มูลนิธิองค์กรกลางฯ เผยผู้สังเกตการณ์เห็นพ้องลงประชามติไร้โกง จวก กกต.ยังไม่พร้อมทำให้ชาวบ้านรับรู้ข้อมูล และเนื้อหาร่างฯ มากพอ ขาดการมีส่วนร่วม มีการจัดหน่วยลงคะแนนไม่เหมือนกัน พบบางจุดไม่ดูหน้าคนตามบัตร แนะทดลองใช้บัตรก่อนโหวตจริง ให้กำนัน-ผู้ใหญ่บ้านช่วยแจง จับกุมพวกแอบขายเหล้า ขอทุกฝ่ายยอมรับผล
วันนี้ (8 ส.ค.) นายพลีธรรม ตริยะเกษม กรรมการและเลขานุการมูลนิธิองค์กรกลางเพื่อประชาธิปไตย เปิดเผยว่า ผู้สังเกตการณ์องค์กรกลางฯ ใน 35 จังหวัดที่กระจายอยู่ทุกภาคจำนวน 400 กว่าคนมีความเห็นต่อการออกเสียงประชามติ 7 สิงหาคม 2559 ซึ่งเป็นครั้งประวัติศาสตร์ของประเทศไทย โดยเห็นพ้องกันว่า การออกเสียงประชามติครั้งนี้เป็นไปอย่างสันติ ไร้ความรุนแรง ไม่ได้รับรายงานเรื่องการโกงการออกเสียง หรือมีการข่มขู่จากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง และผู้มาออกเสียงส่วนใหญ่สามารถลงคะแนนเห็นชอบ หรือไม่เห็นชอบต่อร่างรัฐธรรมนูญและคำถามพ่วงได้โดยราบรื่น แต่มีข้อสังเกตและข้อเสนอต่อทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
1. เห็นว่าการออกเสียงประชามติเป็นการแสดงออกต่ออนาคตของประเทศครั้งสำคัญ ไม่ว่าผลการออกเสียงจะออกมาอย่างไร สมควรให้เป็นจุดเริ่มต้นของประชาธิปไตย สิทธิเสรีภาพอีกครั้งหนึ่ง และถือเป็นประสบการณ์บทเรียนที่สำคัญที่ต้องให้ประชาชนมีส่วนร่วมแต่เริ่มแรกเพื่อทำให้องค์ประกอบของกระบวนการให้ได้มาซึ่งรัฐธรรมนูญและกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญในระบอบประชาธิปไตยสมบูรณ์ยิ่งขึ้น 2. ผู้สังเกตการณ์เห็นความไม่พร้อมบางประการในการจัดการลงประชามติของคณะกรรมการการเลือกตั้ง ที่ยังไม่สามารถทำให้ประชาชนรับรู้ข้อมูลข่าวสารขั้นพื้นฐาน รวมถึงเนื้อหาร่างรัฐธรรมนูญที่มากพอ โดยในหลายพื้นที่ร่างรัฐธรรมนูญเผยแพร่ผ่านกลไกของรัฐเท่านั้น ขาดการมีส่วนร่วมของภาคประสังคมและเอกชน และเอกสาร ที่ส่งไม่ถึงบ้านเรือนประชาชนทำให้เกิดความขลุกขลักในการหารายชื่อที่หน่วยในช่วงเช้า
3. การจัดการหน่วยออกเสียงประชามติที่ไม่เป็นไปในรูปแบบเดียวกัน สะท้อนให้เห็นว่าเจ้าหน้าที่ได้รับการอบรมที่ไม่มีมาตรฐานเดียวกัน โดยเฉพาะเอกสารเพื่อให้ข้อมูลผู้มาใช้สิทธิที่หน้าหน่วย การขานชื่อ การไม่ดูหน้าผู้ถือบัตรประชาชน ไม่ตรวจบัตรอื่นใด ในบางพื้นที่มีรายชื่อผู้ใช้สิทธิมากกว่าปกติ ทำให้เกิดความล่าช้าและทำให้ผู้มาใช้สิทธิออกเสียง ไม่สามารถใช้สิทธิได้ เป็นต้น การทำงานดังกล่าวต้องได้รับการพัฒนาให้ดีขึ้น และทำให้ประชาชนมีความมั่นใจในกระบวนการ รวมทั้งได้รับการรับรองจากทุกฝ่ายทั้งในและนอกประเทศ 4. จากการที่มีผู้ฉีกบัตรโดยไม่เจตนาหรือเข้าใจผิดในหลายหน่วย คณะกรรมการการเลือกตั้งควรศึกษาการออกแบบบัตรที่จะใช้เพื่อการออกเสียงอย่างรอบคอบ ทดลองใช้ก่อนการนำมาใช้จริงเพื่อไม่ให้ประชาชนเข้าใจผิด และเร่งระดมทำความเข้าใจกับประชาชน สื่อมวลชน และผู้ที่เกี่ยวข้อง 5. เสนอให้ต่อไปต้องกำชับกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ในการทำหน้าที่ในฐานะที่เป็นผู้ให้ข้อมูล ให้เผยแพร่เอกสารให้แก่ผู้มีสิทธิออกเสียงลงประชามติ และขอตั้งข้อสังเกตที่ใช้บ้านของกำนัน ผู้ใหญ่บ้านเป็นสถานที่เก็บรักษาอุปกรณ์การจัดการออกเสียงในบางพื้นที่
