“…เจ้าหน้าที่ประจำสำนักงาน ป.ป.ช. วิเคราะห์กันแล้ว จึงมีหนังสือตอบกลับไปยังประธาน ป.ป.ช. ว่า “ไม่สมควรถอนฟ้อง” ! ... ความเห็นของกรรมการ ป.ป.ช. บางราย เมื่อทราบเรื่องนี้ ได้เปรยออกมาทำนองว่า หาก ป.ป.ช. มีมติถอนฟ้องคดีดังกล่าวจริง อาจทำให้เกิดความยุ่งยากตามมาได้…”
วันนี้ (12 มี.ค.) สำนักข่าวอิศราได้เปิดเผยถึงเบื้องหลังมีมติ "ไม่ถอนฟ้อง" กรณี พล.ต.อ.วัชรพล ประสารราชกิจ ประธานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ชงเรื่องให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. พิจารณาว่า มีอำนาจถอนฟ้องคดีที่ ป.ป.ช. เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง "สมชาย-พัชรวาท-สุชาติ-ชวลิต" กรณีสลายการชุมนุมกลุ่มพันธมิตรฯ เมื่อวันที่ 7 ต.ค. 2551 หรือไม่ ดังนี้
"กลายเป็นเรื่องร้อนไม่แพ้สภาพอากาศขณะนี้เลยทีเดียว!
กรณีมีกระแสข่าวว่า พล.ต.อ.วัชรพล ประสารราชกิจ หรือ ‘บิ๊กกุ้ย’ ประธานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ทำหนังสือถึงคณะอนุกรรมการกฎหมายสำนักงาน ป.ป.ช. พิจารณาว่า ป.ป.ช. มีอำนาจถอนฟ้องคดีหรือไม่
ส่งผลให้ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก เนื่องจากหลายฝ่ายมองว่า เป็นการเอื้อประโยชน์ในคดีที่ ป.ป.ช. เป็นโจทก์ยื่นฟ้องนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ อดีตนายกรัฐมนตรี พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ อดีตผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) พล.ต.ท.สุชาติ เหมือนแก้ว อดีตผู้บัญชาการตำรวจนครบาล (ผบช.น.) และ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ อดีตรองนายกรัฐมนตรี กรณีสลายการชุมนุมกลุ่มพันธมิตรฯ เมื่อวันที่ 7 ต.ค. 2551 ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต และได้รับบาดเจ็บหลายราย ซึ่งคดีนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
(อ่านประกอบ : จนท.ป.ป.ช.ค้าน‘วัชรพล’ถอนฟ้องคดีสลายพธม.หลัง‘สมชาย-พัชรวาท’ขอความเป็นธรรม )
ขณะที่ ‘บิ๊กป๊อด’ พล.ต.อ.พัชรวาท ก็เรียกได้ว่าเป็น ‘เจ้านายเก่า’ ของ ‘บิ๊กกุ้ย’ มาก่อน และเป็นน้องชายของ ‘บิ๊กป้อม’ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ ที่เป็นรองนายกฯ กุมบังเหียนด้านความมั่นคงในขณะนี้
ทำให้สังคมเคลือบแคลงสงสัยว่า เป็นการทำเพื่อประโยชน์ต่างตอบแทนหรือไม่ ?
