ประธานสภาผู้แทนราษฎรเรียกประชุมสภาฯ นัดพิเศษ พุธ-พฤหัสฯ นี้ พิจารณาร่างงบปี 57 หลัง กมธ.วิฯ พิจารณาเสร็จแล้ว เผยทำรายการพิจารณารวม 15 ประเด็น
วันนี้ (10 ส.ค.) นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานสภาผู้แทนราษฎร ได้ออกจดหมายเรียกประชุมสภาฯ นัดพิเศษ วันที่ 14-15 ส.ค. เวลา 09.30 น. เพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2557 หลังจากที่คณะกรรมาธิการวิสามัญฯที่มีนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.คลัง เป็นประธานได้พิจารณาแล้วเสร็จแล้ว ทั้งนี้คณะกมธ.วิสามัญฯได้จัดทำรายผลการพิจารณาทั้งหมดพร้อมข้อสังเกตและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการจัดทำงบประมาณของรัฐบาลในภาพรวมโดยมีทั้งหมด 15 ข้อ ดังนี้
1. การวางแผนใช้จ่ายเงินของแผํนดิน ทั้งในกฎหมายงบประมาณ และในกฎหมายอื่นนอกเหนือจากกฎหมายวิธีการงบประมาณ ควรคำนึงถึงวินัยการเงินการคลังและสถานะทางการเงิน ตลอดจนความสามารถในการบริหารจัดการการเงินการคลังของประเทศเป็นสำคัญ
2. การใช้จ่ายภาครัฐจากงบประมาณรายจำยประจำปี ส่งผลให้เกิดการปรับโครงสร้างการผลิตและเพิ่มผลิตภาพของภาคเศรษฐกิจต่างๆ ในระดับหนึ่ง แต่การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเศรษฐกิจจำเป็นต้องอาศัยการลงทุนจากภาคเอกชนในการขับเคลื่อน หน่วยงานหลักของประเทศควรมีแนวทางในการกำหนดตัวชี้วัดระดับความสำเร็จในการใช้จำยงบประมาณของภาครัฐในภาพรวมให้มีความชัดเจน เป็นรูปธรรม โดยมีการประเมินอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และอัตราเงินเฟ้อที่ครอบคลุมผลจากการใช้จำยเงินกู้ตามพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการวางระบบบริหารจัดการน้ำและสร้างอนาคตของประเทศ พ.ศ. 2555 และร่างพระราชบัญญัติให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศ พ.ศ. .... ที่สอดคล้องกับแผนปฏิบัติการที่เป็นจริง ตลอดจนผลของการปรับโครงสร้างภาษีในแต่ละประเภท
3. การประเมินตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ควรพิจารณาให้ครอบคลุมถึงสัดส่วนรายได้ รายจ่าย และภาระหนี้ขององค์กรปกครองสํวนท้องถิ่น โดยพัฒนาระบบบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ (GFMIS) ของกระทรวงการคลังให้สามารถควบคุมการเบิกจำยขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เนื่องจากการใช้จ่ายขององค์กรปกครองสํวนท้องถิ่นมีผลต่อระบบเศรษฐกิจและเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนนโยบายของรัฐบาล การมีเครื่องมือในการกำกับดูแลวินัยทางการคลังของท้องถิ่นจึงเป็นสิ่งจำเป็น หากองค์กรปกครองสํวนท้องถิ่นมีโครงการลงทุนขนาดใหญ่ ใช้งบประมาณจำนวนมาก ต้องมีการกำกับดูแลเพื่อมิให้ส่งผลกระทบต่อหนี้สาธารณะ ทั้งนี้ เพื่อให้การประมาณการรายได้และรายจ่ายในภาพรวมของประเทศเป็นไปอย่างถูกต้อง มีความครอบคลุม และเหมาะสม
4. แผนงาน/โครงการ ของสํวนราชการและหน่วยงานของรัฐควรให้ความสำคัญกับการเพิ่มผลิตภาพ (Productivity) ของภาคเศรษฐกิจต่างๆ ในส่วนของรายจ่ายประจำควรแสดงถึงการมีส่วนเพิ่มผลิตภาพหรือประสิทธิภาพของระบบราชการ และในส่วนของรายจ่ายลงทุนควรแสดงถึงผลต่อการกระตุ้นการลงทุนของภาครัฐ ภาคเอกชน และการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจเป็นสำคัญ สำหรับการกำหนดยุทธศาสตร์ แผนงานตัวชี้วัด และการจัดสรรงบประมาณ ควรมีความชัดเจนและต่อเนื่อง โดยนำหลัก 3Rs (Review Redeploy Replace) ของสำนักงบประมาณมาเป็นเครื่องมือประกอบการดำเนินการอย่างจริงจัง
5. โครงการระบบสารสนเทศของสํวนราชการที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน เช่น National Single Window ควรมีการบูรณาการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยกำหนดให้มีหน่วยงานเจ้าภาพในการดำเนินการจัดทำภาพรวมงบประมาณในขั้นตอนก่อนเสนอคำขอตั้งงบประมาณ มีการจัดทำระบบอิเล็กทรอนิกส์เพื่อประชาสัมพันธ์หรือให้ข้อมูลความรู้แก่ประชาชนทั่วไปที่สามารถเข้าถึงได้ง่ายและใช้ประโยชน์ได้อย่างแท้จริง
