เมื่อ 50 กว่าปีก่อน นายโนบุสุเกะ คิชิ นายกรัฐมนตรีคนที่ 56 ของญี่ปุ่น เสนอร่างแก้ไขสนธิสัญญาความมั่นคงร่วมกัน สหรัฐฯ-ญี่ปุ่น ต่อสภาผู้แทนราษฎร
สนธิสัญญาฉบับเดิม เกิดขึ้น เมื่อปี 1952 หลังสหรัฐฯ ถอนกองกำลังออกจากญี่ปุ่น นายคิชิ เห็นว่า สนธิสัญญานี้ ญี่ปุนเสียเปรียบ มีฐานะเป็นรัฐบริวารของสหรัฐ จึงขอแก้ไขใหม่ ให้ญี่ปุ่นมีอิสระมากขึ้น ในเรื่อง นโยบายต่างประเทศ และผูกมัดให้สหรัฐฯ ต้องให้การคุ้มครอง ถ้าญี่ปุ่นถูกโจมตี
ขณะนั้น สงครามโลกครั้งทีสองเพิ่งผ่านไปไม่ถึงสิบปี คนญี่ปุ่นยังเจ็บปวดด้วยบาดแผลจากสงคราม จึงต่อต่อต้านการแก้ไขร่างสนธิสัญญานี้ เพราะเห็นว่า จะเป็นชนวนให้ญี่ปุ่นก่อสงครามอีก วันที่ ร่างแก้ไขนี้ เข้าสู่สภาฯ จึงมีการชุมนุมต่อต้านที่หน้ารัฐสภา นายคิชิ ส่งตำรวจเข้าคุมสถานการณ์ เหตุการณ์บานปลายออกไป เมื่อมีนักศึกษาคนหนึ่งถูกตำรวจยิงเสียชีวิตที่หน้ารัฐสภา ทำให้การชุมนุมยิ่งขยายวง
ในที่สุด นายคิชิจำใจต้องถอนร่างแก้ไขออกจากสภา และถูกกดดันจากฝ่ายตรงข้ามในพรรคเสรีประชาธิปไตย หรือ แอลดีพี ซึ่งเพิ่งเกิดขึ้นไม่กี่ปี จนต้องลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
นายคิชิ ซึ่งเคยเป็นรัฐมนตรีในรัฐบาลของนายพล โตโจ ยุคสงครามโลกครั้งที่สอง และเคยถูกคุมขังในฐานะอาชญากรสงคราม หลังสงครามโลกครั้งที่สอง แต่ไม่ถูกดำเนินคดี และได้รับการปล่อยตัวในภายหลัง มีจุดยืนที่ชัดเจน ทั้งก่อนและหลังพ้นตำแหน่งนายกรัฐมนตรีว่า จะต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญที่ร่างขึ้นตอนแพ้สงคราม เพื่อปลดปล่อยญี่ปุ่นให้พ้นจากสถานะผู้แพ้สงคราม และเพื่อความภาคภูมิใจของคนญี่ปุ่น
นายคิชิ เป็นคุณ ตา ของนายชินโซะ อาเบะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นคนปัจจุบัน ซึ่งกำลังเดินรอยตามคุณตาในการ ติดอาวุธ สร้างกองทัพญี่ปุ้นให้เกรียงไกรขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง
นายอาเบะ ได้เสนอชุดกฎหมายความมั่นคง ซึ่งประกอบด้วยกฎหมาย หลายฉบับ เข้าสู่รัฐสภา โดยสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งพรรคแอลดีพี ครองเสียงข้างมาก ได้ลงมติเห็นชอบ เมื่อวันที่ 16 กรฎาคมที่ผ่านมา และจะต้องผ่านความเห็นชอบของวุฒิสภา หรือสภาสูง ซึ่งพรรคแอลดีพี มีเสียงข้างมากด้วยเช่นกัน ภายใน 60 วัน ซึ่งครบกำหนดในวันที 18 กันยายนที่ผ่านมา
กฎหมายความมั่นคง ซึ่ง ถูกเรียกว่า “ กฎหมายสงคราม” หรือ War Bills อนุญาตให้ญี่ปุ่น สร้างเสริมแสนยานุภาพทางทหาร และทำการรบในเชิงรุกได้ ด้วยการส่งกองกำลังทหารไปรบในต่างประเทศ ภายใต้เงื่อนไขหลัก 3 ข้อคือ 1 . เมื่อญี่ปุ่น หรือพันธมิตร ถูกโจมตี จนอาจส่งผลต่อความอยู่รอดของญี่ปุ่น หรือเป็นอันตรายต่อประชาชน 2. เมื่อไม่มีทางเลือกอื่น ๆ อีกแล้ว ที่จะป้องกันตนเองให้อยู่รอด และคุ้มครองประชาชน และ 3. การใช้กำลังทหาร ต้องทำเมื่อมีความจำเป็น และต้องใช้น้อยที่สุด
