สมัชชาองค์กรเอกชนฯ ออกแถลงการณ์ข้อเสนอรับฟังความคิดเห็นโครงการเงินกู้ 3.5 แสนล้านจัดการน้ำ ร้องรัฐบาลแต่งตั้งคณะกรรมการรับฟังความคิดเห็นเป็นกลาง จัดเวที 9 แผนงานทุกจังหวัด และระดับโมดูล ให้ประชาชนที่ได้รับผลกระทบเป็นกลุ่มเป้าหมายหลักแสดงความคิดเห็น และต้องเผยแพร่ข้อมูลรอบด้าน และต้องประกาศผลสรุปอย่างทั่วถึง
วันนี้ (25 ก.ค.) นายหาญณรงค์ เยาวเลิศ ประธานกรรมการสมัชชาองค์กรเอกชน ด้านการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ออกแถลงการณ์ข้อเสนอการรับฟังความคิดเห็นอย่างทั่วถึง กรณีเงินกู้ 3.5 แสนล้านบาท ระบุว่า จากการที่ศาลปกครองกลางมีคำพิพากษาคดีการบริหารจัดการน้ำวงเงิน 3.5 แสนล้านบาท เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2556 ที่ผ่านมา ให้ผู้ถูกฟ้องคดีปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา 57 วรรคสอง และมาตรา 67 วรรคสองของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย กำหนดให้ต้องปฏิบัติ ด้วยการนำแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำไปดำเนินการจัดให้มีกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนอย่างทั่วถึง ตามเจตนารมณ์ของส่วนที่ 10 สิทธิในข้อมูลข่าวสารและการร้องเรียน ดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดให้มีการศึกษาและจัดให้มีกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ตามเจตนารมณ์ของส่วนที่ 12 สิทธิชุมชน ซึ่งอยู่ในหมวด 3 สิทธิเสรีภาพของปวงชนชาวไทยของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ทั้งนี้ก่อนที่จะดำเนินการจ้างออกแบบและก่อสร้างแต่ละแผนงาน (Module)
ที่ผ่านมาผู้รับผิดชอบในเรื่องนี้ได้ออกมาให้ข่าวต่อสาธารณะในวิธีการรับฟังที่แตกต่างกัน แล้วแต่โอกาสและการเสนอข่าว แต่เกรงว่าจะทำให้ประชาชนสับสนและเป็นไปตามแนวทางที่ศาลปกครองกลางได้มีคำพิพากษามาแล้วข้างต้นแล้วนั้น
เพื่อให้การดำเนินงานดังกล่าวรับรองสิทธิเสรีภาพอย่างเป็นรูปธรรมและเกิดผลประโยชน์สูงสุดกับประชาชนโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับผู้ที่ได้รับผลกระทบในแต่ละแผนงาน (Module)
สมัชชาฯ จึงขอเรียกร้องต่อรัฐบาลและผู้รับผิดชอบต่อการบริหารจัดการน้ำดังกล่าว ในการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ในกรณีการบริหารจัดการน้ำวงเงิน 3.5 แสนล้านบาท ดังนี้
1. ให้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการรับฟังความคิดเห็นที่มีความเป็นกลางและองค์ประกอบที่หลากหลาย เช่น ภาควิชาการ ภาคประชาสังคม ภาควิชาชีพ เป็นต้น
2. ควรจัดให้มีเวทีรับฟังความคิดเห็นระดับแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ (9 แผนงานประกอบกัน) ในทุกจังหวัด เพราะแผนดังกล่าวอาจมีผลกระทบต่อส่วนได้เสียสำคัญของประชาชน
3. ควรจัดให้มีเวทีรับฟังความคิดเห็นระดับโครงการในแต่ละแผนงาน (Module) เฉพาะโครงการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง ทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ
4. ให้ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการดำเนินการตามแผนแม่บท/โครงการในแต่ละแผนงาน (Module) ต้องเป็นกลุ่มเป้าหมายหลักในการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็น
5. การปฏิบัติก่อนการรับฟังความคิดเห็นต้องเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับแผนแม่บทหารบริหารจัดการน้ำในโครงการต่างๆ และในแต่ละแผนงาน (Module) ดังต่อไปนี้