6. การจัดหาวัสดุครุภัณฑ์ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของหนํวยงาน ควรคำนึงถึงประโยชน์และความคุ้มคำในการใช้งาน ในกรณีการเช่าควรนำเงื่อนไขเกี่ยวกับระยะเวลาการเช่า อัตราคำเช่า การบำรุงรักษา และเปรียบเทียบการจัดหาโดยวิธีการจัดซื้อกับวิธีการเช่าว่าวิธีการใดมีความเหมาะสมกับลักษณะงานมาประกอบการพิจารณา โดยคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดและประสิทธิภาพในการดำเนินงานของหน่วยงาน เพื่อเป็นการประหยัดงบประมาณรายจำยของแผํนดิน สำหรับการจัดหาระบบกล๎องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) ของหนํวยงานต่างๆ ควรเป็นไปตามมาตรฐานกลางที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารกำหนด ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2556 แจ้งตามหนังสือสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ดํวนที่สุด ที่ นร0506/ว (ล) 11351 ลงวันที่ 2 พฤษภาคม 2556
7. การขอรับการจัดสรรงบลงทุนของหน่วยงานต่างๆ เช่น กรมโยธาธิการและผังเมือง กรมทางหลวงชนบท กรมทรัพยากรน้ำ กรมทรัพยากรน้ำบาดาล กรมชลประทาน กรมพัฒนาที่ดิน เป็นต้น โดยเฉพาะรายการคำที่ดินและสิ่งก่อสร้างที่ต่ำกว่า 10 ล้านบาท ควรจัดสรรงบประมาณเพื่อดำเนินการให้ครอบคลุม ทุกพื้นที่ตามความจำเป็น โดยคำนึงถึงหลักการกระจายงบประมาณ ไม่ควรกระจุกตัวเฉพาะพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง ทั้งนี้เพื่อให้การพัฒนาในมิติต่างๆ มีความเชื่อมโยงกับโครงข่ายหลักอย่างมีประสิทธิภาพ ก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับประชาชนอย่างทั่วถึง และคุ้มค่ากับงบประมาณแผ่นดิน รวมทั้งควรพิจารณามอบหมายให้หน่วยงานในภูมิภาคดำเนินการสำรวจออกแบบ หรือจัดซื้อจัดจ้างได้ตามอำนาจหน้าที่หรือตามที่ได้รับมอบหมายจากหัวหน้าส่วนราชการแล้วแต่กรณีตามความเหมาะสม เพื่อให้สามารถเบิกจำยงบประมาณได้รวดเร็วขึ้น
8. เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมรองรับการใช้จำยงบประมาณ พ.ศ. 2557 ตั้งแต่ต้นปีงบประมาณและเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการเบิกจ่าย ควรเรํงรัดให้หนํวยงานดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างตามแผนงาน/โครงการของปีงบประมาณ พ.ศ. 2557 ได้ทันทีสำหรับโครงการที่มีความพร้อม และให้หน่วยงานเจ้าของโครงการดำเนินการด้านการมีส่วนร่วมกับประชาชน งานจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน การรื้อย้ายสาธารณูปโภคหรือต้นไม้ที่อาจเป็นอุปสรรคต่อการก่อสร้าง โดยหน่วยงานในภูมิภาคสามารถประสานการดำเนินงานลํวงหน้ากับหน่วยงานภายนอกที่เกี่ยวข้องได้
9. การเช่า-การซื้อรถประจำตำแหน่งของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง หน่วยงานควรคำนึงถึงความจำเป็น และความประสงค์ของผู้ดำรงตำแหนํงทางการเมือง ทั้งนี้ หากหน่วยงานมีความประสงค์จะขอรับการจัดสรรงบประมาณดังกลำว ให้หน่วยงานทำหนังสือยืนยันคำของบประมาณเพื่อประกอบการพิจารณา และในกรณีการจัดหารถยนต์เพื่อทดแทนของเดิม ขอให้ส่วนราชการรายงานการขายทอดตลาดรถยนต์เก่าเพื่อนำเงินส่งคืนคลัง กรณีการเชำหรืองบลงทุนที่มีการผูกพันงบประมาณเริ่มต้นจากแหลํงเงินอื่น อาทิการใช้เงินนอกงบประมาณ ควรพิจารณาดำเนินการเฉพาะที่มีความจำเป็นอย่างแท้จริง เพื่อให้การกำกับดูแลภาระการผูกพันงบประมาณเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
