ขบวนการสร้างเสริมสุขภาพภาค ปชช. ตบเท้าเข้า สตง. ติงให้ข้อมูลโครงการ สสส. คลาดเคลื่อน ชี้ สวดมนต์ข้ามปีตรงวัตถุประสงค์ เลี่ยงผลกระทบเคานต์ดาวน์ ข้องใจมุ่งใส่ร้าย ทำเกินกว่าหน้าที่หรือไม่ ฉะ ผู้ว่าฯ สตง. ขาดความรู้ปัญหาสุขภาพ ค้านแก้ กม.สสส. อ้างดีอยู่แล้ว ปชช. เข้าถึงง่ายอย่าสวนทางสากล
วันนี้ (29 ต.ค.) นายคำรณ ชูเดชา ผู้ประสานงานขบวนการสร้างเสริมสุขภาพภาคประชาชน ประกอบด้วย เครือข่ายต่าง ๆ อาทิ เครือข่ายรณรงค์ป้องกันภัยแอลกอฮอล์ เครือข่ายองค์กรผู้หญิง เครือข่ายผู้พิการและผู้ด้อยโอกาส ฯลฯ กว่า 30 คน เข้ายื่นหนังสือต่อนายพิศิษฐ์ ลีลาวชิโรภาส ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) เพื่อแสดงจุดยื่นและข้อเสนอภาคประชาสังคมต่อโครงการและกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ โดยมีนายประจักษ์ บุญยัง รองผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน รับเรื่องแทน
นายคำรณ กล่าวว่า เราเป็นองค์กรภาคประชาสังคม ได้ดำเนินงานแก้ปัญหาสังคมมายาวนานกว่า 20 ปี และเมื่อมีกองทุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ขึ้น จึงได้ร่วมเป็นภาคีเครือข่ายขับเคลื่อนการสร้างเสริมสุขภาพร่วมกันอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะกระบวนการที่สร้างการมีส่วนร่วมของกลุ่มต่าง ๆ ที่หลากหลาย ลดช่องว่างและกลไกที่ภาครัฐเข้าไม่ถึง ทำให้แก้ปัญหาและสร้างเสริมสุขภาพได้อย่างเป็นรูปธรรม เป็นที่ยอมรับระดับสากล เสริมงานของภาครัฐได้เป็นอย่างดีขณะนี้หลายฝ่ายได้ดำเนินการตรวจสอบการดำเนินงานเกี่ยวกับการใช้จ่ายงบประมาณ และเสนอให้มีการแก้ไขกฎหมายและระเบียบของ สสส. ประกอบกับมีข้อมูลบางอย่างจากผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินผ่านสื่อมวลชน สร้างความคลาดเคลื่อนและเป็นข้อมูลที่ไม่รอบด้าน โดยทางเครือข่ายฯซึ่งเป็นผู้รับทุนไปทำโครงการต่างๆ ยังไม่มีโอกาสชี้แจงให้ข้อเท็จจริงใดๆ เลย ดังนั้น เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องร่วมกัน จึงขอแสดงจุดยืนและมีข้อเรียกร้องดังนี้
1. กรณีสวดมนต์ข้ามปีขอยืนยันว่าเป็นโครงการที่ตรงตามวัตถุประสงค์ของกองทุนฯอยู่ในกรอบของ “สุขภาวะ” สามารถเป็นทางเลือกในการเฉลิมฉลองการเริ่มต้นปีด้วยสิริมงคล ลดการเข้าถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ลดอุบัติเหตุ และผลกระทบอื่นที่จะเกิดขึ้นได้จากกระแสเคานต์ดาวน์ เป็นการควบคุมการกินดื่มได้อีกเมามาย และยังทำให้เด็กและเยาวชนเข้าวัดกันมากขึ้น