เพราะต้องไม่ลืมว่า พล.ต.อ.วัชรพล ได้รับความไว้วางใจให้เข้ามาดำรงตำแหน่งโฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) ก็ในสมัย พล.ต.อ.พัชรวาท ต่อมาในช่วงคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) รัฐประหารยึดอำนาจรัฐบาลเก่า แต่งตั้ง ‘บิ๊กกุ้ย’ ให้ดำรงตำแหน่ง ผบ.ตร. และควบตำแหน่งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) นอกจากนี้ภายหลังเกษียณยังได้ดำรงตำแหน่ง รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง คือเป็นรองเลขาฯพี่ใหญ่วงษ์สุวรรณ ‘บิ๊กป้อม’ ก่อนลาออกทั้ง สนช. และรองเลขาธิการนายกฯ เพื่อมาสมัครเป็นกรรมการ ป.ป.ช. และได้รับเลือกเป็นประธาน ป.ป.ช. ในที่สุด
เรื่องนี้มีความเป็นมาอย่างไร ? สำนักข่าวอิศรา www.isranews.org สรุปให้สาธารณชนเข้าใจง่ายขึ้น ดังนี้
ประเด็นหลักของเรื่องเกิดจาก นายสมชาย พล.ต.อ.พัชรวาท และ พล.ต.ท.สุชาติ ทำเรื่องร้องขอความเป็นธรรมมายังสำนักงาน ป.ป.ช. ระบุทำนองว่า มีหลักฐานใหม่ในการสลายการชุมนุมกลุ่มพันธมิตร พร้อมกับขอให้เปรียบเทียบระหว่างกรณีสั่งสลายการชุมนุมทางการเมืองปี 2551 กับเหตุการณ์สั่งสลายการชุมนุมทางการเมืองเมื่อปี 2553 ว่าเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
ทำไมคดีสลายการชุมนุมทางการเมืองเมื่อปี 2553 ที่มีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกฯ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตรองนายกฯ และ ผอ.ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) และ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา เมื่อครั้งดำรงตำแหน่ง ผบ.ทบ. คณะกรรมการ ป.ป.ช. ถึงมีมติยกคำร้อง ?
ดังนั้นทั้งสามรายจึงขอให้ถอนฟ้องคดีดังกล่าวจากศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองเสีย
ต่อมา พล.ต.อ.วัชรพล ได้เรียกประชุมคณะกรรมการ ป.ป.ช. ถึงกรณีนี้ ก่อนจะแทงเรื่องไปยังคณะอนุกรรมการกฎหมายประจำสำนักงาน ป.ป.ช. พิจารณา ซึ่งคณะอนุกรรมการฯ พิจารณาแล้วเห็นว่า ตาม พ.ร.บ.ป.ป.ช. ไม่ได้ระบุอำนาจไว้โดยตรง ขณะที่ใน พ.ร.บ.จัดตั้งศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง และวิธีพิจารณาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองฯ ไม่ได้ระบุเรื่องนี้ไว้ แต่ให้ออกเป็นข้อกำหนดของประธานศาลฎีกา ซึ่งไม่ได้มีการระบุถึงอำนาจในการถอนฟ้อง แต่ให้ใช้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 35 มาใช้โดยอนุโลม
สำหรับประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 35 ระบุว่า คำร้องขอถอนฟ้องคดีอาญาจะยื่นเวลาใดก่อนมีคำพิพากษาของศาลชั้นต้นก็ได้ ศาลจะมีคำสั่งอนุญาตหรือมิอนุญาตให้ถอนก็ได้ แล้วแต่ศาลจะเห็นสมควรประการใด ถ้าคำร้องนั้นได้ยื่นในภายหลังเมื่อจำเลยให้การแก้คดีแล้ว ให้ถามจำเลยว่าจะคัดค้าน หรือไม่ แล้วให้ศาลจดคำแถลงของจำเลยไว้ ในกรณีที่จำเลยคัดค้านการถอนฟ้อง ให้ศาลยกคำร้องขอถอนฟ้องนั้นเสีย
คดีความผิดต่อส่วนตัวนั้น จะถอนฟ้องหรือยอมความในเวลาใดก่อนคดีถึงที่สุดก็ได้ แต่ถ้าจำเลยคัดค้านให้ศาลยกคำร้องขอถอน ฟ้องนั้นเสีย
ดังนั้น เท่ากับว่า หากคณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติถอนฟ้องคดีดังกล่าวแล้วก็ตาม แต่ก็ต้องอยู่ในดุลยพินิจของศาลเช่นกันว่า จะรับเรื่องการถอนฟ้องดังกล่าวหรือไม่ ?
