xs
xsm
sm
md
lg

“พรเพชร” ชี้ ม.44 สั่งทำประชามติไม่ได้ ต้องใช้ ม.46 แก้ไข รธน.ฉบับชั่วคราว

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online


ประธาน สนช.ระบุให้หัวหน้า คสช.ใช้อำนาจ ม.44 ทำประชามติไม่ได้ ต้องใช้ ม.46 ให้ ครม.และ คสช.เสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวให้มีการทำประชามติมายัง สนช.เพื่อดำเนินการ

นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) แถลงถึงการแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวเพื่อการลงประชามติว่า มาตรา 44 มีสื่อใช้คำผิดว่าหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เป็นรัฏฐาธิปัตย์ ความจริงหัวหน้า คสช.เป็นรัฏฐาธิปัตย์ เมื่อวันที่ทำการรัฐประหารจนถึงวันที่รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวมีผลบังคับใช้ ความเป็นรัฏฐาธิปัตย์จึงหมดลง เมื่อรัฐธรรมนูญออกมาแล้วเป็นการปกครองแบบนิติรัฐ กฎหมายเป็นใหญ่ รัฐธรรมนูญควบคุมองค์กรตามรัฐธรรมนูญ หมายถึงองค์กรต่างๆ รวมถึงนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี (ครม.) ต้องปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญนี้

นายพรเพชรกล่าวว่า เมื่อ คสช.เป็นองค์กรหนึ่งตามรัฐธรรมนูญชั่วคราว มาตรา 44 ให้ คสช.ใช้เป็นเครื่องมือในการดำเนินการตามโรดแมป 3 ขั้น ไม่ใช่ทำอะไรก็ได้ ไม่ได้ให้อำนาจในการแก้ไขรัฐธรรมนูญชั่วคราว ดังนั้น การให้นายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้า คสช.ใช้อำนาจตามมาตรา 44 สั่งให้มีการทำประชามติจึงทำไม่ได้ ถึงจะสั่งก็ไม่ผูกพันหรือไม่มีผลต่อร่างรัฐธรรมนูญ มาตรา 44 ให้อำนาจ คสช.ออกคำสั่งที่มีผลในทางนิติบัญญัติได้ ในทางปกครองเช่นย้ายข้าราชการได้ ทั้งหมดอยู่ในเงื่อนไขของรัฐธรรมนูญชั่วคราว ไม่สามารถทำเกินรัฐธรรมนูญได้

นายพรเพชรกล่าวว่า เรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวอยู่ในมาตรา 46 มีวัตถุประสงค์เพื่อให้การดำเนินการตามโรดแมปเป็นไปตามที่ คสช.เห็นสมควร หากมีอุปสรรคเนื่องมาจากรัฐธรรมนูญจึงจะมีการแก้ไขได้ เพื่อให้ประเทศชาติเดินหน้าต่อตามโรดแมป ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องของการลงประชามติ เพราะไม่ได้เขียนไว้ ถ้าอยากลงประชามติต้องแก้ไขมาตรา 46 ที่แก้ไขกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญได้ จะต้องทำโดย 3 องค์กรร่วมกัน คือ ครม., คสช. และ สนช. การตัดสินใจเบื้องต้นเป็นอำนาจของ ครม. และ คสช. แต่การเสนอเป็นของใครก็ได้ต้องมีเหตุผล เป็นกระบวนการของกฎหมาย ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นปัจจัยที่ 3 องค์กรจะพิจารณาร่วมกัน ไม่ใช่นายกรัฐมนตรีหรือตนเพียงคนเดียว







กำลังโหลดความคิดเห็น