ผ่าประเด็นร้อน
ข่าวร้ายล่าสุดสำหรับพี่น้องคนไทยก็คือ บริษัทน้ำมันเชลล์ได้ประกาศปรับขึ้นราคาขายปลีกน้ำมันทุกชนิดอีกลิตรละ 40 สตางค์ ส่งผลให้ราคาน้ำมันดีเซลที่คนไทยส่วนใหญ่ที่รวมถึงเกษตรกรต้องใช้มีราคาพุ่งขึ้นไปถึงลิตรละ 30.49 บาทแล้ว ก้ต้องจับตาดูว่า บริษัท ปตท.กับบางจาก จะสามารถตรึงราคาดีเซลไม่ให้เกินราคาลิตรละ 30 บาทได้หรือไม่ เพราะหากอ้างว่าทุกอย่างต้องเป็นไปตามกลไกตลาด ต้องสะท้อน “ต้นทุนที่แท้จริง” และละก็หายนะแน่พี่น้อง
เพราะหากราคาน้ำมันดีเซลทะลุเกินลิตรละ 30 บาท เมื่อไร นั่นก็เท่ากับว่า ราคาสินค้าที่เข้าเงื่อนไขต่อรองขอร้องกันเอาไว้ว่าให้ “อั้น” ราคาเอาไว้ก่อน หากราคาน้ำมันยังไม่ทุลุเพดานดังกล่าว แต่เท่าที่เห็นเมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมาได้เห็นความเคลื่อนไหวของผู้ประกอบการเดินเรือโดยสารขอปรับราคาเพิ่มขึ้นอีก 2 บาท และกลุ่มผู้ขับรถแท็กซี่ขอปรับค่ามิเตอร์จากเริ่มมต้นที่ 35 บาท ขอเพิ่มเป็น 40 บาท แต่ก็ยังไม่ไฟเขียว โดยเฉพาะราคาค่าเรือโดยสารที่ฝ่ายกรมเจ้าท่ายืนยันว่าในเมื่อราคาน้ำมันดีเซลยังไม่เกินลิตรละ 30 บาท ก็ยังปรับขึ้นราคาไม่ได้
นั่นคือสัญญาณหายนะที่กำลังรออยู่ตรงหน้า ก็ได้แต่หวังว่ารัฐบาลจะสามารถสั่งให้บริษัท ปตท. และบางจากสามารถตรึงราคาน้ำมันดีเซลเอาไว้ได้ก็แล้วกัน แต่ถึงอย่างไรไม่ว่าจะตรึงราคาไปได้อีกนานแค่ไหนก็ตาม ในที่สุดแล้วก็ต้องมีการปรับราคาขึ้นอยู่ดี หลังจากที่รัฐบาลไฟเขียวให้เก็บภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซลลิตรละ 1.50 บาท ในเดือนตุลาคม ซึ่งผู้เชี่ยวชาญฟันธงว่าหลังจากนั้น 3-4 เดือนก็ต้องมีการปรับราคาน้ำมันดีเซลจนทะลุเพดานลิตรละ 30 บาทอย่างแน่นอน
อย่างไรก็ดียังไม่เกี่ยวข้องกับกรณีที่รัฐบาลต้องขึ้นราคาก๊าซหุงต้มในภาคครัวเรือนที่ตามข่าวขอกว่าจะปรับราคาใหม่ในเดือนกรกฎาคมนี้ ลองหลับตานึกภาพดูเอาเองก็แล้วกันว่ามันจะโกลาหลขนาดไหน และแม้ว่าได้ฟังคำชี้แจงของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กิตติรัตน์ ณ ระนอง ที่เป็นหัวหน้าทีมเศรษฐกิจของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ชี้แจงระหว่างการประชุมสภาเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2557 โดยเรียกร้องให้ชาวบ้าน "ทำใจ" และยอมรับกับความจริงเรื่อง “สินค้าแพง” และ “ต้นทุนแพง” โดยอ้างในเรื่องกลไกตลาดตามความเป้นจริง พร้อมทั้งยืนยันว่า รัฐบาลไม่ได้ทอดทิ้งคนจน ขณะเดียวกันยังอ้างว่าการบริหารเศรษฐกิจของรัฐบาลปัจจุบันต่างจากรัฐบาลชุดก่อนก็คือ รัฐบาลยิ่งลักษณ์ เน้นในเรื่องเศรษฐกิจระดับ “มหภาค” นั้น เน้นในเรื่อง “ภาพใหญ่” เชื่อมโยงกับทุนต่างประเทศ รวมทั้งการลงทุนโครงการขนาดใหญ่อย่างที่กำลังดำเนินการกันอยู่
