xs
xsm
sm
md
lg

“คุยทุกเรื่องกับสนธิ” ศุกร์ที่ 15 มี.ค. 2556 (ต่อ)

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


จินดารัตน์ - กลับมาช่วงที่ 2 คุยทุกเรื่องกับสนธิ คุณเติมศักดิ์ จารุปราณ มาแล้วนะคะ สวัสดีค่ะ

เติมศักดิ์ - สวัสดีครับ สวัสดีครับคุณสนธิ สวัสดีท่านผู้ชมครับ

จินดารัตน์ - วันนี้มาแฮททริก เขาแซวกัน ในห้องคอนโทรลเขาบอกว่าพี่เติมทำแฮททริกเลย 3 อาทิตย์ อยากรู้เรื่องนั้นเรื่องนี้

เติมศักดิ์ - โดยเฉพาะวันนี้มีมหากาพย์เรื่องพลังงาน และมันก็เชื่อมโยงกันหลายเรื่องด้วยนะที่เป็นกระแสปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นนครรัฐปัตตานี หรือเรื่องอะไร มันเกี่ยวกับเรื่องพลังงานทั้งนั้น เลยอยากมาฟัง อยากมองป่าทั้งป่า

สนธิ - พลังงานบ้านเราเริ่มแรกสุดที่มีต่างชาติเข้ามาขอสัมปทาน เริ่มปี 2505 ก็ 50 ปีที่แล้ว เจ้าแรกที่มาขอคือยูโรแคล ขอแล้วก็สำรวจมาตั้งนาน สำรวจที่อีสานก่อน ไม่ได้ จนในที่สุดไปเจอหลุมแก๊สแถวสุราษฎร์ฯ ที่ชื่อหลุมเอราวัณ นั่นคือจุดแรกที่เกิดขึ้น ในช่วงนั้นถ้าเรามองย้อนหลังไปปี 2505 ลบด้วย 543 ก็ประมาณปี 1962 เติมต้องรู้ว่าช่วงนั้นเป็นช่วงสงครามในเวียดนาม และเป็นช่วงที่น้ำมันราคาถูกมาก น้ำมันช่วงนั้นบาร์เรลไม่ถึง 10 เหรียญ เพราะฉะนั้นแล้วความต้องการทางด้านพลังงาน ดีมานด์มันน้อยมาก การที่จะมาลงทุนและพัฒนาบ่อหลุมต่างๆ มันก็มีน้อย แต่ยูโนแคล บริษัทต่างๆ พวกนี้มันจะลงทุนล่วงหน้า ไปเจาะทิ้งเอาไว้ ด้วยเหตุนี้ค่าสัมปทานมันถึงถูกมาก เพราะความต้องการมันไม่มี และ 50 ปีที่แล้ว เทคโนโลยีในเรื่องของการเจาะน้ำมัน มันยังต่ำ แต่มีคนรู้ว่ามี น่าจะเป็นประเทศอย่างเช่นซาอุดีอาระเบีย เพราะว่าฝรั่งมันเข้าไปซาอุดีอาระเบียนานแล้ว แล้วซาอุดีอาระเบียมันก็เรียนรู้จาก พวกแขกตะวันออกกลางจะเรียนรู้จากฝรั่ง จนกระทั่งตั้งบริษัทร่วม ชื่ออะรัมโก บริษัทร่วมระหว่างซาอุดีอาระเบียกับบริษัทน้ำมัน
แม้กระทั่งซาอุดีอาระเบียเอง ก็ไม่ยอมให้ฝรั่งตีกินง่ายๆ ก็มาร่วมทุนกัน สัมปทานคุณ แต่ผมร่วมกับคุณด้วย ผมให้สัมปทานคุณจริง แต่ผมร่วมกับคุณ และผมก็ได้ส่วนแบ่งตามบริษัทที่ผมร่วม คืออะรัมโก ก็จะมีประเทศที่ด้อยพัฒนา อย่างเช่นประเทศไทย หรือหลายๆ ประเทศ ในตอนนั้นน้ำมันที่ปรากฏมีอยู่ ก็จะมีแถวอินโดนีเซีย บรูไน แต่ก็จะเป็นในลักษณะการให้สัมปทานมากกว่า ทีนี้ในช่วงนั้นคนไทยที่สนใจในเรื่องพลังงานไม่มี มีจะเฉพาะประเภทข้าราชการประจำเท่านั้นเอง ข้าราชการประจำจะเข้ามาร่วม มีการขุดเจาะมีการสำรวจ การสำรวจนี่ไทยไม่ได้สำรวจ ฝรั่งสำรวจทั้งนั้น ไทยไม่เกี่ยวเลย เพราะฉะนั้นเทคโนโลยีเรื่องนี้เราไม่เคยสนใจ เราไม่เคยใส่ใจ พอพัฒนามาอีกทีปี 2522 17 ปีให้หลังจากที่ยูโนแคลขุดเจาะน้ำมันเจอ เริ่มมีการคิดตั้งการปิโตรเลียมแห่งชาติขึ้นมานะครับ นั้นคือจุดเริ่มต้นของ ปตท. การปิโตรเลียมแห่งชาติตั้งขึ้นมาเป็นยุค พล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์

