สมาคมนักข่าวจัดเสวนาสื่อกับไฟใต้ บก.ศูนย์ใต้อิศราฯ เผยฝั่งทหารไม่เห็นด้วยรัฐเจรจาบีอาร์เอ็น หากโดนโจมตีหนักอาจมีเบรก ชี้หลงประเด็นปัญหาการปกครองมากกว่าความไม่เป็นธรรมจาก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน เสนอถอนหมายจับ-ปรับกระบวนการยุติธรรม “เจ๊เด้ง เอเอฟพี” ปูดเจรจาบีอาร์เอ็นไม่ราบรื่น ชี้รอฝุ่นหายตลบจะเห็นความจริง ซัดรัฐไม่เข้าใจไฟใต้ มัวแต่หาเรื่องกู้ 2 ล้านล้าน-ชำเรา รธน.
วันนี้ (4 เม.ย.) ที่สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ถนนสามเสน เมื่อเวลา 10.00 น.มีการเปิดเวที “ราชดำเนินสนทนา” ครั้งที่ 1 หัวข้อ “ดับเพลิงหรือโหมไฟ สื่อไทยกับรายงานข่าว 3 จังหวัดชายแดนใต้ : ความท้าทายของคนทำข่าว” ที่จัดโดยกองบรรณาธิการจุลสารราชดำเนิน โดยมีการเชิญผู้สื่อข่าวที่ทำข่าวในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และผู้สื่อข่าวอาวุโสประจำทำเนียบรัฐบาลมาร่วมในวงสนทนา โดยประเด็นหนึ่งที่มีการพูดคุยกันคือการที่ฝ่ายรัฐเดินหน้าพูดคุยกับแกนนำกลุ่มบีอาร์เอ็นและกลุ่มที่ก่อความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
โดย นายปกรณ์ พึ่งเนตร บรรณาธิการศูนย์ข่าวภาคใต้ สำนักข่าวอิศรา กล่าวว่า มีการสรุปความเสียหายนับตั้งแต่มีการเจรจาพบว่า มีเหตุมากขึ้นที่สุดในรอบ 5 เดือนที่ผ่านมา โดยพุ่งเป้าเจ้าหน้าที่รัฐอย่างชัดเจน ทั้งนี้การเจรจาครั้งนี้ทราบมาว่าไม่มีตัวแทนทหาร และถ้าเช็กข่าวกับทหารในกองทัพภาคที่ 4 ก็ไม่มีใครเห็นด้วยการวิธีการนี้ เพราะเขาทำของเขาอยู่แล้ว อย่างไรก็ตามถ้าจำได้เมื่อปีที่แล้วก็มีการพุดคุยกัน แต่พอมีระเบิดคาร์บอมบ์ที่อำเภอหาดใหญ่ แล้วจากนั้น ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) ก็บอกให้หยุดการเจรจาทันที และตนคิดว่าถ้าเกิดเหตุกับเจ้าหน้าที่อยู่แบบนี้ก็น่าจะเกิดเหตุแบบนั้นคือสั่งให้หยุดเจรจาอีกครั้ง
เรื่องปลดหมายจับตามที่การเสนอมานั้น นายปกรณ์ เห็นว่า ถ้ามีการถอนหมายจับตามอำนาจ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ที่มีประมาณ 8-9 พันราย ก็จะทำให้คนเหล่านี้กลับบ้าน เพราะคนเหล่านี้มีครอบครัวอยู่ในพื้นที่ ที่ต่างจาก นายฮาซัน ตอยิบ หรือ นายอาแซ เจ๊ะหลง ในฐานะหัวหน้าสภาการเมืองของกลุ่มบีอาร์เอ็น ที่มีบ้านอยู่มาเลเซีย ดังนั้นปัญหาความไม่เป็นธรรมต้องแก้และทำเลย และเราหลงประเด็นเรื่องปัญหาการปกครอง
“ถอนหมายแล้วต้องเริ่มกระบวนการยุติธรรมให้ใสสะอาด เสนอให้ใช้พื้นที่ใน 3 จังหวัดฯ เป็นพื้นที่นำร่องก่อน อาทิ ให้ตำรวจเจ้าหน้าที่ยิ้มแย้มแจ่มใส ฝึกพูดภาษาถิ่น โดยคุณไม่ต้องเป็นชาวมุสลิมก็ได้ แล้วก็ส่งพนักงานสอบสวนที่ลงไปและต้องมีความชำนาญพิเศษ แล้วก็ออก พ.ร.ก.ให้แม่นยำ จะได้ไม่เป็นปัญหา เพราะผลจากความไม่มั่นคงจึงทำให้เกิดคดีส่วนตัวปนกับคดีความั่นคงมากมาย สมมติว่าคนคนหนึ่งไม่พอใจคนคนหนึ่งก็ยิงกันได้เลยแล้วเจ้าหน้าที่ก็โยนเป็นคดีกับความมั่นคงไปเลยง่ายดี” นายปกรณ์ กล่าว
