่น้องกันทั้งสิ้น

อีกประการหนึ่งที่สำคัญ คือ การด้อยค่าการทำงานของรัฐ หาว่ารัฐแก้ปัญหาไม่ได้แก้ปัญหาไม่เป็น เพราะทุกคนมองด้านเดียวหมด สื่อและสังคม บางคนบางกลุ่มอาจจะไม่เข้าใจที่ตนพูดวันนี้ อยากให้ทุกคนเข้าใจพร้อมกัน บางคนก็หวังดีแต่ไปขยายความ ทำให้สถานการณ์ดูเหมือนรุนแรงขึ้น ตนไม่ได้ปกปิดอะไรเลย ทั้งนี้อาจจะหวังดี เจตนาดีหรือเจตนาไม่ดีก็ตาม ขอร้องกลับมาใหม่จะได้แก้ปัญหาได้เร็วขึ้น

สำหรับการพูดคุยสันติภาพก็เป็นสิ่งที่ทุกคนเร่งรัดพยายามจะให้เร็วขึ้นให้จบ เป็นไปไม่ได้ เพราะทุกอย่างมีขั้นมีตอนอยู่ ถ้าเราเร่งรัดจนเกินไปก็ทำให้อีกฝ่ายนำเอามาใช้เป็นจุดอ่อนของเรา ในการที่จะเพิ่ม ทำให้รัฐเสียเปรียบได้โดยการสร้างความรุนแรงมากขึ้น อีกเรื่องหนึ่ง หลายคนถามว่าการใช้กำลังทหารขนาดใหญ่ที่ลงไปมากมาย ไปกวาดล้างเป็นพื้นที่ทำไมไม่ทำ ทำได้หรือไม่ เราเอาลงไปเพื่อรักษาความปลอดภัย ดูแลเป้าหมายอ่อนแอ ดูแลชายแดน ดูแลการทำผิดกฎหมาย ถ้าไปกวาดล้างมันก็แตกกระจายกันทั่วไปหมด เราก็ใช้ด้านการข่าวในการตรวจค้นดำเนินคดี ใช้กฎหมายปกติเป็นหลัก อันไหนที่ไม่เป็นธรรมต้องร้องเรียน ร้องทุกข์ก็ร้องขึ้นมา รัฐบาลก็สอบสวนให้หมด ใครก็ทำผิดไม่ได้อยู่แล้ว ทั้งประชาชนและเจ้าหน้าที่ ไม่เช่นนั้น ถ้าเราใช้กำลังมาก ๆ อย่างนั้น เป็นเหมือนกับสงคราม ซึ่งเราไม่อยากให้เป็นอย่างนั้นเพราะจะลุกลามบานปลาย ขัดแย้งมากขึ้น รุนแรงขึ้น เพราะฉะนั้นเจ้าหน้าที่ในวันนี้ระวังมาก ในการบังคับใช้กฎหมาย ระวังอย่างเต็มที่และขณะเดียวกันก็ต้องระวังตัวเองด้วยเช่นกัน เพราะฉะนั้นถ้าต่างคนต่างมีอาวุธกันอยู่แบบนี้ ก็ไม่ได้ เจ้าหน้าที่ตำรวจ ทหาร พลเรือนเขาก็ตายเป็นเหมือนกัน เพราะฉะนั้นถ้าใครถืออาวุธมา ต่อสู้กับเจ้าหน้าที่ก็ต้องมีการใช้อาวุธตอบโต้กัน

ในเรื่องของการขอให้มีการยกเลิกกฎหมายพิเศษ เช่น พ.ร.บ. ความมั่นคงฯ พ.ร.ก. ฉุกเฉินฯ กฎอัยการศึกในทุก ๆ พื้นที่เป็นอันตรายที่สุด ที่เราทำงานได้ทุกวันนี้ เพราะมันมีกฎหมายพิเศษ เพราะกฎหมายปกติทำไม่ได้เลย หรือทำไม่ได้มากนัก เพราะอะไร เพราะประชาชนมีปัญหา กฎหมายพวกนี้ไม่ได้ออกมาควบคุมท่านถ้าท่านทำความดีอยู่แล้ว ไม่ได้ทำความผิดท่านจะไปกลัวอะไรเล่า ทุกเรื่อง มาตรา 44 ก็เหมือนกัน ถ้าท่านทำความดีอยู่แล้วจะกลัวอะไร เพราะฉะนั้นถ้าเราไปยกเว้นบางพื้นที่อาจจะทำให้ผู้ที่ก่อเหตุความรุนแรงเหล่านั้น ได้ไปปรับวิธีการสามารถใช้พื้นที่ดังกล่าวนั้นที่ยกเว้นไปนั้นเป็นแหล่งซ่องสุ่ม เป็นพื้นที่ปลอดภัย เป็นพื้นที่ฝึกการต่อสู้ เป็นพื้นที่ส่งกำลัง และแยกออกจากพื้นที่ส่วนปฏิบัติการที่มีการใช้อาวุธต่อสู้กัน บางพื้นที่ที่เหมือนไม่ค่อยมีเหตุรุนแรง ก็จะให้รัฐยกเลิกโดยเร็วไม่ได้ เดี๋ยวก็มีการใช้การสับเปลี่ยนวิธีการเขาก็คิดเป็นเหมือนกัน เราก็ต้องครอบคลุมตรงนี้ไว้ให้ได้ก่อน ด้วยการพัฒนาด้วยการทำให้ประชาชนมีส่วนร่วมให้เขามีรายได้อย่างแท้จริง เอาคนดี ไปทำให้คนไม่ดีกลับมาสู่กลไกของรัฐสู่กฎหมาย จะทำให้ทุกอย่างเป็นไปได้ในการแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน เราอย่าไปทำให้พื้นที่ต่าง ๆ เป็นพื้นที่ปลอดภัยของเขา อย่าไปกดดันรัฐ อ้างสิทธิมนุษยชน ก็ขอให้ภาคประชาชน ภาคประชาสังคม NGO องค์กรสิทธิมนุษยชนในประเทศนอกประเทศเข้าใจตามนี้ด้วย กฎหมายไทย ก็ต้องเคารพซึ่งกันและกัน เหมือนกับที่เราเคารพกฎหมายต่างประเทศทุกฉบับ