เติมศักดิ์ - เป็นนายกฯ

สนธิ - 2522 มันก็ประมาณ 2519 ใช่เปล่า ไม่ใช่ 1969

เติมศักดิ์ - 1979

สนธิ - 1979 เป็นช่วงที่สงครามเวียดนามมันสงบและ และช่วง พล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ขึ้นมา เป็นช่วงซึ่งหลายประเทศ เริ่มจะพยายามฟื้นฟูตัวเอง ขจัดพิษสงครามในเวียดนาม ซึ่งมันจะกระทบหมดทุกอย่าง ฐานอเมริกันเริ่มอ่อนตัวออกจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ใช่ไหมครับ ช่วงนั้นผู้ว่าการ ปตท.คนแรกคือ ดร.ทองฉัตร หงศ์ลดารมภ์ เป็นนักวิชาการ ก็เริ่มมาแล้วตอนนั้น ฝรั่งเริ่มเข้ามาทีละคน ทีละคน ดร.ทองฉัตรจบวิศวะ จุฬาฯ แล้วพอหมดจาก ดร.ทองฉัตรไป ดร.ทองฉัตรอยู่หลายปีเหมือนกัน ทีนี่ช่วงนั้นเป็นช่วงซึ่งการใช้น้ำมันในสังคมไทยเริ่มสูงแล้ว เพราะมันเริ่มก้าวไปสู่ช่วง ผมเชื่อว่า ช่วงเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ น่าจะต่อด้วยช่วงชาติชาย ชุณหะวัณ พล.อ.เปรม ก่อน กำลังจะเข้าสู่ช่วง พล.อ.เปรม ตอนนั้นสังเกตไหมว่า น้ำมันตอนนั้นการค้นพบในประเทศยังน้อยมาก เราจะสั่งเข้ามาส่วนใหญ่ มันก็เลยเกิดที่มาของเทเล็กซ์อัปยศ จำได้ไหม เทเล็กซ์อัปยศ ท่านผู้ชมที่บ้านอาจจะไม่เข้าใจ สมัยนั้นเขาเอาผู้บริหารบริษัทคาลเท็กซ์ คุณวิสิษฐ์ ตันสัจจา เอามาเป็นรัฐมนตรีที่ดูแลกระทรวงอุตสาหกรรม คุณบุญชู โรจนเสถียร เป็นรองนายกฯ คุมฝ่ายอุตสาหกรรม ก็มีการสั่งซื้อน้ำมันจากต่างชาติ ช่วงนั้นก็เลยมีการแอบสั่งซื้อน้ำมันแล้วกินเปอร์เซ็นต์กัน เขาถึงเรียกว่าเทเล็กซ์อัปยศ เป็นเทเล็กซ์ส่งไป เพื่อเรียกค่าคอมมิชชั่น ตรงนั้นเป็นจุดเริ่มต้นให้เห็น ว่านักการเมืองเริ่มเข้ามาทำมาหากินกับพลังงานแล้ว โดยคิดบาร์เรลละเท่าไหร่ บาร์เรลละกี่เหรียญ ก็เลยเป็นผลทำให้คุณวิสิษฐ์ ตันสัจจา ต้องถูกบีบให้ลาออกไป เพราะ พล.อ.เปรม บีบให้ลาออกไป แต่คุณบุญชูก็ยังอยู่
