โฆษกกระทรวงกลาโหมแจงผลการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมอาเซียน ครั้งที่ 10 เผยจุดยืนจีนและอาเซียนจะไม่แยกจากกัน ร่วมรักษาสันติภาพของภูมิภาค และจีนเป็นคู่ภาคีกับอาเซียนแก้ปัญหาทะเลจีนใต้ ให้อิสรภาพเดินเรือ และไม่ข่มขู่คุกคาม พร้อมเสนอการฝึกร่วมอาเซียน-จีน
วันนี้ (26 พ.ค.) พล.ต.คงชีพ ตันตระวาณิชย์ โฆษกกระทรวงกลาโหม เปิดเผยเพิ่มเติมภายหลังจากการปิดประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมอาเซียน ครั้งที่ 10 แล้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมอาเซียนทั้ง 10 ประเทศได้เข้าร่วมประชุมอาเซียน-จีน อย่างไม่เป็นทางการ ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติ โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม สาธารณรัฐประชาชนจีน เข้าร่วมประชุม โดย พล.อ.ฉาง ว่านฉวน รมว.กลาโหมจีน ได้กล่าวย้ำจุดยืนของจีนต่อที่ประชุมโดยสรุปว่า จีนและอาเซียนจะอยู่ร่วมกันโดยไม่แยกจากกัน จะร่วมกันเสริมสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างกัน เสมือนรากต้นไม้ที่แข็งแรง โดยจะทำหน้าที่ร่วมรักษาสันติภาพของภูมิภาค สำหรับทะเลจีนใต้เปรียบเสมือนสวนหลังบ้านอาเซียนที่ใช้ประโยชน์ร่วมกัน จีนจะทำหน้าที่เป็นคู่ภาคีกับอาเซียนในการแก้ปัญหา โดยยังคงยืนยันในอิสรภาพในการเดินเรือ และไม่มีการข่มขู่คุกคาม โดยจีนยังยึดข้อตกลงทุกอย่างทั้งทวิภาคีและพหุภาคีในฐานะหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ของอาเซียน และยินดีที่จะร่วมกับอาเซียนในการกระชับความร่วมมือในทุกระดับ
พร้อมกันนี้ได้เสนอให้มีการแลกเปลี่ยนการเยือนและการฝึกร่วมกันมากขึ้น และเสนอให้มีความร่วมมือด้านการป้องกันประเทศร่วมกัน เช่น การฝึกร่วมอาเซียน-จีนในทะเลจีนใต้ ในการค้นหากู้ภัย การปฏิบัติการทางทะเล การให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและการบรรเทาภัยพิบัติ การกระชับความร่วมมือด้านการต่อต้านการก่อการร้าย อาเซียน-จีน ซึ่งในปี 2560-2562 ไทยและจีนจะเป็นเจ้าภาพร่วมกันซึ่งจะมีการประสานกับไทยอย่างใกล้ชิด และการกระชับความร่วมมือระหว่างกองทัพทางใต้ของจีนกับอาเซียนในการป้องกันพรมแดน การลาดตระเวนทางทะเลร่วมกัน เพื่อผลประโยชน์ร่วมกันของภูมิภาค
รมว.กลาโหมอาเซียนได้กล่าวชื่นชมในมิตรภาพและความร่วมมือของจีนซึ่งถือเป็นประเทศคู่ภาคีแรกที่ยกระดับความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ เพื่อดูแลผลประโยชน์ร่วมกันและเสถียรภาพของภูมิภาค ด้วยการเจรจาอย่างเสมอภาคผ่านกลไกต่างๆ ที่มีอยู่ การฝึกร่วมโดยใช้ทรัพยากรทางทหารร่วมกันจะเป็นประโยชน์ต่อพัฒนาการที่มีอาเซียนเป็นศูนย์กลาง และกล่าวเพิ่มเติมถึงความร่วมมือในทะเลจีนใต้ซึ่งถือเป็นความมั่นคงทางทะเลและประโยชน์ร่วมกัน โดยจำเป็นต้องเคารพอธิปไตยและยึดถือตามกฎหมายสากลว่าด้วยกฎหมายทางทะเล ร่วมกันสร้างสันติ หลีกเลี่ยงปะทะด้วยการข่มขู่ และใช้กำลัง ร่วมการเจรจาพูดคุยฉันมิตรด้วยมาตรการทางการทูตอย่างสร้างสรรค์ และกำหนดให้มีการติดต่อสายตรงระหว่างกันหากมีเหตุการณ์เฉพาะหน้าเร่งด่วนจำเป็น พร้อมกับเห็นด้วยกับข้อเสนอของจีนที่จะสนับสนุน พัฒนาความร่วมมือภายใต้ความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ระหว่างกันให้เป็นรูปธรรมมากขึ้นโดยยึดอาเซียนเป็นศูนย์กลาง