คำต่อคำ : รายการ “คืนความสุขให้คนในชาติ” วันที่ 2 กันยายน 2559


สวัสดีครับ พ่อแม่พี่น้องชาวไทยทุกท่าน วันจันทร์ที่ผ่านมานั้น ผมก็มีความยินดี ที่การรถไฟแห่งประเทศไทย ได้รถขบวนใหม่ จำนวน 39 คัน จากจำนวน 115 คัน ซึ่งเราจะได้รับครบทั้งหมด ภายในเดือนตุลาคมนี้ ทางรถไฟ การรถไฟ ได้รายงานว่า เป็นจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญของประวัติศาสตร์ 100 กว่าปี ของการรถไฟไทย นั้น 60 ปี ที่ผ่านมา ได้มีการสร้างเส้นทางเพิ่มเติม 40 ปี ที่ผ่านมา ได้มีการเสริมขบวนใหม่ ได้มีการซื้อขบวนรถใหม่ เพื่อทำให้การรถไฟไทย เป็นคมนาคม ที่เก่าแก่มากที่สุด ของประเทศไทย ตั้งแต่รัชกาลที่ 5 ทรงริเริ่มไว้ อยู่ในปัญหาซบเซา ได้รับการบริหารจัดการ อย่างมีประสิทธิภาพตลอดมา โดยพิจรณาได้จากจำนวนผู้ใช้บริการ มีเพียง 5 เปอร์เซ็นต์ ของการเดินทางภายในประเทศทั้งหมด และปริมาณการขนส่งสินค้าเพียง 2 % ของการขนสิ่งสินค้าภายในประเทศ ทั้ง ๆ ที่ทั่วโลกนั้น ปัจจุบันให้ความสำคัญกับการขนส่งทางรถไฟมากที่สุด และก็มีการวิวัฒนาการไปไกลกว่าเรามาก เราคงรอเขาอยู่ ที่เราเน้นตรงนี้ เพราะประหยัด เชื่อมโยงกันได้ทั้งในประเทศ ไปสู่ภูมิภาคต่าง ๆ ของโลกได้ และมีการขนส่งสินค้า ราคาถูก และมีการขนส่งมาก ๆ ทั้งคนและสินค้าด้วย เพราะฉะนั้นจากที่ รถไฟของเรานั้น พัฒนามาล่าช้านับสิบ ๆ ปีนั้น เรามีปัญหาเรื่องการให้บริการ การพัฒนาพื้นที่ 2 ข้างทาง ซึ่งทำให้ได้ตามกฎหมายเดิม ก็ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจ และไม่มีการปฏิรูปองค์กร ให้สอดรับกับการเปลี่ยนแปลง ทางเทคโนโลยีของโลก วันนี้ผมก็ได้ขอความร่วมมือกับ บุคลากรทุกคนในองค์กร ขอความ ร่วมมือในการปรับปรุงและเปลี่ยนแปลง โครงการนี้ แม้จะได้รับ ความเห็นชอบในวงเงิน 9,400 กว่าล้านบาท เมื่อปี พ.ศ. 2554 แต่การจัดซื้อจัดจ้างทำไม่สำเร็จ รัฐบาลนี้ได้เข้ามาเร่งรัดให้สามารถดำเนินการได้ โดยแก้ปัญหาความขัดข้องทั้งปวง ทันทีให้สามารถลงนามในสัญญาซื้อวงเงิน 4,600 กว่าล้านบาท ปลายปี พ.ศ. 2557 ถูกลงราว 3,000 กว่าล้านบาท จากวงเงินที่ตั้งไว้เดิมและเราก็จะได้รับขบวนใหม่ทั้งหมด เดือนตุลาคมนี้ ก็มีทั้ง ตู้โดยสาร มีทั้งหัวรถจักร หลาย ๆ อย่าง มีการจัดซื้อสจัดหาใหม่ ทั้งนี้ เมื่อเปิดให้บริการแล้ว รถไฟไทย น่าจะมีรายได้เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 1,250 ล้านบาท ก็เป็นการยกระดับภาพลักษณ์การบริการ ปลอดภัย ทันสมัย สะอาด และมีขีดความสามารถ เพิ่มขึ้น สามารถอำนวยความสะดวกให้ทุกกลุ่มผู้โดยสาร ทั้งทั่วไป นักท่องเที่ยว คนพิการ ผู้สูงอายุ ก็จะกลับมาเป็นที่พึ่งของประชาชนอีกครั้ง ก็หลายอย่างก็จะกลับมาสู่การใช้จ่ายงบประมาณของรัฐ จะได้ไม่ต้องใช้เงินอื่น ๆ มากนัก มีผลดีต่อ สวัสดิการต่อบุคลากรที่ทำงานอย่างหนักในอนาคต ทั้งนี้ รถไฟใหม่จำนวน 115 คัน นั้น จะใช้แป็นขบวนรถด่วน 4 เส้นทาง คือ กรุงเทพฯ - เชียงใหม่ กรุงเทพฯ - อุบลราชธานี กรุงเทพฯ - หนองคาย และ กรุงเทพฯ - หาดใหญ่ ตามสถิติปริมาณผู้โดยสารและปริมาณความนิยม จะวิ่งด้วยความงเงร็วสูงสุดประมาณ 120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เมื่อมีการก่อสร้าง ทางคู่เสร็จสมบูรณ์ ทำให้ถึงที่หมาย อาจจะเร็วขึ้นสัก 3 ชั่วโมง ทั้งนี้ แผนการปฏิรูปรถไฟที่รัฐบาลนี้ดำเนินการอยู่ครบวงจร ก็ได้แก่ 1. การพัฒนาทางคู่ในระยะทางคู่ ในระยะ 5 ปี ของรัฐบาลนี้ ก็คือ การสร้างทางคู่ระยะแรกและระยะเร่งด่วน ระยะที่ 1 1 เส้นทาง ระยะที่ 2 อีก 8 เส้นทาง รวมสระยะทาง 2,508 กิโลเมตร ก็คือให้รถมันทวนได้นั้นแหละ ปัจจุบันนั้นสัดส่วนทางเดี่ยวมี 93% ทางคู่มีเพียง 4% คิดดูว่ารถไฟมันจะไม่วิ่งช้าได้อย่างไร ถึงมันจะวิ่งเร็วกว่านี้ มันก็ต้องไปรอที่สถานีหน้า เพราะมันต้องวิ่งสวนทางบนรางเดียวกัน วันนี้ต้องแก้ปัญหาเรื่องรถไฟทางคู่ โครงสร้างกิโลเมตรของเดิมด้วย ในส่วนของการจราจรทางรถไฟนั้น อดีตจนถึงปัจจุบันยังลไม่เต็มศักยภาพ ทำให้ไม่ไกด้รับความนิยม ถึงที่หมายล่าช้า เพราะฉะนั้น เมื่อรถไฟทางคู่เสร็จสมบูรณ์ ต้องสมบูรณ์ มันจะมีสัดส่วนทางคู่เพิ่ม เป็น 60% ซึ่งก็คงช่วยแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้มากพอสมควร ประการที่ 2 ก็คือ การแก้ปัญหาจุดตตัดรถไฟ ซึ่งมี 1,000 กว่าแห่งทั่วประเทศ มีทั้งที่ถูกกฎหมายและผิดกฎหมาย คือ ไปข้ามเพิ่มงเติมเอาเอง วันนี้่ ก็ต้องทำอุโมงค์ทางข้าม ทางลอด การติดตั้งสัญญาณไฟ และ เรื่องที่ 3 คือ การกพัฒนารถไฟ ความเร็วสูง 4 เส้นทาง เพื่อจะเชื่อมโยงระบบเศรษฐกิจ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เหนือใต้ออกตก จะเชื่อมเมืองกรงเทพฯ กับเมืองเศรษฐกิจหลัก 4 ภาค ระยะแรกได้แก่ กรุงเทพฯ - นครราชสีมา กรุงเทพฯ - ระยอง กรุงเทพฯ - หัวหิน กรุงเทพฯ - พิษณุโลก กรุงเทพฯ - เชียงใหม่ และจะสามารถต่อไปยังเพื่อนบ้านและภูมิภาคต่าง ๆ ของโลกได้ วันนี้ต้องใช้งบประมาณจำนวนมาก ก็ต้องวางแผน เป็นระยะ ๆ ระยะแรกจะทำได้แค่ไหน เท่าไหร่ ก็ ๆ ในประเทศก่อน บางเส้นก็ เชื่อมต่อต่างประเทศ ที่เหลือก็ทำต่อไป จัดทำแผนแม่บทไว้ให้เรียบร้อย เราก็จะผลักดันให้ได้ ไปในยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี แล้วก็แผนพัฒนาเศรษฐกิจระหว่างชาติฉบับที่ 12 ซึ่งมียระยะเวลา 5 ปี พ.ศ. 2560 - พ.ศ. 2564 ว่าเราจะต้องทำอะไรกันต่อไป ที่เราเริ่มไว้ ทั้งนี้ยังคงมีอีกหลายโครงกาครขนาดใหญ่ ที่เรายังคงต้องดำเนินการ ในการจัดซื้อจัดจ้างใหม่ หรือทดแทน ของเดิมให้สอดคล้องกับ พ.ร.บ. งบประมาณ ที่จะต้องจัดฟทำใหม่ ในเรื่องการใช้จ่าย ผมได้สั่งการประชุม คณะรัฐมนตรีเพิ่มเติมให้ ไปศึกษาวิธีดำเนินการจัดซื้อจัดจ้าง โดยให้คณะกรรมการ 3 ระดับ เหมือนกับที่ทำอยู่ในปัจจุบัน ได้แก่ คณะแรก คณะกรรมการนกำหนดความต้องการ จะมีหน้าที่ ในการจัดทำประมาณการ แผนการบริหารล่วงหน้า แผนแม่บท ทั้งนี้ เพื่อจะขอการสนับสนุนงบประมาณ ตามระยะเวลาที่คาดการณ์ได้ ไม่ใช่สะสมความต้องการมาหลายปี เช่นรถไฟ หลายโครงการ และมาเสนอขอในคราวเดียวกัน มันก็ทำไม่ได้ มันก็ต้องเริ่มต้น ประชาชน ก็ใจร้อน เรื่องที่ 2 คือ เป็นคณะกรรมการสรรหา ซึ่งก็ต้องสอดคล้องกับความต้องการของประชาชน ประเทศและหน่วยงานที่ใช้งาน ทั้งทางเทคนิคและความเป็นไปได้ ซึ่งจะต้อง นำมาจากคณะที่และสอดคล้องไปกับแผนสภาพัฒน์ หรือแผนการปฏิรูปรถไฟ หรือหน่วยงานอื่นก็แล้วแต่ 3. ก็คือคณะกรรมการ ตรวจสอบคุณสมบัติ อันนี้เพื่อจะลดความไม่ไว้เนื้อเชื่อใจให้ได้ เพราะฉะนั้นจะต้องมีคณะกรรมการ ตรวจสอบคุณสมบัติ ต้องมีคณะกรรมการ ทั้งราคาของการบำบัดบำรุง การหาอะไหล่ การซ่อมแซม อะไรต่าง ๆ ก็แล้วแต่ การถ่ายทอดเทคโนโลยีต่าง ๆ เหล่านี้ ข้อมูลจากคณะกรรมการทั้ง 3 ระดับนั้น จะมานำใช้ ประกอบในการจัดทำ TOR ในการประกอบ การจัดซื้อจัดจ้างต่อไป เพื่อให้เกิดความชัดเจน โปร่งใส แล้วก็งบประมาณไม่ซ้ำซ้อน ต่อเนื่องเชื่อมโยง ตรงความต้องการและมีการบริหารงบประมาณ ประเทศได้อย่างเป็นะระบบ มีแบบแผน มียุทธศาสตร์

สำหรับปัญหาการจราจรในกรุงเทพฯ ตามที่เป็นข่าวแล้วนั้น จริง ๆ แล้ว รัฐบาลนี้คิดมาอย่างต่อเนื่อง พยายามแก้ไป แต่มันแก้ทั้งระบบ มันทำได้ยาก ยากมาก เพราะว่ามัน หลายอย่าง มันทับซ้อนกันอยู่ ก็ต้องเข้าใจ ไม่ได้ปัดความรับผิดชอบ มันเป็นปัญหาเรื้อรัง ไม่ได้เกิดวันนี้ ไม่ได้เกิดจากปริมาณรถ หรือเส้นทางที่มีอยู่ปัจจุบันไม่สมดุลเท่านั้น ต้องมองปัญหาทั้งระบบ และมีการแก้ปัญหาอย่างมียุทธศาสตร์ระยะสั้น ระยะกลาง ระยะยาว ก็ขอเพียงความเข้าใจและร่วมมือจากทุกฝ่าย และก็มีการบูรณาการร่วมกันในหลายมาตรการ รัฐบาลทุกรัฐบาลก็พยายามจะแก้แต่ก็แก้ไม่ได้ ตอนหลัง ก็คงเลิกแก้ไป รัฐบาลก็พยายามจะแกะออกมาใหม่ แล้วแก้ให้ได้อย่างที่ประชาชนต้องการ ทุกคนต้องร่วมมือ ไม่อย่างนั้น ก็ไม่สามารถจะแก้ไขทุกวิธีได้อย้่างบูรณาการ ประชาชน อาจไม่ยินยอม พร้อมใจการจัดซื้อจัดจ้างก็ทำไม่ได้ สร้างถนน ทางด่วน สร้างรถไฟ ก็แล้วแต่ เพราะว่า ปัญหาสำคัญก็คือปัญหางบประมาณ มาตรการบางอย่างก็อาจจะกระตุ้นเศรษฐบกิจ แต่ก็อาจจะ ส่งผลกระทบด้านสังคม จิตวิทยาบ้าง เช่นยไม่เข้าใจกัน อยากได้ต้องมีหนี้ ต้องกู้เงิน ภาระหนี้สิ้นสูง เราก็ต้องบริหารให้ได้ รัฐบาลนี้ทำทุกวิถีทางทุกอย่าง เอาปัญหามารแล้วก็คิดโครงการออกมา แล้วก็ทำอย่างไร ประชาชนจะเข้าใจ ยินยอมพร้อมใจที่จะดำเนินการให้ได้ ถ้าอยาหกได้แต่ไม่ลงทุนอะไรกันเลย มันก็ไม่ได้หมด ทุกเรื่อง