ไปจนกระทั่งถึงยุค พล.อ.ชาติชาย ตอนนั้นเป็นยุคบูมสุดแล้ว เพราะเป็นยุคซึ่ง พล.อ.ชาติชาย กำลังเปิดประตูอุตสาหกรรม ที่บอกว่าเมืองไทยเปลี่ยนสนามรบให้เป็นสนามการค้า จุดเริ่มต้นของการเกิดอุตสาหกรรมทั้งระบบเกิดยุค พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ เพราะฉะนั้นแล้ว พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ เป็นคนซึ่งมีสายสัมพันธ์กับต่างชาติเยอะมา ท่านดึงโน้นเข้ามา คนนี้เข้ามา แม้กระทั่งบางคนที่จะเข้ามาที่เกาะภูเก็ตจำได้ไหม มาสร้างถมดินเข้าไป ทำโน้นทำนี่จะมีหมด คล้ายๆทักษิณ ชินวัตร ที่เอาอัลฟาเย็ดเข้ามา ชาติชายก็เอาเศรษฐีสวิส เศรษฐีอเมริกันเข้ามา ก็พัฒนาไปเรื่อยๆ ปตท.ก็เปลี่ยนตัวเองไปเรื่อยๆ จนกระทั่งมาถึงยุคที่คุณปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ มาเป็นเลขาธิการสำนักงานนโยบายพลังงานแห่งชาติ (สนพ.) ผมว่าจุดเปลี่ยนพลังงานบ้านเรามันเริ่มเปลี่ยนในยุคของปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ ผมไม่รู้ว่าปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ ใช้กระบวนความคิดแบบไหน แต่ที่แน่ๆเขาคิดว่าพลังงานบ้านเรา เขาไปมอง ปตท.หรือการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย เป็นเหมือนรัฐวิสาหกกิจทั่วไป เหมือนองค์การโทรศัพท์ ซึ่งจำเป็นต้องแปรรูป เขาเชื่ออย่างนี้ว่าแปรรูปแล้วดี ไม่ต้องให้รัฐบาลไปค้ำประกันหนี้ ไม่ต้องให้รัฐบาลไปค้ำประกันอันโน้นอันนี้เสร็จเรียบร้อยแล้ว มีเงินเข้ามา พอเป็นบริษัทเอกชนแล้ว มันก็จะทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทำให้ผลตอบแทน รายได้ที่มีต่อบริษัทมันจะดีขึ้น แต่คุณปิยสวัสดิ์ แกไม่ได้มองว่า ปตท.มันไม่ได้ค้าโทรศัพท์ หรือสินค้าโชห่วย มันค้าวัตถุซึ่งเป็นยุทธปัจจัย มีความจำเป็นในเรื่องของค่าครองชีพของคน ไม่ว่าจะเป็นน้ำมัน ดีเซล หรือแก๊ส แล้วในยุคนั้นต้องจำไว้อย่าง ว่าคนไทย ปริมาณการเสพ คอนซัมชั่นของน้ำมัน ดีเซล หรือแก๊ส ที่เราใช้ในครัวเรือนยังน้อยอยู่ ยังไม่มาก มันเริ่มมาคือในช่วงที่เข้ามาสู่ยุค พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ช่วงนั้นเศรษฐกิจมันโต บูมมาก จากชาติชายมาแล้ว แล้วมันกำลังจะล้มในช่วงของ พล.อ.