กมธ.ปราบทุจริต สภาฯ ถกสอบจัดซื้อนาฬิกามหาแพง เลขาฯ สภาแจง ก.วิทย์ชงวางระบบเชื่อมดาวเทียม ยันทีโออาร์ตามระเบียบแต่ไม่กำหนดราคากลาง อ้างใช้เงินค้างท่อปี 54 ซื้อ เจอซักส่อขัด พ.ร.บ.ฮั้ว หลังพบบริษัทตัวแทนจำหน่ายเพิ่งจดทะเบียน พร้อมแนะเลิกจัดซื้อ ประธานนัดใหม่ 12 ก.ย.
วันนี้ (5 ก.ย.) ที่รัฐสภา การประชุมคณะกรรมาธิการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบ สภาผู้แทนราษฎร ที่มี พล.ต.ท.วิโรจน์ เปาอินทร์ ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคเพื่อไทย เป็นประธานกรรมาธิการ โดยมีการพิจารณาเรื่องร้องเรียนขอให้ตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ของนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานสภาฯ และนายสุวิจักขณ์ นาควัชระชัย เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ในการดำเนินโครงการต่างๆที่เกิดขึ้นในปีงบประมาณ 2556 โดยทางกรรมาธิการได้พยายามซักถามถึงประเด็นการจัดซื้อจัดจ้างนาฬิกาดิจิตอล จำนวน 238 ราคากว่า 15 ล้านบาท และขอเอกสารข้อมูลตั้งแต่เริ่มโครงการ โดยเฉพาะเอกสารของคณะกรรมการในการสืบราคา
ทั้งนี้ นายสุวิจักขณ์ได้เข้าร่วมชี้แจงพร้อมคณะสำนักงานเลขาธิการสภาฯ โดยกล่าวว่า การดำเนินโครงการดังกล่าวไม่มีการกำหนดราคากลาง แต่มีการทำทีโออาร์โดยบุคคลภายนอกจากสำนักมาตรวิทยา กระทรวงวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นผู้เสนอวางระบบนาฬิกาเชื่อมต่อดาวเทียม ทั้งนี้ การจัดทำทีโออาร์ก็เป็นไปตามระเบียบรัฐสภาของคณะกรรมการข้าราชการรัฐสภา (ก.ร.) และการจัดซื้อครั้งนี้ก็เป็นเงินงบประมาณค้างท่อ ตั้งแต่ปี 2554 แล้ว ซึ่งเราก็ดำเนินการต่อตามยุทธศาสตร์ Smart Parliament โดยขณะนี้ก็ได้นำนาฬิกาทั้งหมดมาติดตั้งทั้ง 3 อาคารภายในรัฐสภาแล้ว แต่ยังไม่มีการตรวจรับแต่อย่างใด
อย่างไรก็ดี ทางคณะกรรมาธิการส่วนใหญ่ได้ตั้งข้อสังเกตถึงพิรุธการจัดซื้อจัดจ้างโครงการดังกล่าว โดยนายวิลาศ จันทร์พิทักษ์ ส.ส.กทม.พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะรองประธานกรรมาธิการ กล่าวว่า จากที่ตนมีข้อมูลพบว่ามีบริษัท อัลคาเทลลูเซ่น (ประเทศไทย) ซึ่งเป็นตัวแทนจำหน่ายนาฬิกาในประเทศ ได้เป็นผู้เซ็นมอบอำนาจให้สองบริษัทคือ บริษัท อีควิปแมน และบริษัท อินสแตนท์เซอร์วิส เป็นตัวแทนจำหน่าย เข้ามาร่วมประมูล และสองบริษัทนี้ก็ยังจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทในวันเดียวกัน 29 มี.ค. 2556 โดยบริษัทตัวแทนใหญ่หน้าฉากเป็นตัวแทนจำหน่ายนาฬิกา แต่หลังฉากเป็นบริษัทรับเหมาก่อสร้าง จึงเป็นที่น่าแปลกใจว่าอาจจะมีการกระทำขัด พ.ร.บ.ฮั้วประมูล พ.ศ. 2542 ขณะเดียวกัน นายพีระชาติ ปาริสุทธิรักษ์ กรรมาธิการ ก็ได้เสนอแนะให้นายสุวิจักขณ์ยกเลิกการจัดซื้อจัดจ้างดังกล่าวไปเลย หากยังไม่มีการตรวจรับจริง ซึ่งจะช่วยลบข้อครหานาฬิกาเรือนละ 75,000 บาท ที่แพงที่สุด และรู้กันทั่วสังคมแล้วในขณะนี้
