สะเก็ดไฟ
หมดสงกรานต์เข้าสู่บรรยากาศประชามติเต็มตัว การเมืองกลับมาสู่โหมดเข้มข้นเหมือนเดิม หลังก่อนหน้านี้ แต่ละฝ่ายทำท่าง้างรอกันอยู่ แสดงจุดยืนแต่ละฝ่ายไปเรียบร้อย จนหลายฝ่ายชักแอบคิด ถ้าเสียงคัดค้านมากๆ จนร่างรัฐธรรมนูญไม่มีโอกาสผ่าน
ในฐานะที่ “บิ๊กตู่” พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้า คสช. มีแก้วสารพัดนึกอย่างมาตรา 44 อยู่ในมือใช้ได้ตลอด 24 ชม. เกิดกระอักกระอ่วนใจ ลามไปถึงขั้นล้มประชามติขึ้นมาใครจะไปรู้ได้!
แต่ที่แน่ๆ ถึงจุดนี้ยังไม่น่าจะเลยเถิดไปถึงขั้นนั้น เพราะนาทีนี้ยังมีแต่พรรคเพื่อไทย และกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) เท่านั้น ที่คอนเฟิร์มว่า “คว่ำ” ร้อยเปอร์เซ็นต์ ในขณะที่พรรคประชาธิปัตย์แม้จะประกาศปาวๆ ว่าไม่เห็นด้วย แต่ไม่ได้พูดเต็มปากเต็มคำว่าไม่รับ ยังอยู่ในสภาพแทงกั๊กมากกว่า
เพราะเอาเข้าจริงๆ พรรคแม่พระธรณีบีบมวยผมไม่ได้ระเคืองระคายกับร่างรัฐธรรมนูญฉบับซือแป๋มีชัย ฤชุพันธุ์ อะไรมากมายหรอก มีแค่ประเด็น “นายกฯ คนนอก” เรื่องเดียว
ในขณะที่พรรคขนาดกลาง พรรคขนาดเล็ก ไม่ว่าจะเป็นพรรคภูมิใจไทย พรรคชาติไทยพัฒนา พรรคชาติพัฒนา พรรคพลังชล เหล่านี้โอเค เซย์เยส ประกาศหนุนกันโจ๋งครึ่มไปหมดแล้ว
หรือแม้แต่กระทั่ง กปปส.ที่มีฐานมวลชนเดียวกับพรรคประชาธิปัตย์ ต่อให้ สุเทพ เทือกสุบรรณ ประธานมูลนิธิมวลมหาประชาชนเพื่อการปฏิรูปประเทศ ไม่ออกมาแถลงจุดยืนว่าเอาอย่างไร แต่อ้าปากก็เห็นลิ้นไก่ รับแน่ ตามคอนเซ็ปต์ลุงกำนัน ใครเป็นรัฐบาลก็ได้ ขอแค่ไม่ใช่ก๊วนทักษิณ ชินวัตร
สถานการณ์ร่างรัฐธรรมนูญ เร็วไปถ้าจะบอกว่าบั้นปลายสุดท้ายจะคว่ำหรือไม่คว่ำ เพราะอีก 3-4 เดือนต่อจากนี้ ยังมีตัวแปรอีกเพียบที่จะทำให้สถานการณ์แกว่งไปแกว่งมา
แม้กระทั่งเรื่องการบริหารประเทศของรัฐบาล ก็มีส่วนต่อการตัดสินใจของประชาชน เพราะต้องยอมรับความจริงอย่างหนึ่งว่า คนที่หนุนร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ส่วนใหญ่เป็นบรรดาคอการเมืองที่นิยมชมชอบ“บิ๊กตู่”กับพวกที่เกลียดทักษิณเข้าไส้ ไม่ได้มองเรื่องการต่อท่ออำนาจที่ซ่อนอยู่ในกติกาสูงสุดฉบับนี้
หากมีข่าวเสียๆ หายๆ เกี่ยวกับรัฐบาลออกมา จะเป็นการเปิดแผลให้อีกฝั่งนำไปขยี้ซ้ำ ลดเครดิตความน่าเชื่อถือของรัฐบาล ตรงนี้จะเป็นช่องให้ความเสี่ยงที่ร่างรัฐธรรมนูญจะไม่ผ่านมีมากขึ้น