ชวลิต ตอนนั้นมบีไอบีเอฟ เริ่มเข้ามา คุณธารินทร์ นิมมานเหมินท์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง พรรคประชาธิปัตย์ เปิดประตูธนาคารให้ต่างชาติมาตั้งสาขา กู้เงินต่างชาติได้ คอนโดเกิด ถนนหนทางเกิด อุตสาหกรรมเกิดเป็นดอกเห็ดเลย ความต้องการในการใช้น้ำมันก็มากขึ้น แล้วในโลกขณะนั้นก็มีความต้องการในการใช้น้ำมันมากขึ้นอย่างมหาศาลเช่นกัน ยุคนั้นก็เป็นยุคที่น้ำมันเริ่มขยับแล้ว ทีละนิดๆ จนกระทั่งถึงบาร์เรลละ 20 กว่าเหรียญ จากต่ำกว่า 10 เหรียญสมัยนู้น ทีนี้ฝรั่งมันมีต้นทุนการผลิต คล้ายๆว่าถ้าน้ำมันมันต่ำกว่า 10 เหรียญ หรือต่ำกว่า 12-15 เหรียญ ที่มันตั้งไว้ มันไม่ขุดหรอก มันไม่คุ้ม พอมันเริ่มถึง 20 กว่ามันเริ่มคุ้ม นั่นคือที่มาของฝรั่งต่างชาติที่มันเข้ามาเมืองไทย
ทีนี้ความที่คนไทยโดยเฉพาะข้าราชการไทยส่วนใหญ่โง่เขลาเบาปัญญา เอาสบายเข้าว่าไม่เคยใฝ่หาความรู้ สมัยก่อน น้ำมันขึ้นอยู่กับกรมทรัพยากรธรณี มีข้าราชการราคาถูกๆเงินเดือน 6 พันกว่าบาท นั่งรถเมล์มาทำงาน ขับรถเก่าๆมาทำงาน นั่งทับขุมทรัพย์มูลค่าล้านล้านบาท ไม่ใช่เฉพาะน้ำมัน เหมืองทองคำ เหมืองดีบุก แร่ฟลูออไรด์ วูลแฟรม เต็มไปหมดเลยเมืองไทย มันก็เลยทำให้ฝรั่งมันเข้ามาครอบงำได้ แล้วฝรั่งมันก็เริ่มเข้ามาฝึกอบรมคนไทย เหมือนกับเวลาเมืองไทยกำลังจะเปิดตลาดหลักทรัพย์ฝรั่งมันยินดีที่จะให้ไปเรียนวิธีการค้าขายหุ้นที่ตลาดชิคาโกฟรี (Chicago Stock Exchange) มันให้ทุนไปนะ ไปเลยไปให้หมด คือ มึงเรียนกติกาที่กูชำนาญ เข้าใจยังแอนที่พูด พอมึงเรียนจบแล้วมึงมาสู้กับกู นี้คือนิสัยฝรั่งไง แล้วมันก็บอกว่า กติการเดียวกันแล้วมึงมาบ่นอะไร โดยที่เราลืมว่า เราเป็นนักชกรุ่นฟลายเวทของมันรุ่นเฮฟวี่เวท มันชำนาญกติกาหมดแล้ว ตัวมันหนักกว่าเราเยอะ ฉันใดฉันนั้น มันก็เลยมาเริ่มซื้อคน ข้าราชการกรมทรัพยากรธรณี ซึ่งต่อไปภายหลังจำนวนที่อยู่ฝ่ายน้ำมันที่ดูแลเรื่องน้ำมันก็จะกลายเป็นคนที่อยู่กระทรวงพลังงาน เข้าใจยัง มันปลูกหว่านเมล็ดพันธุ์พืชไว้ตั้งแต่ยังหนุ่มยังแน่น ฝรั่งมันมองอะไรมันมองระยะยาวไงเติม นึกออกไหม นั้นคือคำอธิบายว่า ทำไมมันถึงเกิดสายพานส่งของ เข้าใจหรือยัง ว่า มันเริ่มตั้งสายพานตั้งแต่สมัยโน้นแล้ว ตั้งแต่สมัยปลาย พล.อ.