วันนี้เราก็คิดในโครงสร้างใหญ่ด้วย เช่น 1. การเชื่อมโยงกรุงเทพฯ - ชานเมือง และหัวเมืองใหญ่ ทั้งนี้ เราต้องการจะกระจายความเจริญ ความแออัดออกนอกเขตเมืองกรุงเทพฯ และเมืองใหญ่โดยได้มีการเร่งรัดโครงการก่อสร้าง ด้านคมนาคม ทั้งทางด่วน ทางพิเศษ วงแหวน และรถไฟ แล้วให้มีที่อยู่อาศัยของประชาชน ทุกกลุ่ม ทุกฝ่าย รายได้ปานกลาง รายได้น้อย รายได้มาก อะไรก็แล้วแต่กระจายไปอยู่ชานเมือง ทั้งภาคธุรกิจด้วยประชาชนสามารถเดินทางไปทำงานเช้า - กลับเย็นได้ อาทิเช่น โครงการรถไฟความเร็วสูงใน 4 เส้นทาง รัฐบาลนี้ก็ได้เร่งรัดดำเนินการในระยะแรกให้ได้ โดยพิจารณาเรื่องของการพัฒนาพื้นที่ 2. ข้างทางในเชิงธุรกิจด้วย เราก็ต้องไปดูเรื่องกฎหมาย ต้องมีการปรับปรุง ทั้งนี้ เพื่อจะยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชนที่ถูกเวนคืนที่ดิน หรือในพื้นที่ที่รถไฟผ่าน เราแก้ปัญหาหนึ่ง จะต้องไม่ให้ชระชาชนเดือดร้อน จะทำยังไง กฎหมายว่ายังไง รัฐศาสตร์จะแก้ยังไง เราจะต้องให้มีที่อยู่อาศัย มีตลาด มีชุมชนใหม่เกิดขึ้น หรือแม้กระทั่งเป็นศูนย์ซ่อม สร้างงาน สร้างรายได้ในท้องถิ่นเหล่านี้ เป็นต้น

ในเรื่องของการจัดระเบียบรถตู้โดยสารประจำทางมาตรฐาน ก็พยายามเต็มที่ วันนี้เส้นทางกรุงเทพฯ - จังหวัดต่าง ๆ ในระยะทาง ไม่เกิน 300 กิโลเมตร ก็จะต้องไปใช้พื้นที่สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ ทั้ง 3 สถานี จตุจักร สายใต้ เอกมัย ภายในเดือนตุลาคมปีนี้ ขออย่าต่อต้านเลย ต้องช่วยกัน ไม่เช่นนั้นก็ติดอยู่เหมือนเดิม การจราจรก็ต้องเริ่มทุกอัน ถ้าทุกคนยังต้องการประโยชน์อย่างเดิม กฎหมายไม่สนใจ เหล่านี้ก็พัลวันกันอยู่แบบนี้ ก็อาจจะช่วยลดปริมาณการจราจรรถตู้กว่า 4,000 คัน ในใจกลางเมือง ขอให้เคารพกติกาด้วย ไม่ใช่เริ่มแล้วก็กลับมาใหม่ เรียกร้องโน่นนี่ ผลักดันให้ประชาชนมาเรียกร้องหรืออะไรทำนองนี้ ผมจะต้องเข้าไปสอบสวนในทุกเรื่องในการประกอบการต่าง ๆ ทั้งหมดด้วย เราจะต้องเชื่อมโยงกับทางด่วนให้ได้ แล้วระบบขนส่งมวลชนอื่น ๆ ที่เราจะสามารถบริหารจัดการได้ง่ายขึ้น ทั้งมิติปริมาณการจราจร มาตรฐานการให้บริการ ก็เห็นใจผู้มีรายได้น้อย จะทำอย่างไร ล่าสุด ก็เพิ่งเปิดตัวทางพิเศษ สายศรีรัช - วงแหวนรอบนอก เพื่อเพิ่มข่ายเส้นทางเชื่อมโยงถนนกาญจนาภิเษก ที่ด่านบรมราชชนนี บริเวณตลิ่งชัน เชื่อมโยงทางด่วนศรีรัช ที่ด่านกำแพงเพชร 2 บริเวณชุมทางรถไฟบางซื่อ ใกล้สถานีขนส่งหมอชิต เป็นต้น

ในเดือนตุลาคม 2559 นี้ เราเก็บค่าผ่านทางอัตโนมัติ ETCS นะครับ ระหว่างการทางพิเศษ Easy Pass กับกรมทางหลวง M-Pass ก็จะสามารถเชื่อมโยงโครงการใช้ร่วมกันได้ มันอาจจะมีปัญหาอยู่บ้างระยะแรก เพราะเป็นการทดสอบด้วยอะไรด้วย แต่ประเด็นสำคัญก็คือ ถ้าทำให้สมบูรณ์นั้น มันจะลดการติดขัดบนทางด่วนได้ส่วนหนึ่ง ข้างล่างมันก็ไม่ติดต่อไปนะครับ ต้องมองทั้งระบบ อันนี้ก็เป็นก้าวแรกของแนวคิดบัตรร่วม หรือ e-Ticket ของรัฐบาลที่เราเคยกล่าวไปแล้วการดำเนินการทั้งหมดมันใช้เวลาทุกเรื่อง ไม่ใช่สั่งวันนี้พรุ่งนี้ได้ ในอนาคตเราต้องเชื่อมการเดินทางทุกระบบในบัดเดียวกัน เพื่อความสะดวกสบายของพี่น้องประชาชน

เรื่องที่ 2 คือ การเชื่อมโยงระบบขนส่งมวลชนภายในกรุงเทพฯ และปริมณฑล นอกจากเรื่องบัตรร่วมแล้วเราต้องเชื่อมโยงทั้งเส้นทาง สถานีระหว่างเรือโดยสาร รถไฟฟ้า รถประจำทาง ทั้งนี้เรือด่วนเจ้าพระยา 19 สถานี เราได้ดำเนินการให้ยกระดับท่าเรือเป็นสถานีเรือ ให้มีการบริการคล้ายสถานีรถไฟฟ้าที่มีความปลอดภัย สะดวก ทันสมัย มีระบบแจ้งข้อมูลเส้นทาง และการสัญจรทางเรือให้ผู้โดยสารทราบ จัดระเบียบพื้นที่ให้บริการในสถานีเรือ และเชื่อมโยงกับระบบรถไฟฟ้า 4 สาย ม่วง แดง น้ำเงิน เขียว ใน 5 สถานี เป็นต้น จุดเชื่อมต่อ 1 กิโลเมตรกำลังทำอยู่นะครับ หาทางทำให้ได้โดยเร็ว

ส่วนเรือในคลองแสนแสบ คลองผดุงนั้นจะมีการปรับปรุงสถานีเรือ ตามแนวทางเรือด่วนเจ้าพระยา พร้อมทั้งปรับภูมิทัศน์ 2 ฝั่งคลอง ทางเรือเลียบคลอง และมีเรือโดยสารที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ไม่รบกวนผู้อาศัยริมคลอง แต่ผู้ที่อาศัยแบบผิดกฎหมายก็ต้องร่วมมือกันว่าจะหาทางออกยังไง หลายอย่างก็มีแรงต่อต้านหมด แต่ลืมไปว่าตัวเองก็อยู่ผิดกฎหมาย ต้องนึกถึงคนอื่นเขาด้วย ที่เขาไม่ผิดกฎหมายจะทำยังไง เราต้องการให้คนทุกคนนั้นสามารถเข้าถึงคูคลองแม่น้ำได้ ผมได้ให้แนวคิดไปศึกษาดูว่า เราจะทำเรือแท็กซี่เหมือนที่ต่างประเทศเขาทำ ผมเห็นในโทรทัศน์ เราจะทำบ้างหรือเปล่าระยะสั้นๆ ในทุกคลองทั้งใน กทม. ที่สามารถทำได้ มีระดับน้ำ มีความปลอดภัย เพื่อจะลดปริมาณการใช้ระบบใดบ้าง

ทั้งบนรถไฟฟ้า ล่าสุด เราเพิ่งเปิดตัวรถไฟฟ้าสายสีม่วง ก็มีปัญหาอยู่นะครับ การเชื่อมต่อที่ผมกล่าวไปแล้ว กำลังแก้อยู่ ส่วนรถไฟฟ้าสายอื่นจะทยอยดำเนินการผลักดันให้มีความชัดเจน หากสร้างเสร็จสมบูรณ์ครบทุกสาย ก็จะเกิดเครือข่ายเส้นทางที่ครอบคลุมกรุงเทพฯ ปริมณฑล และอาจจะจูงใจให้ลดการใช้รถยนต์ส่วนบุคคล ที่ผ่านมาระบบมันไม่เชื่อมต่อ แล้วจะทำยังไงเวลามันแค่นี้ 2 ปี เข้ามาก็พยายามทำอย่างเต็มที่ ก็ต้องทำต่อไปในระยะต่อไปด้วย เราจะได้หันมาพึ่งพาระบบขนส่งสาธารณะ มันก็มีปัญหาอีก ราคามันสูงจะทำยังไงอีกที่จะสะดวกกว่า ประหยัดกว่า ผมได้สั่งการเพิ่มเติมในที่ประชุม ครม. ไปแล้ว ให้พิจารณาหาโครงการรถไฟฟ้าโครงสร้างเบา เพื่อจะราคาถูกลงทุนน้อยเป็นพวกแทรม พวกรถราง อะไรล่ะ ใช้เหมือนต่างประเทศเขามี เช่น หลายประเทศเขาทำในการสัญจรไปมาในตัวเมืองใหญ่ ไม่ว่าจะไปสถานประกอบการธุรกิจ การค้า ที่อยู่อาศัยต่าง ๆ ในระยะสั้น เป็นรถไฟฟ้า ทางเหนือคลอง และเส้นทางด้วยในเมืองใหญ่ เข้าถึงชุมชน สถานประกอบการ และสถานีต่าง ๆ ในกรุงเทพฯ ต่างจังหวัดก็คิดมาอยู่แล้วแหละ ก็เริ่มคิดมาหลายจังหวัด ต้องช่วยกัน

สำหรับระบบขนส่งมวลชนทางถนนนั้น เราจำเป็นต้องมีการจัดระเบียบคิวรถตู้ มีมอเตอร์ไซค์ทั้งมาตรฐานการใช้บริการ ความปลอดภัย และเส้นทางเดินรถ ที่จะสามารถเสริมระบบขนส่งหลักอื่น ๆ ทั้ง ขสมก. และระบบรถไฟฟ้า ที่ผ่านมา การบริหารโครงการ อาจจะไม่เปลี่ยนระบบ ไม่บูรณาการ ต่างคนต่างทำเพราะคนละโครงการ เชื่อมโยงกันไม่ได้ คนละระบบอีก การเดินรถก็มีปัญหา ที่สำคัญก็คือ ล่าช้า ทำโครงการไปแล้วพังทำต่อไม่ได้ จัดซื้อไม่ได้ ไม่โปร่งใส เหล่านี้ไม่ได้หมายความว่าจะทุจริตทั้งหมด มันอาจจะมีวาระอื่นซ่อนเร้นอยู่ นโยบายก็เปลี่ยนไปตามรัฐบาลทุกรัฐบาลที่ผ่านมา มันเลยทำให้เราคิดว่า ไม่มียุทธศาสตร์ ทุกเรื่องมันไม่มียุทธศาสตร์ มันแก้ไขไม่ต่อเนื่อง ไม่เชื่อมโยงระบบ รัฐบาลนี้ต้องทำทุกอย่าง เพื่อจะเชื่อมโยงทุกระบบให้ได้ ในระยะเวลาที่เราอยู่นี้นะครับ แบบไร้รอยต่อ แต่ก็ต้องทำกันต่อไปในวันหน้าด้วย มันทำไม่เสร็จหรอก ต้องแก้ของเก่าที่เป็นปัญหาให้เสร็จก่อน วางระบบใหม่ และรีบดำเนินการให้ได้ เพื่อพวกเราทุกคน และลูกหลานในอนาคต

