xs
xsm
sm
md
lg

การเลือกตั้งในเมียนมาร์ เส้นทางของอองซาน ซูจี

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online


การเลือกตั้งทั่วไปของเมียนมาร์หรือ พม่า ในวันอาทิตย์ที่ 8 พฤศจิกายน เป้นเหตุการณ์ทางการเมืองที่มีความสำคัญ ที่ถุกจับตามองจากทั่วโลก เพราะเป็นการเลือกตั้งครั้งแรกที่ทุกฝ่ายที่มีความขัดแย้งกันในอดีตเข้าร่วมอย่างพร้อมเพรียงกัน และเป็นก้าวสำคัญของการปฏิรูป การเมือง หลังจากที่อยู่ภายใต้การปกครองแบบเผด็จการโดยคณะทหารมานานกว่าครึ่งศตวรรษ

เมียนมาร์ มีการเลือกตั้งครั้งล่าสุดเมื่อ ปี 2010 แต่พรรคแนวร่วมประชาธิปไตยแห่งชาติ หรือ เอ็นแอลดี (NLD – National League of Democracy) ของนางออง ซาน ซูจี ซึ่งตอนนั้นยังถูกกักบริเวณอยู่ในบ้าน ปฏิเสธ ไม่ลงเลือกตั้ง เพราะเป็นการเลือกตั้ง ที่กองทัพเป็นคนเขียนกติกา

หลังจากนั้นไม่กี่เดือนนาง ออง ซานซูจี ได้รับการปล่อยตัว ให้เป็นอิสระ

การเลือกตั้งซ่อมในปี 2012 พรรคเอ็นแอลดี ลงสมัครรับเลือกตั้งด้วย และได้รับเลือกตั้ง 43 ที่นั่งจากทั้งหมด 45 ที่นั่ง

เมียนมาร์ ไม่มีการทำโพลล์ สำรวจคะแนนนิยมของผู้สมัคร จึงยากที่จะประเมินว่า พรรคเอ็นแอลดี หรือ ยูเอสดีพี (United Solidarity and Development Party ) ซึ่งเป็นพรรคของกองทัพ และเป็นรัฐบาลอยู่ในขณะนี้ จะได้ครองเสียงข้างมาก

ภาพข่าวที่มีประชาชนไปฟังนางอองซานซูจี ปราศรัยหาเสียงอย่างมืดฟ้ามัวดิน ในทุก ๆ ที่ ยังไม่ใช่สัญญาณแห่งชัยชนะในทางการเมืองชัยชนะที่แท้จริงอยู่ที่บัตรลงคะแนนในหีบบัตรเลือกตั้ง

จากจำนวนที่นั่งในรัฐสภาทั้งสภาสูงและสภาล่างประมาณ 500 ที่นั่งอยู่ในภาคกลางและภาคใต้ ซึ่งเป็นพื้นที่ของคนเชื้อสายพม่า 200 กว่าที่นั่ง พรรคของนางซูจี น่าจะกวาดที่นั่งได้เป็นส่วนใหญ่ แต่ยังไม่พอที่จะเป็นเสียงข้างมาก

ที่เหลืออีก 200 ที่นั่ง เป็นเขตเลือกตั้งในพื้นที่ตามชายแดน ที่กลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ อาศัยอยู่ ซึ่งจะแย่งชิงกันระหว่างพรรคที่เป็นตัวแทนของชาติพันธ์นั้นๆ กับพรรคใหญ่ระดับประเทศ คือ ยูเอสดีพี และพรรคเอ็นแอลดี ตลอดหนึ่งปีกว่าที่ผ่านมา นางซูจี จึงใช้เวลาสว่นใหญ่ เดินทางไปหาเสียงในพื้นที่เหล่านี้

อีกปัจจัยหนึ่งที่จะมีผลต่อคะแนนเสียงคือ ขบวนการพระสงฆ์และชาวพุทธที่ต่อต้านมุสลิม พระสงฆ์ที่เป็นผู้นำของขบวนการประกาศต่อต้านพรรคเอ็นแอลดี โดยกล่าวหาว่า เป็นพรรคของมุสลิม เพราะนางซูจี และสมาชิกคนสำคัญของพรรค แสดงความเห็นใจชาวมุสลิมในเมียนมาร์