6. ผู้สังเกตการณ์เห็นพัฒนาการของการให้บริการผู้พิการ และผู้สูงวัยที่ดีขึ้น แต่ยังมีสถานที่ตั้งของหน่วยบางแห่งยังเดินทางไปลำบาก และในบางหน่วยออกเสียงมีแสงสว่างในขณะที่มีการออกเสียงประชามติ 7. ควรมีการกวดขันจับกุมลงโทษผู้ที่ยังซื้อเหล้าหรือเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ในห้วงเวลาห้ามการจำหน่าย มีรายงานว่าบางร้านยังแอบขายเหล้าในเย็นของวันก่อนวันเลือกตั้ง และวันเลือกตั้ง 8. สำหรับการนับคะแนน ผู้สังเกตการณ์รายงานว่ามีความเรียบร้อยและราบรื่นดี ถึงแม้จะมีการขานคะแนนที่ผิดพลาดในบางหน่วยออกเสียง นอกจากนี้ยังมีรายงานเรื่องแสงสว่างในหลายหน่วยออกเสียงว่ามีไม่เพียงพอ มีประชาชนเข้าร่วมสังเกตการณ์นับคะแนนแต่มีปริมาณน้อยกว่าปกติ
สุดท้ายผู้สังเกตการณ์องค์กรกลางพบว่า ผู้มาใช้สิทธิในหลายจังหวัดน้อยกว่าปกติเป็นเพราะประชาชนให้ความสนใจน้อย คณะกรรมการการเลือกตั้งเปิดให้มีการรณรงค์ล่าช้า ประชาชนจำนวนไม่น้อยได้รับข้อมูลข่าวสารไม่เพียงพอ ไม่เปิดให้ใช้สิทธิออกเสียงล่วงหน้า และเลือกนอกอาณาจักร รวมถึงบางพื้นที่ฝนตกหนัก จึงควรให้มีมาตรการรองรับปัญหาดังกล่าวในการเลือกตั้งที่จะมีมาถึง และโดยที่ผลการออกเสียงประชามติครั้งนี้มีผู้มาใช้สิทธิเกินกว่าครึ่งหนึ่งของผู้มีสิทธิทั้งหมด มีจำนวนเสียงเห็นชอบทั้งสองประเด็นทิ้งห่างจำนวนเสียงไม่เห็นชอบอย่างเด่นชัด จึงขอให้ประชาชนทุกฝ่ายยอมรับผลของประชามติเพื่อให้ประเทศชาติเดินหน้าต่อไป
วันนี้ (8 ส.ค.) นายพลีธรรม ตริยะเกษม กรรมการและเลขานุการมูลนิธิองค์กรกลางเพื่อประชาธิปไตย เปิดเผยว่า ผู้สังเกตการณ์องค์กรกลางฯ ใน 35 จังหวัดที่กระจายอยู่ทุกภาคจำนวน 400 กว่าคนมีความเห็นต่อการออกเสียงประชามติ 7 สิงหาคม 2559 ซึ่งเป็นครั้งประวัติศาสตร์ของประเทศไทย โดยเห็นพ้องกันว่า การออกเสียงประชามติครั้งนี้เป็นไปอย่างสันติ ไร้ความรุนแรง ไม่ได้รับรายงานเรื่องการโกงการออกเสียง หรือมีการข่มขู่จากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง และผู้มาออกเสียงส่วนใหญ่สามารถลงคะแนนเห็นชอบ หรือไม่เห็นชอบต่อร่างรัฐธรรมนูญและคำถามพ่วงได้โดยราบรื่น แต่มีข้อสังเกตและข้อเสนอต่อทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
1. เห็นว่าการออกเสียงประชามติเป็นการแสดงออกต่ออนาคตของประเทศครั้งสำคัญ ไม่ว่าผลการออกเสียงจะออกมาอย่างไร สมควรให้เป็นจุดเริ่มต้นของประชาธิปไตย สิทธิเสรีภาพอีกครั้งหนึ่ง และถือเป็นประสบการณ์บทเรียนที่สำคัญที่ต้องให้ประชาชนมีส่วนร่วมแต่เริ่มแรกเพื่อทำให้องค์ประกอบของกระบวนการให้ได้มาซึ่งรัฐธรรมนูญและกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญในระบอบประชาธิปไตยสมบูรณ์ยิ่งขึ้น 2. ผู้สังเกตการณ์เห็นความไม่พร้อมบางประการในการจัดการลงประชามติของคณะกรรมการการเลือกตั้ง ที่ยังไม่สามารถทำให้ประชาชนรับรู้ข้อมูลข่าวสารขั้นพื้นฐาน รวมถึงเนื้อหาร่างรัฐธรรมนูญที่มากพอ โดยในหลายพื้นที่ร่างรัฐธรรมนูญเผยแพร่ผ่านกลไกของรัฐเท่านั้น ขาดการมีส่วนร่วมของภาคประสังคมและเอกชน และเอกสาร ที่ส่งไม่ถึงบ้านเรือนประชาชนทำให้เกิดความขลุกขลักในการหารายชื่อที่หน่วยในช่วงเช้า
