xs
xsm
sm
md
lg

ค่าโง่ จีที 200 เรื่องนี้จะถึง "เอวิเอ แซทคอม" ไหม ?

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online


กรณีเครื่องตรวจจับวัตถุระเบิด จีที 200 กลับมาเป็นเรื่องฮือฮาอีกครั้ง เมื่อศาลในประเทศอังกฤษ สั่งให้ยึดทรัพย์สิน มูลค่า ประมาณ 395 ล้านบาท จาก นายเจมส์ แมคคอร์มิค นักธุรกิจชาวอังกฤษ ผู้ต้องหาในคดีผลิตและจำหน่าย เครื่อง จีที 200 เพื่อนำเงินไปชดเชยแก่ผู้ซื้อ

ก่อนหน้านี้ นายแมคคอร์มิค ถุกศาลอาญาสั่งจำคุก 10 ปี ในข้อหาขายอุปกรณ์ตรวจสอบวัตถุระเบิดปลอมให้รัฐบาลอิรัก และประเทศอื่นๆ รวมทั้งไทย อีกคนหนึ่งที่ถูกศาลสั่งจำคุก 7 ปี ในข้อหาเดียวกันคือ นายแกรี่ โบลตัน

ต้นทุนการผลิตจีที 200 ต่ำมาก คือ 5 ปอนด์ หรือประมาณ 250 บาท แต่ขายในราคาเครื่องละ 10,000 ปอนด์ หรือ 5 แสนบาท มีหลายๆ ประเทศที่ซื้อไปใช้ รวมทั้งไทย เพราะหลงเชื่อในสรรพคุณว่า สามารถตรวจจับระเบิด ยาเสพติด งาช้าง ยาสุบ และธนบัตรได้

ประเทศไทยสั่งซื้อเครื่องจีที 200 จำนวน 1,398 เครื่อง มูลค่า 1,134 ล้านบาท โดย 15 หน่วยงาน มีทั้งกองทัพบกซึ่งซื้อมากที่สุด กองทัพเรือ กรมการปกครอง ตำรวจภูธรจังหวัดชัยนาท สุโขทัย สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ ฯลฯ ในราคาสูงลิ่ว ถึงเครื่อละล้านกว่าบาท ตั้งแต่ปี 2548

จนถึงปี 2553 ถึงรู้ตัวว่าถูกหลอกให้ซื้อกล่องเปล่าๆ ที่มีเสาอากาศติดอยู่ข้างนอก โดยการพิสูจน์ของอาจารย์เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ แห่งคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณืมหาวิทยาลัย รัฐบาลในขณะนั้น จึงสั่งระงับไม่ให้ซื้ออีก

ทั้ง 15 หน่วยงาน ไปแจ้งความกับดีเอสไอ ให้ดำนเนิคดีเอาผิดกับตัวแทนจำนหน่ายในประเทศไทย และเอาผิดกับเจ้าหน้าที่ที่จัดซื้อ โทษฐานปล่อยปละละเลย ซื้อของปลอมมาใช้ รวมทั้งพฤติกรรมไม่โปร่งใส ในการจัดซื้อ ซึ่งส่วนนี้อยู่ในความรับผิดชอบของ ป.ป.ช. รวมทั้งสิ้น 16 คดี

จนถึงบัดนี้ เวลาผ่านไป 5 ปีแล้ว ทั้ง 16 คดีเงียบหายไป ไม่ปรากฏว่ามีการเอาผิดกับผู้เกียวข้องแต่อย่างใด โชคร้ายที่เรื่องจีที 200 ถูกขุดขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง จากข่าวศาลอังกฤษยึดทรัพย์ผู้ผลิตและจำหน่าย ทำให้พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้า คสช. และนายกรัฐมนตรี พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความั่นคงและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พูดไม่ออก พาลหงุดหงิดอารมณ์เสียเมื่อถูกถามถึงเรื่องนี้ เพราะหน่วยงานที่ซื้อจีที 200 มามใช้มากที่สุดคือ กองทัพบก และซื้อมากที่สุดในสมัยที่ พลเอกอนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาลนี้ เป็นผู้บัญชาการทหารบกที่น่าสนใจคือ ใคร เป็นคนติดต่อเอาจีที 200 มาขายให้กองทัพบก