- เหตุผลความจำเป็นของการมีโครงการและวัตถุประสงค์ของแผนงานหรือโครงการ
- รายละเอียดสาระสำคัญของแผนงาน (Module) หรือโครงการ
- ผู้ดำเนินการเป็นองค์กรหรือหน่วยงานใด
- สถานที่หรือขอบเขตที่จะดำเนินการ
- ขั้นตอนและระยะเวลาดำเนินการ
- ผลผลิตและผลลัพธ์ของโครงการ
- ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นแก่ประชาชนที่อยู่อาศัยหรือประกอบอาชีพอยู่ในสถานที่ที่จะดำเนินแผนงานหรือโครงการและพื้นที่ใกล้เคียงและประชาชนทั่วไป รวมทั้งมาตรการป้องกันแก้ไขหรือเยียวยาความเดือดร้อนหรือความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากผลกระทบดังกล่าว
- ประมาณการค่าใช้จ่ายในกรณีที่หน่วยงานของรัฐจะเป็นผู้ดำเนินโครงการของรัฐเองให้ระบุที่มาของเงินที่จะนำมาใช้จ่ายในการดำเนินโครงการนั้นด้วย
6. การประกาศเพื่อจัดให้มีเวทีรับฟังความคิดเห็นต้องแจ้งให้ประชาชนรับรู้อย่างทั่วถึงผ่านสื่อสาธารณะ โดยเนื้อหาในประกาศประกอบด้วย วิธีการรับฟังความคิดเห็น กำหนดสถานที่ในการรับฟังแต่ละครั้ง กำหนดระยะเวลาในการรับฟัง ผู้รับผิดชอบในการรับฟัง เป็นต้น
7. การจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นต้องเปิดโอกาสให้ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการดำเนินการตามแผนแม่บท โครงการในแต่ละแผนงาน (Module) ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายได้แสดงความคิดเห็นเป็นหลัก
8. ผลสรุปจากเวทีรับฟังความคิดเห็นของประชาชนต้องประกาศให้ทราบอย่างทั่วถึง และควรนำผลการแสดงความคิดเห็นสู่การปรับปรุงแผนงานต่อไป หลังจากการรับฟังความคิดเห็นแล้วเสร็จ
สมัชชาองค์กรเอกชนฯ และองค์กรเครือข่ายสมาชิก จะติดตามการดำเนินการของรัฐบาลและผู้ที่เกี่ยวข้องจนกว่ากระบวนการดำเนินการแล้วเสร็จ เพื่อให้เป็นไปตามกรอบข้อกฎหมายและระเบียบพึงปฏิบัติที่มีหลักธรรมาภิบาลด้วยทุกขั้นตอนต่อไป
วันนี้ (25 ก.ค.) นายหาญณรงค์ เยาวเลิศ ประธานกรรมการสมัชชาองค์กรเอกชน ด้านการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ออกแถลงการณ์ข้อเสนอการรับฟังความคิดเห็นอย่างทั่วถึง กรณีเงินกู้ 3.5 แสนล้านบาท ระบุว่า จากการที่ศาลปกครองกลางมีคำพิพากษาคดีการบริหารจัดการน้ำวงเงิน 3.5 แสนล้านบาท เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2556 ที่ผ่านมา ให้ผู้ถูกฟ้องคดีปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา 57 วรรคสอง และมาตรา 67 วรรคสองของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย กำหนดให้ต้องปฏิบัติ ด้วยการนำแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำไปดำเนินการจัดให้มีกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนอย่างทั่วถึง ตามเจตนารมณ์ของส่วนที่ 10 สิทธิในข้อมูลข่าวสารและการร้องเรียน ดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดให้มีการศึกษาและจัดให้มีกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ตามเจตนารมณ์ของส่วนที่ 12 สิทธิชุมชน ซึ่งอยู่ในหมวด 3 สิทธิเสรีภาพของปวงชนชาวไทยของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ทั้งนี้ก่อนที่จะดำเนินการจ้างออกแบบและก่อสร้างแต่ละแผนงาน (Module)
ที่ผ่านมาผู้รับผิดชอบในเรื่องนี้ได้ออกมาให้ข่าวต่อสาธารณะในวิธีการรับฟังที่แตกต่างกัน แล้วแต่โอกาสและการเสนอข่าว แต่เกรงว่าจะทำให้ประชาชนสับสนและเป็นไปตามแนวทางที่ศาลปกครองกลางได้มีคำพิพากษามาแล้วข้างต้นแล้วนั้น