โดยเฉพาะล่าสุดข่าว “บิ๊กติ๊ก” พล.อ.ปรีชา จันทร์โอชา ปลัดกระทรวงกลาโหม น้องเลิฟ “บิ๊กตู่” เอาลูกชายที่จบปริญญาตรีนิเทศศาสตร์เข้าเป็นทหาร ในยศว่าที่ร้อยตรี จนถูกคนนินทาหมาดูถูกว่าว่าแต่เขาอิเหนาเป็นเอง ทหารหรือทักษิณ หนีไม่พ้นวงจรอุบาทว์ เครือญาติต้องมาก่อนเหมือนกัน ตรงนี้แหละที่จะทำ “บิ๊กตู่” ซวยเพราะคนรอบข้าง
อีกจุดหนึ่งที่ยังเอาแน่เอานอนอะไรไม่ได้ ก็ตรงที่ คสช.ตีกรอบเรื่องการแสดงความคิดเห็นต่อร่างรัฐธรรมนูญแบบมิดชิด ชนิดกระดิกกระเดี้ยวกันไม่ได้ ใครวิพากษ์วิจารณ์รุนแรง จับเข้าคอร์สอบรมหลักสูตรนักการเมืองเรียบวุธ ตรงนี้รังแต่จะทำให้คนอึดอัด เหมือนเป็นการบังคับให้ทุกฝ่ายต้องเห็นด้วยเท่านั้น
รัฐธรรมนูญฉบับหน้าแหลมฟันดำ ที่โดนค่อนแคะกันว่าเผด็จการเรียกพี่ เมื่อปี 2550 ยังเปิดโอกาสให้คนรณรงค์กันเต็มที่ มีธง มีสติกเกอร์ ทำกันได้เอิกเกริก แล้วแต่แคมเปญใครจะชนะใจประชาชน แต่ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ การรณรงค์กลายเป็นของแสลงใจผู้มีอำนาจ เอะอะบอกว่ามีนัยทางการเมืองไปหมด บรรยากาศการทำประชามติหนนี้ มันเลยพิลึกพิลั่นไปหมด ตกลงจะให้เก็บคิดไว้ใจ แล้วไปกากบาทกันทีเดียว ในวันที่ 7 ส.ค.กันหรืออย่างไร
แม้แต่ข้อเสียยังพูดไม่ได้ ให้อวยกันได้เฉพาะข้อดีเท่านั้น ตกลงร่างรัฐธรรมนูญฉบับซือแป๋มีชัย วิเศษวิโส หาใดเปรียบจนไม่มีรอยตำหนิสักนิดหรืออย่างไรถึงห้ามพูด ทั้งที่กติกาฉบับนี้ประชาชนใช้กันทั้งประเทศ เขาควรจะต้องรู้ว่า มันมีผลกระทบอะไรกับเขาบ้างมิใช่หรือ? ถ้าแบบนี้ไม่ต้องจัดทำประชามติให้เสียเงิน 3 พันล้านฟรีๆ ประกาศใช้ไปเลยเสียยังดีกว่า
เหมือนจะไม่หนำใจ เห็นว่ามีชัยจะขอกำลังเสริมในการช่วยดูแลและอำนวยความสะดวกระหว่างการเผยแพร่ทำความเข้าใจร่างรัฐธรรมนูญ ที่ กกต.จะจัดขึ้น 39 เวทีทั่วประเทศ เพื่อป้องกันนักการเมืองที่จะส่งคนเข้าไปปั่นป่วน ประเทศเรามาถึงจุดนี้ได้อย่างไร จุดที่บอกร่างรัฐธรรมนูญดีเลิศประเสริฐศรี ปราบโกงได้ถึงพริกถึงขิง นักการเมืองขนลุกขนพอง แต่ต้องมานั่งระแวงว่า จะมีใครมารังควาน ระหว่างลงพื้นที่
ลำพังปั่นป่วน แค่เจ้าหน้าที่ระดับพื้นที่ก็น่าจะเพียงพอ ไม่ต้องเสริมกันใหญ่โตวุ่นวาย เพราะสุดท้ายมันจะทำให้ไม่ได้บรรยากาศ และรับรู้ปฏิกิริยาของประชาชนในพื้นที่จริงๆ ว่า เขาคิดอย่างไร แต่ละพื้นที่ที่ลงไปจะเจอแต่คนเห็นด้วย ในขณะที่คนไม่เห็นด้วย หมดสิทธิ์เข้า เพราะระแวงว่าจะมาก่อความวุ่นวาย สิ่งที่ได้กลับมาคือภาพลวงตาเท่านั้น งบที่ทุ่มลงไปเพื่อสร้างความเข้าใจ จะกลายเป็นแค่เวทีให้คนเห็นด้วยอวยกันเอง