แต่อย่างไรก็ตาม สิ่งที่สำคัญที่สุด ก็คือ จิตสำนึกในเรื่องของวินัยจราจร การมีน้ำใจ การใช้รถใช้ถนน ไม่ฝ่าฝืนกฎจราจร ไม่จอดในพื้นที่ห้ามจอด มีการให้ทาง เป็นต้น ก็ได้ปรับปรุงหลายอย่างทั้งเจ้าหน้าที่ด้วย ไม่ใช่ว่าบังคับใช้กฎหมายอย่างเดียว ต้องดูซิว่าจะทำยังไงกัน เพื่อจะได้ไม่มีความขัดแย้ง มีการผลประโยชน์ตอบแทนอะไรทำนองนี้ ทุจริตอะไรทำนองนี้ มันต้องไม่เกิดขึ้น ความขัดแย้งระหว่างเจ้าหน้าที่กับประชาชนมีมากในปัจจุบัน เพราะการบังคับใช้กฎหมาย

ผมเห็นเรื่องเหล่านี้มีความสำคัญทั้งหมด อาจจะช่วยลดอุบัติเหตุได้บ้าง ลดปัญหาสัญจรได้อีกด้วย ความสำคัญก็คือเรามีงบประมาณจำกัด เราต้องค่อย ๆ แก้ไป แก้ทั้งหมด วางแผนแม่บทไว้ เพราะเราแก้ไม่ได้ไง วางแผนให้อุ่นใจเอาไว้ วันหน้าก็ส่งต่อไป รัฐบาลทุกรัฐบาลก็ทำต่อไป จะได้ใช้งบประมาณประเทศที่มันเป็นไปตามระเบียบ การใช้จ่ายงบประมาณ ระบบการเงินการคลังของประเทศก็ไม่เสียหาย หลายอย่างถ้าเราร่วมมือกันแล้ว ไม่เป็นแบบนี้ตั้งแต่ต้นก็คงไม่หนักหนาสาหัสขนาดนี้ ถ้าเรามีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ไม่ได้แก้ปัญหาที่ปลายเหตุ ทุกเรื่องมาแก้ปลายเหตุจะได้ยังไง เพราะฉะนั้นดูต้นเหตุก่อนนะครับ ล่าสุดการสูบบุหรี่บนรถแท็กซี่สาธารณะทั้งคนขับ และผู้โดยสาร จะถือเป็นเรื่องผิดกฎหมาย ก็ขอความร่วมมือด้วย จะเริ่มมีผลบังคับใช้ ตั้งแต่ 1 กันยายนนี้ เป็นต้นไป

สำหรับในการประชุมคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนบีโอไอ จะมีการเห็นชอบใน 3 เรื่องที่สำคัญ ได้แก่ 1. ได้อนุมัติให้ส่งเสริมการลงทุนแก่กิจการในกลุ่มต่าง ๆ จำนวน 34 โครงการ มูลค่าการลงทุนเกือบ 2.7 แสนล้านบาท ใน 6 กลุ่ม ซึ่งโครงการเหล่านี้คาดว่าจะส่งเสริมให้มีการใช้วัตถุดิบในกระบวนการผลิตกว่า 1.6 แสนล้านบาทต่อปี นอกจากนั้น ยังกระตุ้นในกิจกรรมต่อเนื่องที่เรียกว่า ห่วงโซ่อุปทาน ในสินค้าและบริการต่างๆ ในท้องถิ่น และในภาพรวมของประเทศอีกด้วย

2. การส่งเสริมการลงทุนอุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร (Medical Hub) ที่เราเตรียมการสู่การเป็น Hub ในเรื่องนี้ เราเป็น 1 ใน 10 ของอุตสาหกรรมเป้าหมายที่กำหนดไว้ เรื่องทางการแพทย์ เพราะฉะนั้นตามนโยบายขับเคลื่อนเศรษฐกิจของรัฐบาล เราจะต้องให้สิทธิประโยชน์เพิ่มเติมแก่ในเรื่องของการผลิตยา อาจจะต้องมีการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล รวมทั้งกิจการผลิตเครื่องมือแพทย์ นอกจากจะเป็นการผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์ครบวงจรแล้ว ยังช่วยสร้างความมั่นคงด้านสุขภาพของคนในประเทศ เพื่อช่วยให้คนไทยสามารถเข้าถึงยา เครื่องมือแพทย์ ลดการขาดดุลการค้าจากการนำเข้ายา และเครื่องมือแพทย์จากต่างประเทศอีกด้วย หลายอย่างเราผลิตได้แล้ว ผมได้ให้แก้ไขเรื่องงบประมาณไปแล้ว ทุกหน่วยงานก็ต้องสนับสนุนผลงานวิจัย การผลิตภายในประเทศไปใช้งาน ที่มันไม่สอดคล้องมากนัก รับรองมาตรฐานให้ได้แล้วกันนะครับ

เรื่องที่ 3 ก็คือ มาตรการส่งเสริมเมืองต้นแบบที่จะเป็นการแก้ปัญหาในภาคใต้ด้วยเรียกว่า สามเหลี่ยมมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เราจะมีการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แก่ อ.หนองจิก จ.ปัตตานี เป็นเมืองต้นแบบนะครับ ในเรื่องของการพัฒนาเกษตรอุตสาหกรรมก้าวหน้าผสมผสาน , อ.เบตง จ.ยะลา เป็นเมืองต้นแบบ การพัฒนาที่พึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน และที่ อ.สุไหงโก-ลก จ.นราธิวาส เป็นเมืองต้นแบบการค้าชายแดนระหว่างประเทศ

ทั้งนี้ มีการเพิ่มสิทธิประโยชน์สำหรับโครงการลงทุนใหม่ใน 3 พื้นที่ดังกล่าว ได้แก่ ค่าขนส่ง ค่าไฟฟ้า ค่าประปา ค่าลดหย่อนอากรขาเข้า 90% สำหรับวัตถุดิบนำเข้ามาผลิต เพื่อจำหน่ายในประเทศเป็นเวลา 10 ปี ถ้าไม่ทำแบบนี้ไม่มีใครมาลงทุน มันต้องไม่เกิดการใช้วัสดุภายในประเทศมันก็ไม่เกิดอีกนะครับบางอย่าง เราจะยกเว้นอากรขาเข้าวัตถุดิบ และวัสดุจำเป็น สำหรับการผลิตเพื่อการส่งออกเป็นระยะเวลา 10 ปี เป็นต้น เพื่อสร้างแรงจูงใจ ผมก็ได้เน้นย้ำและให้แนวทางกับทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เราต้องพิจารณาทั้งการลงทุนจากต่างประเทศ การลงทุนของภาคธุรกิจ และเอกชนในประเทศไทย รวมถึงการลงทุนของภาคธุรกิจที่มีอยู่เดิมในพื้นที่ ไม่ให้ 3 อย่างมาขัดแย้งกันอีก มันเกิดไม่ได้หรอกถ้าขัดแย้งกันอยู่ ต้องประสานทั้ง 3 ส่วน เพื่อจะเชื่อมโยงกันให้ได้ โดยเฉพาะในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ รัฐบาลจำเป็นต้องส่งเสริมการลงทุนในธุรกิจที่มีอยู่เดิมในพื้นที่ให้มีการลงทุนเพิ่มขึ้น จากทั้งในพื้นที่ นอกพื้นที่ในต่างประเทศ ไม่ให้ส่งผลกระทบซึ่งกันและกัน ประชาชนจะเดือดร้อนน้อยที่สุด มีมาตรการช่วยเหลือเยียวยาที่เหมาะสม ก็เป็นกรณี ๆ ไป ไม่ใช่ทำทั้งหมดทีเดียวทั้งพื้นที่ เป็นไปไม่ได้อีกแล้ว มันต้องเป็นจุด ๆ ไป ตรงไหนเดือดร้อนก็เยียวยา แล้วหาประโยชน์ให้เขาได้ประโยชน์จากการทำดังกล่าวด้วยนะครับ

การส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศนั้น มันจะเกิดขึ้นไม่ได้เลย ถ้าบ้านเมืองเราไม่มีเสถียรภาพ ไม่มีความมั่นคง ทางด้านการเมือง และด้านความมั่นคงปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน อย่างไรก็ตามการที่จะทำให้เศรษฐกิจระดับฐานรากคือ คนที่มีรายได้น้อยนั้น ที่เราเรียกว่า ระดับรากแก้วด้วยนะครับ มีเงินเพิ่มขึ้นนั้น เศรษฐกิจในภาพรวมของประเทศไม่ว่าจะเป็นเศรษฐกิจการค้า การลงทุน การส่งออก - นำเข้า และ ภาคอุตสาหกรรมอื่น ๆ จะต้องดำเนินการให้เกิดความเชื่อมโยงกันทั้งระบบ ไม่ใช่ปล่อยต่างคนต่างทำกันไป มันก็เชื่อมโยงกันไม่ได้ ถ้าเราทำกันได้ในประเทศ มันก็เข้มแข็งขึ้น มีรายได้มากขึ้น คนรายได้น้อยก็ได้มากขึ้น ไม่ทำอะไรเลย มันก็เท่าเดิม ก็เหมือนเดิมที่ผ่านมาหลายสิบปีมาแล้ว เราจะได้ขยายความเชื่อมโยงไปสู่กลุ่มประเทศ CLMV และต่างประเทศอื่น ๆ ที่เงียบไปก็มีรถไฟความเร็วสูงบางเส้น ก็จำเป็นต้องปรับปรุงทั้งรถไฟทางคู่ที่มีมาตรฐานราง 1 เมตรเดิม แล้วก็มาตรฐานใหม่ คือ 1.425 เมตร มันต้องทำทั้งคู่ มันจะได้รองรับน้ำหนักได้มากขึ้น วิ่งเร็วมากขึ้น ต้องดูทางเลี้ยวทางโค้ง วิ่งสวนกันได้ มันต้องทำทุกอย่าง ไม่ใช่ 1 เมตรอย่างเดียว 1.5 อย่างเดียว หรือรือความเร็วสูงอย่างเดียว มันไม่ใช่นะครับ อย่าไปบิดเบือนกัน เราจะต้องทำทุกอย่างให้มันเกิดขึ้นได้ หากไม่มีแรงจูงใจใครเลย มันก็ไม่มีใครมา