เพื่อให้การดำเนินงานดังกล่าวรับรองสิทธิเสรีภาพอย่างเป็นรูปธรรมและเกิดผลประโยชน์สูงสุดกับประชาชนโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับผู้ที่ได้รับผลกระทบในแต่ละแผนงาน (Module)
สมัชชาฯ จึงขอเรียกร้องต่อรัฐบาลและผู้รับผิดชอบต่อการบริหารจัดการน้ำดังกล่าว ในการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ในกรณีการบริหารจัดการน้ำวงเงิน 3.5 แสนล้านบาท ดังนี้
1. ให้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการรับฟังความคิดเห็นที่มีความเป็นกลางและองค์ประกอบที่หลากหลาย เช่น ภาควิชาการ ภาคประชาสังคม ภาควิชาชีพ เป็นต้น
2. ควรจัดให้มีเวทีรับฟังความคิดเห็นระดับแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ (9 แผนงานประกอบกัน) ในทุกจังหวัด เพราะแผนดังกล่าวอาจมีผลกระทบต่อส่วนได้เสียสำคัญของประชาชน
3. ควรจัดให้มีเวทีรับฟังความคิดเห็นระดับโครงการในแต่ละแผนงาน (Module) เฉพาะโครงการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง ทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ
4. ให้ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการดำเนินการตามแผนแม่บท/โครงการในแต่ละแผนงาน (Module) ต้องเป็นกลุ่มเป้าหมายหลักในการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็น
5. การปฏิบัติก่อนการรับฟังความคิดเห็นต้องเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับแผนแม่บทหารบริหารจัดการน้ำในโครงการต่างๆ และในแต่ละแผนงาน (Module) ดังต่อไปนี้
- เหตุผลความจำเป็นของการมีโครงการและวัตถุประสงค์ของแผนงานหรือโครงการ
- รายละเอียดสาระสำคัญของแผนงาน (Module) หรือโครงการ
- ผู้ดำเนินการเป็นองค์กรหรือหน่วยงานใด
- สถานที่หรือขอบเขตที่จะดำเนินการ
- ขั้นตอนและระยะเวลาดำเนินการ
- ผลผลิตและผลลัพธ์ของโครงการ
- ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นแก่ประชาชนที่อยู่อาศัยหรือประกอบอาชีพอยู่ในสถานที่ที่จะดำเนินแผนงานหรือโครงการและพื้นที่ใกล้เคียงและประชาชนทั่วไป รวมทั้งมาตรการป้องกันแก้ไขหรือเยียวยาความเดือดร้อนหรือความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากผลกระทบดังกล่าว
- ประมาณการค่าใช้จ่ายในกรณีที่หน่วยงานของรัฐจะเป็นผู้ดำเนินโครงการของรัฐเองให้ระบุที่มาของเงินที่จะนำมาใช้จ่ายในการดำเนินโครงการนั้นด้วย
6. การประกาศเพื่อจัดให้มีเวทีรับฟังความคิดเห็นต้องแจ้งให้ประชาชนรับรู้อย่างทั่วถึงผ่านสื่อสาธารณะ โดยเนื้อหาในประกาศประกอบด้วย วิธีการรับฟังความคิดเห็น กำหนดสถานที่ในการรับฟังแต่ละครั้ง กำหนดระยะเวลาในการรับฟัง ผู้รับผิดชอบในการรับฟัง เป็นต้น
7. การจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นต้องเปิดโอกาสให้ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการดำเนินการตามแผนแม่บท โครงการในแต่ละแผนงาน (Module) ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายได้แสดงความคิดเห็นเป็นหลัก
8. ผลสรุปจากเวทีรับฟังความคิดเห็นของประชาชนต้องประกาศให้ทราบอย่างทั่วถึง และควรนำผลการแสดงความคิดเห็นสู่การปรับปรุงแผนงานต่อไป หลังจากการรับฟังความคิดเห็นแล้วเสร็จ
สมัชชาองค์กรเอกชนฯ และองค์กรเครือข่ายสมาชิก จะติดตามการดำเนินการของรัฐบาลและผู้ที่เกี่ยวข้องจนกว่ากระบวนการดำเนินการแล้วเสร็จ เพื่อให้เป็นไปตามกรอบข้อกฎหมายและระเบียบพึงปฏิบัติที่มีหลักธรรมาภิบาลด้วยทุกขั้นตอนต่อไป