เลขาธิการมูลนิธิเพื่อนช้าง พบ “พงศ์เทพ” ยื่น 4 ข้อ จี้เลิกออกใบอนุญาตสวนสัตว์ในห้าง, ออกระเบียบสวัสดิการสัตว์ ส่งเสริมแหล่งเรียนรู้, ตั้งบุคคลร่วมตรวจ, จัดระบบทะเบียนใหม่ จี้พาต้าตอบโจทย์ขนย้ายสัตว์หากไฟไหม้ยังไง ถาม ทส.ควรต่อใบอนุญาตหรือไม่ พร้อมสับ ร่าง พ.ร.บ.สัตว์ป่า ขัดเจตนารมณ์เดิมไม่รวมช้างบ้าน แนะทำใหม่ให้ภาคประชาชนมีส่วนร่วม
วันนี้ (30 ก.ย.) ที่ทำเนียบรัฐบาล น.ส.โซไรดา ซาลวาลา เลขาธิการมูลนิธิเพื่อนช้าง พร้อมพวกกว่า 10 คน ได้พบกับ นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รองนายกรัฐมนตรี พร้อมกับยื่นหนังสือเรื่องอัคคีภัยจากสวนสัตว์ลอยฟ้า จิตวิทยาสัตว์ป่า ระบบนิเวศและการจัดการสวนสัตว์ที่ไม่ได้มาตรฐานในเมืองไทยและ พ.ร.บ.คุ้มครองสัตว์ป่าปี 2535 โดยมีร้องเรียก 4 ข้อ ประกอบด้วย 1.กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช ต้องไม่ออกใบอนุญาตให้ศูนย์การค้าและร้านอาหาร 2.ควรออกระเบียบเรื่องสวัสดิการของสัตว์ และควรส่งเสริมให้สวนสัตว์เป็นแหล่งเรียนรู้ของประชาชนจริงๆ 3.ควรตั้งบุคคลที่เหมาะสมเป็นคณะกรรมการร่วมกับกรมอุทยานฯ เข้าตรวจสอบสวนสัตว์อยู่เสมอ และ 4.ควรมีการจัดระเบียบระบบทะเบียนสัตว์ป่าเพื่อไม่มีการลักลอบจับสัตว์ป่า ทั้งนี้กรมอุทยานฯ และสวนสัตว์พาต้าต้องตอบโจทย์เรื่องปัญหาอัคคีภัย ว่าหากเกิดขึ้นจะมีการเคลื่อนย้ายสัตว์อย่างไร แล้วทำไมถึงเกิดไฟไหม้ขึ้นซ้ำอีก ซึ่งกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และกรมอุทยานฯ ต้องพิจารณาว่าสมควรหรือไม่ที่ยังจะต่ออายุให้อยู่หรือไม่
ทั้งนี้ทางกลุ่มมูลนิธิเพื่อนช้างได้อ่านแถลงการณ์ร่างพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า (ฉบับที่...) พ.ศ. ... ด้วยว่าจากการที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติฯ ได้จัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นร่าง พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าฯ เมื่อวันที่ 23 ก.ย.ที่ผ่านมา ทางมูลนิธิเพื่อนช้างประมวลเหตุการณ์แล้ว เห็นว่าเนื้อหาและหลักการขัดกับเจตนารมณ์ของ พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าปี 2535 เพราะช้างบ้านไม่ใช่สัตว์ป่า มูลนิธิเพื่อนช้างจึงขอเสนอหลักการในการแก้ปัญหา 1.ให้รัฐบาลหรือกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติฯ ยุติกระบวนการรับฟังความคิดเห็นและยกเลิกร่าง พ.ร.บ.ฉบับดังกล่าวไปก่อน แล้วเริ่มต้นการดำเนินการร่าง พ.ร.บ.ฉบับใหม่โดยอาศัยทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ตามหลักการการมีส่วนร่วมของประชาชนตามที่รัฐธรรมนูญรับรอง และ 2.ถ้ารัฐบาลไม่อาจทำได้ ภาคประชาชนจะดำเนินกระบวนการแก้ไขปัญหาของช้างเองโดยการเสนอเข้าชื่อและขับเคลื่อนกำลังมวลชน จึงขอให้รัฐบาลทบทวนและสนับสนุนหลักการดังกล่าว