ชาติชาย ทั้งนี้เมืองไทยมันติดปัญหาอยู่ตรงที่ว่า เนื่องจากว่า การปิโตรเลี่ยมแห่งชาติ มันเป็นรัฐวิสาหกิจเหมือนกับองค์การโทรศัพท์ การสื่อสารแห่งประเทศไทย การรถไฟ กฟผ. ทุกอย่างเป็นรัฐวิสาหกิจหมด มันเข้าไปจังหวะที่เรียกว่า ฉันทามติกรุงวอชิงตัน การล่มสลายของรัฐเซียตอนนั้น ก็เลยเกิดวอชิงตันคอนเซ็นซัส คือ นักเศรษฐศาสตร์ นักวางแผนของไอ้กันมาออกแบบฉันทามติกรุงวอชิงตัน ว่า จากนี้ไปแล้วอเมริกาโลกตะวันตกต้องรุกออกไปทั่วโลกด้วยฉันทามติกรุงวอชิงตัน โดยเอาเงินดอลลาร์ยัดเข้าไปในแต่ละประเทศ ให้กู้ในราคาถูก คือ ที่มาบีไอบีเอฟที่เคยเล่าให้ฟังไง พอกู้ในราคาถูกแล้ว ถ้าประเทศไหนมีปัญหาก็เอาไอเอ็มเอฟเข้าไป ตูม พอไอเอ็มเอฟเข้าไปถ้าจะให้ช่วยก็ต้องใช้กติกาของฉันทามติกรุงวอชิงตัน คือ ข้อที่ 1 .มันจะต้องมีความเสถียรภาพทางการเงิน Stablization ข้อที่ 2.ต้องมีประชาธิปไตย ข้อที่ 3.มันจะต้องมีการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ ข้อที่ 4.จะต้องลบกฎระเบียบข้อบังคับออกทั้งหมด 4 ข้อ มันผูกพันซึ่งกันและกัน มันผูกพันกันตรงไหน ผูกพันกันตรงที่ว่า ถ้ามีการเสถียรภาพการเงินมั่นคง และต้องมีการเปิดเสรีทางการเงิน แปลว่าอะไร แปลว่าเมื่อคุณเปิดเสรีทางการเงินแล้ว ผมเอาเงินเท่าไรมาลงทุน ผมจะเอากลับเมื่อไรก็เอากลับได้ เพราะการเปิดเสรีทางการเงิน เท่ากับเป็นตัวสร้างเงื่อนไขให้ตลาดหลักทรัพย์ต้องโต เพราะมันสามารถจะมั่นใจได้แล้วว่า มันเอาเงินมาเล่นตลาดหลักทรัพย์ในประเทศไทยปั๊บ มันขายหุ้นวันนี้พรุ่งนี้มันขนเงินกลับ มะรืนมันขนเงินเข้า มะเรื่องมันขนเงินกลับ มันทำได้ตลอดเวลานั้นคือ financial liberalization นะครับ และ Balance Budget financial liberalization คือว่างบประมาณของชาติต้องมีความสมดุลคือ รายได้กับรายจ่ายต้องไม่ห่างกันมากนะครับ ไม่ใช่เป็นเขาเรียกว่า Deficit Budget งบประมาณขาดดุล คือกู้ทุกปี
อย่างเมืองไทยกู้ทุกปีมา 10 กว่าปีแล้วนะ อันที่ 3.คือแปลรูปรัฐวิสาหกิจ ตรงนี้เลยเป็นที่มาของกฎหมายขายชาติ 11 ฉบับ เข้ามาในยุคไอเอ็มเอสนะครับ และที่น่าสนใจนี่ไม่มีใครรู้นะ การแปรรูป ปตท.เกิดขึ้นยุคพรรคประชาธิปัตย์ มาสำเร็จเอายุคของทักษิณ ชินวัตร ยุคประชาธิปัตย์ทำจนถึงมกราคม 2554 จวนจะเสร็จและ ทักษิณ 44 ทักษิณมาต่อปีกุมภาพันธ์ 2544 แล้วมาจบเอาตุลาฯ กุมภาฯ มีนาฯ เมษาฯ พฤษภาฯ มิถุนาฯ กรกฎาฯ สิงหาฯ กันยาฯ ตุลาฯ