ทั้งนี้ ประธานคณะกรรมาธิการได้นัดประชุมอีกครั้งในวันที่ 12 ก.ย. เพื่อให้ทางสำนักงานเลขาธิการสภาฯ เตรียมข้อมูลประกอบการชี้แจงมาใหม่ เนื่องจากเอกสารที่นำมาครั้งนี้มีแต่น้ำ ไม่มีเนื้อหาสาระเลย
วันนี้ (5 ก.ย.) ที่รัฐสภา การประชุมคณะกรรมาธิการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบ สภาผู้แทนราษฎร ที่มี พล.ต.ท.วิโรจน์ เปาอินทร์ ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคเพื่อไทย เป็นประธานกรรมาธิการ โดยมีการพิจารณาเรื่องร้องเรียนขอให้ตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ของนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานสภาฯ และนายสุวิจักขณ์ นาควัชระชัย เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ในการดำเนินโครงการต่างๆที่เกิดขึ้นในปีงบประมาณ 2556 โดยทางกรรมาธิการได้พยายามซักถามถึงประเด็นการจัดซื้อจัดจ้างนาฬิกาดิจิตอล จำนวน 238 ราคากว่า 15 ล้านบาท และขอเอกสารข้อมูลตั้งแต่เริ่มโครงการ โดยเฉพาะเอกสารของคณะกรรมการในการสืบราคา
ทั้งนี้ นายสุวิจักขณ์ได้เข้าร่วมชี้แจงพร้อมคณะสำนักงานเลขาธิการสภาฯ โดยกล่าวว่า การดำเนินโครงการดังกล่าวไม่มีการกำหนดราคากลาง แต่มีการทำทีโออาร์โดยบุคคลภายนอกจากสำนักมาตรวิทยา กระทรวงวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นผู้เสนอวางระบบนาฬิกาเชื่อมต่อดาวเทียม ทั้งนี้ การจัดทำทีโออาร์ก็เป็นไปตามระเบียบรัฐสภาของคณะกรรมการข้าราชการรัฐสภา (ก.ร.) และการจัดซื้อครั้งนี้ก็เป็นเงินงบประมาณค้างท่อ ตั้งแต่ปี 2554 แล้ว ซึ่งเราก็ดำเนินการต่อตามยุทธศาสตร์ Smart Parliament โดยขณะนี้ก็ได้นำนาฬิกาทั้งหมดมาติดตั้งทั้ง 3 อาคารภายในรัฐสภาแล้ว แต่ยังไม่มีการตรวจรับแต่อย่างใด
อย่างไรก็ดี ทางคณะกรรมาธิการส่วนใหญ่ได้ตั้งข้อสังเกตถึงพิรุธการจัดซื้อจัดจ้างโครงการดังกล่าว โดยนายวิลาศ จันทร์พิทักษ์ ส.ส.กทม.พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะรองประธานกรรมาธิการ กล่าวว่า จากที่ตนมีข้อมูลพบว่ามีบริษัท อัลคาเทลลูเซ่น (ประเทศไทย) ซึ่งเป็นตัวแทนจำหน่ายนาฬิกาในประเทศ ได้เป็นผู้เซ็นมอบอำนาจให้สองบริษัทคือ บริษัท อีควิปแมน และบริษัท อินสแตนท์เซอร์วิส เป็นตัวแทนจำหน่าย เข้ามาร่วมประมูล และสองบริษัทนี้ก็ยังจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทในวันเดียวกัน 29 มี.ค. 2556 โดยบริษัทตัวแทนใหญ่หน้าฉากเป็นตัวแทนจำหน่ายนาฬิกา แต่หลังฉากเป็นบริษัทรับเหมาก่อสร้าง จึงเป็นที่น่าแปลกใจว่าอาจจะมีการกระทำขัด พ.ร.บ.ฮั้วประมูล พ.ศ. 2542 ขณะเดียวกัน นายพีระชาติ ปาริสุทธิรักษ์ กรรมาธิการ ก็ได้เสนอแนะให้นายสุวิจักขณ์ยกเลิกการจัดซื้อจัดจ้างดังกล่าวไปเลย หากยังไม่มีการตรวจรับจริง ซึ่งจะช่วยลบข้อครหานาฬิกาเรือนละ 75,000 บาท ที่แพงที่สุด และรู้กันทั่วสังคมแล้วในขณะนี้
ทั้งนี้ ประธานคณะกรรมาธิการได้นัดประชุมอีกครั้งในวันที่ 12 ก.ย. เพื่อให้ทางสำนักงานเลขาธิการสภาฯ เตรียมข้อมูลประกอบการชี้แจงมาใหม่ เนื่องจากเอกสารที่นำมาครั้งนี้มีแต่น้ำ ไม่มีเนื้อหาสาระเลย