รัฐสภา เป็นผู้เลือกประธานาธิบดี รัฐสภาของเมียนมาร์ ประกอบด้วยสมาชิก 3 กลุ่ม กลุ่มที่หนึ่งคือ สภาผู้แทนหรือสภาล่าง กลุ่มที่สองคือ สภาสูง ทั้งสองกลุ่มนี้มาจากการเลือกตั้ง กลุ่มทีสาม คิอทหารที่กองทัพแต่งตั้งเข้ามา มีสัดส่วน 1 ใน 4 ของสมาชิกทั้งหมดของรัฐสภาคือ ประมาณ 100 กว่าคน

ทั้งสามกลุ่มนี้จะเสนอคนเป็นประธานาธิบดีกลุ่มละ 1 คน รวมทั้งหมด 3 คน ให้ที่ประชุมสมาชิกสภาทั้งสามกลุ่มลงคะแนนลับเลือกคนที่จะได้เป็นประธานาธิบดี 1 คน อีกสองคนที่แพ้ จะได้เป็นรองประธานาธิบดี

ดังนั้น ถึงแม้ว่า พรรคเอ็นแอลดี จะได้เสียงข้างมากในการเลือกตั้ง แต่โอกาสที่ตัวแทนของพรรคจะได้เป็นประธานาธิบดี ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะสมาชิกสภาที่กองทัพเป็นคนแต่งตั้ง คงไม่เอาด้วย

ตัวนางซูจี นั้น เป็นประธานาธิบดีไม่ได้อยุ่แล้ว เพราะรัฐธรรมนูญซึ่งร่างขึ้นเมื่อปี 2008 ห้ามคนที่มีบุตรที่เป็นพลเมืองต่างชาติ เป็นประธานาธิบดี บุตรชายของเธอทั้งสองคน มีสัญชาติอังกฤษ ตามบิดา ยกเว้นจะมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญในเรื่องนี้ แต่สมาชิกสภาทีเป็นโควตาแต่งตั้งของกองทัพ มีสิทธิวีโต้การแก้ไขรัฐธรรมนูญด้วย เส้นทางสู่ตำแหน่งประธานาธิบดี ของซูจี จึงถูกปิดตาย

หากการเลือกตั้งในวันที่ 8 พฤศจิกายนผ่านไปด้วยดี และพรรคเอ็นแอลดี ได้เสียงข้างมากในสภาฯ โลกคงจะได้เห็นางอองซาน ซูจีในบทบาทนักการเมืองมากขึ้น เพราะเป้าหมายของเธอคือ เป็นผู้นำของเมียนมาร์ แต่เมื่อกองทัพเมียนมาร์ วางหมากสกัดกั้นไว้แล้ว เธอจะทำอย่างไร

ก่อนหน้านี้มีข่าวลือว่า อองซาน เจรจาลับ ๆ กับ ฉ่วย มาน หัวหน้าพรรคยูเอสดีพี และเป็นประธานรัฐสภาว่า จะสนับสนุนให้ฉ่วย มาน เป็นประธานาธิบดี แลกกับการผลักดันให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อปลดล็อกเงื่อนไขคุณสมบัติประธานาธิบดี ซึ่งอาจจะเป็นสาเหตุที่ทำให้ฉ่วย มาน ถูกปลดออกจากตำแหน่งหัวหน้าพรรค เมื่อเดือนสิงหาคม เพราะกองทัพไม่เอาด้วย

หลังจากนั้น ก็มีข่าวตามมาว่า อองซาน จะให้คนสนิทในพรรค ซึ่งเป็นอดีตนายทหาร ที่เกษียณมานานแล้ว ขึ้นเป็นประธานาธิบดี โดยตัวเธอ จะเป็นประธานรัฐสภา และจะเป็นผู้ชี้นำ กำหนดทิศทางการบริหารเอง

ข่าวลือล่าสุดคือ มีการตกลงกันแล้วกับกองทัพว่า เต็งเส่ง จะเป็นประธานาธิบดีอีกสมัย โดยพรรคเอ็นแอลดี ให้การสนับสนุน แต่จะเป็นเพียงสองปี จากวาระ 5 ปี และในสองปีนี้จะมีการแก้ไขรับธรรมนูญ เพื่อให้อองซาน ซูจี เป็นประธานาธิบดีได้

ทั้งหมดนี้ เป็นเพียงข่าวลือ ถีงที่สุดแล้ว กองทัพเมียนมาร์ ยังคงเป็นผู้กำหนดเกมเหมือนเดิม ไม่ว่าผลการเลือกตั้งจะออกมาอย่างไร



กำลังโหลดความคิดเห็น