เสียงข้างมากสื่อสภาฯ งดตั้งฉายาการเมืองตัดปัญหานำไปขยายผล ไม่ทำเหมือนปี 49 เหตุขัดแย้งกว่า พร้อมทำหน้าที่ติดตามการทำงานต่อ
วันนี้ (29 ธ.ค.) สื่อมวลชนประจำรัฐสภาได้มีมติเสียงข้างมากในการงดตั้งฉายาแก่ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองในฝ่ายนิติบัญญัติประจำปี พ.ศ. 2558 อย่างไรก็ตาม แม้ว่าใน พ.ศ. 2550 สื่อมวลชนประจำรัฐสภาได้ร่วมกันตั้งฉายาฝ่ายนิติบัญญัติที่มาจากรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว พ.ศ. 2549 เพื่อสะท้อนถึงการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะผู้แทนปวงชนชาวไทย แต่เนื่องจากสถานการณ์ทางการเมืองในขณะนั้นไม่ได้มีความขัดแย้งทางการเมืองที่รุนแรงเหมือนกับในปัจจุบัน ดังนั้น สื่อมวลชนประจำรัฐสภาได้ประชุมหารือร่วมกันแล้ว พร้อมกับตัดสินใจด้วยการออกเสียง จนมีมติเสียงข้างมากว่าเห็นควรให้งดการตั้งฉายาออกไปก่อน เพื่อไม่ให้ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดนำฉายาที่สื่อมวลชนตั้งขึ้นด้วยความสุจริตไปเป็นเครื่องมือเพื่อขยายผลในทางการเมือง
ทั้งนี้ สื่อมวลชนประจำรัฐสภายังยืนยันที่จะทำหน้าที่ติดตามและตรวจสอบการทำงานของสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) และคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ภายใต้กรอบจรรยาบรรณของสื่อมวลชนต่อไป
วันนี้ (29 ธ.ค.) สื่อมวลชนประจำรัฐสภาได้มีมติเสียงข้างมากในการงดตั้งฉายาแก่ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองในฝ่ายนิติบัญญัติประจำปี พ.ศ. 2558 อย่างไรก็ตาม แม้ว่าใน พ.ศ. 2550 สื่อมวลชนประจำรัฐสภาได้ร่วมกันตั้งฉายาฝ่ายนิติบัญญัติที่มาจากรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว พ.ศ. 2549 เพื่อสะท้อนถึงการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะผู้แทนปวงชนชาวไทย แต่เนื่องจากสถานการณ์ทางการเมืองในขณะนั้นไม่ได้มีความขัดแย้งทางการเมืองที่รุนแรงเหมือนกับในปัจจุบัน ดังนั้น สื่อมวลชนประจำรัฐสภาได้ประชุมหารือร่วมกันแล้ว พร้อมกับตัดสินใจด้วยการออกเสียง จนมีมติเสียงข้างมากว่าเห็นควรให้งดการตั้งฉายาออกไปก่อน เพื่อไม่ให้ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดนำฉายาที่สื่อมวลชนตั้งขึ้นด้วยความสุจริตไปเป็นเครื่องมือเพื่อขยายผลในทางการเมือง
ทั้งนี้ สื่อมวลชนประจำรัฐสภายังยืนยันที่จะทำหน้าที่ติดตามและตรวจสอบการทำงานของสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) และคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ภายใต้กรอบจรรยาบรรณของสื่อมวลชนต่อไป