2. ตลอดระยะเวลามากกว่า 10 ปี ที่ สตง. ได้ตรวจสอบการทำงานของ สสส. มาทุกปี เหตุใดจึงไม่พบความผิดปกติ แต่กลับมาโหมให้ข่าวผ่านสื่อมวลชนอย่างผิดปกติในช่วงที่ผ่านมา ที่สำคัญ เนื้อหาของรายงานผลการตรวจสอบกลับไปปรากฏออกตามสื่อมวลชนอย่างต่อเนื่องเหมือนมีการตั้งใจที่จะใส่ร้าย โดยไม่ให้ผู้ถูกกล่าวหาได้ชี้แจงข้อเท็จจริง ทำให้เครือข่ายสงสัยในพฤติกรรมดังกล่าวของท่านว่า เป็นการกระทำที่เกินเลยไปจากอำนาจหน้าที่ที่กฎหมายกำหนดหรือไม่ ถือเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบหรือไม่
3. ในเรื่องการสร้างสุขภาวะ ซึ่งมีหลักฐานทางวิชาการยอมรับเป็นสากล แต่ผู้ว่าการ สตง. ขาดความรู้ ความเข้าใจ ขาดข้อเท็จจริงในความซับซ้อนของปัญหาสุขภาพ และด่วนสรุป ด้วยความคิดตนเอง ซึ่งจะเป็นอันตรายอย่างยิ่ง และขอเรียกร้องต่อประชาคมชาว สตง. ให้ช่วยกันตรวจสอบ การกระทำของผู้ว่าฯสตง.ท่านนี้ว่า ทำตามหน้าที่ด้วยสุจริตหรือไม่ เพื่อทำให้หน่วยงานของท่านกลับมาเป็นที่ชื่นชมศรัทธาของประชาชนเฉกเช่นในอดีต
4. ขณะนี้กระบวนการงบประมาณของ สสส. ผ่านการกำกับดูแลโดยคณะกรรมการที่มีนายกรัฐมนตรีหรือรองนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน และมีคณะกรรมการตามที่กฎหมายได้บัญญัติกำกับดูแลอย่างมีประสิทธิภาพอยู่แล้ว เราคัดค้านการแก้กฎหมาย สสส.ซึ่งทำลายเจตนารมณ์ของกองทุนฯนี้อย่างสิ้นเชิง และยังตัดโอกาสการเข้าถึงของประชาชน กลับไปอยู่ในระบบเดิมที่ประชาชนเข้าถึงยาก สวนทางกับทิศทางสากลทั่วโลก
วันนี้ (29 ต.ค.) นายคำรณ ชูเดชา ผู้ประสานงานขบวนการสร้างเสริมสุขภาพภาคประชาชน ประกอบด้วย เครือข่ายต่าง ๆ อาทิ เครือข่ายรณรงค์ป้องกันภัยแอลกอฮอล์ เครือข่ายองค์กรผู้หญิง เครือข่ายผู้พิการและผู้ด้อยโอกาส ฯลฯ กว่า 30 คน เข้ายื่นหนังสือต่อนายพิศิษฐ์ ลีลาวชิโรภาส ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) เพื่อแสดงจุดยื่นและข้อเสนอภาคประชาสังคมต่อโครงการและกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ โดยมีนายประจักษ์ บุญยัง รองผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน รับเรื่องแทน
นายคำรณ กล่าวว่า เราเป็นองค์กรภาคประชาสังคม ได้ดำเนินงานแก้ปัญหาสังคมมายาวนานกว่า 20 ปี และเมื่อมีกองทุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ขึ้น จึงได้ร่วมเป็นภาคีเครือข่ายขับเคลื่อนการสร้างเสริมสุขภาพร่วมกันอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะกระบวนการที่สร้างการมีส่วนร่วมของกลุ่มต่าง ๆ ที่หลากหลาย ลดช่องว่างและกลไกที่ภาครัฐเข้าไม่ถึง ทำให้แก้ปัญหาและสร้างเสริมสุขภาพได้อย่างเป็นรูปธรรม