ต่อมา พล.ต.อ.วัชรพล ทำบันทึกถึงเจ้าหน้าที่ประจำสำนักงาน ป.ป.ช. วิเคราะห์กรณีนี้ว่า หากรับเรื่องขอความเป็นธรรมดังกล่าวแล้ว จะใช้ดุลยพินิจถอนฟ้องได้หรือไม่ ?
เจ้าหน้าที่ประจำสำนักงาน ป.ป.ช. วิเคราะห์กันแล้ว จึงมีหนังสือตอบกลับไปยังประธาน ป.ป.ช. ว่า “ไม่สมควรถอนฟ้อง” !
โดยให้เหตุผลทำนองว่า หาก ป.ป.ช. มีมติถอนฟ้องคดีดังกล่าว อาจเข้าข่ายฐานกระทำผิดทุจริตต่อตำแหน่งหน้าที่ หรือกระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการได้ เหมือนกับกรณีคณะกรรมการ ป.ป.ช. ชุดที่ 2 ที่ขึ้นเงินค่าตอบแทนให้ตนเองได้ และท้ายสุดถูกศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองพิพากษาให้จำคุกคนละ 2 ปี รอลงอาญา
ส่วนประเด็นหลักฐานใหม่ที่จำเลยทั้งสามรายร้องขอความเป็นธรรมมานั้น สามารถนำไปยื่นต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองให้ไต่สวนเพิ่มเติมเพื่อสู้คดีได้อยู่แล้ว
ขณะที่ความเห็นของกรรมการ ป.ป.ช. บางราย เมื่อทราบเรื่องนี้ ได้เปรยออกมาทำนองว่า หาก ป.ป.ช. มีมติถอนฟ้องคดีดังกล่าวจริง อาจทำให้เกิดความยุ่งยากตามมาได้
อย่างไรก็ดี พล.ต.อ.วัชรพล ได้แทงเรื่องกลับไปยังเจ้าหน้าที่ประจำสำนักงาน ป.ป.ช. วิเคราะห์อีกครั้ง โดยให้เปรียบเทียบว่าเหตุการณ์สลายการชุมนุมเมื่อปี 2551 และปี 2553 เหมือนหรือแตกต่างอย่างไร
เจ้าหน้าที่วิเคราะห์แล้ว เห็นว่า กรณีการสลายการชุมนุมเมื่อปี 2551 ไม่มีกฏเกณฑ์และขั้นตอนการปฏิบัติที่ชัดเจน แตกต่างกับปี 2553 ที่มีกฎหมายรองรับทั้งหมด มีการประกาศ พ.ร.บ.รักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร และ พ.ร.ก.การบริหารราชการฉุกเฉินฯ มีขั้นตอนการปฏิบัติที่ชัดเจน และสถานการณ์ช่วงนั้นพัฒนามาเรื่อย ๆ จนเกิดเหตุรุนแรง มีทหารเสียชีวิต และปรากฏชายชุดดำที่ก่อเหตุรุนแรง ซึ่งทั้งสองกรณีไม่เหมือนกัน
ดังนั้น คำถามที่ต้องถามกลับไปยัง ‘บิ๊กกุ้ย’ คือ สาเหตุสำคัญที่เดินเรื่องให้มีการถอนฟ้องคดีดังกล่าวคืออะไรกันแน่ ?
เพราะถ้าจำกันได้ ก่อนหน้านี้ช่วงดำรงตำแหน่งประธาน ป.ป.ช. หมาด ๆ ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนาหูว่า เป็นคนที่ใกล้ชิดกับฝ่ายการเมือง และ คสช.
และหากยัง ‘ดันทุรัง’ ดำเนินเรื่อง ‘ถอนฟ้อง’ โดยไม่ฟังความเห็นคณะอนุกรรมการฝ่ายกฎหมาย-เจ้าหน้าที่ฝ่ายวิเคราะห์ อาจเป็น ‘เป้าโจมตี’ ของหลายองคาพยพในสังคมกลายเป็นชะงักติดหลังตามข้อครหาได้ ?