ด้าน นายมนตรี อุดมพงษ์ ผู้สื่อข่าวรายการข่าว 3 มิติ ทางสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสี ช่อง 3 กล่าวว่า ที่ผ่านมาความเสียหายที่เกิดขึ้นเปรียบเสมือนรถไฟ ซึ่งเป็นรถไฟขบวนของความเสียหายที่ไม่ได้อยู่บนราง จะแล่นผ่านเข้ารกเข้าพงไปทางไหนก็ได้ ไปไม่ถูกทางแล้วแต่โชคชะตา จึงมีความพยายามแก้ปัญหาด้วยการยกรถไฟขบวนนั้นมาอยู่บนราง แต่ปัญหาคือรางจะเป็นยังไงไม่รู้ รางจะพาไปทางไหนก็ยังไม่รู้ หรือกระทั่งจะยกรางสำเร็จหรือไม่ยังไม่รู้ แต่ตอนนี้ถึงจุดที่ว่าเราจะให้มันอยู่บนรางหรือแบบไม่มีราง
ส่วนกรณีที่มีผู้ต้องสงสัยโดนออกหมายเรียกหรือหมายจับจาก พ.ร.ก.ฉุกเฉินจำนวนกว่า 8-9 พันคนนั้น ตนเห็นว่าใน 8-9 พันคน ที่โดนหมายฯ มีความซับซ้อนกัน ถามว่าเราเคยไปเคลียร์ความซับซ้อนตรงนี้หรือไม่ อย่างกรณีที่ตนไปเจอคนคนหนึ่งเขาเป็นคนซ่อมจักรยาน วันหนึ่งมีเจ้าหน้าที่นำรถมาซ่อม และเมื่อเจ้าหน้าที่ขับกลับฐานก็เกิดระเบิดริมทาง และร้านจักรยานก็ถูกหมายเรียกทันที หาว่ารู้เห็นเป็นใจตามอำนาจ พ.ร.ก.เพราะเขาถูกกล่าวหาว่าเป็นคนที่รู้ว่าเจ้าหน้าที่ออกจากร้านตอนไหน ทั้งนี้ระหว่างที่เขาถูกดำเนินคดีเขาต้องเจอเจ้าหน้าที่มากมาย ถ้าเขาไม่สบายใจขึ้นมาจากการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ มันก็จะอยู่ในใจเขาก็อาจจะเป็นปมที่เขาจะปฏิเสธรัฐทันที ดังนั้นความซับซ้อนของ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ เหมือนกับการที่เรานำคนที่ไม่รู้สึกอะไรเลยต่อรัฐเข้าไป เหมือนเอาผู้เสพกับผู้ค้าไปรวมกัน จากคนที่เสพอย่างเดียวก็อาจจะไปเรียนรู้วิธีการค้าด้วยก็เป็นไปได้
ขณะที่ นางสาวบุญระดม จิตรดอน ผู้สื่อข่าวสำนักข่าวเอเอฟพี และผู้สื่อข่าวอาวุโสประจำทำเนียบรัฐบาล กล่าวว่า ตนทราบข่าวมาว่าการเจรจาเมื่อวันที่ 28 มีนาคม กับกลุ่มบีอาร์เอ็น มีข่าวว่าการเจรจาไม่ได้ราบรื่นอย่างที่เป็นข่าว ดังนั้นเรื่องนี้ต้องรอให้ฝุ่นตลบก่อนถึงจะได้ข้อเท็จจริง ทั้งนี้ตนยังไม่เห็นว่ารัฐจะทำความเข้าใจกับประชาชนทั่วประเทศให้เป็นวาระแห่งชาติ เพื่อให้ประชาชนทราบถึงยุทธศาสตร์ของกลุ่มผู้ก่อเหตุว่าเขาต้องการอะไร
ส่วนการที่ พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต รมว.กลาโหม ให้สัมภาษณ์บอกว่า การฆ่ากันต้องตาต่อตาฟันต่อฟัน นั่นก็ไม่ใช่ทางแก้ปัญหา เราต้องใจเย็น โดยใช้มวลชนสัมพันธ์เพราะการสู้รบไม่ใช่เป้าหมายที่จะเดินไป และนอกจากนี้ตนเสียดายที่ฝ่ายนโยบายไม่มีความเข้าใจปัญหาภาคใต้อย่างแท้จริง และกำลังลืมแก้ปัญหานี้อย่างจริงจัง แต่กลับไปสนใจทำเรื่องร่าง พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท และแก้ไขรัฐธรรมนูญมากกว่า