เพราะฉะนั้นก็ไม่มีเหตุผล ที่จะต่อต้านกันต่อไป โดยอาจจะมีนักสิทธิมนุษยชนที่มองด้านเดียว ไม่รับผิดชอบว่าประเทศไทย คนไทยจะอยู่กันอย่างไร อันนี้ผมไม่ได้ตำหนิท่านนะครับ เพียงแต่ท่านอาจจะยังไม่เข้าใจบทบาท และฐานะท่านใน 2 อย่าง ทั้งตัวเอง ทั้งกิจกรรมของท่าน และในเรื่องที่ต้องเกี่ยวพันกับต่างประเทศ แต่ในประเทศล่ะครับ เพราะเป็นบ้านเกิดเมืองนอนของท่านเองทั้งหมด ไม่งั้นการพัฒนาอาชีพ รายได้มันเกิดขึ้นไม่ได้ถ้าไม่มีการพัฒนา คิดแบบเดิม กติกาต่างประเทศเขาก็มีอยู่ อยู่ตรงไหน เราจะอยู่ตรงไหน กำหนดบทบาทตัวเองอยู่ตรงไหน เราต้องมีศักยภาพก่อน วันนี้เราเสียเวลากับความขัดแย้งมานานพอสมควร ศักยภาพเราลดลงไปเรื่อย ๆ ต้องดึงความเชื่อมั่นกลับมา

สำหรับการแก้ปัญหาความมั่นคงจังหวัดชายแดนภาคใต้นั้นทุกคนเป็นห่วง รัฐบาลห่วงมากที่สุดอยู่แล้ว เพราะมันเป็นความเป็นความตายของประชาชน ผมอยากจะเรียนให้ทราบอีกครั้งหนึ่งเพื่อทำความเข้าใจกัน ปัจจัยแห่งความสำเร็จอยู่ที่ประชาชน ประชาสังคม NGO เจ้าหน้าที่รัฐ นักวิชาการ นิสิต นักศึกษา ทั้งหมด ในพื้นที่นอกพื้นที่ด้วย สื่อ ทั้งสื่อสิ่งพิมพ์ โซเชียลมีเดียต่าง ๆ ทั้งหมด ต้องเข้าใจปัญหาร่วมกัน ร่วมมือกันแก้ไข และแสดงความคิดเห็นอันเป็นประโยชน์ เป็นประโยชน์ผมฟังหมด มาพิจารณาทั้งหมด อะไรทำได้ อะไรทำไม่ได้ วิธีการแก้ปัญหาที่มีความสอดคล้องเช่นนี้ ไม่ใช่กำหนดเวลาว่าเราจะต้องยุติเมื่อไหร่ ช้าหรือเร็ว มันเกิดมานานแล้ว มันก็ญิ่งพันไปเรื่อยๆ ถ้าเราไม่แกะมา การแกะเรื่อง ปัญหาออกมามันยาก สิ่งสำคัญวันนี้ที่เราต้องเร่งอยู่ก็คือ ทำอย่างไรประชาชนจะปลอดภัย มีการพัฒนาทุกด้าน

ประเด็นสำคัญที่เราต้องเกี่ยวข้อง พิจารณาร่วมกันก็มีดังนี้ ประเด็นแรก ความยากง่ายในการทำงาน วันนี้ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ 4 อำเภอสงขลา ประชาชนต้องการมีการสัญจรไปมาในชีวิตประจำวัน มีการใช้ชีวิตตามปกติตลอด 24 ชั่วโมง เป็นภาระและหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ในการที่จะคุ้มครองเพิ่มมากขึ้น ทุกเส้นทาง ทุกกลุ่ม ทุกเวลา กรีดยาง ค้าขาย ครูไปเรียนหนังสือบ้าง เหล่านี้เป็นเป้าหมายที่อ่อนแอทั้งสิ้น เราต้องใช้เจ้าหน้าที่จำนวนมาก มีการเพิ่มกำลังจากนอกพื้นที่เข้าไป ทั้งตำรวจ ทหาร พลเรือน แต่จำเป็นต้องมีการฝึกเตรียมการก่อนเข้าปฏิบัติหน้าที่ ไม่ได้เอากำลังไปรบกับใคร ไปดูแลความปลอดภัย และมีภารกิจในการบังคับใช้กฎหมาย ซึ่งเราก็ทำได้อย่างจำกัดอีก เพราะประชาชนต้องการเสรีในการใช้ชีวิต ไม่เหมือนต่างประเทศเขาหรอก ถ้ามีเหตุการณ์อย่างนี้เขาปิดทั้งหมด บังคับทั้งหมด กวาดล้าง ใช้กำลังเข้าไป เขาทำได้ แต่ประเทศไทยทำไม่ได้ เพราะหลายอย่างมันมีความขัดแย้งอยู่ เจ้าหน้าที่ก็ถูกจับตามอง ตามหน่วยงานทุกประเด็นไป เข้าใจบ้าง ไม่เข้าใจบ้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเด็นการบังคับใช้กฎหมาย มองว่าเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน จากทั้งในองค์กรในประเทศเราเอง และองค์กรจากต่างประเทศด้วย ต้องระวังที่สุด อีกประการคือ บ้านเรือนประชาชนนั้นมันเป็นอัตลักษณ์ของเขา ก็อยู่ในพื้นที่สวนยางบ้าง ป่าเขาบ้าง เส้นทางมากมาย เราก็ต้องแบ่งกำลังไปอีก ไปหลายพื้นที่ หลายเส้นทาง ทั้งเส้นทางหลัก เส้นทางรอง ซึ่งประชาชนยังคงต้องใช้อยู่ตลอดเวลาอย่างเป็นอิสระ อันนี้ก็เป็นสิ่งที่เราต้องให้ความสำคัญ

เรื่องต่อไป คือ เรื่องการเข้าใจในภาษาไทยอย่างที่เข้าใจกันจริง ๆ ยังมีจำกัดในหลายพื้นที่ด้วยกัน เนื่องจากส่วนใหญ่ใช้ภาษาในท้องถิ่น ภาษายาวี ในการติดต่อสื่อสาร เพราะฉะนั้นการศึกษาขั้นพื้นฐานนั้น เราคงต้องพัฒนาอีกมาก โรงเรียนตาดีกา ปอเนาะ จำนวนมากที่ร่วมในโครงการของรัฐ ของกระทรวงศึกษา ในขณะนี้มีบางแห่งก็ยังไปไม่ได้ ซึ่งยังมีการสอนเน้นไปในทางศาสนาอย่างเดียว เสร็จแล้วจบมาก็อาจจะไม่มีงานทำ ฉะนั้น ก็อยากให้ปรับแก้ ปรับเปลี่ยนให้หมด ปรับให้เป็น 2 หลักสูตร สายสามัญ และศาสนาด้วย จะได้มีงานทำ รับรองวุฒิการศึกษาได้ ไม่ว่าจะเรียนจากต่างประเทศ หรือทีไหนก็ตาม กำลังให้กระทรวงศึกษาพัฒนาเรื่องนี้อยู่

เรื่องปัญหาความยากจน ประชาชนในพื้นที่ บางคนก็รวยเป็นเจ้าของสวนยาง บางคนก็กรีดยางอย่างเดียว บางคนรับจ้างอีก เหล่านี้ทำลูกหลานที่เกิดมาเข้าถึงการศึกษาไม่ได้เท่าที่ควร ก็นิยมส่งลูกหลานไปเรียนในโรงเรียนสอนศาสนา ที่อาจจะไม่ได้สอนสายสามัญ รัฐบาลกำลังปรับแก้อยู่ ทั้งนี้ ต้องอาศัยความยินยอมพร้อมใจด้วย เราให้เงินงบประมาณสนับสนุนไปหมดอยู่แล้ว เพียงแต่ขอให้ปรับมาหารัฐบาลบ้าง ไม่งั้นมันก็เป็นปัญหาความขัดแย้งอยู่แบบนี้ มันเป็นเงื่อนไข หากมีคนนำไปบิดเบือน ก็เป็นปัญหหาที่แก้ยากอีกไปเรื่อย ๆ

ประเด็นที่ 2 ก็อยากจะกราบเรียนว่า ปัจจุบันเรามียุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาอยู่ 9 ยุทธศาสตร์ด้วยกัน ซึ่งรัฐก็ต้องแก้ปัญหาอย่างบูรณาการ วันนี้รัฐบาลนี้เข้ามา และผมเป็นนายกรัฐมนตรี ผมเป็นหัวหน้า คสช. ผมเป็น ผอ.รมน. เอาทั้งหมดมาแก้ด้วยกัน ที่ผ่านมาอาจจะแก้โดยทหารบ้าง โดยพลเรือนบ้าง โดยการเมืองบ้าง วันนี้มันต้องแก้แบบนี้ เอาปัญหาทุกปัญหามาแก้ แล้วก็ปรับยุทธศาสตร์ทั้ง 9 ยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติให้ได้ อันได้แก่ สังคมปลอดภัยอย่างมีความสุข ขจัดเงื่อนไข สร้างความเข้าใจ ไว้วางใจ พัฒนาต่อเนื่อง โดยรักษา อัตลักษณ์และวิถีชีวิต และอยู่ร่วมกันภายใต้ความหลากหลายทางวัฒนธรรม สังคมร่วมกันรับรู้และแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ต่างประเทศให้การสนับสนุน สร้างสภาวะแวดล้อมให้เอื้อต่อการ พูดคุยสันติสุข และ บริหาร พัฒนาพื้นที่อย่างมีเอกภาพ รวมทั้งยุทธศาสตร์การแก้ปัญหาความมั่นคง ของ กอ.รมน. การพัฒนาของ ศอ.บต. นอกจากนั้น เรายังมีอีกหลายมาตรการ ทั้งแผนงานโครงการ โครงการพระราชดำริ เพชรในตม พาคนกลับบ้าน มาตรา 21 ใน พ.ร.บ.ความมั่นคงฯ ซึ่งก็เปิดโอกาสให้ผู้กระทำความผิดกลับสู่สังคม และเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม ปัญหาคือ เขาหวาดกลัวไง ก็ออกมาก็ต้องดูแลความปลอดภัย นี่เป็นภาระสำคัญอีกอันที่เราต้องดูแลทั้งหมดกลับมาก็ต้องดูแลอีก จะปลอดภัยหรือเปล่า ว่า มีการข่มขู่กันบ้างอะไรกันบ้าง ก็ต้องติดตามแก้ไขปัญหากันต่อไป

