ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนฯ ระบุไอซีซี ทวงติงการสรรหา กสม.-พ.ร.บ.ขัดหลักการปารีส เตรียมส่ง กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ รับทราบ แนะ กสม.ชุดใหม่สร้างองค์กรให้เข้มแข็ง
สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) จัดบรรยายพิเศษ เรื่อง “เปิดใจ 6 ปี ประธาน กสม. ด้านวิชาการ บริหาร และขบวนการสิทธิมนุษยชน” โดยนางอมรา พงศาพิชญ์ ประธาน กสม. กล่าวตอนหนึ่งว่า กสม. เป็นองค์กรอิสระ ไม่อยากถูกเรียกเป็นองค์กรรัฐ เพราะเราไม่อยู่ภายใต้การบริหารงานรัฐ เป็นเหมือนสัตว์ประหลาดไม่ใช่ทั้งรัฐหรือเอกชน และไม่ใช่องค์กรไม่แสวงหากำไร แต่เราเป็นองค์กรตรวจสอบ เชื่อมโยงกับภาคประชาสังคม
ทั้งนี้กรณีที่อาจจะถูกลดเกรดจากเอเป็นบีนั้นก็เพราะว่ารัฐธรรมนูญและพ.ร.บ.ไม่สอดคล้องกับหลักการปารีส โดยมีหลายประเด็นที่ถูกท้วงติงมาซึ่งก็จะแก้ไขในส่วนของการบริหารจัดการภายในได้ แต่สิ่งที่นอกเหนืออำนาจของเราคือกระบวนการสรรหาคณะกรรมการและ พระราชบัญญัติที่ขึ้นอยู่กับรัฐบาลและสภา อย่างไรก็ตามอยากฝากถึง กสม.ชุดใหม่ช่วยกันสร้างสำนักงานมีความเข้มแข็งขึ้น จัดทำรายงานสถานการณ์สิทธิมนุษยชนและทำหน้าที่ต่อไป
ทั้งนี้หลังการบรรยายพิเศษ นางอมราให้สัมภาษณ์ถึงกรณี ไอซีซีจะพิจารณาลดสถานะคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติของประเทศไทยจากสถานะ เอ เป็นบี ในเดือน ต.ค. นี้ ว่า ทาง กสม. จะส่งหนังสือรายงานผลการประชุมAnnual Meeting International Coordinating Committee of National Human Rights Institutions (ICC) และ SCA (Sub-Committee on Accreditation) ณ นครเจนีวาประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ให้ทางกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญได้รับทราบต่อไป ซึ่งหากมีการลดสถานะ กสม.ไทยยังสามารถเข้าประชุมได้ตามปกติแต่ไม่มีสิทธิในการโหวตหรือแสดงความคิดเห็นใดๆ นอกจากนี้ในส่วนการควบรวมระหว่างสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินกับ กสม. นั้น กสม.ไม่ได้มีการลดบทบาทลงแต่อย่างใด
สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) จัดบรรยายพิเศษ เรื่อง “เปิดใจ 6 ปี ประธาน กสม. ด้านวิชาการ บริหาร และขบวนการสิทธิมนุษยชน” โดยนางอมรา พงศาพิชญ์ ประธาน กสม. กล่าวตอนหนึ่งว่า กสม. เป็นองค์กรอิสระ ไม่อยากถูกเรียกเป็นองค์กรรัฐ เพราะเราไม่อยู่ภายใต้การบริหารงานรัฐ เป็นเหมือนสัตว์ประหลาดไม่ใช่ทั้งรัฐหรือเอกชน และไม่ใช่องค์กรไม่แสวงหากำไร แต่เราเป็นองค์กรตรวจสอบ เชื่อมโยงกับภาคประชาสังคม
ทั้งนี้กรณีที่อาจจะถูกลดเกรดจากเอเป็นบีนั้นก็เพราะว่ารัฐธรรมนูญและพ.ร.บ.ไม่สอดคล้องกับหลักการปารีส โดยมีหลายประเด็นที่ถูกท้วงติงมาซึ่งก็จะแก้ไขในส่วนของการบริหารจัดการภายในได้ แต่สิ่งที่นอกเหนืออำนาจของเราคือกระบวนการสรรหาคณะกรรมการและ พระราชบัญญัติที่ขึ้นอยู่กับรัฐบาลและสภา อย่างไรก็ตามอยากฝากถึง กสม.ชุดใหม่ช่วยกันสร้างสำนักงานมีความเข้มแข็งขึ้น จัดทำรายงานสถานการณ์สิทธิมนุษยชนและทำหน้าที่ต่อไป
ทั้งนี้หลังการบรรยายพิเศษ นางอมราให้สัมภาษณ์ถึงกรณี ไอซีซีจะพิจารณาลดสถานะคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติของประเทศไทยจากสถานะ เอ เป็นบี ในเดือน ต.ค. นี้ ว่า ทาง กสม. จะส่งหนังสือรายงานผลการประชุมAnnual Meeting International Coordinating Committee of National Human Rights Institutions (ICC) และ SCA (Sub-Committee on Accreditation) ณ นครเจนีวาประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ให้ทางกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญได้รับทราบต่อไป ซึ่งหากมีการลดสถานะ กสม.ไทยยังสามารถเข้าประชุมได้ตามปกติแต่ไม่มีสิทธิในการโหวตหรือแสดงความคิดเห็นใดๆ นอกจากนี้ในส่วนการควบรวมระหว่างสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินกับ กสม. นั้น กสม.ไม่ได้มีการลดบทบาทลงแต่อย่างใด