ภายใต้รัฐธธรรมนูญบับปัจจุบัน ซึ่งใช้มาตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่สอง ญี่ปุ่นสละลิทธิ์ในการทำสงครามเพื่อปกป้องอธิปไตยของชาติ กองทัพญี่ปุ่นที่มีอยู่เป็นกองกำลังป้องกันตนเองเท่านั้น ญี่ปุ่นมีการส่งทหารออกไปนอกประเทศ แต่ก็เป็นการไปทำหน้าที่ด้านมนุษยธรรม และ ร่วมในกองกำลังรักษาสันติภาพของสหประชาชาติเท่านั้น
นายอาเบะ อ้างว่า สถานการณ์เปลี่ยนไปแล้ว ญี่ปุ่นมีความจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงเพื่อรับมือกับภัยคุกคามจากจีน เกาหลีเหนือ และสาธารณรัฐอิสลาม ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
นอกเหนือจาก ความบาดหมางในอดีต สืบเนื่องจาก ญี่ปุ่นส่งกองทัพรุกรานจีน ก่อสงครามโลกครั้งที่สองแล้ว ปัจจุบันญี่ปุ่นกับจีน ยังมีข้อพิพาท เรื่องกรรมสิทธิ์เหนือหมู่เกาะเซนซากุ หรือที่จีนเรียกว่า เกาะเตียวหยู ที่อยู่ระหว่างทะเลจีน กับทะเลญี่ปุ่น
ไม่เพียงแต่ความขัดแย้งในระดับภูมิภาค ในระดับโลก ญี่ปุ่น คือ พันธมิตรที่ใกล้ชิดกับสหรัฐ ฯ เป็นตัวแทนของสหรัฐฯ ในด้านการทหารในเอเชียแปซิฟิก จีนกำลังแผ่ขยายแสนยานุภาพในทะเลจีนใต้ ด้วยการสร้างกองทัพเรืออันยิ่งใหญ่ และสร้างสนาบินบนหมู่เกาะสแปรตลี่ย์ ในทะเลจีนใต้ ส่วนสหรัฐฯ ก็กำลังทำทุกวิถีทางทีจะปิดล้อมสกัดกั้นจีน
ญี่ปุ่นจึงเป็นทัพหน้าที่สำคัญ ในแนวรบด้านตะวันออกไกลของอเมริกา
แต่ว่า ชาวญี่ปุ่น ยังไม่ลืมเรื่องบาดแผลจากสงคราม ซึ่งผ่านไปแล้ว 70 ปี จึงเชื่อว่า กฎหมายความมั่นคงเหล่านี้ จะนำญี่ปุ่นเข้าสู่สงครามอีกครั้งหนึ่ง และกฎหมายความมั่นคงเหล่านี้ ยังขัดรัฐธรรมนูญญี่ปุ่น ด้วย
คะแนนนิยมของนายอาเบะ หลังร่างกฎหมายความมั่นคง ผ่านสภาผู้แทนในเดือนกรฎาคม ลดต่ำลงไม่ถึง 5 0% และประชาชนเรือนแสนออกมาชุมนุมต่อต้านกฎหมายฉบับนี้ อย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่เดือนมิถุนายน ก่อนที่กฎหมายจะเข้าสภาล่าง มาจนถึงล่าสุด ที่มีการนำกฎหมายเข้าสู่สภาสูง มีคนญี่ปุ่นกว่า 5 หมื่นคนมาชุมนุมกันหน้ารัฐสภา ชูป้าย ต่อต้านกฎหมายความมั่นคง ต่อต้านสงคราม พร้อมเปล่งเสียงตะโกนว่า “ อาเบะออกไป”
มีข้อสังเกตจากสื่อต่างประเทศว่า การชุมนุมต่อต้านสงครามหลาย ๆ ครั้งที่ผานมา จนถึงครั้งล่าสุดนี้ มีคนหนุ่มสาว และนักเรียนนักศึกษา เข้าร่วมเป็นจำนวนมาก ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน คนรุ่นใหม่ซึ่งไม่เคยสนใจการเมืองมาก่อน มีความรู้สึกลึก ๆ ที่เป็นกังวลว่า กฎหมายสงครามนี้ จะนำญี่ปุ่นไปสู่สงครามอีกครั้งหนึ่ง