อดีต ปธ.กก.ผันน้ำทางทะเล ศปภ.นัดยื่นหนังสือสหประชาชาติ จันทร์นี้ สอบ กบอ. กู้ 3.5 แสนล้านทำทีโออาร์จัดการน้ำส่อโกง ขัดอนุสัญญาฯ ว่าด้วยต้านทุจริต
วันนี้ (19 เม.ย.) ที่รัฐสภา นายอุเทน ชาติภิญโญ อดีตประธานคณะกรรมการผันน้ำทางทะเล ศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ.) เปิดเผยว่า ในวันที่ 22 เมษายน เวลา 10.30 น.จะยื่นหนังสือต่อองค์การสหประชาชาติ (ยูเอ็น) เพื่อขอให้ตรวจสอบคณะกรรมการบริหารจัดการน้ำและอุทกภัย (กบอ.) ที่ได้ออกพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) กู้เงิน 3.5 แสนล้าน เพื่อบริหารจัดการน้ำ โดยการออกทีโออาร์ในโครงการดังกล่าว อาจนำมาซึ่งการทุจริตคอร์รัปชัน ซึ่งอาจไม่ชอบด้วยอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการทุจริต พ.ศ. 2546 (UNCAC 2003) ซึ่งประเทศไทยเป็นรัฐภาคีและได้ให้สัตยาบันไว้ในอนุสัญญาดังกล่าวเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2554 และอาจไม่สอดคล้อง ขัดเจตนารมณ์ที่ที่ยูเอ็นได้ประกาศไว้ในอนุสัญญาฯ
นายอุเทนกล่าวว่า ซึ่งอนุสัญญาฯ เป็นความตกลงระหว่างประเทศเกี่ยวกับการต่อต้านการทุจริตที่เป็นสากลและมีเนื้อหาครอบคลุมทุกด้านของการป้องกันและปราบปรามการทุจริต อันเป็นผลมาจากความพยายามของประเทศสมาชิกที่จะร่วมกันแก้ไขปัญหาการทุจริตอย่างจริงจังและเป็นระบบ ทั้งนี้อนุสัญญาฯมีภาคีสมาชิกทั้งหมด 150 ประเทศ และประเทศไทยเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาฯ ลำดับที่ 149
นายอุเทนระบุอีกว่า ทั้งนี้ยุทธศาสตร์หลักลำดับแรกที่ระบุไว้ในอนุสัญญา ได้แก่ การที่รัฐภาคีจะต้องกำหนดแนวนโยบายทางด้านการป้องกันการทุจริตคอร์รัปชันในทุกภาคส่วนของสังคม ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนโดยให้ความสำคัญอย่างเท่าเทียมกัน ทั้งนี้ โดยมีเหตุผลที่ว่าหากทุกภาคส่วนของสังคมได้ตระหนักถึงภัยร้าย และความเสียหายที่เกิดจากการทุจริตคอร์รัปชั่น และเข้ามามีส่วนร่วมในการต่อต้านการทุจริตตามบทบาทที่เหมาะสม โอกาสที่ปัญหาดังกล่าวจะเกิดขึ้นย่อมลดน้อยลง ในขณะเดียวกันก็จะต้องมีมาตรการที่เข้มงวดจริงจังในการปราบปรามปัญหาการทุจริตที่เกิดขึ้นแล้วควบคู่กันไปด้วย และยุทธศาสตร์ประการถัดมาของอนุสัญญา ก็คือ การกำหนดให้การทุจริตคอร์รัปชันเป็นการกระทำผิดกฎหมายที่มีโทษทางอาญา โดยรัฐภาคีจะต้องบัญญัติกฎหมายภายในเพื่อรองรับโดยให้ครอบคลุมถึงการกระทำผิดของเจ้าหน้าที่รัฐต่างประเทศ และองค์การระหว่างประเทศอีกด้วย
วันนี้ (19 เม.ย.) ที่รัฐสภา นายอุเทน ชาติภิญโญ อดีตประธานคณะกรรมการผันน้ำทางทะเล ศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ.) เปิดเผยว่า ในวันที่ 22 เมษายน เวลา 10.30 น.จะยื่นหนังสือต่อองค์การสหประชาชาติ (ยูเอ็น) เพื่อขอให้ตรวจสอบคณะกรรมการบริหารจัดการน้ำและอุทกภัย (กบอ.) ที่ได้ออกพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) กู้เงิน 3.5 แสนล้าน เพื่อบริหารจัดการน้ำ โดยการออกทีโออาร์ในโครงการดังกล่าว อาจนำมาซึ่งการทุจริตคอร์รัปชัน ซึ่งอาจไม่ชอบด้วยอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการทุจริต พ.ศ. 2546 (UNCAC 2003) ซึ่งประเทศไทยเป็นรัฐภาคีและได้ให้สัตยาบันไว้ในอนุสัญญาดังกล่าวเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2554 และอาจไม่สอดคล้อง ขัดเจตนารมณ์ที่ที่ยูเอ็นได้ประกาศไว้ในอนุสัญญาฯ
นายอุเทนกล่าวว่า ซึ่งอนุสัญญาฯ เป็นความตกลงระหว่างประเทศเกี่ยวกับการต่อต้านการทุจริตที่เป็นสากลและมีเนื้อหาครอบคลุมทุกด้านของการป้องกันและปราบปรามการทุจริต อันเป็นผลมาจากความพยายามของประเทศสมาชิกที่จะร่วมกันแก้ไขปัญหาการทุจริตอย่างจริงจังและเป็นระบบ ทั้งนี้อนุสัญญาฯมีภาคีสมาชิกทั้งหมด 150 ประเทศ และประเทศไทยเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาฯ ลำดับที่ 149
นายอุเทนระบุอีกว่า ทั้งนี้ยุทธศาสตร์หลักลำดับแรกที่ระบุไว้ในอนุสัญญา ได้แก่ การที่รัฐภาคีจะต้องกำหนดแนวนโยบายทางด้านการป้องกันการทุจริตคอร์รัปชันในทุกภาคส่วนของสังคม ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนโดยให้ความสำคัญอย่างเท่าเทียมกัน ทั้งนี้ โดยมีเหตุผลที่ว่าหากทุกภาคส่วนของสังคมได้ตระหนักถึงภัยร้าย และความเสียหายที่เกิดจากการทุจริตคอร์รัปชั่น และเข้ามามีส่วนร่วมในการต่อต้านการทุจริตตามบทบาทที่เหมาะสม โอกาสที่ปัญหาดังกล่าวจะเกิดขึ้นย่อมลดน้อยลง ในขณะเดียวกันก็จะต้องมีมาตรการที่เข้มงวดจริงจังในการปราบปรามปัญหาการทุจริตที่เกิดขึ้นแล้วควบคู่กันไปด้วย และยุทธศาสตร์ประการถัดมาของอนุสัญญา ก็คือ การกำหนดให้การทุจริตคอร์รัปชันเป็นการกระทำผิดกฎหมายที่มีโทษทางอาญา โดยรัฐภาคีจะต้องบัญญัติกฎหมายภายในเพื่อรองรับโดยให้ครอบคลุมถึงการกระทำผิดของเจ้าหน้าที่รัฐต่างประเทศ และองค์การระหว่างประเทศอีกด้วย