อนุ กมธ.พัฒนาการเมืองฯ ถกปัญหาการบริจาคเงินให้ ปชป.-ภท.ที่ กคพ.ให้เป็นคดีพิเศษ รอง อสส.แจงเป็นคดีพิเศษ ต้องใช้เสียง 2 ใน 3 ของที่ประชุม กคพ. เผย “ธาริต” รับลูก “เรืองไกร” ชงเข้าถก ชี้คดีซับซ้อน แต่สอบแล้วไม่เป็นตามนั้น ที่ประชุมบี้ดีเอสไอสอบคดีตรงไปตรงมา
วันนี้ (29 ก.ค.) การประชุมคณะอนุกรรมาธิการการพัฒนาการเมือง และการสื่อสารมวลชน สภาผู้แทนราษฎร ที่มีนายวัชระ เพชรทอง ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะประธานอนุกรรมาธิการทำหน้าที่เป็นประธานการประชุมเพื่อพิจารณาปัญหาการบริจาคเงินให้กับพรรคการเมืองของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรณีพรรคประชาธิปัตย์และพรรคภูมิใจไทย โดยเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าชี้แจง โดยที่ประชุมได้ซักถามถึงเหตุผลที่คณะกรรมการคดีพิเศษ หรือ กคพ.ที่มี ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรีในขณะนั้นเป็นประธาน รับเรื่องดังกล่าวเข้าเป็นคดีพิเศษ
นายอรรถพล ใหญ่สว่าง รองอัยการสูงสุด กล่าวว่า ตามข้อกฎหมายการที่คดีใดจะเข้าข่ายเป็นคดีพิเศษหรือไม่นั้นจะต้องเข้าตามหลักพระราชบัญญัติการสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ. 2547 มาตรา 21 วรรค 1 หรือต้องได้รับความเห็นชอบจากในที่ประชุม กคพ. ด้วยคะแนนเสียง 2 ใน 3 แต่จากคดีดังกล่าวเกิดจากการที่นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ เสนอคำร้องของนายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ อดีต ส.ว.สรรหา เข้าสู่ที่ประชุม ซึ่งถือว่าเป็นคดีที่มีความสลับซับซ้อนในการพิจารณา และอาจจะกระทบต่อศีลธรรมอันดีของประชาชน รวมถึงมีความเกี่ยวข้องกับนายตำรวจระดับสูงด้วย พร้อมกันนี้ย้ำว่าถึงคดีดังกล่าวจะเข้าเป็นคดีพิเศษก็ไม่ได้หมายความว่าจะต้องเป็นความผิดด้วย ซึ่งจากการพิจารณาตรวจสอบข้อเท็จจริงพบว่าคดีดังกล่าวไม่ได้มีความสลับซับซ้อนตามที่ได้ระบุไว้
นอกจากนี้ รองอัยการสูงสุดยังกล่าวอีกว่า ในที่ประชุม กคพ.ไม่ได้มีการหารือกันถึงรายละเอียดคดี รวมถึงได้มีการแยกพิจารณาคดีระหว่างคดี ส.ส.บริจาคเงินให้พรรคการเมือง และเงินบริจาคให้ผู้ประสบอุทุกภัยของพรรคประชาธิปัตย์
อย่างไรก็ตาม ที่ประชุมเรียกร้องไปยังกรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือดีเอสไอ ให้พิจารณาตรวจสอบคดีอย่างตรงไปตรงมา และยึดมั่นในหลักกฎหมายด้วย
วันนี้ (29 ก.ค.) การประชุมคณะอนุกรรมาธิการการพัฒนาการเมือง และการสื่อสารมวลชน สภาผู้แทนราษฎร ที่มีนายวัชระ เพชรทอง ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะประธานอนุกรรมาธิการทำหน้าที่เป็นประธานการประชุมเพื่อพิจารณาปัญหาการบริจาคเงินให้กับพรรคการเมืองของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรณีพรรคประชาธิปัตย์และพรรคภูมิใจไทย โดยเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าชี้แจง โดยที่ประชุมได้ซักถามถึงเหตุผลที่คณะกรรมการคดีพิเศษ หรือ กคพ.ที่มี ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรีในขณะนั้นเป็นประธาน รับเรื่องดังกล่าวเข้าเป็นคดีพิเศษ
นายอรรถพล ใหญ่สว่าง รองอัยการสูงสุด กล่าวว่า ตามข้อกฎหมายการที่คดีใดจะเข้าข่ายเป็นคดีพิเศษหรือไม่นั้นจะต้องเข้าตามหลักพระราชบัญญัติการสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ. 2547 มาตรา 21 วรรค 1 หรือต้องได้รับความเห็นชอบจากในที่ประชุม กคพ. ด้วยคะแนนเสียง 2 ใน 3 แต่จากคดีดังกล่าวเกิดจากการที่นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ เสนอคำร้องของนายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ อดีต ส.ว.สรรหา เข้าสู่ที่ประชุม ซึ่งถือว่าเป็นคดีที่มีความสลับซับซ้อนในการพิจารณา และอาจจะกระทบต่อศีลธรรมอันดีของประชาชน รวมถึงมีความเกี่ยวข้องกับนายตำรวจระดับสูงด้วย พร้อมกันนี้ย้ำว่าถึงคดีดังกล่าวจะเข้าเป็นคดีพิเศษก็ไม่ได้หมายความว่าจะต้องเป็นความผิดด้วย ซึ่งจากการพิจารณาตรวจสอบข้อเท็จจริงพบว่าคดีดังกล่าวไม่ได้มีความสลับซับซ้อนตามที่ได้ระบุไว้
นอกจากนี้ รองอัยการสูงสุดยังกล่าวอีกว่า ในที่ประชุม กคพ.ไม่ได้มีการหารือกันถึงรายละเอียดคดี รวมถึงได้มีการแยกพิจารณาคดีระหว่างคดี ส.ส.บริจาคเงินให้พรรคการเมือง และเงินบริจาคให้ผู้ประสบอุทุกภัยของพรรคประชาธิปัตย์
อย่างไรก็ตาม ที่ประชุมเรียกร้องไปยังกรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือดีเอสไอ ให้พิจารณาตรวจสอบคดีอย่างตรงไปตรงมา และยึดมั่นในหลักกฎหมายด้วย