ชมรมนักธุรกิจเพื่อประชาธิปไตย ออกแถลงการณ์สนับสนุนปฏิรูปการเมืองก่อนเลือกตั้ง แก้ไขโครงสร้างการบริหารราชการแผ่นดิน กระบวนการยุติธรรมและการป้องกันการทุจริต เสนอจัดตั้ง “ศาลสื่อมวลชน” บังคับพรรคการเมืองเสนอภาระหนี้โครงการต่างๆ การหาเสียงเลือกตั้งต้องแสดงจุดยืนการปฏิบัติหน้าที่ ส่ง “ผู้ชิงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี” อย่างโปร่งใส พร้อมจี้หยุดนำ พ.ร.บ.นิรโทษกรรมสร้างความขัดแย้งอีก
วันนี้ (15 ธ.ค.) ชมรมนักธุรกิจเพื่อประชาธิปไตย สีลมสีเขียว ได้ออกแถลงการณ์ฉบับที่ 12 ผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว ที่ใช้ชื่อว่า ชมรมนักธุรกิจเพื่อประชาธิปไตย สีลมสีเขียว ซึ่งแถลงการณ์ในเรื่อง ร่วมสนับสนุนการปฏิรูปการเมือง “ก่อน” การเลือกตั้ง โดยระบุว่า ตลอดเวลาที่ผ่านมา แม้ประเทศไทยจะได้ผ่านการปฏิรูปทางการเมืองมาแล้วหลายครั้ง แต่ยังมีกระบวนการหลีกเลี่ยงการปฏิบัติตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ และกฎหมายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องสร้างความเสียหายให้กับประเทศ จนเป็นเหตุมวลมหาประชาชนได้ออกมาแสดงความเห็นทางการเมืองกันมากมายทั่วประเทศ
ชมรมนักธุรกิจจึงขอแถลงจุดยืนสนับสนุนให้สังคมไทยได้นำปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในประเทศนั้น มาหาทางออกเป็นรูปธรรม โดยมีการปฏิรูปเพิ่มเติมในบางประเด็นดังต่อไปนี้
1. โครงสร้างการบริหารราชการแผ่นดิน ให้มีการกระจายอำนาจโดยการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัด และมีการแบ่งสรรงบประมาณให้เป็นอำนาจของจังหวัด ให้มีการกระจายอำนาจโดยการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัด และมีการแบ่งสรรงบประมาณให้เป็นอำนาจของจังหวัด เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมในการกระจายสิทธิ และกระจายอำนาจสำหรับจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศ โดยอาจกำหนดให้แต่ละจังหวัดมีอำนาจการจัดการงบประมาณจากส่วนหนึ่งของภาษีต่างๆ ที่เก็บได้ในจังหวัดนั้น และอีกส่วนจากบางส่วนของภาษีส่วนกลาง แบ่งสรรตามจำนวนประชากรในแต่ละจังหวัด
2. กระบวนการยุติธรรมและการป้องกันการทุจริตเพื่อแก้ไขการทำผิดกฎหมายแบบนอมินี การกระทำทุจริต และการทำผิดกฎหมายที่ผ่านมาได้สร้างความเสียหายกับประเทศชาติอย่างมากมายหลายกรณี โดยการใช้ตัวแทนหรือนอมินี (Nominee) ในการกระทำแทน เช่น การซุกหุ้น การบริหารราชการผ่านผู้นำหุ่นเชิด กระบวนการทุจริตจำนำข้าว การออก พ.ร.บ.นิรโทษกรรมเพื่อครอบครัวผู้นำ เป็นต้น
3. ศาลสื่อมวลชน ในช่วงการเลือกตั้ง การเผยแพร่ “ข้อมูลเท็จ” และ “ความเท็จ” ผ่านสื่อสารมวลชนที่ผ่านมา เป็นต้นเหตุของความแตกแยกในหมู่พี่น้องปวงชนชาวไทย เพราะ “ความจริง” ย่อมมีหนึ่งเดียว แต่ “ความเท็จนั้น” แล้วแต่จะแต่งขึ้น และเมื่อผ่านสื่อย่อมสร้างความแตกแยกในแผ่นดิน เพียงคดีหมิ่นประมาท ไม่อาจเยียวยาความแตกแยกในสังคมได้ จึงควรมีกระบวนการเร่งวินิจฉัย ให้โอกาสผู้เสียหายตอบโต้
3.1. หากศาลตัดสินว่า ข้อมูลที่นำเสนอเป็นความจริงอยู่แล้ว ก็ไม่มีโทษ
3.2. หากศาลตัดสินว่า ข้อมูลที่เสนอเป็นความเท็จ และทำให้เกิดความเสียหาย สื่อสารมวลชนนั้น จะต้องมีการนำข้อเท็จจริงกลับไปเผยแพร่เพื่อแก้ไขข้อมูลเท็จนั้นๆ ผ่านสื่อนั้นๆ เพื่อสร้างความเข้าใจต่อความจริงที่ถูกต้อง หากสื่อมวลชนนั้นไม่ปฏิบัติ ก็ให้ยุติการออกอากาศหรือการเผยแพร่ของสื่อมวลชนนั้นต่อไป โดยทุกฝ่ายอาจยื่นต่อศาลได้ ทั้งจากพรรคการเมือง หน่วยงานราชการ หรือภาคประชาชน ที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมจากการเผยแพร่ของสื่อสารมวลชนนั้น
4. การเปิดเผยงบประมาณที่จะต้องใช้รองรับนโยบายต่างๆ เพื่อควบคุมกำกับไม่ให้พรรคการเมืองหาเสียงโดยไม่รับผิดชอบต่อการสร้างภาระหนี้ให้กับประชาชนและลูกหลาน พรรคการเมืองจะต้องนำเสนอภาระหนี้จากการขาดดุลงบประมาณ จากโครงการต่างๆ รวมกัน และระบุในการหาเสียงด้วย โดยรัฐบาลจะไม่สามารถก่อหนี้ได้ เกินกว่าที่ได้เปิดเผยไว้ตอนหาเสียง เว้นแต่มีสถานการณ์พิเศษ ซึ่งเห็นชอบโดยรัฐสภา และไม่มีคำสั่งยับยั้งโดยศาลปกครอง
5. การหาเสียงเลือกตั้ง พรรคการเมืองจะต้องแสดงความจริงใจในการบริหารงานผ่านรัฐสภา พรรคการเมืองจะต้องแสดงจุดยืนถึงการปฏิบัติหน้าที่ต่อรัฐสภา เช่น แนวทางการตอบกระทู้ของผู้แทนราษฎรฝ่ายค้านแนวทางการออกกฎหมาย และการรับฟังความเห็นต่างในการออกกฎหมาย การรายงานผลการดำเนินงานต่อรัฐสภา เป็นต้น
6. การหาเสียงเลือกตั้ง พรรคการเมืองจะต้องเสนอ “ผู้ชิงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี” ในระบอบประชาธิปไตย ในอารยประเทศทั่วโลก ผู้บริหารราชการแผ่นดิน เป็นตำแหน่งที่มีเกียรติและมีอำนาจระดับสูงสุดในการบริหารราชการ จะมีการแข่งขันวิสัยทัศน์ที่โปร่งใส เพื่อแสดงนโยบาย และตอบข้อซักถาม แต่ละพรรคการเมืองจึงควรส่ง “ผู้ชิงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี” อย่างโปร่งใส โดยอาจเลือกผู้จัดรายการจากแต่ละฝ่ายร่วมกันก็ได้ และเพื่อเป็นการได้ “ผู้ชิงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี” หากพรรคการเมืองใดส่ง “ผู้ชิงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี” โดยมีเสียงของผู้แทนในสภาผู้แทนต่ำกว่า 1 ใน 10 จะมีผลให้ตำแหน่ง ส.ส.ของพรรคนั้นเป็นโมฆะ
7. แก้ปัญหา พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฯ อันเป็นต้นเหตุของปัญหาความขัดแย้งในสังคมครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ จะต้องมีการทำให้ พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฯ นี้ไม่สามารถกลับมาสร้างปัญหาความขัดแย้งแตกแยกในสังคมได้อีก เช่น รัฐบาลยอมรับความจริงว่า ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมนี้ จะมีผลในการจัดสรร หรือจ่ายเงินแผ่นดิน หรือการโอนงบประมาณรายจ่ายของแผ่นดิน อันเข้าข่ายเป็น พ.ร.บ.การเงิน ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 143(2) ซึ่งนายกฯ จะต้องรับรอง และให้นายกฯ ลงนามไม่รับรอง เพื่อให้ พ.ร.บ.นิรโทษกรรมนี้ตกไปเสียก่อนที่จะมีการเลือกตั้งใหม่
หากครอบครัวชินวัตรยังไม่ยอมรับคำพิพากษาของศาลว่าผิดจริง คดีทุจริตจนถูกยึดทรัพย์ และมีเจตนาเรียกร้องความเป็นธรรม ขอให้แสดงหลักฐานและเหตุผลโต้แย้งต่อคำพิพากษาซึ่งได้รวมถึงคำให้การที่ครอบครัวชินวัตรได้เคยให้ต่อศาลไว้แล้ว เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมต่อครอบครัวและยุติความขัดแย้งในสังคม
วันนี้ (15 ธ.ค.) ชมรมนักธุรกิจเพื่อประชาธิปไตย สีลมสีเขียว ได้ออกแถลงการณ์ฉบับที่ 12 ผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว ที่ใช้ชื่อว่า ชมรมนักธุรกิจเพื่อประชาธิปไตย สีลมสีเขียว ซึ่งแถลงการณ์ในเรื่อง ร่วมสนับสนุนการปฏิรูปการเมือง “ก่อน” การเลือกตั้ง โดยระบุว่า ตลอดเวลาที่ผ่านมา แม้ประเทศไทยจะได้ผ่านการปฏิรูปทางการเมืองมาแล้วหลายครั้ง แต่ยังมีกระบวนการหลีกเลี่ยงการปฏิบัติตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ และกฎหมายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องสร้างความเสียหายให้กับประเทศ จนเป็นเหตุมวลมหาประชาชนได้ออกมาแสดงความเห็นทางการเมืองกันมากมายทั่วประเทศ
ชมรมนักธุรกิจจึงขอแถลงจุดยืนสนับสนุนให้สังคมไทยได้นำปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในประเทศนั้น มาหาทางออกเป็นรูปธรรม โดยมีการปฏิรูปเพิ่มเติมในบางประเด็นดังต่อไปนี้
1. โครงสร้างการบริหารราชการแผ่นดิน ให้มีการกระจายอำนาจโดยการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัด และมีการแบ่งสรรงบประมาณให้เป็นอำนาจของจังหวัด ให้มีการกระจายอำนาจโดยการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัด และมีการแบ่งสรรงบประมาณให้เป็นอำนาจของจังหวัด เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมในการกระจายสิทธิ และกระจายอำนาจสำหรับจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศ โดยอาจกำหนดให้แต่ละจังหวัดมีอำนาจการจัดการงบประมาณจากส่วนหนึ่งของภาษีต่างๆ ที่เก็บได้ในจังหวัดนั้น และอีกส่วนจากบางส่วนของภาษีส่วนกลาง แบ่งสรรตามจำนวนประชากรในแต่ละจังหวัด
2. กระบวนการยุติธรรมและการป้องกันการทุจริตเพื่อแก้ไขการทำผิดกฎหมายแบบนอมินี การกระทำทุจริต และการทำผิดกฎหมายที่ผ่านมาได้สร้างความเสียหายกับประเทศชาติอย่างมากมายหลายกรณี โดยการใช้ตัวแทนหรือนอมินี (Nominee) ในการกระทำแทน เช่น การซุกหุ้น การบริหารราชการผ่านผู้นำหุ่นเชิด กระบวนการทุจริตจำนำข้าว การออก พ.ร.บ.นิรโทษกรรมเพื่อครอบครัวผู้นำ เป็นต้น
3. ศาลสื่อมวลชน ในช่วงการเลือกตั้ง การเผยแพร่ “ข้อมูลเท็จ” และ “ความเท็จ” ผ่านสื่อสารมวลชนที่ผ่านมา เป็นต้นเหตุของความแตกแยกในหมู่พี่น้องปวงชนชาวไทย เพราะ “ความจริง” ย่อมมีหนึ่งเดียว แต่ “ความเท็จนั้น” แล้วแต่จะแต่งขึ้น และเมื่อผ่านสื่อย่อมสร้างความแตกแยกในแผ่นดิน เพียงคดีหมิ่นประมาท ไม่อาจเยียวยาความแตกแยกในสังคมได้ จึงควรมีกระบวนการเร่งวินิจฉัย ให้โอกาสผู้เสียหายตอบโต้
3.1. หากศาลตัดสินว่า ข้อมูลที่นำเสนอเป็นความจริงอยู่แล้ว ก็ไม่มีโทษ