ความหมายก็คือ ภายใต้การบริหารของพวกเขาก็คือระบบเศรษฐกิจก็จะอยู่ในมือของกลุ่มทุนยักษ์ใหญ่ ขณะที่กลุ่มทุนขนาดกลางและขนาดเล็ก ภายในประเทศก็จะเข่งขันลำบาก ภายใต้ระบบที่มีการผูกขาดและทุจริตฉ้อฉลอย่างที่เป็นอยู่ มันก็ไม่ต่างจากระบบ “มือใครยาวสาวได้สาวเอา” หรือปลาใหญ่กินปลาเล็ก ใครที่อ่อนแอก้จะเข่งขันลำบาก กำลังเข้าสู่ระบบ “ทุนสามานย์” เต็มขั้นแล้ว
เมื่อวกกลับมาที่เรื่องของแพงอย่างที่เป็นอยู่ มันก็สะท้อนให้เห็นถึงความล้มเหลวของรัฐบาลนี้อย่างสิ้นเชิงเพราะจากการสำรวจจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะพบว่าราคาข้าวของแทบทุกอย่าง “แพง” ขึ้นจริง ไม่ใช่เป็นความรู้สึกอย่างที่คนในรัฐบาลชอบอ้าง หรือว่าเป็นราคาแพงตามฤดูกาลแต่อย่างใดไม่
หลายคนอาจมองว่า เรื่องพระราชบัญญัติปรองดองแบบ “สุดซอย” ของ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรีอาสารับงานมาเพื่อลบล้างความผิดและคืนเงินให้กับ ทักษิณ ชินวัตร จะเป็นตัวเร่งให้ “ระบบอบทักษิณ” พังทลายเร็วขึ้นก็ตาม เพราะถือว่าได้ทำให้ชาวบ้านได้รู้ซึ้งถึงความเห็นแก่ตัวเอาเปรียบของคนในครอบครัวนี้มากขึ้น โดยเฉพาะหากร่างพระราชบัญญํติดังกล่าวผ่านสภามีผลบังคับใช้ ก็ย่อมหมายความว่า ทุกคนทุกฝ่าย “หลุดหมด” ซึ่งก็หมายรวมถึง อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ-สุเทพ เทือกสุบรรณและนายทหารที่อยู่ในเหตุการณ์สลายการชุมนุมคนเสื้อแดงเมื่อเดือนพฤษภาคม 2553 ที่คนเสื้อแดงเข้าใจว่าเป็น “ฆาตกร” และคนเหนี่ยวไกยิงประชาชนก็ได้พ้นความผิดไปด้วย
บรรดาคนเสื้อแดง โดยเฉพาะบรรดาญาติของผู้ที่เสียชีวิต บาดเจ็บพิการในเหตุการณ์ดังกล่าวจะรับได้แค่ไหน แม้คนหากจะประเมินตามความเป็นจริงบรรดาคนเสื้อแดงกลุ่มนี้อาจจะมีจำนวนแค่หยิบมืออาจไม่สร้างแรงสั่นสะเทือนให้กับ ทักษิณ ชินวัตร และรัฐบาลมากนัก แต่ก้ไม่อาจประมาทได้เป็นอันขาดเพราะคนเราถ้าลองเสื่อมศรัทธากันแล้วมันก็ยิ่งลุกลามออกไปได้เร็วและยิ่งกับคนกันเองด้วยกันแล้วมันก็ยิ่งเกิดภาพลบเห็นชัดมากชึ้น
ขณะเดียวกัน หากพิจารณากันตาความเป็นจริงแล้ว สิ่งที่จะเป็นชนวนทำให้รัฐบาล ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร สั่นสะเทือนจนสูญเสียความชอบธรรมเข้าขั้นวิกฤตก็ต้องย้ำว่ามาจากเรื่อง “ปากท้อง” นี่แหละเป็นเรื่องหลักและเวลาผ่านมา 2 ปี ชาวบ้านก็เริ่มรับรู้มากขึ้นเรื่อยๆแล้วว่า เอาเข้าจริงก็เป็นแค่ “ของปลอม” มีแต่ราคาคุย ที่ผ่านมาใช้วิธีโทษอำมาตย์ กล่าวหาพวกเผด็จการขัดขวาง แต่เมื่อเวลาผ่านไปทุกอย่างเป็นความ “ห่วย” ส่วนตัวทั้งสิ้น ไล่ลงไปตั้งแต่นายกรัฐมนตรี ที่เป็นครั้งแรกที่ถูกตั้งข้อสงสัยเรื่อง “สติปัญญา” ส่วนเรื่องปัญหาร่างพระราชบัญญัติปรองดอง และการแก้ไขรัฐธรรมนูญหากยังดึงดันมันก็จะเป้นตัวเร่งอารมณ์โกรธจากสังคมให้พังเร็วขึ้นเท่านั้นเอง!!