3. การจัดการหน่วยออกเสียงประชามติที่ไม่เป็นไปในรูปแบบเดียวกัน สะท้อนให้เห็นว่าเจ้าหน้าที่ได้รับการอบรมที่ไม่มีมาตรฐานเดียวกัน โดยเฉพาะเอกสารเพื่อให้ข้อมูลผู้มาใช้สิทธิที่หน้าหน่วย การขานชื่อ การไม่ดูหน้าผู้ถือบัตรประชาชน ไม่ตรวจบัตรอื่นใด ในบางพื้นที่มีรายชื่อผู้ใช้สิทธิมากกว่าปกติ ทำให้เกิดความล่าช้าและทำให้ผู้มาใช้สิทธิออกเสียง ไม่สามารถใช้สิทธิได้ เป็นต้น การทำงานดังกล่าวต้องได้รับการพัฒนาให้ดีขึ้น และทำให้ประชาชนมีความมั่นใจในกระบวนการ รวมทั้งได้รับการรับรองจากทุกฝ่ายทั้งในและนอกประเทศ 4. จากการที่มีผู้ฉีกบัตรโดยไม่เจตนาหรือเข้าใจผิดในหลายหน่วย คณะกรรมการการเลือกตั้งควรศึกษาการออกแบบบัตรที่จะใช้เพื่อการออกเสียงอย่างรอบคอบ ทดลองใช้ก่อนการนำมาใช้จริงเพื่อไม่ให้ประชาชนเข้าใจผิด และเร่งระดมทำความเข้าใจกับประชาชน สื่อมวลชน และผู้ที่เกี่ยวข้อง 5. เสนอให้ต่อไปต้องกำชับกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ในการทำหน้าที่ในฐานะที่เป็นผู้ให้ข้อมูล ให้เผยแพร่เอกสารให้แก่ผู้มีสิทธิออกเสียงลงประชามติ และขอตั้งข้อสังเกตที่ใช้บ้านของกำนัน ผู้ใหญ่บ้านเป็นสถานที่เก็บรักษาอุปกรณ์การจัดการออกเสียงในบางพื้นที่
6. ผู้สังเกตการณ์เห็นพัฒนาการของการให้บริการผู้พิการ และผู้สูงวัยที่ดีขึ้น แต่ยังมีสถานที่ตั้งของหน่วยบางแห่งยังเดินทางไปลำบาก และในบางหน่วยออกเสียงมีแสงสว่างในขณะที่มีการออกเสียงประชามติ 7. ควรมีการกวดขันจับกุมลงโทษผู้ที่ยังซื้อเหล้าหรือเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ในห้วงเวลาห้ามการจำหน่าย มีรายงานว่าบางร้านยังแอบขายเหล้าในเย็นของวันก่อนวันเลือกตั้ง และวันเลือกตั้ง 8. สำหรับการนับคะแนน ผู้สังเกตการณ์รายงานว่ามีความเรียบร้อยและราบรื่นดี ถึงแม้จะมีการขานคะแนนที่ผิดพลาดในบางหน่วยออกเสียง นอกจากนี้ยังมีรายงานเรื่องแสงสว่างในหลายหน่วยออกเสียงว่ามีไม่เพียงพอ มีประชาชนเข้าร่วมสังเกตการณ์นับคะแนนแต่มีปริมาณน้อยกว่าปกติ
สุดท้ายผู้สังเกตการณ์องค์กรกลางพบว่า ผู้มาใช้สิทธิในหลายจังหวัดน้อยกว่าปกติเป็นเพราะประชาชนให้ความสนใจน้อย คณะกรรมการการเลือกตั้งเปิดให้มีการรณรงค์ล่าช้า ประชาชนจำนวนไม่น้อยได้รับข้อมูลข่าวสารไม่เพียงพอ ไม่เปิดให้ใช้สิทธิออกเสียงล่วงหน้า และเลือกนอกอาณาจักร รวมถึงบางพื้นที่ฝนตกหนัก จึงควรให้มีมาตรการรองรับปัญหาดังกล่าวในการเลือกตั้งที่จะมีมาถึง และโดยที่ผลการออกเสียงประชามติครั้งนี้มีผู้มาใช้สิทธิเกินกว่าครึ่งหนึ่งของผู้มีสิทธิทั้งหมด มีจำนวนเสียงเห็นชอบทั้งสองประเด็นทิ้งห่างจำนวนเสียงไม่เห็นชอบอย่างเด่นชัด จึงขอให้ประชาชนทุกฝ่ายยอมรับผลของประชามติเพื่อให้ประเทศชาติเดินหน้าต่อไป