เป็นที่ยอมรับระดับสากล เสริมงานของภาครัฐได้เป็นอย่างดีขณะนี้หลายฝ่ายได้ดำเนินการตรวจสอบการดำเนินงานเกี่ยวกับการใช้จ่ายงบประมาณ และเสนอให้มีการแก้ไขกฎหมายและระเบียบของ สสส. ประกอบกับมีข้อมูลบางอย่างจากผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินผ่านสื่อมวลชน สร้างความคลาดเคลื่อนและเป็นข้อมูลที่ไม่รอบด้าน โดยทางเครือข่ายฯซึ่งเป็นผู้รับทุนไปทำโครงการต่างๆ ยังไม่มีโอกาสชี้แจงให้ข้อเท็จจริงใดๆ เลย ดังนั้น เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องร่วมกัน จึงขอแสดงจุดยืนและมีข้อเรียกร้องดังนี้
1. กรณีสวดมนต์ข้ามปีขอยืนยันว่าเป็นโครงการที่ตรงตามวัตถุประสงค์ของกองทุนฯอยู่ในกรอบของ “สุขภาวะ” สามารถเป็นทางเลือกในการเฉลิมฉลองการเริ่มต้นปีด้วยสิริมงคล ลดการเข้าถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ลดอุบัติเหตุ และผลกระทบอื่นที่จะเกิดขึ้นได้จากกระแสเคานต์ดาวน์ เป็นการควบคุมการกินดื่มได้อีกเมามาย และยังทำให้เด็กและเยาวชนเข้าวัดกันมากขึ้น
2. ตลอดระยะเวลามากกว่า 10 ปี ที่ สตง. ได้ตรวจสอบการทำงานของ สสส. มาทุกปี เหตุใดจึงไม่พบความผิดปกติ แต่กลับมาโหมให้ข่าวผ่านสื่อมวลชนอย่างผิดปกติในช่วงที่ผ่านมา ที่สำคัญ เนื้อหาของรายงานผลการตรวจสอบกลับไปปรากฏออกตามสื่อมวลชนอย่างต่อเนื่องเหมือนมีการตั้งใจที่จะใส่ร้าย โดยไม่ให้ผู้ถูกกล่าวหาได้ชี้แจงข้อเท็จจริง ทำให้เครือข่ายสงสัยในพฤติกรรมดังกล่าวของท่านว่า เป็นการกระทำที่เกินเลยไปจากอำนาจหน้าที่ที่กฎหมายกำหนดหรือไม่ ถือเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบหรือไม่
3. ในเรื่องการสร้างสุขภาวะ ซึ่งมีหลักฐานทางวิชาการยอมรับเป็นสากล แต่ผู้ว่าการ สตง. ขาดความรู้ ความเข้าใจ ขาดข้อเท็จจริงในความซับซ้อนของปัญหาสุขภาพ และด่วนสรุป ด้วยความคิดตนเอง ซึ่งจะเป็นอันตรายอย่างยิ่ง และขอเรียกร้องต่อประชาคมชาว สตง. ให้ช่วยกันตรวจสอบ การกระทำของผู้ว่าฯสตง.ท่านนี้ว่า ทำตามหน้าที่ด้วยสุจริตหรือไม่ เพื่อทำให้หน่วยงานของท่านกลับมาเป็นที่ชื่นชมศรัทธาของประชาชนเฉกเช่นในอดีต
4. ขณะนี้กระบวนการงบประมาณของ สสส. ผ่านการกำกับดูแลโดยคณะกรรมการที่มีนายกรัฐมนตรีหรือรองนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน และมีคณะกรรมการตามที่กฎหมายได้บัญญัติกำกับดูแลอย่างมีประสิทธิภาพอยู่แล้ว เราคัดค้านการแก้กฎหมาย สสส.ซึ่งทำลายเจตนารมณ์ของกองทุนฯนี้อย่างสิ้นเชิง และยังตัดโอกาสการเข้าถึงของประชาชน กลับไปอยู่ในระบบเดิมที่ประชาชนเข้าถึงยาก สวนทางกับทิศทางสากลทั่วโลก