ประเด็นที่ 3 ก็คือ สิ่งที่กลุ่มผู้ก่อเหตุรุนแรงพยายามใช้กดดันรัฐ ก็คือ การใช้ความรุนแรงในลักษณะที่เรียกว่า อาชญากรที่ทำผิดอย่างร้ายแรง สร้างอาชญากรรมที่รุนแรง ฆ่าคนตาย ทำให้คนบาดเจ็บ สูญเสียทรัพย์สินและชีวิต ทำความเสียหายต่อเศรษฐกิจในพื้นที่อย่างที่เราเห็นที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่รัฐจำเป็นจะต้องมีการบังคับใช้กฎหมาย โดยที่อีกฝ่ายก็มักจะอ้างว่าถูกเจ้าหน้าที่รังแก ซึ่งหลายอย่างนั้น อย่าไปพูดกันแบบนี้ อย่าไปรบกันเลย ใช้กำลังมาสู้กัน ไม่จบหรอก จะต้องเข้ามาสู่กระบวนการยุติธรรม เราก็จะดูแลให้ทั้งหมด อย่างที่ผมกล่าวมาแล้ว ในหลาย ๆ มาตรการ ช่องทางต่าง ๆ ที่เปิดให้ของรัฐก็มีหมด ต้องร่วมมือกัน แล้วก็อย่าขัดแย้งกันมากนัก ปัญหาสำคัญก็คือคนนอกพื้นที่ วิจารณ์ในพื้นที่จนเขาก็เสียหายเหมือนกัน บางเรื่องเขาก็บอกว่าไม่ได้เป็นอย่างนั้น เรามาฟังคนภาคใต้เขาด้วยแล้วกัน ผมเข้าใจดีคนนอกพื้นที่ก็เป็นห่วง ทั้งคู่ก็มีเจตนาดีทั้งคู่ แต่ต้องเห็นใจคนในพื้นที่ด้วย เขามีผลกระทบมาก วิจารณ์กันไปกันมา มันก็มีผลต่อการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ แล้วเขาก็เดือดร้อน ไอ้คนวิจารณ์ไม่เดือดร้อนหรอก ไม่ต้องเจ็บต้องตายกับเขานี่

เพราะฉะนั้น นอกจากสถานการณ์ความรุนแรงเหล่านั้น มันก็ยังมีปัญหาอาชญากรรมอื่น ๆ อีกด้วย เหมือนกับทุกจังหวัด ทุกพื้นที่ในประเทศไทยนี่แหละ ทุกพื้นที่ในโลกมีหมดนะ ภัยแทรกซ้อนอื่น ๆ อีกด้วย การกระทำผิดกฎหมาย เช่น การขายของหนีภาษี, ลักลอบสินค้าข้ามแดน, ผู้มีอิทธิพลในท้องที่, ความขัดแย้งทางการเมือง, การสร้างมวลชนทางการเมือง เหล่านี้มันเป็นปัญหาเดิมมีอยู่ แล้วก็มีความขัดแย้งกันเองของประชาชน บางครอบครัว บางสกุล ก็มีปัญหากันมาตั้งแต่ในอดีต ก็เลยทำให้เจ้าหน้าที่รัฐนั้นถูกชักจูง บิดเบือนไป เหมือนกับใช้รัฐเป็นเครื่องมือในการที่กำจัดศัตรูของตนเองด้วย โดยการบิดเบือนให้ข่าวที่มันไม่ถูกต้อง ไม่ชัดเจน เจ้าหน้าที่ก็ลำบาก อีกอันหนึ่งก็คือ ไปใช้บริการของผู้ก่อเหตุรุนแรงในการขจัดปัญหาส่วนตัว อันนี้เป็นความสลับซับซ้อนของปัญหา

ประเด็นที่ 4 ที่ผมอยากจะขอร้อง เรื่องการเสนอความคิดเห็นของนักวิชาการบางคน บางกลุ่ม ทั้งในพื้นที่ และนอกพื้นที่ มักกล่าวอ้างเสมอว่า มีการละเมิดสิทธิมนุษยชน ผมถามว่า แล้วกฎหมายอยู่ตรงไหนล่ะ ไปดูสิครับ ว่ากฎหมายเขาเขียนว่าอย่างไร อย่าเอาประเด็นเหล่านี้มาขัดแย้งกันไปเสียทั้งหมดนะ แล้วประเทศชาติก็เสียหาย เราต้องคำนึงถึงชีวิตผู้บาดเจ็บ สูญเสียบ้าง ทั้งประชาชนผู้บริสุทธิ์ และเจ้าหน้าที่รัฐ ตายกันไปเท่าไหร่แล้ว ขณะนี้ คนวิพากษ์วิจารณ์ ไม่ได้เดือดร้อนกับเขารวมถึงการกระทำผิดกฎหมายต่างๆอีกด้วย เช่น กฎหมายปกติ กฎหมายพิเศษ เหล่านี้มันจะต้องนำไปสู่การปฏิบัติ การบังคับใช้ ด้วยความร่วมมือความยินยอมพร้อมใจซึ่งกันและกัน อย่าไปอาศัยกลุ่ม NGO กลุ่มองค์กรอิสระ ทั้งในและต่างประเทศ ผมว่าดี ๆ เขาก็มี ก็ขอร่วมมือกับที่ดี ๆ ก็แล้วกัน ที่ไม่ดีก็ช่วยกันขจัดออกไป ทั้งนี้ เขาก็พยายามใช้ทางด้านนี้ ความกดดันเหล่านี้มาบังคับให้รัฐไม่ใช้กฎหมายอย่างเต็มที่ อ้างสิทธิมนุษยชน ทั้งที่เราก็บังคับใช้กฎหมายปกติ บ้านเมืองปกติเหมือนที่เคยใช้บังคับทั่วประเทศไทย กฎหมายอาญาเหล่านี้มีหมดอยู่แล้ว

มีการบิดเบือนเรื่องราวต่าง ๆ พยายามทำให้เป็นความขัดแย้งทางศาสนา พุทธ และมุสลิม ซึ่งมีการอยู่กันมาช้านาน อย่างเป็นปกติสุข คราวที่แล้วก็ตรวจพบเอกสาร ไปตัดทอนออกเอาแต่พุทธเข้าไป ทุกศาสนาตัดทิ้งออกไปเลยก็ทำให้ประชาชนเดือดร้อน เขาก็ไม่ยอมรับรัฐธรรมนูญ ก็มีส่วนหนึ่ง อันนี้ไม่ได้กล่าวอ้างเพราะเจ้าหน้าที่รายงานเข้ามาแบบนี้จริงในทางลึก เพราะฉะนั้นเราจะต้องไม่ถูกบิดเบือนด้วยประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์คือประวัติศาสตร์ จำจะได้ไม่ต้องมาต่อสู้กันอีก วันนี้ต้องอยู่กันอย่างสันติ ประเทศทุกประเทศในโลกมีประวัติศาสตร์ทั้งนั้น สมัยก่อนก็ไม่ได้เป็นประเทศ รบกันไปรบกันมาใครแข็งแรงกว่าก็ตั้งประเทศขึ้นมาก็เท่านั้นเอง วันนี้เราก็เป็นญาติพี่น้องกันทั้งสิ้น

อีกประการหนึ่งที่สำคัญ ก็คือ การด้อยค่าการทำงานของรัฐ หาว่ารัฐแก้ปัญหาไม่ได้แก้ปัญหาไม่เป็น เพราะทุกคนมองด้านเดียวหมด สื่อและสังคม บางคนบางกลุ่มอาจจะไม่เข้าใจที่ผมพูดวันนี้ อยากให้ทุกคนเข้าใจพร้อมกันผมไม่ว่าใคร บางคนก็หวังดีแต่ไปขยายความ ทำให้สถานการณ์ดูเหมือนรุนแรงขึ้น ผมไม่ได้ปกปิดอะไรเลย ทั้งนี้อาจจะหวังดี เจตนาดี หรือเจตนาไม่ดีก็ตาม ขอร้องเถอะกลับมาใหม่จะได้แก้ปัญหาได้เร็วขึ้น

ประเด็นที่ 5 เส้นเขตแดนรอบบ้านเราบางเส้นบางพื้นที่ยังมีปัญหาอยู่ ไม่ชัดเจน โดยเฉพาะภาคใต้มีการลักลอบเข้าเมืองกระทำได้ง่ายในพื้นที่ป่าเขา เจ้าหน้าที่เราต้องทุ่มกำลังไปดูแล ทั้งสถานที่ราชการ โรงเรียน ครู สถานประกอบการ แหล่งธุรกิจ ถนนเส้นทาง และก็ต้องมาดูชายแดน ป่าเขาอีก อะไรอีก จะต้องใช้กำลังเท่าไร ก็ต้องใช้แบบนี้ไปจนถึงเมื่อไร ฉะนั้น ประชาชนจะต้องช่วยกันเฝ้าระมัดระวังแล้วก็อย่าไปขัดขวางการทำงานของเจ้าหน้าที่ หลายอย่างก็ต้องมาปรับปรุงเพิ่มเรื่องเทคโนโลยี การใช้เครื่องมือในการเฝ้าตรวจเหล่านี้มันต้องพัฒนาทั้งหมด กล้อง CCTV ที่มีประสิทธิภาพ ระบบการตรวจจับใบหน้าก็กำลังเร่งดำเนินการอยู่ทั้งสิ้น

ในเรื่องของการแก้ปัญหาความมั่นคงไปแล้วต้องแก้ปัญหาในเรื่องของการพัฒนาด้วย เจ้าหน้าที่ก็ต้องไปช่วยอีก ทหารที่ลงไปก็ต้องทำงานด้านพัฒนาอีกด้วย ช่วยเจ้าหน้าที่ฝ่ายพลเรือน ตำรวจ ที่เขามีน้อยอยู่แล้ว ก็ไปรวมกลุ่มแล้วก็ลงไปทำในพื้นที่ ไม่มีใครรู้มากกว่าคนในพื้นที่หรอก วันนี้ก็ต้องไปสร้างความร่วมมือในด้านกฎหมายให้มากขึ้น กำนัล ผู้ใหญ่บ้าน อบต. อบท. อะไรทำนองนี้นะครับ ต้องไปร่วมมือกับทหารทั้งหมด ไปช่วยกันแก้ปัญหา กอ.รมน. และ ศอ.บต. รัฐก็ต้องเป็นผู้สนับสนุน ที่ผ่านมานั้น อาจจะมีปัญญาอยู่บ้าง วันนี้รัฐบาลผมเองก็กำชับเรื่องนี้ ผมถึงมาอยู่ตรงนี้และมาแก้ปัญหาทั้งหมด โดยการมอบนโยบายอันเดียวกันลงไปในทุกส่วนงานลงไปทำในระดับบูรณาการ ทุกอย่างมันสำคัญที่วิธีการและการสนับสนุนจากรัฐบาล อย่างจริงใจ แท้จริง ไม่หวังผลอย่างอื่น

