xs
xsm
sm
md
lg

มติวุฒิสภาเอกฉันท์ผ่าน กม.ปราบองค์กรอาชญากรข้ามชาติ

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


วุฒิสภาผ่านร่าง พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการส่วนร่วมในองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ พร้อมเห็นชอบตามข้อสังเกตุ กมธ. 5 ประเด็น

วันนี้ (19 เม.ย.) ที่รัฐสภา ในการประชุมวุฒิสภา ที่มี นายนิคม ไวยรัชพานิช ประธานวุฒิสภา ทำหน้าที่ประธาน ได้มีมติผ่านร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ป้องกันและปราบปรามการส่วนร่วมในองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ พ.ศ... ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาแล้วเสร็จ ด้วยเสียงเอกฉันท์ 80 เสียง และได้เห็นชอบข้อสังเกต ตามที่คณะกรรมาธิการได้จัดทำ

โดยข้อสังเกตของกรรมาธิการฯ มีทั้งหมด 5ประเด็น ได้แก่ 1.คำนิยามคำว่า “ความผิดร้ายแรง” ตามร่างมาตรา 3 นั้น ที่กำหนดความผิดอาญาโทษจำคุกสูงสุด 4 ปีขึ้นไปหรือโทษสถานหนักกกว่า ถือเป็นอัตราโทษที่ต่ำเกินไป และอาจส่งผลกระทบต่อผู้กระทำความผิดอาญาที่ไม่ร้ายแรง เช่น ความผิดฐานนำเข้า ส่งออกสัตว์ผิดกฎหมาย ที่มีโทษความผิดจำคุก 4 ปี ทั้งที่ไม่เป็นลักษณะขององค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ ซึ่งอาจไม่ตรงกับเจตนารมย์ของร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้, 2.บทนิยามคำว่า “พนักงานสอบสวน” หมายถึงพนักงานผู้มีอำนาจสอบสวนคดีอาญาว่าด้วยความผิดที่มีลักษณะเป็นองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ หมายถึงพนักงานสอบสวนที่มีอำนาจสอบสวนคดีอาญาทุกประเภท ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 17 ประกอบมาตรา2(7), 3. การออกข้อบังคับเพื่อปฏิบัติการเกี่ยวกับการป้องกนและปราบปรามการมีส่วนร่วมในอาชญากรรมข้ามชาติ ตามร่างมาตรา 4 ระบุให้อัยการสูงสุดเป็นผู้มีอำนาจออกข้อบังคับนั้น อัยการสูงสุดควรให้หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเป็นที่ปรึกษาและหารือแนวทางร่วมกันเพื่อให้เกิดความรอบคอบและประโยชน์ของการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงาน

และ 5.การสืบสวนและสอบสวนการกระทำความผิดฐานมีส่วนร่วมในองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ ตามมาตรา 14 ระบุให้อำนาจพนักงานสอบสวนหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ในการเข้าไปในเคหสถานหรือสถานที่อื่นโดยไม่มีหมายค้น หากมีเหตุอันควรสงสัยหรือเชื่อได้ว่ามีทรัพย์สินที่เป็นความผิด, ได้มาโดยกระทำผิด, ได้ใช้หรือจะใช้ในการกระทำความผิดซุกซ่อนอยู่ในเคหสถาน หากปล่อยให้เนิ่นช้า ทรัพย์สินหรือพยานหลักฐานอาจถูกย้าย ซุกซ่อน ทำลายหรือทำให้เปลี่ยนไปจากสภาพเดิม ซึ่งตามบทบัญญัติดังกล่าวอาจทำให้เกิดปัญหาต่อการใช้ดุลยพินิจของพนักงานสอบสวนหรือเจ้าหน้าที่ตรวจค้น จับกุม และกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของประชาชนตามที่รัฐธรรมนูญรับรองไว้ ดังนั้นควรมีมาตรการควบคุมการใช้ดุลยพินิจของพนักงานหรือเจ้าหน้าที่เพื่อคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนไว้ด้วย


กำลังโหลดความคิดเห็น