วันนี้ (26 พ.ค.) พล.ต.คงชีพ ตันตระวาณิชย์ โฆษกกระทรวงกลาโหม เปิดเผยเพิ่มเติมภายหลังจากการปิดประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมอาเซียน ครั้งที่ 10 แล้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมอาเซียนทั้ง 10 ประเทศได้เข้าร่วมประชุมอาเซียน-จีน อย่างไม่เป็นทางการ ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติ โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม สาธารณรัฐประชาชนจีน เข้าร่วมประชุม โดย พล.อ.ฉาง ว่านฉวน รมว.กลาโหมจีน ได้กล่าวย้ำจุดยืนของจีนต่อที่ประชุมโดยสรุปว่า จีนและอาเซียนจะอยู่ร่วมกันโดยไม่แยกจากกัน จะร่วมกันเสริมสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างกัน เสมือนรากต้นไม้ที่แข็งแรง โดยจะทำหน้าที่ร่วมรักษาสันติภาพของภูมิภาค สำหรับทะเลจีนใต้เปรียบเสมือนสวนหลังบ้านอาเซียนที่ใช้ประโยชน์ร่วมกัน จีนจะทำหน้าที่เป็นคู่ภาคีกับอาเซียนในการแก้ปัญหา โดยยังคงยืนยันในอิสรภาพในการเดินเรือ และไม่มีการข่มขู่คุกคาม โดยจีนยังยึดข้อตกลงทุกอย่างทั้งทวิภาคีและพหุภาคีในฐานะหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ของอาเซียน และยินดีที่จะร่วมกับอาเซียนในการกระชับความร่วมมือในทุกระดับ
พร้อมกันนี้ได้เสนอให้มีการแลกเปลี่ยนการเยือนและการฝึกร่วมกันมากขึ้น และเสนอให้มีความร่วมมือด้านการป้องกันประเทศร่วมกัน เช่น การฝึกร่วมอาเซียน-จีนในทะเลจีนใต้ ในการค้นหากู้ภัย การปฏิบัติการทางทะเล การให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและการบรรเทาภัยพิบัติ การกระชับความร่วมมือด้านการต่อต้านการก่อการร้าย อาเซียน-จีน ซึ่งในปี 2560-2562 ไทยและจีนจะเป็นเจ้าภาพร่วมกันซึ่งจะมีการประสานกับไทยอย่างใกล้ชิด และการกระชับความร่วมมือระหว่างกองทัพทางใต้ของจีนกับอาเซียนในการป้องกันพรมแดน การลาดตระเวนทางทะเลร่วมกัน เพื่อผลประโยชน์ร่วมกันของภูมิภาค
รมว.กลาโหมอาเซียนได้กล่าวชื่นชมในมิตรภาพและความร่วมมือของจีนซึ่งถือเป็นประเทศคู่ภาคีแรกที่ยกระดับความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ เพื่อดูแลผลประโยชน์ร่วมกันและเสถียรภาพของภูมิภาค ด้วยการเจรจาอย่างเสมอภาคผ่านกลไกต่างๆ ที่มีอยู่ การฝึกร่วมโดยใช้ทรัพยากรทางทหารร่วมกันจะเป็นประโยชน์ต่อพัฒนาการที่มีอาเซียนเป็นศูนย์กลาง และกล่าวเพิ่มเติมถึงความร่วมมือในทะเลจีนใต้ซึ่งถือเป็นความมั่นคงทางทะเลและประโยชน์ร่วมกัน โดยจำเป็นต้องเคารพอธิปไตยและยึดถือตามกฎหมายสากลว่าด้วยกฎหมายทางทะเล ร่วมกันสร้างสันติ หลีกเลี่ยงปะทะด้วยการข่มขู่ และใช้กำลัง ร่วมการเจรจาพูดคุยฉันมิตรด้วยมาตรการทางการทูตอย่างสร้างสรรค์ และกำหนดให้มีการติดต่อสายตรงระหว่างกันหากมีเหตุการณ์เฉพาะหน้าเร่งด่วนจำเป็น พร้อมกับเห็นด้วยกับข้อเสนอของจีนที่จะสนับสนุน พัฒนาความร่วมมือภายใต้ความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ระหว่างกันให้เป็นรูปธรรมมากขึ้นโดยยึดอาเซียนเป็นศูนย์กลาง