ถือเป็นเรื่อง ‘วัดใจ’ พล.ต.อ.วัชรพล อีกเรื่องหนึ่ง นอกเหนือจากคดีต่าง ๆ ในชั้น ป.ป.ช. หลายพันคดี ที่ต้องรีบเคลียร์ให้เสร็จในขณะนี้ "
วันนี้ (12 มี.ค.) สำนักข่าวอิศราได้เปิดเผยถึงเบื้องหลังมีมติ "ไม่ถอนฟ้อง" กรณี พล.ต.อ.วัชรพล ประสารราชกิจ ประธานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ชงเรื่องให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. พิจารณาว่า มีอำนาจถอนฟ้องคดีที่ ป.ป.ช. เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง "สมชาย-พัชรวาท-สุชาติ-ชวลิต" กรณีสลายการชุมนุมกลุ่มพันธมิตรฯ เมื่อวันที่ 7 ต.ค. 2551 หรือไม่ ดังนี้
"กลายเป็นเรื่องร้อนไม่แพ้สภาพอากาศขณะนี้เลยทีเดียว!
กรณีมีกระแสข่าวว่า พล.ต.อ.วัชรพล ประสารราชกิจ หรือ ‘บิ๊กกุ้ย’ ประธานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ทำหนังสือถึงคณะอนุกรรมการกฎหมายสำนักงาน ป.ป.ช. พิจารณาว่า ป.ป.ช. มีอำนาจถอนฟ้องคดีหรือไม่
ส่งผลให้ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก เนื่องจากหลายฝ่ายมองว่า เป็นการเอื้อประโยชน์ในคดีที่ ป.ป.ช. เป็นโจทก์ยื่นฟ้องนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ อดีตนายกรัฐมนตรี พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ อดีตผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) พล.ต.ท.สุชาติ เหมือนแก้ว อดีตผู้บัญชาการตำรวจนครบาล (ผบช.น.) และ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ อดีตรองนายกรัฐมนตรี กรณีสลายการชุมนุมกลุ่มพันธมิตรฯ เมื่อวันที่ 7 ต.ค. 2551 ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต และได้รับบาดเจ็บหลายราย ซึ่งคดีนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
(อ่านประกอบ : จนท.ป.ป.ช.ค้าน‘วัชรพล’ถอนฟ้องคดีสลายพธม.หลัง‘สมชาย-พัชรวาท’ขอความเป็นธรรม )
ขณะที่ ‘บิ๊กป๊อด’ พล.ต.อ.พัชรวาท ก็เรียกได้ว่าเป็น ‘เจ้านายเก่า’ ของ ‘บิ๊กกุ้ย’ มาก่อน และเป็นน้องชายของ ‘บิ๊กป้อม’ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ ที่เป็นรองนายกฯ กุมบังเหียนด้านความมั่นคงในขณะนี้
ทำให้สังคมเคลือบแคลงสงสัยว่า เป็นการทำเพื่อประโยชน์ต่างตอบแทนหรือไม่ ?