สำหรับการพูดคุยสันติภาพก็เป็นสิ่งที่ทุกคนเร่งรัดพยายามจะให้เร็วขึ้นให้จบ มันเป็นไปไม่ได้ เพราะทุกอย่างมันมีขั้นมีตอนของมันอยู่ ถ้าเราเร่งรัดจนเกินไปก็ทำให้อีกฝ่ายนำเอามาใช้เป็นจุดอ่อนของเรา ในการที่จะเพิ่ม ทำให้รัฐเสียเปรียบได้โดยการสร้างความรุนแรงมากขึ้น

อีกเรื่องหนึ่งหลายคนก็ถามว่าการใช้กำลังทหารขนาดใหญ่ที่ลงไปเยอะแยะไปกวาดล้างเป็นพื้นที่ทำไมไม่ทำ มันทำได้ไหม เราเอาลงไปเพื่อ รปภ. ดูแลเป้าหมายอ่อนแอ ดูแลชายแดน ดูแลการทำผิดกฎหมาย ถ้าไปกวาดล้างมันก็แตกกระจายกันทั่วไปหมด เราก็ใช้ด้านการข่าวในการตรวจค้นดำเนินคดี ใช้กฎหมายปกติเป็นหลัก อันไหนที่มันไม่เป็นธรรมต้องร้องเรียน ร้องทุกข์ ก็ร้องขึ้นมา รัฐบาลก็สอบสวนให้หมด ใครก็ทำผิดไม่ได้อยู่แล้วทั้งเจ้าหน้าที่ และประชาชนที่ทำผิด ไม่งั้นถ้าเราใช้กำลังมาก ๆ มันเป็นการเหมือนกับสงคราม ซึ่งเราไม่อยากให้เป็นอย่างนั้น มันก็ลุกลามบานปลาย ขัดแย้งมากขึ้น รุนแรงขึ้น เพราะฉะนั้นเจ้าหน้าที่วันนี้ระมัดระวังมาก การบังคับใช้กฎหมาย ระวังอย่างเต็มที่ ขณะเดียวกัน ตัวเองก็ต้องระวังตัวเองด้วย ถ้าต่างคนต่างมีอาวุธกันอยู่แบบนี้ มันก็ไม่ได้หรอก ใช้อาวุธ เจ้าหน้าที่ตำรวจ ทหาร พลเรือน เขาก็ตายเป็นเหมือนกันนะ เพราะฉะนั้นถ้าใครถืออาวุธมาต่อสู้ เจ้าหน้าที่ก็ต้องมีการใช้อาวุธตอบโต้กัน

ในเรื่องของการขอให้มีการยกเลิกกฎหมายพิเศษ เช่น พ.ร.บ. ความมั่นคง พ.ร.ก. ฉุกเฉิน กฎอัยการศึก ในทุก ๆ พื้นที่ มันเป็นอันตรายที่สุดเลยนะครับ ที่เราทำงานได้วันนี้เพราะมีกฎหมายพิเศษ เพราะกฎหมายปกติมันทำไม่ได้เลย ไม่ได้มากนัก เพราะอะไร เพราะประชาชนมีปัญหา กฎหมายพวกนี้ไม่ได้ออกมาควบคุมท่าน ถ้าท่านทำความดีอยู่แล้ว ไม่ได้ทำความผิด จะไปกลัวอะไรเล่า ทุกเรื่องล่ะ มาตรา 44 ก็เหมือนกัน ถ้าทำความดีอยู่แล้วจะกลัวอะไรนักหนา เพราะฉะนั้นถ้าเราไปยกเว้นบางพื้นที่ มันอาจจะทำให้ผู้ก่อเหตุรุนแรงเหล่านั้นได้ไปปรับวิธีการ สามารถใช้พื้นที่ดังกล่าวเหล่านั้น ที่ยกเว้นไปนั้น เป็นแหล่งซ่องสุม เป็นพื้นที่ปลอดภัย มีการฝึกการต่อสู้ เป็นพื้นที่ส่งกำลัง และแยกออกไปจากพื้นที่ส่วนปฏิบัติการที่มีการใช้อาวุธต่อกัน บางพื้นที่ที่ดูเหมือนจะไม่ค่อยมีเหตุรุนแรง ก็จะให้รัฐยกเลิกโดยเร็ว มันไม่ได้หรอกครับ เดี๋ยวก็มีการสับเปลี่ยนการใช้วิธีการ เขาก็คิดเป็นเหมือนกัน เราก็ต้องครอบคลุมตรงนี้ให้ได้ก่อน ด้วยการพัฒนา ด้วยการให้ประชาชนมีส่วนร่วม ให้เขามีรายได้อย่างแท้จริง เอาคนดีไปทำให้คนไม่ดีกลับมาสู่กลไกของรัฐ สู่กฎหมาย มันจะทำให้ทุกอย่างเป็นไปได้ ในการแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน เราอย่าทำให้พื้นที่ต่างๆ เหล่านั้นเป็นพื้นที่ปลอดภัยของเขาเลย อย่าไปกดดันรัฐ อ้างสิทธิมนุษยชน ก็ขอให้ภาคประชาชน ภาคประชาสังคม NGO องค์กรสิทธิมนุษยชน ในประเทศ - นอกประเทศ เข้าใจตามนี้ด้วยนะครับ กฎหมายไทยนะ ก็ต้องเคารพซึ่งกันและกัน เหมือนเราเคารพกฎหมายต่างประเทศทุกฉบับ

สิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งคือการใช้พื้นที่นอกประเทศเป็นแหล่งซ่องสุม ข้ามไป - มา ก็ได้มีการประสานความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านมาตลอด ก็ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีโดยต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพูดคุยสันติสุข ก็พึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันอยู่ ค่อย ๆ เดินไป สิ่งที่เราจะต้องระมัดระวังอย่างที่สุดอีกเรื่องหนึ่งก็คือ การเชื่อมโยงกับกลุ่มก่อการร้ายสุดโต่ง ซึ่งวันนี้เจ้าหน้าที่ การสืบสวนสอบสวน ทั้งงานการข่าวกรอง ข่าวกรองยุทธศาสตร์ ก็ยังไม่พบนะครับ แต่มีหลายคนไปพูดนี่พูดโน่น ทำไมจะต้องไปลากเขาเข้ามาล่ะ ปัญหาเรา ก็แก้ปัญหาเรา ให้ประชาชนเขาหลุดพ้นจากความยากจน ให้ประชาชนเขาได้รับการแก้ปัญหาทางกฎหมาย มันก็มีการกล่าวอ้างกัน ถ้ากล่าวอ้างสิทธิมนุษยชนไปเรื่อย ๆ มันก็พันกันจนได้ ฝากสื่อ สังคม ทุกภาคส่วน ช่วยกันประชาสัมพันธ์ให้เกิดความเข้าใจกันว่าไม่ใช่เป็นการรังแกพวกนักศาสนาอื่น ๆ หรือเป็นการละเมิดสิทธิ ไม่เป็นธรรม มันก็เป็นจุดอ่อน ทุกอย่างมันก็บานปลายไปทุกเรื่อง จากในประเทศ จากต่างประเทศ พันที่โน่นที่นี่ แล้วจะทำยังไงล่ะ ปัญหาประเทศมันเยอะแยะอยู่แล้ว

เหล่านี้ผมอยากจะกราบเรียนให้ทุกท่านได้รับฟัง แต่อย่างไรก็ตาม รัฐบาลต้องรับผิดชอบในการจะแก้ปัญหาให้ได้ เราต้องเริ่มต้นด้วยการมองเห็นปัญหาเดียวกัน ข้อระมัดระวังเดียวกัน แล้วก็แก้ไขบูรณาการทิศทางเดียวกันด้วยความร่วมมือ อย่ามาโต้แย้งกัน อย่ามาแสดงความคิดเห็นวิพากษ์วิจารณ์ในสิ่งที่มันอันตรายโดยไม่มีข้อเท็จจริง ไม่รู้ว่าหลักการปฏิบัติทางทหารเป็นยังไง พลเรือน ตำรวจ เขาเป็นยังไง หลายอย่าง มันต้องให้เจ้าหน้าที่เขาทำงาน เราก็ร่วมมือ แค่นั้นเอง อย่าไปมองกิจกรรมตนเองเป็นหลัก สิทธิมนุษยชนอย่างเดียว อย่างนี้มันไม่ได้หรอกครับ มันจะถูกดึงไป-มา ปัญหาอื่นมันก็จะมากขึ้น ผู้ปฏิบัติการก็จะมากขึ้น ใช้โอกาสเหล่านั้นที่เราขัดแย้งกันอยู่ เพิ่มภาระให้เจ้าหน้าที่ แล้วมันจะทำงานไหวเหรอ วันนี้เขาก็เหน็ดเหนื่อยสาหัสอยู่แล้ว ทำงานไม่ได้หยุด 24 ชั่วโมง แต่ผมบอกแล้วว่าเป้าหมายมันเยอะ ไม่ใช่ไปรบกับเขา ไปดูแลประชาชน กี่ล้านคนล่ะ ทั้งพุทธ ทั้งมุสลิม พื้นที่เท่าไหร่ สวนยางอีกเท่าไหร่ พื้นที่ป่าเขาเท่าไหร่ การกระทำผิดกฎหมายอีกเท่าไหร่ ก็คนเหล่านี้ล่ะไปทุ่มเทให้กับท่าน เสียสละความสุขส่วนตัว ชีวิต ทุกอย่าง ครอบครัวก็ไม่อบอุ่น นึกถึงเขาแบบนี้บ้าง อย่าไปมองว่าข้างล่างลำบาก ข้างบนมีผลประโยชน์ ผมไม่เคยคิดว่าจะมีผลประโยชน์ ผมว่าเจ้าหน้าที่ก็คิดกันไม่ได้นะ รัฐบาลนี้ก็คิดไม่ได้ เพราะมันเป็นชีวิตเขา ผมคิดแบบนี้ ผมเคยเป็นทหารมาก่อน เคยทำงานแบบนี้มาก่อน ต้องคิดกับเขาแบบนี้ อย่ามาคิดว่าผลประโยชน์ตรงนี้เพื่อความชอบธรรม ความชอบของรัฐบาล คสช. ผมไม่เคยคิดนะ เมื่อไหร่ที่ทหารทำ ก็ต้องคิดแบบนี้ แล้ววันนี้ผมเป็นรัฐบาล ผมเป็น นรม. เป็นหัวหน้า คสช. ผมก็ต้องคิดทุกทาง ไม่ได้คิดเข้าข้างทหาร ไม่ได้คิดเข้าข้างพลเรือน ไม่คิดเข้าข้างตำรวจ ผมต้องคิดเข้าข้างทุกคนที่เป็นคนไทย ที่จะร่วมมือกันแก้ปัญหาภาคใต้

ในส่วนของงานด้านงบประมาณ สำนักงบประมาณได้ประเมินผลการปฏิบัติงานของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่นของรัฐ ในการดำเนินการด้านการกระตุ้นเศรษฐกิจ ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2559 จนถึงไตรมาส 3 ปีงบประมาณ 2559 มีผลสัมฤทธิ์ในการทำงานร้อยละ 78.02 สูงกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ ร้อยละ 4.93 ผลสำเร็จนั้นวัดจากความสำเร็จของหลายโครงการ เรื่องทุจริตไปว่ากันมา แต่เรื่องความสำเร็จน่ะฟังกันบ้างสิครับ ไม่งั้นก็จะบอกว่าไม่รู้เรื่อง มัวแต่ไปยุ่งกับเรื่องทุจริต ทุจริตก็สอบสวนไป มีข้อมูลอะไรก็เพิ่มมา

1. มาตรการส่งเสริมความเป็นอยู่ระดับหมู่บ้าน ก็เป็นการให้สินเชื่อกับกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง เบิกจ่ายสินเชื่อไปแล้วร้อยละ 98.76 ประชาชนได้รับประโยชน์กว่า 3 ล้านราย มันก็ต้องใช้ไปเรื่อยๆ เพราะคนมันมากขึ้น ๆ

2. มาตรการเพิ่มรายได้แก่ผู้มีรายได้น้อย เป็นการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าว โดยให้เงินไร่ละ 1 พันบาท อันนี้เพื่อเป็นการเตรียมการในเรื่องของผลผลิต ปัจจัยการผลิตนั่นล่ะ ได้ดำเนินการไปแล้วร้อยละ 99.88 ของเป้าหมาย มีเกษตรกรได้ประโยชน์กว่า 3.6 ล้านราย ก็ขอให้มันสุจริตต่อกัน ไว้วางใจซึ่งกันและกัน เกษตรกรด้วย เจ้าหน้าที่ด้วย อย่าให้มีปัญหาเรื่องทุจริต ให้มีการเสียเวลาดำเนินการตรวจสอบกันอีกเลย

3. โครงการลดดอกเบี้ยเงินกู้ให้เกษตรกรมีเงินคงเหลือในการดำรงชีพมากขึ้น ช่วยเหลือไปแล้วกว่า 6 แสนราย

4. โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2558/2559 สามารถชะลอข้าวเปลือกเข้าสู่ตลาดได้กว่า 5 แสนตัน มีเกษตรกรได้ประโยชน์แล้วกว่า 7 หมื่นราย

นอกจากนั้น รัฐบาลยังพัฒนาพื้นที่ชลประทานกว่า 1.7 แสนไร่ ทำให้สามารถเก็บกักน้ำได้เพิ่มขึ้น 153 ล้านลูกบาศก์เมตร พร้อมสร้างแหล่งน้ำให้กับพื้นที่เกษตรกรนอกเขตชลประทานอีกมากกว่า 19,000 บ่อ เพื่อจะช่วยแก้ปัญหาน้ำในภาคการเกษตร

ขอขอบคุณพี่น้องประชาชน เจ้าหน้าที่ ข้าราชการทุกฝ่าย ภาคเอกชน ที่ร่วมกันขับเคลื่อนประเทศตามแนวทางประชารัฐ ผมทราบว่าทุกคนเหนื่อยนะ แต่ผมเห็นรอยยิ้มประชาชน มีความสุข ทุกคนก็มีความสุข ทั้งข้าราชการ ทั้งในพื้นที่ นอกพื้นที่ ผมเองก็ยิ้ม เพราะเห็นรอยยิ้มของเขาผมก็สบายใจขึ้น แต่ยังไม่จบหรอกครับ มันเป็นรอยยิ้มยังไม่เต็มที่ ต้องยิ้มกว้างๆ นั่นคือการแก้ปัญหาสำเร็จไปแล้ว วันนี้ผมเห็นรองนายกฯ คณะรัฐมนตรี ข้าราชการ ภาคเอกชน เขาทำกันอย่างเต็มที่ เพียงแต่การสร้างความรู้บางทีมันก็ลำบากเหมือนกัน บางทีก็ไม่สนใจกัน เขาพูดก็ไม่สนใจ มาคอยฟังผมพูดคนเดียว มันก็ไม่ได้สิครับ ท่านต้องไปฟังทุกคน หนังสือพิมพ์อ่านทุกหน้า อย่าไปอ่านหน้าแรกหน้าเดียว หน้าแรกขัดแย้งทั้งสิ้น ไปดูข้างในโน่น หลายเล่มก็ดีอยู่แล้ว หลายเล่มก็ไม่เปลี่ยนแปลง

เพราะฉะนั้นผมอยากเห็นรอยยิ้มเจ้าหน้าที่ พี่น้องประชาชน ที่มาคอยต้อนรับผม อย่าเรียกว่ามาต้อนรับเลย มาเจอกัน ทุกครั้งที่ลงพื้นที่ มันก็เป็นกำลังใจให้ผมทำงานนะครับ และทุกคนก็มีความหวัง ความฝันร่วมกัน ช่วยกันเดินหน้าประเทศต่อไป

สุดท้ายนี้ ตลาดคลองผดุงฯ เดือนกันยายนนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จับมือกระทรวงไอซีที นำเสนอตลาดเกษตรดิจิตอล ภายใต้แนวคิด “เทคโนโลยีก้าวไกล การเกษตรไทยก้าวหน้า” ระหว่างวันที่ 5 - 25 กันยายน เพื่อจะเผยแพร่องค์ความรู้ด้านไอซีที ในการประยุกต์ใช้สนับสนุนภาคการเกษตร ภาคเกษตรกรรมของประเทศ และธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องเชื่อมโยง ให้ความรู้ด้วยอะไรด้วย การใช้ระบบดิจิตอลในการขับเคลื่อน ซึ่งกำลังเป็นแนวทางของเราอยู่ในปัจจุบัน มันจะได้ทันสมัยเสียที รวดเร็ว ประชาชนเข้าถึง ค้าขายได้ทางอินเทอร์เน็ต เหล่านี้ ผมมุ่งเน้นไปถึงเกษตรกรโน่น ผู้ผลิต ขายโดยตรงเลยก็ได้ ไม่งั้นถ้าต้องผ่านทางโน้นทางนี้ มันก็มีปัญหาหมด ราคาก็ต่ำลง นี่เป็นแนวทางของไทยแลนด์ 4.0 นะ นี่คือไทยแลนด์ 4.0 เพื่อประชาชนข้างล่าง

เราก็จะแบ่งพื้นที่ตลาดเป็น 4 โซน โซนแรกคือ โซนดิจิตอล สำหรับสินค้าไอที สมาร์ทโฟน คอมพิวเตอร์ อันที่สอง คือ โซนเกษตรดิจิตอล คือ การจำหน่ายสินค้าออนไลน์ รวมถึงสินค้าที่ตรวจสอบย้อนกลับแหล่งที่มาได้ ด้วยระบบ QR Code อันนี้จำเป็นนะครับ สินค้า GI เหล่านี้ วันหน้าถ้าไม่มี GI ขายไม่ได้ ก็คือโซนสินค้าการเกษตร ออร์แกนิกส์ หรือเกษตรอินทรีย์นั่นล่ะ เราจะเร่งรัดในเรื่องของการจดทะเบียน ขึ้นทะเบียน สินค้า GI เหล่านี้ จาก 49 จังหวัด 67 รายการ ทำเสร็จไปแล้ว อีกหลายรายการยังรอขึ้นทะเบียนอยู่ กำลังตรวจสอบอยู่ เพื่อรับรองมาตรฐานเหล่านี้ ขึ้นทะเบียนได้ ผมกำชับไปแล้วให้ทุกจังหวัดเหล่านั้นยกระดับสินค้าเหล่านั้นให้ขึ้นทะเบียนให้ได้โดยเร็ว รวมทั้งสินค้าแปรรูป เพิ่มมูลค่า และผ่านการตรวจสอบมาตรฐาน หลายคณะทำงานต้องเร่งทำงานนะครับ อันที่ 4 คือโซนกิจกรรมสาธิตและฝึกอบรม ด้านการเงิน การขาย การบัญชี และการตลาด การเสริมสร้างนวัตกรรม การแปรรูปผลิตภัณฑ์ การให้คำปรึกษาทางธุรกิจและเอสเอ็มอี เป็นต้น

ขอเชิญชวนนะครับ พ่อแม่พี่น้องประชาชนคนไทยที่สนใจ เข้าร่วมในงานเพื่อสนับสนุนสินค้าเกษตรของไทย และเพื่อจะเพิ่มรายได้ให้เกษตรกร เห็นใจเขาเถอะครับ ท่านมาซื้อสินค้าเกษตรมาก ๆ เขาก็มีเงินกลับไปบ้าน เลี้ยงดูครอบครัวเขา ปัจจุบันผมก็ดีใจที่ตลาดคลองผดุงฯ นั้นได้รับความนิยมพอสมควร จัดมาแล้ว 22 ครั้ง มีร้านค้า ผู้ประกอบการ หมุนเวียนเข้ามาร่วมดำเนินการมากกว่า 3 พันราย มีผู้เข้าร่วมในงานกว่า 2 ล้านคน มียอดการจำหน่ายสั่งซื้อสินค้ารวมกว่า 1,257 ล้านบาท แล้วก็น่ายินดีกับความสำเร็จ ทั้งเถ้าแก่เก่า เถ้าแก่ใหม่ เถ้าแก่ใหญ่ เถ้าแก่เล็ก ทั้งหมดนะ เถ้าแก่น้อย ขอบคุณทุกฝ่ายนะครับ ช่วยกัน ร่วมด้วยช่วยกันพัฒนาประเทศ ขอบคุณครับ สวัสดีครับ
กำลังโหลดความคิดเห็น