วันนี้ (30 ก.ย.) ที่ทำเนียบรัฐบาล น.ส.โซไรดา ซาลวาลา เลขาธิการมูลนิธิเพื่อนช้าง พร้อมพวกกว่า 10 คน ได้พบกับ นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รองนายกรัฐมนตรี พร้อมกับยื่นหนังสือเรื่องอัคคีภัยจากสวนสัตว์ลอยฟ้า จิตวิทยาสัตว์ป่า ระบบนิเวศและการจัดการสวนสัตว์ที่ไม่ได้มาตรฐานในเมืองไทยและ พ.ร.บ.คุ้มครองสัตว์ป่าปี 2535 โดยมีร้องเรียก 4 ข้อ ประกอบด้วย 1.กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช ต้องไม่ออกใบอนุญาตให้ศูนย์การค้าและร้านอาหาร 2.ควรออกระเบียบเรื่องสวัสดิการของสัตว์ และควรส่งเสริมให้สวนสัตว์เป็นแหล่งเรียนรู้ของประชาชนจริงๆ 3.ควรตั้งบุคคลที่เหมาะสมเป็นคณะกรรมการร่วมกับกรมอุทยานฯ เข้าตรวจสอบสวนสัตว์อยู่เสมอ และ 4.ควรมีการจัดระเบียบระบบทะเบียนสัตว์ป่าเพื่อไม่มีการลักลอบจับสัตว์ป่า ทั้งนี้กรมอุทยานฯ และสวนสัตว์พาต้าต้องตอบโจทย์เรื่องปัญหาอัคคีภัย ว่าหากเกิดขึ้นจะมีการเคลื่อนย้ายสัตว์อย่างไร แล้วทำไมถึงเกิดไฟไหม้ขึ้นซ้ำอีก ซึ่งกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และกรมอุทยานฯ ต้องพิจารณาว่าสมควรหรือไม่ที่ยังจะต่ออายุให้อยู่หรือไม่
ทั้งนี้ทางกลุ่มมูลนิธิเพื่อนช้างได้อ่านแถลงการณ์ร่างพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า (ฉบับที่...) พ.ศ. ... ด้วยว่าจากการที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติฯ ได้จัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นร่าง พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าฯ เมื่อวันที่ 23 ก.ย.ที่ผ่านมา ทางมูลนิธิเพื่อนช้างประมวลเหตุการณ์แล้ว เห็นว่าเนื้อหาและหลักการขัดกับเจตนารมณ์ของ พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าปี 2535 เพราะช้างบ้านไม่ใช่สัตว์ป่า มูลนิธิเพื่อนช้างจึงขอเสนอหลักการในการแก้ปัญหา 1.ให้รัฐบาลหรือกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติฯ ยุติกระบวนการรับฟังความคิดเห็นและยกเลิกร่าง พ.ร.บ.ฉบับดังกล่าวไปก่อน แล้วเริ่มต้นการดำเนินการร่าง พ.ร.บ.ฉบับใหม่โดยอาศัยทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ตามหลักการการมีส่วนร่วมของประชาชนตามที่รัฐธรรมนูญรับรอง และ 2.ถ้ารัฐบาลไม่อาจทำได้ ภาคประชาชนจะดำเนินกระบวนการแก้ไขปัญหาของช้างเองโดยการเสนอเข้าชื่อและขับเคลื่อนกำลังมวลชน จึงขอให้รัฐบาลทบทวนและสนับสนุนหลักการดังกล่าว