10. ควรบูรณาการแผนหรือหลักสูตรการฝึกอบรมระหว่างหนํวยงานภายในกระทรวง โดยเฉพาะแผนการอบรมเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน กำหนดหลักสูตรที่มีความสอดคล้องและกลุ่มเป้าหมายเดียวกันเพื่อเป็นการประหยัดงบประมาณ และเร่งเสริมสร้างความรู้ เผยแพร่ข้อมูล และผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นให้ประชาชนรับทราบในแง่มุมที่หลากหลาย สำหรับการจัดโครงการฝึกอบรมของหน่วยงานที่มีภารกิจทุกพื้นที่ทั่วประเทศ ควรดำเนินการให้ครอบคลุม ไม่กระจุกตัวอยู่ที่ส่วนกลางหรือกลุ่มเป้าหมายเดียวควรจัดกิจกรรมจำแนกในระดับเขต ระดับภาค หรือระดับจังหวัด จะเป็นการประหยัดงบประมาณค่าเดินทางและคำที่พัก โดยให้ความสำคัญกับกลุ่มที่มีความพร้อมในการพัฒนาเป็นลำดับแรก ในการจัดฝึกอบรมร่วมกัน ต้องไม่มีการใช้และเบิกจ่ายงบประมาณซ้ำซ้อน
11. การจัดหลักสูตรการฝึกอบรม สัมมนาในแต่ละจังหวัด หน่วยงานควรประสานความร่วมมือกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือหน่วยงานในพื้นที่ เพื่อบูรณาการการใช้จำยงบประมาณให้เป็นไปอย่างประหยัด และเกิดประโยชน์สูงสุดตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ และควรประสานงานให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในพื้นที่รับทราบ เพื่อมีส่วนร่วมในการสนับสนุนส่งเสริมการฝึกอบรม และให้ฝ่ายการเมืองมีโอกาสได้รับฟังความคิดเห็น สภาพปัญหา และทิศทางในการปฏิบัติหน่าที่เพื่อการทำงานต่อเนื่องได้เป็นอย่างดี
12. การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ หน่วยงานควรพิจารณาคัดเลือกประเภทสื่อประชาสัมพันธ์รูปแบบ เนื้อหา และช่วงระยะเวลาในการเผยแพร่ให้เหมาะสมสอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมายอย่างแท้จริง รวมทั้งคำนึงถึงการเข้าถึงสื่อได้ง่ายของกลุ่มเป้าหมาย โดยการประชาสัมพันธ์ควรกระจายไปในสื่อต่างๆ ที่น่าสนใจและทันสมัย เพื่อประโยชน์ในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารของประชาชน ทั้งนี้ ควรผลิตสื่อในรูปแบบอื่นๆ แทนการประชาสัมพันธ์โดยใช้สื่อสิ่งพิมพ์ อาทิ แผ่นพับ ใบปลิว เป็นต้น เนื่องจากได้รับความสนใจจากประชาชนน้อยลงในปัจจุบัน แต่อาจใช้กลไกและเครื่องมืออื่นๆ อาทิ การพัฒนาปรับปรุง website ของหน่วยงาน และการสื่อสารทางสังคมออนไลน์รูปแบบต่างๆ
13. หน่วยงานควรมอบหมายและพัฒนาศักยภาพบุคลากรให้สามารถดำเนินการได้เองแทนการจ้าง ที่ปรึกษา เนื่องจากบุคลากรภายในหนํวยงานจำนวนมากเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถ และความเชี่ยวชาญในภารกิจของหน่วยงานมากกว่าที่ปรึกษาที่จ้างมาดำเนินงาน รวมทั้งยังเป็นโอกาสในการพัฒนาและสร้างองค์ความรู้ให้กับบุคลากรของหน่วยงาน สำหรับกรณีมีความจำเป็น การพิจารณาคัดเลือกที่ปรึกษาในประเทศ ต่างประเทศ และสถาบันการศึกษาต่างๆ ควรกำหนดหลักเกณฑ์การคัดเลือก คุณสมบัติ และประสบการณ์ของที่ปรึกษา เพื่อให้ได้ที่ปรึกษาที่มีคุณภาพ ส่งผลให้สามารถนำผลการศึกษาไปใช้ประโยชน์ได้อย่างคุ้มค่า
14. การจัดงบประมาณของทุกหน่วยงาน ควรคำนึงถึงยุทธศาสตร์การเตรียมความพร้อมของประเทศในอนาคต ให้ความสำคัญตํอการพัฒนาคุณภาพชีวิตและสวัสดิการสังคม เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงสู่สังคมผู้สูงอายุ และผลกระทบที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพเศรษฐกิจในภูมิภาค
15. ควรมีการทบทวนการจัดตั้งหน่วยงานในลักษณะที่ได้รับการจัดสรรรายได้จากภาษีโดยไม่ผ่านกระบวนการงบประมาณ เพื่อเป็นการรักษาวินัยทางการคลัง ได้แก่ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ และสถานีโทรทัศน์ ไทยพีบีเอส ที่ได้รับการจัดสรรรายได้จากภาษีสรรพสามิตโดยตรง ทั้งนี้ ภาครัฐควรกำหนดมาตรการการควบคุมไม่ให้เกิดหน่วยงานในลักษณะดังกล่าว และมีการกำกับ ตรวจสอบการดำเนินงานและการใช้จำยเงินของหน่วยงานลักษณะดังกล่าว ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์และเจตนารมย์ของกฎหมาย โดยควรมีการจัดทำและวิเคราะห์งบดุล ตลอดจนแผนการใช้จ่ายอย่างชัดเจนในแต่ละรอบปีงบประมาณ