ที่ประชุมศูนย์บัญชาการการแก้ไขปัญหาประมงผิดกฎหมาย ตั้งชุดเฉพาะกิจ 25 ชุดตรวจสอบการใช้แรงงานผิดกฎหมาย พร้อมเปิดให้จดทะเบียนแรงงานเพิ่ม ชี้นายกรัฐมนตรีไม่สบายใจข่าวจากสื่อต่างประเทศ ไม่ยุติธรรมกับคนทำงาน วอนขอความยุติธรรม ชี้กรณีเด็กปอกเปลือกกุ้งบางกรณีเหมือนส่งลูกไปทำร้านอาหารฟาสต์ฟูดเพื่อฝึกลูก เตือนกลุ่มประมงปัตตานีทำผิดกฎหมาย หากไม่ร่วมมือ อียูบอยคอต เศรษฐกิจพัง
วันนี้ (22 ธ.ค.) พล.ร.ท.จุมพล ลุมพิกานนท์ รองเสนาธิการกองทัพเรือ ในฐานะโฆษกศูนย์บัญชาการการแก้ไขปัญหาประมงผิดกฏหมาย (ศปมผ.) กล่าวย้ำถึงการแก้ไขปัญหาแรงงานทาส ในการทำการประมงของ ศปมผ. ภายหลังจาก สหภาพอียูได้แจ้งเตือนว่า ได้มีการตั้งชุดเฉพาะกิจ 25 ชุด ในการตรวจสอบโดยมุ่งเป้าในพื้นที่ที่คาดว่าใช้แรงงานผิดกฎหมาย 101 ที่ในพื้นที่ 125 โรงงานเป้าหมาย ร่วมกับกระทรวงแรงงานเปิดให้จดทะเบียนแรงงานเพิ่ม ทั้งแรงงานในทะเล และแรงงานแปรรูปสัตว์น้ำ การดำเนินการทั้งหมดเราทำอย่างจริงจัง และดำเนินการอย่างต่อเนื่อง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี สั่งการมายังผู้บัญชาการทหารเรือ ให้ใช้กำลังเต็มที่ ร่วมบูรณาการกำลังกองทัพบก ตำรวจ หรือหน่วยงานอื่นๆ ได้โดยตรง ถือเป็นการทลายแรงงานผิดกฎหมายเห็นเป็นรูปธรรม พร้อมเรียกร้องไปถึงกลุ่มประมงจังหวัดปัตตานี ถือเป็นกลุ่มที่ใช้เครื่องมือประมงผิดกฎหมาย หากยังไม่ให้ความร่วมมือจะทำให้เกิดความเสียหายในภาพใหญ่ เพราะเป็นความเดือดร้อนแบบห่วงโซ่ ถ้าผิดคนหนึ่ง ทางอียูเอามาเป็นประเด็นในการกีดกันไม่ซื้อสินค้าประมง นั้นคือเศรษฐกิจในภาพประมงทั้งหมดล้มลง
พล.ร.ท.จุมพลกล่าวต่อว่า การดำเนินการแก้ไขปัญหาทำเป็นระบบ โดยการบูรณาการทุกภาคส่วน นายกรัฐมนตรี ห่วงใยมาโดยตลอด ทั้งกรณีสื่อต่างประเทศเสนอข่าวไม่ตรงข้อมูล โดยเฉพาะประเด็นปัญหาพื้นที่ จ.ปัตตานี ให้ ผบ.ทร.สั่งผู้บัญชาการทัพเรือภาค 2 ลงพื้นที่ไปดูแลร่วมผู้ว่าราชการจังหวัด ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าเราไม่ได้นิ่งนอนใจ หรือหยุดการดำเนินการ แต่เราทำอย่างต่อเนื่องในทุกๆ ส่วน
“ส่วนประเด็นที่ทางอียูเพิ่มเติมแก้ไขปัญหาเรื่องแรงงานนั้น หากยังไม่เร่งแก้ไขปัญหา เขาบอกว่าจะมาตรวจในเดือนมกราคม 2559 นั้น อาจจะโดนใบแดง เราจึงเร่งดำเนินการตั้งแต่ 2 พ.ย.ที่ผ่านมาในการเปิดปฏิบัติการกวาดล้างทันที ทั้งนี้ห่วงว่าภาพข่าวต่างๆ ที่ออกไปและไม่ตรงกับความเป็นจริง ร่วมถึงกรณีปัญหา จ.ปัตตานีจะมีผลต่อการตัดสินใจของอียู เพราะเรื่องนี้ไม่สามารถนิ่งนอนใจได้ แม้ว่าเราจะมีข้อเท็จจริงอยู่ก็ตาม แต่การกระจายข่าวแบบนั้นของสื่อไม่ยุติธรรมกับคนทำงาน โดยเฉพาะกองทัพเรือ ครึ่งหนึ่งของการทำงานให้ความสำคัญเรื่องดังกล่าวเต็ม 100% เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของประเทศ อยากขอความยุติธรรมกับสื่อด้วย โดยเฉพาะสื่อประเทศไทย อย่าให้สื่อนอกใช้เป็นเครื่องมือในการนำเสนอสิ่งไม่ถูกต้องแล้วมาโจมตีประเทศไทย” พล.ร.ท.จุมพลกล่าว