อีกทั้งปัจจุบันก็มี พ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ กฎเหล็กต่างๆ ยั๊วเยี๊ยะเต็มไปหมด ถ้าใครเจตนาไม่ดี มีเบื้องหน้าเบื้องหลัง ก็ให้เจ้าหน้าที่บังคับใช้กฎหมายเท่านี้ก็สิ้นเรื่องสิ้นราว ไม่ต้องพะว้าพะวงอะไร ดีจะได้ฉีกหน้ากากไปเลย ใครเป็นใคร เจตนาอะไร
แต่ถ้าบ้าจี้ส่งกำลังคุ้มครองกันแบบกับนายกฯ ลงพื้นที่ งานนี้ระวังจะเป็นขี้ปากชาวบ้าน ทีกับฝ่ายที่ไม่เห็นด้วย จับแหลก การพูดข้อเสียเป็นของผิดกฎหมาย แต่กับฝ่าย กรธ. เลี้ยงดูปูเสื่อ อุ้มกันสุดฤทธิ์สุดเดช ลำเอียงกันออกนอกหน้านอกตา
อย่าลืมว่า ถ้า คสช.จะตั้งกฎเหล็กกันสุดโต่งขนาดนี้ เพื่อให้ร่างรัฐธรรมนูญผ่านให้ได้ สุดท้ายผลที่ได้ออกมาจะไม่สะท้อนเจตนารมณ์ของประชาชนอย่างแท้จริง แล้วมิอาจพูดได้เต็มปากว่า เป็นเสียงของคนส่วนใหญ่ทั้งประเทศ เพราะความไม่พอใจยังมีอยู่มาก แต่ที่ผ่านไปได้เพราะ คสช.กดเอาไว้
สุดท้ายความวุ่นวายก็จะไม่จบสิ้น ประเทศจะพายเรือวนอยู่ในอ่างกับเรื่องรัฐธรรมนูญ รัฐบาลหน้าจะต้องเผชิญการทำงานแบบเดียวกับที่อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เคยเจอสมัยเป็นนายกฯ เกือบ 2 ปี ต้องวุ่นวายไปกับการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า
สิ่งที่ คสช.ทำอยู่ขณะนี้ อย่าเรียกว่าเป็นการมัดมือชกเลย มันเลยเถิดไปถึงขั้น “มัดตราสัง” กันแล้ว!
หมดสงกรานต์เข้าสู่บรรยากาศประชามติเต็มตัว การเมืองกลับมาสู่โหมดเข้มข้นเหมือนเดิม หลังก่อนหน้านี้ แต่ละฝ่ายทำท่าง้างรอกันอยู่ แสดงจุดยืนแต่ละฝ่ายไปเรียบร้อย จนหลายฝ่ายชักแอบคิด ถ้าเสียงคัดค้านมากๆ จนร่างรัฐธรรมนูญไม่มีโอกาสผ่าน
ในฐานะที่ “บิ๊กตู่” พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้า คสช. มีแก้วสารพัดนึกอย่างมาตรา 44 อยู่ในมือใช้ได้ตลอด 24 ชม. เกิดกระอักกระอ่วนใจ ลามไปถึงขั้นล้มประชามติขึ้นมาใครจะไปรู้ได้!
แต่ที่แน่ๆ ถึงจุดนี้ยังไม่น่าจะเลยเถิดไปถึงขั้นนั้น เพราะนาทีนี้ยังมีแต่พรรคเพื่อไทย และกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) เท่านั้น ที่คอนเฟิร์มว่า “คว่ำ” ร้อยเปอร์เซ็นต์ ในขณะที่พรรคประชาธิปัตย์แม้จะประกาศปาวๆ ว่าไม่เห็นด้วย แต่ไม่ได้พูดเต็มปากเต็มคำว่าไม่รับ ยังอยู่ในสภาพแทงกั๊กมากกว่า
เพราะเอาเข้าจริงๆ พรรคแม่พระธรณีบีบมวยผมไม่ได้ระเคืองระคายกับร่างรัฐธรรมนูญฉบับซือแป๋มีชัย ฤชุพันธุ์ อะไรมากมายหรอก มีแค่ประเด็น “นายกฯ คนนอก” เรื่องเดียว
ในขณะที่พรรคขนาดกลาง พรรคขนาดเล็ก ไม่ว่าจะเป็นพรรคภูมิใจไทย พรรคชาติไทยพัฒนา พรรคชาติพัฒนา พรรคพลังชล เหล่านี้โอเค เซย์เยส ประกาศหนุนกันโจ๋งครึ่มไปหมดแล้ว
