xs
xsm
sm
md
lg

70 นิวเคลียร์ ฮิโรชิม่า

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

ชาวญี่ปุ่นร่วมพิธีรำลึกครบรอบ 70 ปีที่เมืองฮิโรชิมาถูกถล่มด้วยระเบิดปรมาณูเมื่อช่วงเช้าของวันที่ 6 ส.ค.ที่ผ่นมาท่ามกลางกระแสถกเถียงที่ยังมีมาจนถึงปัจจุบันว่า การทำลายล้างครั้งใหญ่ที่ช่วยให้สงครามโลกครั้งที่ 2 ปิดฉากลงเร็วขึ้นนั้นเป็นสิ่ง “สมควร” หรือไม่
เช้า วันจันทร์ ที่ 6 สิงหาคม ค.ศ . 1945 เวลา 8.16 น. เครื่องบิน ทิ้งระเบิด บี 29 ของสหรัฐฯ ซึ่งมีชื่อว่า อีโนล่า เกย์ ทิ้งระเบิดปรมาณู ใส่ เมืองฮิโรชิม่า ประเทศญี่ปุ่น ที่ความสูง 1,900 ฟุต บนท้องฟ้า ระเบิดแตกตัวออก เกิดเป็นกลุ่มควันรูปดอกเห็ดมหึมา ที่มีความรุนแรงเทียบเท่าระเบิด ทีเอ็นที 20,000 ตัน บนพื้นดินคลื่นความร้อน ที่มีอุณหภูมิสูงถึง 5,000 องศาเซลเซียส สังหารคนไปมากกว่า 70,000 ชีวิตในทันที และเสียชีวิตในเวลาต่อมา จากพิษกัมมตภาพรังสี อีก70,000 คน เสียชีวิตในอีกไม่กี่เดือนต่อมา รวมแล้วมีคนตาย 140,000 คน จากจำนวนประชากรของนครฮิโรชิมา สามแสนกว่าคนในขณะนั้น

อีก สามวันต่อมา ในวันที่ 9 สิงหาคม สหรัฐฯทิ้งระเบิดปรมาณูลูกที่สอง ที่เมืองนางาซากิ ซึ่งเป็นเมืองท่าเรือขนาดใหญ่ มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บประมาณ 74,000 คน ระเบิดปรมาณูลูกที่สองนี้ ทำให้รัฐบาลญี่ปุ่นต้องประกาศยอมแพ้ ในวันที่ 14 สิงหาคม คศ. 1945 นับเป็นการยุติสงครามโลกครั้งที่สอง ในฝั่งทวีปเอเชีย หลังจากที่ การสู้รบในทวีปยุโรบ ปิดฉากลง อย่างเป็นทางการ สามเดือนก่อนหน้า

พระราชสาสน์ของจักรพรรดิ ฮิโรฮิโต ประมุขของญี่ปุ่นในตอนนั้น ระบุว่า การทิ้งระเบิดปรมาณู เป็นเหตุผลหลักที่ทำให้ญี่ปุ้นต้องยอมแพ้

“ ศัตรูเริ่มใช้ระเบิดชนิดใหม่ ที่โหดเหี้ยมที่สุด อำนาจการทำลายล้างของมันเป็นสิ่งทีไม่สามารถประเมินได้ และคร่าชิวิตผู้บริสุทธิ์เป็นจำนวนมาก หากเราสู้ต่อไป สิ่งที่จะเกิดขึ้นคือ การล่มสลาย และพินาศย่อยยังของชาติญี่ปุ่น”

การถล่มฮิโรชิมา และนางาซากิ ด้วยระเบิดปรมาณู เมื่อ 70 ปี ก่อน นับเป็นครั้งแรก และครั้งเดียวในประวัติศาสตร์ ที่อาวุธซึ่งมีอานุภาพทำลายล้างอย่างรุนแรงถูกนำมาใช้ในสงคราม ประธานาธิบดี แฮร์รี่ ทรูแมน ประธานนาธิบดีสหรัฐฯ ในขณะนั้น ซึ่งตัดสินใจให้ทิ้งระเบิดนิวเคลียร์ ถูกนักเคลื่นไหว ด้านสิทธิมนุษยชน กลุ่มต่อต้านสงคราม ฝ่ายซ้าย ประณามว่า เป็น “ ฆาตรกร” ที่สังหารหมู่คนับแสนในชั่วพริบตาเดียว