จินดารัตน์ - 9 เดือน

สนธิ - แต่ว่าพื้นฐานโครงสร้างมาในยุคพรรคประชาธิปัตย์ตลอด คุ้นๆ หูไหม เขาพระวิหารเกิดสมัยพรรคประชาธิปัตย์ ถูกไหม แล้วทักษิณมาต่อยอด บีไอบีเอสที่เปิดประตูให้ต่างชาติ แบงก์ไหนจะเข้ามาเกิดยุค ธารินทร์ นิมมานเหมินท์

เติมศักดิ์ - ส่วนหนึ่ง

สนธิ - แล้วมาเจ๊งเอาปี 2540 เห็นหรือยังประวัติศาสตร์มันไม่เคยโกหกใครนะ แล้วพอมามองย้อนหลัง

จินดารัตน์ - มันอาภัพ

สนธิ - มันอาภัพนะเมืองไทย ผมขี้เกียจพูดเรื่องนี้ เพราะพอผมพูดไปหาว่า ไปซ้ำเติมเขาอีก แต่มันจะไปโกหกความจริงได้อย่างไร ไอ้ ปตท.เป็นอย่างนี้ ฝีมือพรรคประชาธิปัตย์ ไม่ใช่พรรคใครเลยนะครับ ทีนี้ตอนนั้นวิเศษ จูภิบาลขึ้นมา เป็นผู้ว่าการ ปตท. วิเศษ จูภิบาลขึ้นมาเขาต้องการที่จะปรับ ปตท.ให้เป็นบริษัทมหาชน ซึ่งตรงกับที่ทางพรรคประชาธิปัตย์ต้องการ ต้องการที่จะทำแปรรูป เลยเดินเรื่องมาเลย เขาเดินเรื่องมาตั้งแต่ปี 2543 พอขึ้นมกราคม 2544 จะเสร็จแล้วนะ ติดอยู่อีกนิดเดียวว่า จะเอาแบบไหน การแปรรูปแปรได้ 2 แบบ 1.คือ การใช้ พ.ร.บ.ร่วมทุนรัฐวิสาหกิจ ตรงนั้น พ.ร.บ.ทุนรัฐวิสาหกิจมันจะมีพนักงานเข้าไปมีส่วนร่วมด้วย ตอบคำถามได้หมด โปร่งใส แต่ฝ่ายรัฐบาลเข้าใจว่า คงจะเล็งเอาไว้เหมือนกัน เพื่อความรวดเร็ว และในขณะเดียวกันตัวเองต้องการมีส่วนร่วมด้วย เพราะว่าถ้าเป็น พ.ร.บ.ทุนรัฐวิสาหกิจ รัฐบาลเข้าไปก้าวก่ายมากไม่ได้ แต่ถ้าเปลี่ยนเป็นใช้กฎหมายแพ่งพาณิชย์เป็นมหาชน
เข้าใจยังที่ผมพูด เติม พอเป็นมหาชนปั๊บ รัฐบาลเข้าไปเสือกได้แล้ว ตั้งแต่แปรรูป ตั้งแต่ออกหุ้น ตั้งแต่ตีราคา ตั้งแต่จัดสรรหุ้นนึกออกไหม ใช่ไหม ในที่สุดระหว่างที่มีการพิจารณาว่า จะเอาระหว่างทุนรัฐวิสาหกิจ หรือว่ามหาชน ทักษิณเข้ามา ก็แน่นอนทักษิณมันก็สะด้วบแพ่งพาณิชย์เลย ให้เป็นมหาชนทันที ซึ่งมันตรงกับใจของวิเศษ จูภิบาล ซึ่งเป็นคนภูเก็ต วิเศษ จูภิบาล มีที่ปรึกษาคนหนึ่ง เป็นเพื่อนซี้สนิทสนมเลย เป็นคนภูเก็ตเหมือนกัน และอยู่เบื้องหลังทุกอย่าง ชื่อ จุลจิตต์ ที่อยู่ไทยออยล์ ตอนนี้เป็นมือขวาของวิชัย รักศรีอักษร จุลจิตต์ บุณยเกตุ เป็นลูกรักของเกษม จาติกวณิช แหม คุณต้องรู้ประวัติคนพวกนี้ ทำไมผมไม่ค่อยพูดเรื่องพวกนี้รู้ไหม เพราะพูดไปแล้วผมจะถูกกระแนะกระแหนว่ามีอคติกับพรรคประชาะปัตย์ สักวันก่อนตายจะเขียนหนังสือสักเล่มจะให้ดูถึงความดีที่พรรคประชาธิปัตย์ทำจนชาติฉิบหาย มีอะไรบ้าง มีกี่ข้อ
พอเลยมาถึงช่วงที่แปรรูป ตุลาคม 44 ตรงนี้น่าสนใจ ทักษิณเป็นนักธุรกิจ ฉลาด มีทั้ง Investment Banker มาติดต่อหลายเรื่อง ไอ้พวกนักวณิชธนกิจ Investment Banker มันฝันจะแปรรูป ปตท.เพราะว่ามันรู้ว่าเทรนด์น้ำมันขึ้นแล้ว ต่อบาร์เรลเริ่มขึ้นแล้ว ผมจำได้ว่าตอนที่ทักษิณเข้ามา น้ำมันมันเริ่ม 30 กว่าเหรียญแล้วนะ สูงแล้วนะตอนนั้น ต่อบาร์เรล ฝรั่งมันกำไรบาร์เรลละ 15-20 เหรียญนะ จากแต่ก่อนทำแล้วขาดทุน ไม่คุ้ม มันก็เลยทำให้ แล้ว ปตท.ปริมาณของการสั่งน้ำมัน แล้วใช้น้ำมัน มันเยอะมาก ในประเทศไทย มันเลยทำให้การแปรรูปครั้งนี้ได้รับความสนใจทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Investment Banker