เพราะต้องไม่ลืมว่า พล.ต.อ.วัชรพล ได้รับความไว้วางใจให้เข้ามาดำรงตำแหน่งโฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) ก็ในสมัย พล.ต.อ.พัชรวาท ต่อมาในช่วงคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) รัฐประหารยึดอำนาจรัฐบาลเก่า แต่งตั้ง ‘บิ๊กกุ้ย’ ให้ดำรงตำแหน่ง ผบ.ตร. และควบตำแหน่งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) นอกจากนี้ภายหลังเกษียณยังได้ดำรงตำแหน่ง รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง คือเป็นรองเลขาฯพี่ใหญ่วงษ์สุวรรณ ‘บิ๊กป้อม’ ก่อนลาออกทั้ง สนช. และรองเลขาธิการนายกฯ เพื่อมาสมัครเป็นกรรมการ ป.ป.ช. และได้รับเลือกเป็นประธาน ป.ป.ช. ในที่สุด
เรื่องนี้มีความเป็นมาอย่างไร ? สำนักข่าวอิศรา www.isranews.org สรุปให้สาธารณชนเข้าใจง่ายขึ้น ดังนี้
ประเด็นหลักของเรื่องเกิดจาก นายสมชาย พล.ต.อ.พัชรวาท และ พล.ต.ท.สุชาติ ทำเรื่องร้องขอความเป็นธรรมมายังสำนักงาน ป.ป.ช. ระบุทำนองว่า มีหลักฐานใหม่ในการสลายการชุมนุมกลุ่มพันธมิตร พร้อมกับขอให้เปรียบเทียบระหว่างกรณีสั่งสลายการชุมนุมทางการเมืองปี 2551 กับเหตุการณ์สั่งสลายการชุมนุมทางการเมืองเมื่อปี 2553 ว่าเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
ทำไมคดีสลายการชุมนุมทางการเมืองเมื่อปี 2553 ที่มีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกฯ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตรองนายกฯ และ ผอ.ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) และ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา เมื่อครั้งดำรงตำแหน่ง ผบ.ทบ. คณะกรรมการ ป.ป.ช. ถึงมีมติยกคำร้อง ?
ดังนั้นทั้งสามรายจึงขอให้ถอนฟ้องคดีดังกล่าวจากศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองเสีย
ต่อมา พล.ต.อ.วัชรพล ได้เรียกประชุมคณะกรรมการ ป.ป.ช. ถึงกรณีนี้ ก่อนจะแทงเรื่องไปยังคณะอนุกรรมการกฎหมายประจำสำนักงาน ป.ป.ช. พิจารณา ซึ่งคณะอนุกรรมการฯ พิจารณาแล้วเห็นว่า ตาม พ.ร.บ.ป.ป.ช. ไม่ได้ระบุอำนาจไว้โดยตรง ขณะที่ใน พ.ร.บ.จัดตั้งศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง และวิธีพิจารณาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองฯ ไม่ได้ระบุเรื่องนี้ไว้ แต่ให้ออกเป็นข้อกำหนดของประธานศาลฎีกา ซึ่งไม่ได้มีการระบุถึงอำนาจในการถอนฟ้อง แต่ให้ใช้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 35 มาใช้โดยอนุโลม
สำหรับประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 35 ระบุว่า คำร้องขอถอนฟ้องคดีอาญาจะยื่นเวลาใดก่อนมีคำพิพากษาของศาลชั้นต้นก็ได้ ศาลจะมีคำสั่งอนุญาตหรือมิอนุญาตให้ถอนก็ได้ แล้วแต่ศาลจะเห็นสมควรประการใด ถ้าคำร้องนั้นได้ยื่นในภายหลังเมื่อจำเลยให้การแก้คดีแล้ว ให้ถามจำเลยว่าจะคัดค้าน หรือไม่ แล้วให้ศาลจดคำแถลงของจำเลยไว้ ในกรณีที่จำเลยคัดค้านการถอนฟ้อง ให้ศาลยกคำร้องขอถอนฟ้องนั้นเสีย
คดีความผิดต่อส่วนตัวนั้น จะถอนฟ้องหรือยอมความในเวลาใดก่อนคดีถึงที่สุดก็ได้ แต่ถ้าจำเลยคัดค้านให้ศาลยกคำร้องขอถอน ฟ้องนั้นเสีย
ดังนั้น เท่ากับว่า หากคณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติถอนฟ้องคดีดังกล่าวแล้วก็ตาม แต่ก็ต้องอยู่ในดุลยพินิจของศาลเช่นกันว่า จะรับเรื่องการถอนฟ้องดังกล่าวหรือไม่ ?
ต่อมา พล.ต.อ.วัชรพล ทำบันทึกถึงเจ้าหน้าที่ประจำสำนักงาน ป.ป.ช. วิเคราะห์กรณีนี้ว่า หากรับเรื่องขอความเป็นธรรมดังกล่าวแล้ว จะใช้ดุลยพินิจถอนฟ้องได้หรือไม่ ?
