ชาวบ้าน พิจิตร - พิษณุโลก - เพชรบูรณ์ - เลย เข้าหารือ กสม. ผลกระทบเหมืองแร่อัครารีซอร์สเซส ด้าน กสม. จ่อยื่นหนังสือ ถึง ก.พ.ร. ยุติเวทีสาธารณะชาวบ้าน - ภาครัฐ - เอกชน ชี้อาจเกิดความขัดแย้งรุนแรง
วันนี้ (3 ก.พ.) ที่สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ชาวบ้านผู้ได้รับผลกระทบจากการทำเหมืองแร่ทองคำ ของบริษัท อัครารีซอร์สเซส จำกัด (มหาชน) จาก จ.พิจิตร จ.พิษณุโลก จ.เพชรบูรณ์ และ จ.เลย ประมาณ 50 คน เข้าร่วมประชุมกับคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน โดยมี นพ.นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ กสม. เป็นประธาน โดยเชิญ แพทย์หญิง คุณหญิง พรทิพย์ โรจนสุนันท์ ผู้อำนวยการสถาบันนิติวิทยาศาสตร์, ดร.สมิทธ์ ตุงคะสมิต อาจารย์วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต, ตัวแทนกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่, ตัวแทนกระทรวงสาธารณสุข, รองผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตร เข้าร่วมประชุม
แพทย์หญิง คุณหญิง พรทิพย์ เปิดเผยว่า ผลของการตรวจปัสสาวะและเลือดของประชาชนในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบดังกล่าว จากสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ พบว่า การตรวจคนและสิ่งแวดล้อมนั้นมีความสัมพันธ์กัน โดยจากการสุ่มตรวจน้ำบริเวณเหมืองแร่พบว่ามีสารปนเปื้อนค่อนข้างมาก และสิ่งผิดปกติในคนมีสารโลหะหนัก และดีเอ็นเอ เปลี่ยนแปลง ของผู้ใหญ่ 52.56% เด็ก 77.61% ทั้งนี้ มีการหารือกับทางจังหวัดเพื่อที่จะแก้ปัญหาแล้วโดยให้กระทรวงสาธารณสุขหาผู้เชี่ยวชาญให้มาดูแลกลุ่มที่มีสารขึ้นสูง หญิงตั้งครรภ์ และเด็ก วางระบบห่วงโซ่อาหาร ปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตของชาวบ้าน และพิสูจน์ทราบให้ครบทั้งประชาชนที่ใกล้พื้นที่ทำเหมืองและเจ้าหน้าที่เหมือง
นพ.นิรันดร์ ให้สัมภาษณ์หลังการประชุมว่า ในวันที่ 11 ก.พ. นี้ ทางคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) จะมีการจัดตั้งเวทีสาธารณะเพื่อหารือกับทุกฝ่าย ซึ่งทาง กสม. จะส่งหนังสือให้ยุติการหารือออกไปก่อน เนื่องจากผลการวิจัยหรือข้อมูลต่างๆ ของแต่ละหน่วยงานนั้นยังไม่มีข้อสรุปที่ตรงกัน และหากมีการหารืออาจเกิดความขัดแย้งขั้นรุนแรง อย่างไรก็ตาม ปัญหาเร่งด่วน รวมทั้งจะส่งหนังสือถึงกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงมหาดไทย วางแผนงานช่วยเหลือเยียวยาและฟื้นฟูผู้ได้รับผลกระทบอย่างเร่งด่วน
วันนี้ (3 ก.พ.) ที่สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ชาวบ้านผู้ได้รับผลกระทบจากการทำเหมืองแร่ทองคำ ของบริษัท อัครารีซอร์สเซส จำกัด (มหาชน) จาก จ.พิจิตร จ.พิษณุโลก จ.เพชรบูรณ์ และ จ.เลย ประมาณ 50 คน เข้าร่วมประชุมกับคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน โดยมี นพ.นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ กสม. เป็นประธาน โดยเชิญ แพทย์หญิง คุณหญิง พรทิพย์ โรจนสุนันท์ ผู้อำนวยการสถาบันนิติวิทยาศาสตร์, ดร.สมิทธ์ ตุงคะสมิต อาจารย์วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต, ตัวแทนกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่, ตัวแทนกระทรวงสาธารณสุข, รองผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตร เข้าร่วมประชุม
แพทย์หญิง คุณหญิง พรทิพย์ เปิดเผยว่า ผลของการตรวจปัสสาวะและเลือดของประชาชนในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบดังกล่าว จากสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ พบว่า การตรวจคนและสิ่งแวดล้อมนั้นมีความสัมพันธ์กัน โดยจากการสุ่มตรวจน้ำบริเวณเหมืองแร่พบว่ามีสารปนเปื้อนค่อนข้างมาก และสิ่งผิดปกติในคนมีสารโลหะหนัก และดีเอ็นเอ เปลี่ยนแปลง ของผู้ใหญ่ 52.56% เด็ก 77.61% ทั้งนี้ มีการหารือกับทางจังหวัดเพื่อที่จะแก้ปัญหาแล้วโดยให้กระทรวงสาธารณสุขหาผู้เชี่ยวชาญให้มาดูแลกลุ่มที่มีสารขึ้นสูง หญิงตั้งครรภ์ และเด็ก วางระบบห่วงโซ่อาหาร ปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตของชาวบ้าน และพิสูจน์ทราบให้ครบทั้งประชาชนที่ใกล้พื้นที่ทำเหมืองและเจ้าหน้าที่เหมือง
นพ.นิรันดร์ ให้สัมภาษณ์หลังการประชุมว่า ในวันที่ 11 ก.พ. นี้ ทางคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) จะมีการจัดตั้งเวทีสาธารณะเพื่อหารือกับทุกฝ่าย ซึ่งทาง กสม. จะส่งหนังสือให้ยุติการหารือออกไปก่อน เนื่องจากผลการวิจัยหรือข้อมูลต่างๆ ของแต่ละหน่วยงานนั้นยังไม่มีข้อสรุปที่ตรงกัน และหากมีการหารืออาจเกิดความขัดแย้งขั้นรุนแรง อย่างไรก็ตาม ปัญหาเร่งด่วน รวมทั้งจะส่งหนังสือถึงกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงมหาดไทย วางแผนงานช่วยเหลือเยียวยาและฟื้นฟูผู้ได้รับผลกระทบอย่างเร่งด่วน