การจัดสรรหุ้น ปตท.น่าสนใจที่สุด ก่อนที่จะมีการจัดสรรหุ้น ปตท.ก็ต้องมีการประเมินสินทรัพย์ ปตท. เพราะเวลาคุณจะเอาบริษัทเข้าไปในตลาดหลักทรัพย์ ราคาหุ้นคุณ ที่คุณจะเอาไปขายในตลาดหลักทรัพย์มันจะต้องสะท้อนถึงเนื้อหาที่แท้จริงของบริษัทคุณ เนื้อหาที่แท้จริงก็คือผลการประกอบการมีกำไรเท่าไหร่ต่อปี อนาคตเป็นอย่างไร 3 ปี 4 ปี 5 ปี 10 ปี จะเป็นอย่างไร ทรัพย์สินคุณมีมากน้อยแค่ไหน 3 ตัว นี้เอามาพิจารณา เสร็จเรียบร้อยแล้วถึงกำหนดราคาหุ้น อนาคตชัดเจนมันเถียงไม่ได้ ที่สำคัญที่สุดคือทรัพย์สิน ถ้าทรัพย์สินสูงราคาหุ้นก็สูง ถ้าทรัพย์สินต่ำ ราคาหุ้นก็ต่ำ เขาจงใจทำราคาทรัพย์สินให้มันต่ำ ตีมูลค่าให้ต่ำ เช่น มูลค่าของโรงกลั่น มูลค่าที่ ปตท.มีในเรื่องของท่อแก๊ส เอามาใส่หมด แต่ตีในราคาที่ต่ำมาก เรื่องท่อส่งแก๊สตอนหลังมีเรื่องที่หลัง ที่คุณรสนาไปเล่นงาน พอตีต่ำราคาหุ้นเลยกลายเป็น 35 บาท 35 บาทภายใน 1 ปีมันขึ้นเป็น 300 กว่าบาท อันนั้นยังไม่เท่าไหร่ การจัดสรรหุ้นน่าสนใจมาก เติมรู้ไหมทุนจดทะเบียน ปตท.ครั้งแรก 2 พันล้านหุ้น หุ้นละ 10 บาทก็เท่ากับ 2 หมื่นล้านบาท เขาขายหุ้นในตลาดไอพีโอ 35 บาท แต่มันจัดสรรหุ้น 25 ล้านหุ้น ให้ผู้มีอุปการะคุณฟรีในราคา 10 บาท อันนี้อันแรกนะ ยังไม่ค่อยเท่าไหร่ มันจัดสรรหุ้น 300 ฟังให้ดีๆนะ ไม่เคยมีใครพูดเรื่องนี้ 320 ล้านหุ้น ให้ต่างชาติ 320 ล้านหุ้นเท่ากับ 17% ของมูลค่าหุ้น ปตท. แล้วต่างชาติคือใครรู้ไหม ฝรั่งหัวดำ ที่แม่งไปอยู่แถวสิงคโปร์ ฮ่องกง แล้วมันใช้ฝรั่งเป็นนอมินีซื้อในราคา 35 บาท แล้วอี 320 ล้านหุ้น ฉะนั้นที่คุณเห็นนอมินีในเมืองไทยที่มีพวกจึงรุ่งเรืองกิจ พวกเนสกาแฟ พวกจิราธิวัฒน์ ถือ พวกนี้จิ๊บจ๊อย ไอ้ตัวจริงมันไม่มาถือข้างในโผล่ให้เห็นหรอก มันถืออยู่ข้างนอก เก็ทไหม
หลังจากนั้นพอมันเริ่มขายหุ้นปั้บ มันจะมีการตั้งโต๊ะรับซื้อหุ้นจากพนักงาน 50 บาท 70 บาททันที คุณจ่ายไป 35 บาท คุณซื้อ 70 ทำไมจะไม่ขายล่ะ เท่าตัว ขายไปอีกเยอะเลย แล้วระหว่างนั้น ปีแรกเป็นปีของการซึ่งหุ้นค่อยๆขึ้น มันจะกว้านซื้อหุ้นในตลาดเลย เพราะฉะนั้นไอ้ 320 ล้านหุ้น ถ้าผมเดาไม่ผิด วันนี้ยอดมันต้องมีประมาณ 100 ล้านหุ้นแล้ว 700 ล้านหุ้น ถ้าคิดแล้ว ประมาณ 35% ของมูลค่า ปตท. ของมูลค่า 2,000 ล้านหุ้นของ ปตท.แล้วฝรั่งหัวดำทั้งนั้น นอมินีหมด แล้วผมจะบอกให้รู้อยู่ในกลุ่มคนไม่กี่คนเอง คนๆหนึ่งก็รู้อยู่แล้วว่าใคร