หรือแม้แต่กระทั่ง กปปส.ที่มีฐานมวลชนเดียวกับพรรคประชาธิปัตย์ ต่อให้ สุเทพ เทือกสุบรรณ ประธานมูลนิธิมวลมหาประชาชนเพื่อการปฏิรูปประเทศ ไม่ออกมาแถลงจุดยืนว่าเอาอย่างไร แต่อ้าปากก็เห็นลิ้นไก่ รับแน่ ตามคอนเซ็ปต์ลุงกำนัน ใครเป็นรัฐบาลก็ได้ ขอแค่ไม่ใช่ก๊วนทักษิณ ชินวัตร
สถานการณ์ร่างรัฐธรรมนูญ เร็วไปถ้าจะบอกว่าบั้นปลายสุดท้ายจะคว่ำหรือไม่คว่ำ เพราะอีก 3-4 เดือนต่อจากนี้ ยังมีตัวแปรอีกเพียบที่จะทำให้สถานการณ์แกว่งไปแกว่งมา
แม้กระทั่งเรื่องการบริหารประเทศของรัฐบาล ก็มีส่วนต่อการตัดสินใจของประชาชน เพราะต้องยอมรับความจริงอย่างหนึ่งว่า คนที่หนุนร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ส่วนใหญ่เป็นบรรดาคอการเมืองที่นิยมชมชอบ“บิ๊กตู่”กับพวกที่เกลียดทักษิณเข้าไส้ ไม่ได้มองเรื่องการต่อท่ออำนาจที่ซ่อนอยู่ในกติกาสูงสุดฉบับนี้
หากมีข่าวเสียๆ หายๆ เกี่ยวกับรัฐบาลออกมา จะเป็นการเปิดแผลให้อีกฝั่งนำไปขยี้ซ้ำ ลดเครดิตความน่าเชื่อถือของรัฐบาล ตรงนี้จะเป็นช่องให้ความเสี่ยงที่ร่างรัฐธรรมนูญจะไม่ผ่านมีมากขึ้น
โดยเฉพาะล่าสุดข่าว “บิ๊กติ๊ก” พล.อ.ปรีชา จันทร์โอชา ปลัดกระทรวงกลาโหม น้องเลิฟ “บิ๊กตู่” เอาลูกชายที่จบปริญญาตรีนิเทศศาสตร์เข้าเป็นทหาร ในยศว่าที่ร้อยตรี จนถูกคนนินทาหมาดูถูกว่าว่าแต่เขาอิเหนาเป็นเอง ทหารหรือทักษิณ หนีไม่พ้นวงจรอุบาทว์ เครือญาติต้องมาก่อนเหมือนกัน ตรงนี้แหละที่จะทำ “บิ๊กตู่” ซวยเพราะคนรอบข้าง
อีกจุดหนึ่งที่ยังเอาแน่เอานอนอะไรไม่ได้ ก็ตรงที่ คสช.ตีกรอบเรื่องการแสดงความคิดเห็นต่อร่างรัฐธรรมนูญแบบมิดชิด ชนิดกระดิกกระเดี้ยวกันไม่ได้ ใครวิพากษ์วิจารณ์รุนแรง จับเข้าคอร์สอบรมหลักสูตรนักการเมืองเรียบวุธ ตรงนี้รังแต่จะทำให้คนอึดอัด เหมือนเป็นการบังคับให้ทุกฝ่ายต้องเห็นด้วยเท่านั้น
รัฐธรรมนูญฉบับหน้าแหลมฟันดำ ที่โดนค่อนแคะกันว่าเผด็จการเรียกพี่ เมื่อปี 2550 ยังเปิดโอกาสให้คนรณรงค์กันเต็มที่ มีธง มีสติกเกอร์ ทำกันได้เอิกเกริก แล้วแต่แคมเปญใครจะชนะใจประชาชน แต่ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ การรณรงค์กลายเป็นของแสลงใจผู้มีอำนาจ เอะอะบอกว่ามีนัยทางการเมืองไปหมด บรรยากาศการทำประชามติหนนี้ มันเลยพิลึกพิลั่นไปหมด ตกลงจะให้เก็บคิดไว้ใจ แล้วไปกากบาทกันทีเดียว ในวันที่ 7 ส.ค.กันหรืออย่างไร
