xs
xsm
sm
md
lg

ฟิลิปปินส์ยอมถอนคำตัดสินทะเลจีนใต้ เปิดทางอาเซียนออกแถลงการณ์ร่วม

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033>หวัง อี้ รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศของจีน (ขวา) ให้การต้อนรับสมาชิกในคณะผู้แทนของกัมพูชาระหว่างการพบหารือนอกรอบการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนในนครหลวงเวียงจันทน์ วันที่ 25 ก.ค. -- Reuters/Jorge Silva.</font></b>

รอยเตอร์ - ชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เอาชนะความติดขัดชะงักงันได้ในวันนี้ (25) เมื่อฟิลิปปินส์ถอนคำขอสำหรับแถลงการณ์ร่วมในการกล่าวถึงคำตัดสินทางกฎหมายสำคัญเกี่ยวกับทะเลจีนใต้ ตามการเปิดเผยของเจ้าหน้าที่ หลังการคัดค้านจากกัมพูชา

จีนแสดงความขอบคุณกัมพูชาสำหรับการสนับสนุนจุดยืนต่อข้อขัดแย้งทางทะเล จุดยืนที่ทำให้การประชุมในช่วงสุดสัปดาห์ของอาเซียนในนครหลวงเวียงจันทน์ต้องตกอยู่ในความสับสนวุ่นวาย

การแข่งขันอ้างกรรมสิทธิ์กับจีนในน่านน้ำทะเลจีนใต้เป็นหนึ่งในหลายประเด็นปัญหาที่โต้เถียงกันมากที่สุดสำหรับสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ด้วย 10 ชาติสมาชิกต้องคานอิทธพลระหว่างความประสงค์ที่จะยืนยันสิทธิอธิปไตย ขณะเดียวกัน ก็ต้องการที่จะหาข้อตกลงร่วมกัน และส่งเสริมความสัมพันธ์กับปักกิ่ง

ในคำตัดสินของศาลอนุญาโตตุลาการถาวร เมื่อวันที่ 12 ก.ค. ฟิลิปปินส์ ได้รับชัยชนะทางกฎหมายเหนือจีนในข้อพิพาททางทะเล

ทั้งฟิลิปปินส์ และเวียดนามต่างก็ต้องการให้ที่ประชุมบรรจุคำตัดสินของคณะอนุญาโตตุลาการถาวร ที่ระบุว่า จีนไม่สามารถอ้างกรรมสิทธิเหนือพื้นที่ทะเลจีนใต้ได้ทั้งหมด รวมทั้งการเรียกร้องให้จีนเคารพกฎหมายทางทะเลระหว่างประเทศ ไว้ในแถลงการณ์ร่วม

แต่บรรดานักการทูตเผยว่า กัมพูชาคัดค้าน และสนับสนุนเสียงเรียกร้องของจีนที่ต้องการให้หารือปัญหานี้ในระดับทวิภาคี
.
<br><FONT color=#000033>เพอร์เฟกโต ยาเซย์ รัฐมนตรีต่างประเทศของฟิลิปปินส์ขณะเข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน โดยฝ่ายฟิลิปปินส์ได้ยอมถอนคำขอที่ต้องการให้ระบุคำตัดสินของศาลเกี่ยวกับทะเลจีนใต้ เพื่อให้กลุ่มสามารถออกแถลงการณ์ร่วมได้. -- Reuters/Jorge Silva.</font></b>
.
ล่าสุด วันนี้ (25) มีการเปิดเผยว่า ฟิลิปินส์ยอมตกลงที่จะยอมให้ละเว้นคำตัดสินของคณะอนุญาโตตุลาการถาวรในแถลงการณ์ร่วมแล้ว เพื่อป้องกันไม่ให้ความขัดแย้งบานปลายไปจนถึงขั้นที่ที่ประชุมไม่สามารถออกแถลงการณ์ได้

ดังนั้น แถลงการณ์จึงกล่าวถึงเพียงความจำเป็นที่จะต้องหาวิธีแก้ปัญหาพิพาทในทะเลจีนใต้ด้วยสันติวิธี โดยมีความสอดคล้องต่อกฎหมายระหว่างประเทศ ซึ่งรวมถึงกฎหมายทางทะเลของสหประชาชาติ ซึ่งคณะอนุญาโตตุลาการถาวรกล่าวถึง โดยมีใจความว่า “อาเซียนวิตกกังวลอย่างยิ่งเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้ และที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้ และจะรับข้อวิตกกังวลที่รัฐมนตรีบางคนแสดงความคิดเห็นทั้งเรื่องการปักปันเขตแดน และสถานการณ์ตึงเครียดในพื้นที่ดังกล่าว ซึ่งล้วนแต่บั่นทอนความไว้วางใจ และความเชื่อมั่น ซึ่งอาจจะส่งผลต่อการบ่อนทำลลายสันติภาพ ความมั่นคง และเสถียรภาพในภูมิภาคนี้ไว้พิจารณาต่อไป”

ขณะเดียวกัน ก็มีแถลงการณ์อีกฉบับหนึ่ง ระบุว่า จีน และอาเซียนต่างยืนยันในพันธสัญญาที่มีต่อเสรีภาพในการเดินเรือ และการบินเหนือน่านฟ้าในทะเลจีนใต้ นอกจากนี้ ทั้งสองฝ่ายจะละเว้นการดำเนินกิจกรรมใดๆ ที่ทำให้ข้อพิพาททวีความตึงเครียดหนักขึ้น โดยรวมไปถึงจะไม่เข้าไปใช้ประโยชน์ หรือพักอาศัยในเกาะ หรือแนวปะการังใดๆ ที่ปัจจุบันไม่มีคนอาศัยอยู่ด้วย

ขณะที่ นายหวัง อี้ รัฐมนตรีต่างประเทศของจีน ระบุว่า ดูเหมือนมีบางประเทศนอกภูมิภาคปั่นกระแสให้เรื่องยิ่งลุกลามบานปลายมากขึ้น

จีนมักกล่าวโทษสหรัฐฯ จากการทวีความตึงเครียดในภูมิภาค และเตือนญี่ปุ่นให้อยู่ห่างจากข้อขัดแย้งนี้.
.
กำลังโหลดความคิดเห็น