พล.ร.ท.จุมพลยังเปรียบเทียบให้เห็นถึงการส่งลูกเข้าไปใช้แรงงานในร้านเคเอฟซี แมคโดนัลด์ในยุโรปเพื่อฝึกลูก คิดเป็นแรงงานไป ซึ่งเหมือนกับในสังคมไทย เพราะฉะนั้นอย่าหยิบยกมาเป็นประเด็นโจมตี เพราะไม่ยุติธรรม เพราะประเทศไทยมมีวัฒนธรรมการกินอยู่และใช้แรงงานอย่างไร ยืนยันเราให้ความสำคัญในเรื่องนี้ จริงจังต่อเนื่อง
เมื่อถามว่า การใช้แรงงานเด็กในการปอกเปลือกกุ้งถือเป็นวัฒนธรรมของไทยใช่หรือไม่ พล.ร.ท.จุมพลกล่าวว่า นั่นคือสิ่งที่ต้องอธิบายให้สังคมโลกรู้ว่า วัฒนธรรมเราเป็นเช่นนี้ แต่ถ้าเป็นโรงงานไม่ได้รับอนุญาตจะมีมาตราการดำเนินการ หรือให้คำแนะนำว่าการประกอบอาชีพเช่นนี้ต้องดำเนินถูกต้องตามกติกา
เมื่อถามว่า ทางอียูได้กำหนดหรือไม่ว่าต้องแก้ปัญหาถึงระดับไหนถึงจะผ่าน พล.ร.ท.จุมพลกล่าวว่า อียูจะย้ำเสมอว่า เขาเป็นเพียงผู้ให้คำแนะนำและจะชี้ให้เห็นว่าเราไม่ได้มาตราฐานตรงไหน และจะนำผลการตรวจไปเข้าบอร์ดว่าผ่านหรือไม่ ส่วนประเด็นไหนจะต้องแก้ไขแค่ไหนอย่างไร เส้นมาตรฐานของแต่ละพื้นที่ไม่เท่ากัน แต่เราจะชี้ให้เห็นความตั้งใจจริงในการแก้ปัญหา เพราะอียูมองจุดนี้ เช่น ประเทศฟิลิฟปิลน์ เกาหลี ใช้เวลา 2 ปีแก้ไขปัญหากว่าจะผ่าน ถือเป็นตัวแบบที่เห็นได้ชัดว่าต้องใช้เวลา ซึ่งโจทย์แก้ปัญหาอาจจะไม่เหมือนกัน แต่เรามีผู้เชี่ยวชาญชี้ให้เห็นว่าโจทย์ข้อไหนควรแก้ก่อนหลัง
วันนี้ (22 ธ.ค.) พล.ร.ท.จุมพล ลุมพิกานนท์ รองเสนาธิการกองทัพเรือ ในฐานะโฆษกศูนย์บัญชาการการแก้ไขปัญหาประมงผิดกฏหมาย (ศปมผ.) กล่าวย้ำถึงการแก้ไขปัญหาแรงงานทาส ในการทำการประมงของ ศปมผ. ภายหลังจาก สหภาพอียูได้แจ้งเตือนว่า ได้มีการตั้งชุดเฉพาะกิจ 25 ชุด ในการตรวจสอบโดยมุ่งเป้าในพื้นที่ที่คาดว่าใช้แรงงานผิดกฎหมาย 101 ที่ในพื้นที่ 125 โรงงานเป้าหมาย ร่วมกับกระทรวงแรงงานเปิดให้จดทะเบียนแรงงานเพิ่ม ทั้งแรงงานในทะเล และแรงงานแปรรูปสัตว์น้ำ การดำเนินการทั้งหมดเราทำอย่างจริงจัง และดำเนินการอย่างต่อเนื่อง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี สั่งการมายังผู้บัญชาการทหารเรือ ให้ใช้กำลังเต็มที่ ร่วมบูรณาการกำลังกองทัพบก ตำรวจ หรือหน่วยงานอื่นๆ ได้โดยตรง ถือเป็นการทลายแรงงานผิดกฎหมายเห็นเป็นรูปธรรม พร้อมเรียกร้องไปถึงกลุ่มประมงจังหวัดปัตตานี ถือเป็นกลุ่มที่ใช้เครื่องมือประมงผิดกฎหมาย หากยังไม่ให้ความร่วมมือจะทำให้เกิดความเสียหายในภาพใหญ่ เพราะเป็นความเดือดร้อนแบบห่วงโซ่ ถ้าผิดคนหนึ่ง ทางอียูเอามาเป็นประเด็นในการกีดกันไม่ซื้อสินค้าประมง นั้นคือเศรษฐกิจในภาพประมงทั้งหมดล้มลง
