xs
xsm
sm
md
lg

“เฉลิม” ทวงบุญคุณศาลเคยต่ออายุทำงานให้ตุลาการ ยื่น 7 ข้อถามแนวปฏิบัติกับม็อบ

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


ศรส.อ้างงงคำสั่งศาล ทำหนังสือขอทราบแนวทางปฏิบัติต่อผู้ชุมนุม กปปส. “เฉลิม” ทวงบุญคุณศาลสมัยนั่ง รมว.ยุติธรรม เคยต่ออายุทำงานให้ตุลาการ



ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รักษาการ รมว.แรงงาน ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์รักษาความสงบ (ศรส.) แถลงหลังจากส่งเจ้าหน้าที่ไปยื่นคำร้องถึงอธิบดีศาลแพ่ง เพื่อขอทราบแนวทางการปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลแพ่ง เมื่อวันที่ 19 ก.พ.ที่ผ่านมา กรณีการประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินของรัฐบาลในการดูแลการชุมนุมของกลุ่ม กปปส. โดยขอสอบถามแนวทางปฏิบัติ 7 ข้อ ดังนี้ 1. ผู้ชุมนุมทางการเมืองปิดถนน สร้างบังเกอร์รอบทำเนียบรัฐบาล และใช้เป็นที่ซ่องสุมอาวุธเพื่อต่อต้านรัฐบาล กรณีดังกล่าวเข้าข่ายต้องห้ามพนักงานเจ้าหน้าที่เข้าสลายการชุมนุมตามนัยคำสั่งของศาลแพ่งหรือไม่ และเจ้าหน้าที่ตำรวจสามารถเข้าจับกุมตัวผู้ต้องหาบางคนที่อยู่ในกลุ่มคนดังกล่าวตามหมายจับของศาลได้หรือไม่

2. กรณีกลุ่มผู้ชุมนุมเข้าบุกยึดพื้นที่กระทรวงมหาดไทย ไล่ข้าราชการไม่ให้ทำงาน ลักทรัพย์ อาวุธปืนสงคราม M16 ที่เก็บไว้ในกระทรวงมหาดไทยออกไป และนายถาวร เสนเนียม แกนนำ กปปส. ซึ่งเป็นโจทก์ในคดีนี้นำผู้ชุมนุมช่วยปิดล้อมกระทรวงมหาดไทย และยิงปืนใส่เจ้าหน้าที่ตำรวจที่เข้าไปเจรจาขอให้ผู้ชุมนุมออกจากพื้นที่กระทรวงมหาดไทย กรณีดังกล่าวคำสั่งศาลแพ่งห้ามพนักงานเจ้าหน้าที่หรือตำรวจกระทำการใดบ้าง หรือให้กระทำการใดได้บ้าง

3. กรณีกลุ่มผู้ชุมนุมสร้างความเดือดร้อนให้ประชาชน ปิดถนนสายต่างๆ ถือว่าเป็นการชุมนุมโดยสงบ ปราศจากอาวุธ ตามนัยคำสั่งหรือคำพิพากษาของศาลแพ่งหรือไม่ และจะให้พนักงานเจ้าหน้าที่หรือตำรวจดำเนินการอย่างไร จึงจะไม่ฝ่าฝืนคำสั่งของศาลแพ่ง 4. กรณีผู้ชุมนุมประมาณ 300 คนประกาศว่าจะไปยึดพื้นที่กระทรวงพลังงานคืนจากเจ้าหน้าที่ตำรวจที่รักษาการณ์อยู่ในกระทรวงพลังงาน ศรส.ต้องปฏิบัติอย่างไร และหากเจ้าหน้าที่ตำรวจไม่ยินยอมให้เข้าไปในตัวอาคาร และขัดขวางไม่ให้เข้ามายึดพื้นที่คืน จะถือเป็นการสลายการชุมนุมหรือไม่ และเจ้าหน้าที่ตำรวจจะต้องปฏิบัติตัวอย่างไร จึงจะสอดคล้องกับคำสั่งห้ามของศาลแพ่ง

5. กรณีพระพุทธอิสระปิดศูนย์ราชการ ถ.แจ้งวัฒนะ ห้ามข้าราชการเข้าไปทำงาน และวางบังเกอร์ปิดถนนโดยรอบ ถือว่าเป็นการชุมนุมโดยชอบตามนัยคำสั่งหรือคำพิพากษาของศาลแพ่งหรือไม่ 6. กรณีนายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการ กปปส.กับพวก นำผู้ชุมนุมไปปิดสถานที่ราชการต่างๆ ข่มขู่ข้าราชการไม่ให้เข้าทำงาน สร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชนที่ต้องมาติดต่อราชการ ทั้งยังใช้ถ้อยคำพูดจาหยาบคาย กรณีเช่นนี้เป็นการชุมนุมโดยสงบ และพึงกระทำได้ตามนัยคำสั่งของศาลแพ่งหรือไม่อย่างไร

และ 7. ณ วันที่ส่งหนังสือฉบับนี้ นายสุเทพได้พาผู้ชุมนุมไปบุกสถานที่ราชการ ศรส. และบริษัทเอกชน ถือว่าเป็นการใช้สิทธิโดยชอบตามกฎหมายหรือไม่ เพียงใด และศรส.จะต้องปฏิบัติอย่างไรจึงจะไม่เป็นการฝ่าฝืนคำสั่งศาลแพ่ง ทั้งนี้ในฐานะที่ตนเป็น ผอ.ศรส. จำเป็นต้องยึดหลักกฎหมาย และคำพิพากษาของศาลแพ่งเป็นหลักในการปฏิบัติงาน เมื่อข้อเท็จจริงปรากฎดังกล่าว รัฐบาลซึ่งเป็นฝ่ายบริหารจำเป็นต้องใช้พนักงานเจ้าหน้าที่เข้าระงับ และป้องกันเหตุ เพื่อเป็นการคุ้มครองการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ จึงขอให้ท่านได้ชี้และแนะนำการฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ใดมากล่าวหาว่าพนักงานเจ้าหน้าที่ของ ศรส.ฝ่าฝืนและละเมิดอำนาจของศาลแพ่งต่อไป

“กราบเรียนผู้พิพากษา ตุลาการ ทั้งบ้านทั้งเมือง ท่านอาจจะลืมไปแล้ว ผมต้องทบทวน ผมเป็นอดีต รมว.ยุติธรรม ผมเป็นเจ้าของความคิดขยายอายุการรับราชการของตุลาการ ไม่ได้พูดเพื่อทวงบุญคุณ แต่กำลังบอกให้ท่านรู้ว่าผมรัก และเคารพ สถาบันตุลาการเป็นอย่างยิ่ง แต่ผมไม่เข้าใจเมื่อศาลแพ่งมีคำสั่ง 9 ข้อ เมื่อวานนี้ ผมจะทำสิ่งที่ได้กล่าวมาแล้วได้หรือไม่ ไม่เช่นนั้นผมจะสั่งการแล้วตำรวจก็จะผิด และเมื่อท่านมีข้อเสนอแนะมาผมจะปฏิบัติตามไม่ได้รู้สึกกับท่านเป็นอย่างอื่น แต่ผมรู้คนเดียวไม่ได้เพราะประเทศไม่ใช่ของผม และไม่ใช่ของท่าน แต่เป็นของประชาชน 67 ล้านคน” ร.ต.อ.เฉลิมกล่าว


กำลังโหลดความคิดเห็น