เจ้าหน้าที่ประจำสำนักงาน ป.ป.ช. วิเคราะห์กันแล้ว จึงมีหนังสือตอบกลับไปยังประธาน ป.ป.ช. ว่า “ไม่สมควรถอนฟ้อง” !
โดยให้เหตุผลทำนองว่า หาก ป.ป.ช. มีมติถอนฟ้องคดีดังกล่าว อาจเข้าข่ายฐานกระทำผิดทุจริตต่อตำแหน่งหน้าที่ หรือกระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการได้ เหมือนกับกรณีคณะกรรมการ ป.ป.ช. ชุดที่ 2 ที่ขึ้นเงินค่าตอบแทนให้ตนเองได้ และท้ายสุดถูกศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองพิพากษาให้จำคุกคนละ 2 ปี รอลงอาญา
ส่วนประเด็นหลักฐานใหม่ที่จำเลยทั้งสามรายร้องขอความเป็นธรรมมานั้น สามารถนำไปยื่นต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองให้ไต่สวนเพิ่มเติมเพื่อสู้คดีได้อยู่แล้ว
ขณะที่ความเห็นของกรรมการ ป.ป.ช. บางราย เมื่อทราบเรื่องนี้ ได้เปรยออกมาทำนองว่า หาก ป.ป.ช. มีมติถอนฟ้องคดีดังกล่าวจริง อาจทำให้เกิดความยุ่งยากตามมาได้
อย่างไรก็ดี พล.ต.อ.วัชรพล ได้แทงเรื่องกลับไปยังเจ้าหน้าที่ประจำสำนักงาน ป.ป.ช. วิเคราะห์อีกครั้ง โดยให้เปรียบเทียบว่าเหตุการณ์สลายการชุมนุมเมื่อปี 2551 และปี 2553 เหมือนหรือแตกต่างอย่างไร
เจ้าหน้าที่วิเคราะห์แล้ว เห็นว่า กรณีการสลายการชุมนุมเมื่อปี 2551 ไม่มีกฏเกณฑ์และขั้นตอนการปฏิบัติที่ชัดเจน แตกต่างกับปี 2553 ที่มีกฎหมายรองรับทั้งหมด มีการประกาศ พ.ร.บ.รักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร และ พ.ร.ก.การบริหารราชการฉุกเฉินฯ มีขั้นตอนการปฏิบัติที่ชัดเจน และสถานการณ์ช่วงนั้นพัฒนามาเรื่อย ๆ จนเกิดเหตุรุนแรง มีทหารเสียชีวิต และปรากฏชายชุดดำที่ก่อเหตุรุนแรง ซึ่งทั้งสองกรณีไม่เหมือนกัน
ดังนั้น คำถามที่ต้องถามกลับไปยัง ‘บิ๊กกุ้ย’ คือ สาเหตุสำคัญที่เดินเรื่องให้มีการถอนฟ้องคดีดังกล่าวคืออะไรกันแน่ ?
เพราะถ้าจำกันได้ ก่อนหน้านี้ช่วงดำรงตำแหน่งประธาน ป.ป.ช. หมาด ๆ ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนาหูว่า เป็นคนที่ใกล้ชิดกับฝ่ายการเมือง และ คสช.
และหากยัง ‘ดันทุรัง’ ดำเนินเรื่อง ‘ถอนฟ้อง’ โดยไม่ฟังความเห็นคณะอนุกรรมการฝ่ายกฎหมาย-เจ้าหน้าที่ฝ่ายวิเคราะห์ อาจเป็น ‘เป้าโจมตี’ ของหลายองคาพยพในสังคมกลายเป็นชะงักติดหลังตามข้อครหาได้ ?
ถือเป็นเรื่อง ‘วัดใจ’ พล.ต.อ.วัชรพล อีกเรื่องหนึ่ง นอกเหนือจากคดีต่าง ๆ ในชั้น ป.ป.ช. หลายพันคดี ที่ต้องรีบเคลียร์ให้เสร็จในขณะนี้ "