กลุ่มพลเมืองผู้ห่วงใย อ้างล่าชื่อคนดังนับร้อย เตรียมเปิดตัวพรุ่งนี้ จี้ ทำประชามติโปร่งใส ให้ชาวบ้านมีส่วนร่วมทุกฝ่าย ด้วยข้อมูลที่รอบด้าน ให้แสดงความเห็นโดยสุจริต และสร้างสรรค์ ฉะนำคนไปปรับทัศนคติลดความชอบทำกระบวนการ บี้ บอกจะทำอย่างไรหลังรัฐธรรมนูญไม่ผ่าน
วันนี้ (24 เม.ย.) ความเคลื่อนไหวของภาคส่วนต่าง ๆ ภายหลังจากที่ พ.ร.บ. ว่าด้วยการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2559 มีผลบังคับใช้นั้น ล่าสุด “กลุ่มพลเมืองผู้ห่วงใย” ได้รวบรวมรายชื่อคนดังในสังคมไทย อาทิ นักการเมือง นักวิชาการ ศิลปิน ภาคเอกชน องค์กรพัฒนาชุมชน (เอ็นจีโอ) จากภาคส่วนต่าง ๆ ศิลปิน นักธุรกิจ ได้ร่วมลงชื่อกว่า 100 รายชื่อ เพื่อตกผลึกความคิดเห็นร่วมกันและทำข้อเสนอต่อการจัดทำประชามติในร่างรัฐธรรมนูญ พร้อมกับเรียกร้องให้ทุกฝ่ายในสังคมร่วมกันผลักดันทำให้เกิดผลเป็นจริง ดังนี้ 1. กระบวนการทำประชามติต้องเป็นไปอย่างโปร่งใส สุจริตและเที่ยงธรรมในทุกขั้นตอน 2. ในกระบวนการทำประชามติ ต้องเปิดให้มีการมีส่วนร่วมของประชาชนทุกกลุ่มทุกฝ่าย ทั้งฝ่ายที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยได้ถกแถลงด้วยข้อมูลที่ถูกต้อง ครบถ้วนและรอบด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการมีพื้นที่สาธารณะที่ปลอดภัยสำหรับทุกฝ่ายเพื่อการแสดงความเห็นตามกรอบของกฎหมาย
3. ประชาชนมีสิทธิอันชอบธรรมที่จะแสดงความคิดเห็นได้โดยสุจริตและอย่างสร้างสรรค์เกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ และถือเป็นสิทธิพื้นฐานทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยที่ต้องได้รับการปกป้องคุ้มครอง ดังนั้น การปิดกั้นสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกด้วยเหตุผล และมาตรการทางความมั่นคง รวมถึงการนำผู้ที่มีความคิดเห็นต่างไปปรับทัศนคติ นอกจากจะเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานยังเป็นการลดความชอบธรรมของกระบวนการทำประชามติอีกด้วย 4. ต้องมีการกำหนดให้ชัดเจนก่อนการทำประชามติ ว่า จะมีทางเลือกและกระบวนการอย่างไรต่อไปในกรณีที่ร่างรัฐธรรมนูญไม่ผ่านการทำประชามติ เพื่อให้ได้มาซึ่งรัฐธรรมนูญที่คนไทยทุกฝ่ายเห็นพ้องร่วมกันได้มากที่สุด โดยต้องให้ประชาชนทุกกลุ่มทุกฝ่ายสามารถถกแถลงและเสนอทางเลือกต่างๆ ได้อย่างเสรีและสร้างสรรค์
ทั้งนี้ “กลุ่มพลเมืองผู้ห่วงใย” จะเปิดแถลงข่าวอย่างเป็นทางการในวันที่ 25 เม.ย. นี้ เวลา 13.00 น. ก่อนที่จะมีการจัดเวทีถกแถลงรัฐธรรมนูญ ครั้งที่ 2 “คำถามพ่วงท้ายมีนัยอย่างไร” โดยเครือข่ายวิชาการจากหลากหลายสถาบัน ณ ห้องประชุม มาลัยหุวะนันท์ ชั้น 12 ตึกรัฐศาสตร์ 60 ปี คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วันนี้ (24 เม.ย.) ความเคลื่อนไหวของภาคส่วนต่าง ๆ ภายหลังจากที่ พ.ร.บ. ว่าด้วยการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2559 มีผลบังคับใช้นั้น ล่าสุด “กลุ่มพลเมืองผู้ห่วงใย” ได้รวบรวมรายชื่อคนดังในสังคมไทย อาทิ นักการเมือง นักวิชาการ ศิลปิน ภาคเอกชน องค์กรพัฒนาชุมชน (เอ็นจีโอ) จากภาคส่วนต่าง ๆ ศิลปิน นักธุรกิจ ได้ร่วมลงชื่อกว่า 100 รายชื่อ เพื่อตกผลึกความคิดเห็นร่วมกันและทำข้อเสนอต่อการจัดทำประชามติในร่างรัฐธรรมนูญ พร้อมกับเรียกร้องให้ทุกฝ่ายในสังคมร่วมกันผลักดันทำให้เกิดผลเป็นจริง ดังนี้ 1. กระบวนการทำประชามติต้องเป็นไปอย่างโปร่งใส สุจริตและเที่ยงธรรมในทุกขั้นตอน 2. ในกระบวนการทำประชามติ ต้องเปิดให้มีการมีส่วนร่วมของประชาชนทุกกลุ่มทุกฝ่าย ทั้งฝ่ายที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยได้ถกแถลงด้วยข้อมูลที่ถูกต้อง ครบถ้วนและรอบด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการมีพื้นที่สาธารณะที่ปลอดภัยสำหรับทุกฝ่ายเพื่อการแสดงความเห็นตามกรอบของกฎหมาย
3. ประชาชนมีสิทธิอันชอบธรรมที่จะแสดงความคิดเห็นได้โดยสุจริตและอย่างสร้างสรรค์เกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ และถือเป็นสิทธิพื้นฐานทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยที่ต้องได้รับการปกป้องคุ้มครอง ดังนั้น การปิดกั้นสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกด้วยเหตุผล และมาตรการทางความมั่นคง รวมถึงการนำผู้ที่มีความคิดเห็นต่างไปปรับทัศนคติ นอกจากจะเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานยังเป็นการลดความชอบธรรมของกระบวนการทำประชามติอีกด้วย 4. ต้องมีการกำหนดให้ชัดเจนก่อนการทำประชามติ ว่า จะมีทางเลือกและกระบวนการอย่างไรต่อไปในกรณีที่ร่างรัฐธรรมนูญไม่ผ่านการทำประชามติ เพื่อให้ได้มาซึ่งรัฐธรรมนูญที่คนไทยทุกฝ่ายเห็นพ้องร่วมกันได้มากที่สุด โดยต้องให้ประชาชนทุกกลุ่มทุกฝ่ายสามารถถกแถลงและเสนอทางเลือกต่างๆ ได้อย่างเสรีและสร้างสรรค์
ทั้งนี้ “กลุ่มพลเมืองผู้ห่วงใย” จะเปิดแถลงข่าวอย่างเป็นทางการในวันที่ 25 เม.ย. นี้ เวลา 13.00 น. ก่อนที่จะมีการจัดเวทีถกแถลงรัฐธรรมนูญ ครั้งที่ 2 “คำถามพ่วงท้ายมีนัยอย่างไร” โดยเครือข่ายวิชาการจากหลากหลายสถาบัน ณ ห้องประชุม มาลัยหุวะนันท์ ชั้น 12 ตึกรัฐศาสตร์ 60 ปี คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย