ทนายกุ๊ยแดงยื่นศาล รธน.ให้พิจารณาวินิจฉัยยกคำร้อง แก้ที่มา ส.ว. รวมถึงแก้ ม.190 ขัด ม.68 เหตุไม่ได้บัญญัติให้วินิจฉัย แถมร่างทูลเกล้าฯ แล้ว รับวินิจฉัยถือว่าก้าวล่วงพระราชอำนาจ ย้อน ปชป.กล่าวหามุ่งร้ายแก้ ม.190 ยันรัฐทำข้อตกลงแบ่งแยกมิได้ อ้างแก้เพื่อมุ่งทำสัญญาการค้า ศาลควรยกคำร้อง
วันนี้ (18 พ.ย.) นายอาคม รัตนพจนารถ ทนายความกลุ่มประชาชนผู้รักความเป็นธรรม เข้ายื่นหนังสือต่อศาลรัฐธรรมนูญ ขอให้พิจารณาและมีคำวินิจฉัยยกคำร้องในคดีการแก้ไขรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับที่มาของ ส.ว. และกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญรับวินิจฉัยเกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 190 เข้าข่ายเป็นการกระทำเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิถีทางที่ไม่ได้บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญขัดรัฐธรรมนูญมาตรา 68 เนื่องจากเห็นว่าในกรณีแก้ไขรัฐธรรมนูญที่มา ส.ว.นั้น รัฐธรรมนูญมาตรา 68 ได้บัญญัติองค์ประกอบของบุคคลผู้กระทำความผิดที่ศาลรัฐธรรมนูญจะมีคำวินิจฉัยได้ไว้ 2 ประเภท คือบุคคล และพรรคการเมืองเท่านั้น ไม่ได้บัญญัติถึงรัฐสภา และสมาชิกรัฐสภา ที่ศาลรัฐธรรมนูญจะมีคำวินิจฉัยได้ รวมถึงขณะนี้ร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับที่มา ส.ว.นายกรัฐมนตรีนำขึ้นทูลเกล้าแล้ว การยื่นคำร้องดังกล่าวและการที่ศาลรัฐธรรมนูญรับเรื่องรวมจะมีคำวินิจฉัย ถือเป็นการก้าวล่วงพระราชอำนาจซึ่งไม่เป็นเรื่องไม่บังควรอย่างยิ่ง
ส่วนกรณีการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 190 ที่นายวิรัตน์ กัลยาศิริ ผู้ร้องอ้างว่า การแก้ไขมีการเพิ่มอำนาจให้ฝ่ายบริหารและจำกัดอำนาจรัฐสภาในการให้ความเห็นชอบการทำหนังสือสัญญาที่มีบทเปลี่ยนแปลงอาณาเขตนั้น เห็นว่าโดยข้อเท็จจริงแล้ว รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ชัดเจนในมาตรา 1 ว่า ประเทศไทยเป็นราชอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียว จะแบ่งแยกมิได้ รัฐบาลจึงไม่สามารถที่จะไปกระทำข้อตกลงใดๆ ที่มีผลทำให้อาณาเขตประเทศไทยลดน้อยลงได้อยู่แล้ว ดังนั้นตามคำร้องของนายวิรัตน์จึงเป็นข้อกล่าวหาที่มุ่งร้ายต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อให้ศาลมีอำนาจพิจารณาเท่านั้น การแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 190 จึงเป็นเพียงมุ่งหมายเกี่ยวกับการทำสัญญาทางการค้า ที่จะเป็นประโยชน์กับประเทศชาติอย่างมาก ศาลรัฐธรรมนูญจึงควรวินิจฉัยยกคำร้อง
วันนี้ (18 พ.ย.) นายอาคม รัตนพจนารถ ทนายความกลุ่มประชาชนผู้รักความเป็นธรรม เข้ายื่นหนังสือต่อศาลรัฐธรรมนูญ ขอให้พิจารณาและมีคำวินิจฉัยยกคำร้องในคดีการแก้ไขรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับที่มาของ ส.ว. และกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญรับวินิจฉัยเกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 190 เข้าข่ายเป็นการกระทำเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิถีทางที่ไม่ได้บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญขัดรัฐธรรมนูญมาตรา 68 เนื่องจากเห็นว่าในกรณีแก้ไขรัฐธรรมนูญที่มา ส.ว.นั้น รัฐธรรมนูญมาตรา 68 ได้บัญญัติองค์ประกอบของบุคคลผู้กระทำความผิดที่ศาลรัฐธรรมนูญจะมีคำวินิจฉัยได้ไว้ 2 ประเภท คือบุคคล และพรรคการเมืองเท่านั้น ไม่ได้บัญญัติถึงรัฐสภา และสมาชิกรัฐสภา ที่ศาลรัฐธรรมนูญจะมีคำวินิจฉัยได้ รวมถึงขณะนี้ร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับที่มา ส.ว.นายกรัฐมนตรีนำขึ้นทูลเกล้าแล้ว การยื่นคำร้องดังกล่าวและการที่ศาลรัฐธรรมนูญรับเรื่องรวมจะมีคำวินิจฉัย ถือเป็นการก้าวล่วงพระราชอำนาจซึ่งไม่เป็นเรื่องไม่บังควรอย่างยิ่ง
ส่วนกรณีการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 190 ที่นายวิรัตน์ กัลยาศิริ ผู้ร้องอ้างว่า การแก้ไขมีการเพิ่มอำนาจให้ฝ่ายบริหารและจำกัดอำนาจรัฐสภาในการให้ความเห็นชอบการทำหนังสือสัญญาที่มีบทเปลี่ยนแปลงอาณาเขตนั้น เห็นว่าโดยข้อเท็จจริงแล้ว รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ชัดเจนในมาตรา 1 ว่า ประเทศไทยเป็นราชอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียว จะแบ่งแยกมิได้ รัฐบาลจึงไม่สามารถที่จะไปกระทำข้อตกลงใดๆ ที่มีผลทำให้อาณาเขตประเทศไทยลดน้อยลงได้อยู่แล้ว ดังนั้นตามคำร้องของนายวิรัตน์จึงเป็นข้อกล่าวหาที่มุ่งร้ายต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อให้ศาลมีอำนาจพิจารณาเท่านั้น การแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 190 จึงเป็นเพียงมุ่งหมายเกี่ยวกับการทำสัญญาทางการค้า ที่จะเป็นประโยชน์กับประเทศชาติอย่างมาก ศาลรัฐธรรมนูญจึงควรวินิจฉัยยกคำร้อง