แม้แต่ข้อเสียยังพูดไม่ได้ ให้อวยกันได้เฉพาะข้อดีเท่านั้น ตกลงร่างรัฐธรรมนูญฉบับซือแป๋มีชัย วิเศษวิโส หาใดเปรียบจนไม่มีรอยตำหนิสักนิดหรืออย่างไรถึงห้ามพูด ทั้งที่กติกาฉบับนี้ประชาชนใช้กันทั้งประเทศ เขาควรจะต้องรู้ว่า มันมีผลกระทบอะไรกับเขาบ้างมิใช่หรือ? ถ้าแบบนี้ไม่ต้องจัดทำประชามติให้เสียเงิน 3 พันล้านฟรีๆ ประกาศใช้ไปเลยเสียยังดีกว่า
เหมือนจะไม่หนำใจ เห็นว่ามีชัยจะขอกำลังเสริมในการช่วยดูแลและอำนวยความสะดวกระหว่างการเผยแพร่ทำความเข้าใจร่างรัฐธรรมนูญ ที่ กกต.จะจัดขึ้น 39 เวทีทั่วประเทศ เพื่อป้องกันนักการเมืองที่จะส่งคนเข้าไปปั่นป่วน ประเทศเรามาถึงจุดนี้ได้อย่างไร จุดที่บอกร่างรัฐธรรมนูญดีเลิศประเสริฐศรี ปราบโกงได้ถึงพริกถึงขิง นักการเมืองขนลุกขนพอง แต่ต้องมานั่งระแวงว่า จะมีใครมารังควาน ระหว่างลงพื้นที่
ลำพังปั่นป่วน แค่เจ้าหน้าที่ระดับพื้นที่ก็น่าจะเพียงพอ ไม่ต้องเสริมกันใหญ่โตวุ่นวาย เพราะสุดท้ายมันจะทำให้ไม่ได้บรรยากาศ และรับรู้ปฏิกิริยาของประชาชนในพื้นที่จริงๆ ว่า เขาคิดอย่างไร แต่ละพื้นที่ที่ลงไปจะเจอแต่คนเห็นด้วย ในขณะที่คนไม่เห็นด้วย หมดสิทธิ์เข้า เพราะระแวงว่าจะมาก่อความวุ่นวาย สิ่งที่ได้กลับมาคือภาพลวงตาเท่านั้น งบที่ทุ่มลงไปเพื่อสร้างความเข้าใจ จะกลายเป็นแค่เวทีให้คนเห็นด้วยอวยกันเอง
อีกทั้งปัจจุบันก็มี พ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ กฎเหล็กต่างๆ ยั๊วเยี๊ยะเต็มไปหมด ถ้าใครเจตนาไม่ดี มีเบื้องหน้าเบื้องหลัง ก็ให้เจ้าหน้าที่บังคับใช้กฎหมายเท่านี้ก็สิ้นเรื่องสิ้นราว ไม่ต้องพะว้าพะวงอะไร ดีจะได้ฉีกหน้ากากไปเลย ใครเป็นใคร เจตนาอะไร
แต่ถ้าบ้าจี้ส่งกำลังคุ้มครองกันแบบกับนายกฯ ลงพื้นที่ งานนี้ระวังจะเป็นขี้ปากชาวบ้าน ทีกับฝ่ายที่ไม่เห็นด้วย จับแหลก การพูดข้อเสียเป็นของผิดกฎหมาย แต่กับฝ่าย กรธ. เลี้ยงดูปูเสื่อ อุ้มกันสุดฤทธิ์สุดเดช ลำเอียงกันออกนอกหน้านอกตา
อย่าลืมว่า ถ้า คสช.จะตั้งกฎเหล็กกันสุดโต่งขนาดนี้ เพื่อให้ร่างรัฐธรรมนูญผ่านให้ได้ สุดท้ายผลที่ได้ออกมาจะไม่สะท้อนเจตนารมณ์ของประชาชนอย่างแท้จริง แล้วมิอาจพูดได้เต็มปากว่า เป็นเสียงของคนส่วนใหญ่ทั้งประเทศ เพราะความไม่พอใจยังมีอยู่มาก แต่ที่ผ่านไปได้เพราะ คสช.กดเอาไว้
สุดท้ายความวุ่นวายก็จะไม่จบสิ้น ประเทศจะพายเรือวนอยู่ในอ่างกับเรื่องรัฐธรรมนูญ รัฐบาลหน้าจะต้องเผชิญการทำงานแบบเดียวกับที่อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เคยเจอสมัยเป็นนายกฯ เกือบ 2 ปี ต้องวุ่นวายไปกับการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า
สิ่งที่ คสช.ทำอยู่ขณะนี้ อย่าเรียกว่าเป็นการมัดมือชกเลย มันเลยเถิดไปถึงขั้น “มัดตราสัง” กันแล้ว!