พล.ร.ท.จุมพลกล่าวต่อว่า การดำเนินการแก้ไขปัญหาทำเป็นระบบ โดยการบูรณาการทุกภาคส่วน นายกรัฐมนตรี ห่วงใยมาโดยตลอด ทั้งกรณีสื่อต่างประเทศเสนอข่าวไม่ตรงข้อมูล โดยเฉพาะประเด็นปัญหาพื้นที่ จ.ปัตตานี ให้ ผบ.ทร.สั่งผู้บัญชาการทัพเรือภาค 2 ลงพื้นที่ไปดูแลร่วมผู้ว่าราชการจังหวัด ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าเราไม่ได้นิ่งนอนใจ หรือหยุดการดำเนินการ แต่เราทำอย่างต่อเนื่องในทุกๆ ส่วน
“ส่วนประเด็นที่ทางอียูเพิ่มเติมแก้ไขปัญหาเรื่องแรงงานนั้น หากยังไม่เร่งแก้ไขปัญหา เขาบอกว่าจะมาตรวจในเดือนมกราคม 2559 นั้น อาจจะโดนใบแดง เราจึงเร่งดำเนินการตั้งแต่ 2 พ.ย.ที่ผ่านมาในการเปิดปฏิบัติการกวาดล้างทันที ทั้งนี้ห่วงว่าภาพข่าวต่างๆ ที่ออกไปและไม่ตรงกับความเป็นจริง ร่วมถึงกรณีปัญหา จ.ปัตตานีจะมีผลต่อการตัดสินใจของอียู เพราะเรื่องนี้ไม่สามารถนิ่งนอนใจได้ แม้ว่าเราจะมีข้อเท็จจริงอยู่ก็ตาม แต่การกระจายข่าวแบบนั้นของสื่อไม่ยุติธรรมกับคนทำงาน โดยเฉพาะกองทัพเรือ ครึ่งหนึ่งของการทำงานให้ความสำคัญเรื่องดังกล่าวเต็ม 100% เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของประเทศ อยากขอความยุติธรรมกับสื่อด้วย โดยเฉพาะสื่อประเทศไทย อย่าให้สื่อนอกใช้เป็นเครื่องมือในการนำเสนอสิ่งไม่ถูกต้องแล้วมาโจมตีประเทศไทย” พล.ร.ท.จุมพลกล่าว
พล.ร.ท.จุมพลยังเปรียบเทียบให้เห็นถึงการส่งลูกเข้าไปใช้แรงงานในร้านเคเอฟซี แมคโดนัลด์ในยุโรปเพื่อฝึกลูก คิดเป็นแรงงานไป ซึ่งเหมือนกับในสังคมไทย เพราะฉะนั้นอย่าหยิบยกมาเป็นประเด็นโจมตี เพราะไม่ยุติธรรม เพราะประเทศไทยมมีวัฒนธรรมการกินอยู่และใช้แรงงานอย่างไร ยืนยันเราให้ความสำคัญในเรื่องนี้ จริงจังต่อเนื่อง
เมื่อถามว่า การใช้แรงงานเด็กในการปอกเปลือกกุ้งถือเป็นวัฒนธรรมของไทยใช่หรือไม่ พล.ร.ท.จุมพลกล่าวว่า นั่นคือสิ่งที่ต้องอธิบายให้สังคมโลกรู้ว่า วัฒนธรรมเราเป็นเช่นนี้ แต่ถ้าเป็นโรงงานไม่ได้รับอนุญาตจะมีมาตราการดำเนินการ หรือให้คำแนะนำว่าการประกอบอาชีพเช่นนี้ต้องดำเนินถูกต้องตามกติกา
เมื่อถามว่า ทางอียูได้กำหนดหรือไม่ว่าต้องแก้ปัญหาถึงระดับไหนถึงจะผ่าน พล.ร.ท.จุมพลกล่าวว่า อียูจะย้ำเสมอว่า เขาเป็นเพียงผู้ให้คำแนะนำและจะชี้ให้เห็นว่าเราไม่ได้มาตราฐานตรงไหน และจะนำผลการตรวจไปเข้าบอร์ดว่าผ่านหรือไม่ ส่วนประเด็นไหนจะต้องแก้ไขแค่ไหนอย่างไร เส้นมาตรฐานของแต่ละพื้นที่ไม่เท่ากัน แต่เราจะชี้ให้เห็นความตั้งใจจริงในการแก้ปัญหา เพราะอียูมองจุดนี้ เช่น ประเทศฟิลิฟปิลน์ เกาหลี ใช้เวลา 2 ปีแก้ไขปัญหากว่าจะผ่าน ถือเป็นตัวแบบที่เห็นได้ชัดว่าต้องใช้เวลา ซึ่งโจทย์แก้ปัญหาอาจจะไม่เหมือนกัน แต่เรามีผู้เชี่ยวชาญชี้ให้เห็นว่าโจทย์ข้อไหนควรแก้ก่อนหลัง