พวกเขา ตั้งคำถามว่า สหรัฐฯ และพันธมิตร ไม่มีวิธีอื่นที่โหดร้ายน้อยกว่านี้แล้วหรือ ในการกดดันให้ ญี่ปุ่นยอมแพ้ ทำไม อเมริกา จึงไม่ทิ้งระเบิดปรมาณู ลงในทะเล เพื่อแสดงให้ญี่ปุ่น ได้ตระหนักถึง อานุภาพของระเบิดนิวเคลียร์ แต่กลับใช้ชีวิตผู้บริสุทธิ์นับแสนคน เป็นเหยื่อสังเวยชัยชนะของตน

ในหนังสือบันทึกความทรงจำ “ Year of Decisions “ ทรูแมน เขียนว่า เขาเชื่อว่า หากญี่ปุ่นไม่ยอมแพ้ สู้รบต่อไป จะมีคนอเมริกันเสียชีวิตอีกไม่ต่ำกว่า 5 แสนคน ในขณะที่ข่าวกรอง ระบุว่า กอทัพญี่ปุ่น ยังมีเครื่องบินรบกว่า หนึ่งหมื่นลำ และมีแสนยานุภาพทางการทหาร ที่จะสร้างความสูญเสียให้กับอเมริกา และพันธมิตรชาติตะวันตก

การรักษาชีวิต ป้องกันความเสียหายของฝ่ายสัมพันธมิตร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สหรัฐฯ ซึ่งเป็นคู่สงครามโดยตรงกับญี่ปุ่น ถูกยกเป็นข้ออ้าง ที่จะใช้ความรุนแรง ความโหดเหี้ยม เพื่อบีบบังคับให้ญี่ปุ่นยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไข และขณะนั้น สหรัฐฯ มีระเบิดปรมาณู เพียงสองลูกเท่านั้น ไม่สามารถนำไปทิ้งในทะเล เพื่อขู่ญี่ปุ่นให้ยอมแพ้ โดยไม่ต้องสูญเสียชีวิตคนได้ ต้องนำมาใช้เพือสั่งสอนญี่ปุ่นเท่านั้น

อีก หกสิบปีให้หลัง ประธานาธิบดีจอร์จ บุช และชาติตะวันตก ก็ใช้เหตุผลทำนองเดียวกันนี้ ส่งกองทัพบุกและยึดครองอาฟกานิสถาน และอิรัก โดยอ้างว่า เพื่อปกป้องคนอเมริกัน จากการก่อการร้าย และ “ อาวุธที่มีอำนาจทำลายล้างรุนแรง” ของซัดดัม ฮุสเซน

เช่นเดียวกับ การก่อสงครามเวียดนาม ในทศวรรษ 1960 สหรัฐฯ อ้างว่า เพื่อคุ้มครองโลกให้พ้นจากภัยคอมมิวนิสต์

สงครามเวียดนามซึ่งยาวนานถึง 20 ปี คร่าชีวิตทหารทั้งสองฝ่าย รวมทั้งพลเรือนในเวียดนาม ลาว และกัมพูชา เกือบ สองล้านคน สงครามอาฟกานิสถาน และอิรัก มีคนเสียชีวิตหลายแสนคน มากกว่า ผู้เสียชีวิตจากระเบิดปรมาณู ที่ฮิโรชิม่า และนางาซากิหลายเท่า ต่างกันตรงที่ ไม่ได้ตาย พร้อมกันในวันเดียว แต่ตาย และบาดเจ็บทุกวัน ตลอดการสู้รบซึ่งยืดเยื้อนานหลายปี

เจ็ดสิบปี หลังสหรัฐฯ ทิ้งระเบิดนิวเคลียร์ที่ฮิโรชิม่า สงครามยังไม่จบ สหรัฐฯยังใช้แสนยานุภาพทางการทหาร ไล่ล่าฝ่ายตรงข้าม ด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี่สงคราม ความตาย ความสูญเสียถูกจำกัดขอบเขตลง รัฐบาลญี่ปุ่น ซึ่งในวันที่ 6 สิงหาคม ทุกปี เรียกร้องหาสันติภาพ กำลังแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อยกเลิกข้อห้าม ไม่ให้ส่งกองทัพเข้าสู่สงคราม นอกประเทศ



นายกรัฐมนตรี ชินโซ อาเบะ เข้าร่วมพิธีรำลึกซึ่งจัดขึ้น ณ อนุสรณ์สันติภาพเมืองฮิโรชิมา
กำลังโหลดความคิดเห็น