วันนี้ (4 เม.ย.) ที่สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ถนนสามเสน เมื่อเวลา 10.00 น.มีการเปิดเวที “ราชดำเนินสนทนา” ครั้งที่ 1 หัวข้อ “ดับเพลิงหรือโหมไฟ สื่อไทยกับรายงานข่าว 3 จังหวัดชายแดนใต้ : ความท้าทายของคนทำข่าว” ที่จัดโดยกองบรรณาธิการจุลสารราชดำเนิน โดยมีการเชิญผู้สื่อข่าวที่ทำข่าวในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และผู้สื่อข่าวอาวุโสประจำทำเนียบรัฐบาลมาร่วมในวงสนทนา โดยประเด็นหนึ่งที่มีการพูดคุยกันคือการที่ฝ่ายรัฐเดินหน้าพูดคุยกับแกนนำกลุ่มบีอาร์เอ็นและกลุ่มที่ก่อความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
โดย นายปกรณ์ พึ่งเนตร บรรณาธิการศูนย์ข่าวภาคใต้ สำนักข่าวอิศรา กล่าวว่า มีการสรุปความเสียหายนับตั้งแต่มีการเจรจาพบว่า มีเหตุมากขึ้นที่สุดในรอบ 5 เดือนที่ผ่านมา โดยพุ่งเป้าเจ้าหน้าที่รัฐอย่างชัดเจน ทั้งนี้การเจรจาครั้งนี้ทราบมาว่าไม่มีตัวแทนทหาร และถ้าเช็กข่าวกับทหารในกองทัพภาคที่ 4 ก็ไม่มีใครเห็นด้วยการวิธีการนี้ เพราะเขาทำของเขาอยู่แล้ว อย่างไรก็ตามถ้าจำได้เมื่อปีที่แล้วก็มีการพุดคุยกัน แต่พอมีระเบิดคาร์บอมบ์ที่อำเภอหาดใหญ่ แล้วจากนั้น ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) ก็บอกให้หยุดการเจรจาทันที และตนคิดว่าถ้าเกิดเหตุกับเจ้าหน้าที่อยู่แบบนี้ก็น่าจะเกิดเหตุแบบนั้นคือสั่งให้หยุดเจรจาอีกครั้ง
เรื่องปลดหมายจับตามที่การเสนอมานั้น นายปกรณ์ เห็นว่า ถ้ามีการถอนหมายจับตามอำนาจ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ที่มีประมาณ 8-9 พันราย ก็จะทำให้คนเหล่านี้กลับบ้าน เพราะคนเหล่านี้มีครอบครัวอยู่ในพื้นที่ ที่ต่างจาก นายฮาซัน ตอยิบ หรือ นายอาแซ เจ๊ะหลง ในฐานะหัวหน้าสภาการเมืองของกลุ่มบีอาร์เอ็น ที่มีบ้านอยู่มาเลเซีย ดังนั้นปัญหาความไม่เป็นธรรมต้องแก้และทำเลย และเราหลงประเด็นเรื่องปัญหาการปกครอง
“ถอนหมายแล้วต้องเริ่มกระบวนการยุติธรรมให้ใสสะอาด เสนอให้ใช้พื้นที่ใน 3 จังหวัดฯ เป็นพื้นที่นำร่องก่อน อาทิ ให้ตำรวจเจ้าหน้าที่ยิ้มแย้มแจ่มใส ฝึกพูดภาษาถิ่น โดยคุณไม่ต้องเป็นชาวมุสลิมก็ได้ แล้วก็ส่งพนักงานสอบสวนที่ลงไปและต้องมีความชำนาญพิเศษ แล้วก็ออก พ.ร.ก.ให้แม่นยำ จะได้ไม่เป็นปัญหา เพราะผลจากความไม่มั่นคงจึงทำให้เกิดคดีส่วนตัวปนกับคดีความั่นคงมากมาย สมมติว่าคนคนหนึ่งไม่พอใจคนคนหนึ่งก็ยิงกันได้เลยแล้วเจ้าหน้าที่ก็โยนเป็นคดีกับความมั่นคงไปเลยง่ายดี” นายปกรณ์ กล่าว