เรื่องนี้ ไม่ใช่ความลับ เพราะสำนักข่าวอิศรา ซึ่งเกาะติดเรื่องจีที 200 มาอย่างต่อเนื่อง เคยเผยแพร่ข้อมูลนี้มาก่อนหน้านี้แล้วบริษัท เอวิเอ แซทคอม เป็นนายหน้าขายเครื่องจีที 200 ให้กับกองทัพบก และหน่วยงานอื่นๆ

บริษัทเอวิเอนี้ เจ้าของคือ นายสุทธิวัฒน์ วัฒนกิจ ถือหุ้นใหญ่ มีหุ้นส่วนอีก 3 รายคือ พลอากาศเอกอภิชิต กานตรัตน์ อดีตผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ กองบัญชาการทหารสุงสุด เรืออากาศเอกขจรศักดิ์ วัฒนางกูร และบริษัทซาบ จากสวีเดน ซึ่งเป็นผู้ผลิตเครื่องบินกริพเพน ที่กองทัพอากาศสั่งซื้อมาประจำฝูงบินเป็นครั้งแรก

ตระกูล “ วัฒนางกูร” และ” กานตรัตน์” นั้น มีบารมี สายสัมพันธ์ที่ดีในกองทัพอากาศ เพราะจอมพลอากาศเฉลิมเกียรติ วัฒนางกูร เคยเป็นผู้บัญชาการทหารอากาศ ระหว่างปี 2500-2503 และพลอากาศเอกพะเนียง กานตรัตน์ เป็นผู้บัญชาการทหารอากาศระหว่างปี 2520-2524 ทั้งพลอากาศเอกอภิชิต และเรืออากาศเอกขจรศักดิ์ น่าจะได้ใช้สายสัมพันธ์จากการเป็นคนในตระกูลเดียวกับอดีตผู้บัญชาการทหารอากาศ ให้เป็นประโยชน์ในธุรกิจของ เอวิเอ แซทคอม

สำนักข่าวอิศรายังเปิดเผยด้วยว่า ผู้ถือหุ้นอีกคนหนึ่งของ เอวิเอ แซทคอมคือ พลอากาศเอกธเรศ ปุณศรี อดีตรองปลัดกระทรวงกลาโหม ปัจจุบัน เป็น ประธาน กสทช. โดยถือหุ้นผ่านบริษัทลิบราเวย์ แต่ได้โอนหุ้นให้เรืออากาศเอกขจรศักดิ์ ถือแทน หลังจากได้รับการคัดเลือกให้เป็น ประธาน กสทช.

เอวิเอ แซทคอม และบริษัทในเครือ ทำมาค้าขายกับกองทัพอากาศมายาวนาน โดยเป็นผู้จัดหาระบบอิเล็คทรอนิคส์ ซอฟต์แวร์การสื่อสาร การควบคุมทางยุทธวิธี นอกจากกองทัพอากาศแล้ว ยังได้งานในกองทัพเรือด้วย

กองทัพอากาศ ซื้อเครื่องจีที 200 มาใช้เป็นรายแรกในประเทศไทย ในยุคที่พลอากาศเอกชลิต พุกผาสุก เป็นผู้บัญชาการทหารอากาศ โดยซื้อจากเอวิเอ หลังจากนั้นเอวิเอ ก็ติดต่อขายให้กองทัพบก กองทัพเรือ และหน่วยงานอื่นๆ ก่อนที่ คณะรัฐมนตรี ยุคนายอภิสิทธิ์ เวชาชีวะ จะมีมติให้เลิกใช้ ในปี 2553 เพราะมีการพิสูจน์แล้วว่า เป็นของปลอม

เอวิเอ แซทคอม ไม่สามารถปฏิเสธความรับผิดชอบในการเอาของปลอมมาขายให้กองทัพบก และหน่วนงานอื่นๆ แต่ขึ้นอยู่กับ พลเอกประยุทธ และพลเอประวิตรว่า จะเกรงใจ “ ลูกทัพฟ้า” หรือไม่


กำลังโหลดความคิดเห็น