3.2. หากศาลตัดสินว่า ข้อมูลที่เสนอเป็นความเท็จ และทำให้เกิดความเสียหาย สื่อสารมวลชนนั้น จะต้องมีการนำข้อเท็จจริงกลับไปเผยแพร่เพื่อแก้ไขข้อมูลเท็จนั้นๆ ผ่านสื่อนั้นๆ เพื่อสร้างความเข้าใจต่อความจริงที่ถูกต้อง หากสื่อมวลชนนั้นไม่ปฏิบัติ ก็ให้ยุติการออกอากาศหรือการเผยแพร่ของสื่อมวลชนนั้นต่อไป โดยทุกฝ่ายอาจยื่นต่อศาลได้ ทั้งจากพรรคการเมือง หน่วยงานราชการ หรือภาคประชาชน ที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมจากการเผยแพร่ของสื่อสารมวลชนนั้น
4. การเปิดเผยงบประมาณที่จะต้องใช้รองรับนโยบายต่างๆ เพื่อควบคุมกำกับไม่ให้พรรคการเมืองหาเสียงโดยไม่รับผิดชอบต่อการสร้างภาระหนี้ให้กับประชาชนและลูกหลาน พรรคการเมืองจะต้องนำเสนอภาระหนี้จากการขาดดุลงบประมาณ จากโครงการต่างๆ รวมกัน และระบุในการหาเสียงด้วย โดยรัฐบาลจะไม่สามารถก่อหนี้ได้ เกินกว่าที่ได้เปิดเผยไว้ตอนหาเสียง เว้นแต่มีสถานการณ์พิเศษ ซึ่งเห็นชอบโดยรัฐสภา และไม่มีคำสั่งยับยั้งโดยศาลปกครอง
5. การหาเสียงเลือกตั้ง พรรคการเมืองจะต้องแสดงความจริงใจในการบริหารงานผ่านรัฐสภา พรรคการเมืองจะต้องแสดงจุดยืนถึงการปฏิบัติหน้าที่ต่อรัฐสภา เช่น แนวทางการตอบกระทู้ของผู้แทนราษฎรฝ่ายค้านแนวทางการออกกฎหมาย และการรับฟังความเห็นต่างในการออกกฎหมาย การรายงานผลการดำเนินงานต่อรัฐสภา เป็นต้น
6. การหาเสียงเลือกตั้ง พรรคการเมืองจะต้องเสนอ “ผู้ชิงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี” ในระบอบประชาธิปไตย ในอารยประเทศทั่วโลก ผู้บริหารราชการแผ่นดิน เป็นตำแหน่งที่มีเกียรติและมีอำนาจระดับสูงสุดในการบริหารราชการ จะมีการแข่งขันวิสัยทัศน์ที่โปร่งใส เพื่อแสดงนโยบาย และตอบข้อซักถาม แต่ละพรรคการเมืองจึงควรส่ง “ผู้ชิงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี” อย่างโปร่งใส โดยอาจเลือกผู้จัดรายการจากแต่ละฝ่ายร่วมกันก็ได้ และเพื่อเป็นการได้ “ผู้ชิงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี” หากพรรคการเมืองใดส่ง “ผู้ชิงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี” โดยมีเสียงของผู้แทนในสภาผู้แทนต่ำกว่า 1 ใน 10 จะมีผลให้ตำแหน่ง ส.ส.ของพรรคนั้นเป็นโมฆะ
7. แก้ปัญหา พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฯ อันเป็นต้นเหตุของปัญหาความขัดแย้งในสังคมครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ จะต้องมีการทำให้ พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฯ นี้ไม่สามารถกลับมาสร้างปัญหาความขัดแย้งแตกแยกในสังคมได้อีก เช่น รัฐบาลยอมรับความจริงว่า ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมนี้ จะมีผลในการจัดสรร หรือจ่ายเงินแผ่นดิน หรือการโอนงบประมาณรายจ่ายของแผ่นดิน อันเข้าข่ายเป็น พ.ร.บ.การเงิน ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 143(2) ซึ่งนายกฯ จะต้องรับรอง และให้นายกฯ ลงนามไม่รับรอง เพื่อให้ พ.ร.บ.นิรโทษกรรมนี้ตกไปเสียก่อนที่จะมีการเลือกตั้งใหม่
หากครอบครัวชินวัตรยังไม่ยอมรับคำพิพากษาของศาลว่าผิดจริง คดีทุจริตจนถูกยึดทรัพย์ และมีเจตนาเรียกร้องความเป็นธรรม ขอให้แสดงหลักฐานและเหตุผลโต้แย้งต่อคำพิพากษาซึ่งได้รวมถึงคำให้การที่ครอบครัวชินวัตรได้เคยให้ต่อศาลไว้แล้ว เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมต่อครอบครัวและยุติความขัดแย้งในสังคม