ด้าน นายมนตรี อุดมพงษ์ ผู้สื่อข่าวรายการข่าว 3 มิติ ทางสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสี ช่อง 3 กล่าวว่า ที่ผ่านมาความเสียหายที่เกิดขึ้นเปรียบเสมือนรถไฟ ซึ่งเป็นรถไฟขบวนของความเสียหายที่ไม่ได้อยู่บนราง จะแล่นผ่านเข้ารกเข้าพงไปทางไหนก็ได้ ไปไม่ถูกทางแล้วแต่โชคชะตา จึงมีความพยายามแก้ปัญหาด้วยการยกรถไฟขบวนนั้นมาอยู่บนราง แต่ปัญหาคือรางจะเป็นยังไงไม่รู้ รางจะพาไปทางไหนก็ยังไม่รู้ หรือกระทั่งจะยกรางสำเร็จหรือไม่ยังไม่รู้ แต่ตอนนี้ถึงจุดที่ว่าเราจะให้มันอยู่บนรางหรือแบบไม่มีราง
ส่วนกรณีที่มีผู้ต้องสงสัยโดนออกหมายเรียกหรือหมายจับจาก พ.ร.ก.ฉุกเฉินจำนวนกว่า 8-9 พันคนนั้น ตนเห็นว่าใน 8-9 พันคน ที่โดนหมายฯ มีความซับซ้อนกัน ถามว่าเราเคยไปเคลียร์ความซับซ้อนตรงนี้หรือไม่ อย่างกรณีที่ตนไปเจอคนคนหนึ่งเขาเป็นคนซ่อมจักรยาน วันหนึ่งมีเจ้าหน้าที่นำรถมาซ่อม และเมื่อเจ้าหน้าที่ขับกลับฐานก็เกิดระเบิดริมทาง และร้านจักรยานก็ถูกหมายเรียกทันที หาว่ารู้เห็นเป็นใจตามอำนาจ พ.ร.ก.เพราะเขาถูกกล่าวหาว่าเป็นคนที่รู้ว่าเจ้าหน้าที่ออกจากร้านตอนไหน ทั้งนี้ระหว่างที่เขาถูกดำเนินคดีเขาต้องเจอเจ้าหน้าที่มากมาย ถ้าเขาไม่สบายใจขึ้นมาจากการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ มันก็จะอยู่ในใจเขาก็อาจจะเป็นปมที่เขาจะปฏิเสธรัฐทันที ดังนั้นความซับซ้อนของ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ เหมือนกับการที่เรานำคนที่ไม่รู้สึกอะไรเลยต่อรัฐเข้าไป เหมือนเอาผู้เสพกับผู้ค้าไปรวมกัน จากคนที่เสพอย่างเดียวก็อาจจะไปเรียนรู้วิธีการค้าด้วยก็เป็นไปได้
ขณะที่ นางสาวบุญระดม จิตรดอน ผู้สื่อข่าวสำนักข่าวเอเอฟพี และผู้สื่อข่าวอาวุโสประจำทำเนียบรัฐบาล กล่าวว่า ตนทราบข่าวมาว่าการเจรจาเมื่อวันที่ 28 มีนาคม กับกลุ่มบีอาร์เอ็น มีข่าวว่าการเจรจาไม่ได้ราบรื่นอย่างที่เป็นข่าว ดังนั้นเรื่องนี้ต้องรอให้ฝุ่นตลบก่อนถึงจะได้ข้อเท็จจริง ทั้งนี้ตนยังไม่เห็นว่ารัฐจะทำความเข้าใจกับประชาชนทั่วประเทศให้เป็นวาระแห่งชาติ เพื่อให้ประชาชนทราบถึงยุทธศาสตร์ของกลุ่มผู้ก่อเหตุว่าเขาต้องการอะไร
ส่วนการที่ พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต รมว.กลาโหม ให้สัมภาษณ์บอกว่า การฆ่ากันต้องตาต่อตาฟันต่อฟัน นั่นก็ไม่ใช่ทางแก้ปัญหา เราต้องใจเย็น โดยใช้มวลชนสัมพันธ์เพราะการสู้รบไม่ใช่เป้าหมายที่จะเดินไป และนอกจากนี้ตนเสียดายที่ฝ่ายนโยบายไม่มีความเข้าใจปัญหาภาคใต้อย่างแท้จริง และกำลังลืมแก้ปัญหานี้อย่างจริงจัง แต่กลับไปสนใจทำเรื่องร่าง พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท และแก้ไขรัฐธรรมนูญมากกว่า