เติมศักดิ์ - ซึ่งเขาสไกป์มาปฏิเสธ ผมไม่ได้มีหุ้น

สนธิ - ใช่สิ ก็ไม่ได้ชื่อเขา แต่เป็นนอมินีอยู่ที่เมืองนอกอยู่ตลอดเวลาเลย ทีนี้มูลค่าหุ้น เติมรู้ไหม 12 ปีที่ ปตท.แปรรูป ปตท.กำไร 9 แสนล้านนะ ใน 12 ปี แล้วที่มันแปรรูปครั้งแรกมันบอกว่าไงรู้ไหม มันบอกว่า มันแปรรูปครั้งแรกเพราะไม่ต้องการให้ ปตท.ไปกู้หนี้ยืมสินต้องการเอาเงินใหม่เข้ามาพัฒนา ปตท.ขาดเงินในการลงทุนเพิ่มเติม เพื่อความคล่องตัว นี่เป็นการโกหกอย่างบัดซบที่สุด เพราะกำไร ปตท.มันมีมากกว่าปีละ 20,000 ล้านอยู่แล้ว มันขายหุ้นบางส่วนออกไป มันบอกมันได้เงินเข้ามา 20,000 ล้าน 20,000 ล้านนี่ ปตท.กำไรปีนึงเกิน 20,000 ล้านอยู่แล้ว แสดงว่าการที่ต้องการใช้เงินนี่ โกหก
ทีนี้ วัตถุประสงค์ ปตท. การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย มันตั้งขึ้นมาเพื่ออะไร เนื่องจากว่าน้ำมันเป็นยุทธศาสตร์ปัจจัยของชาติ จึงจำเป็นที่จะต้องมีเอาไว้ เพื่อที่จะไม่ให้ประชาชนผู้ใช้ปัจจัยนี้เดือดร้อน นั่นคือวัตถุประสงค์หลัก วันนี้มันไม่ใช่แล้ว

เติมศักดิ์ - เพื่อความมั่นคงด้านพลังงาน

สนธิ - เพื่อเอามาคานต่างชาติ เอามาคานเอสโซ่ เอามาคานเชลล์ แต่ปรากฏว่าวันนี้เป็นการฮั้วกัน ระหว่าง ปตท. เชลล์ เอสโซ่ มันกำหนดราคากันเอง มีกี่เจ้าล่ะ แล้ว ปตท.มันใหญ่สุดตอนนี้ เมื่อ ปตท.มันใหญ่สุด มันกำหนดราคาเท่านี้ ทำให้กำไรได้มากขึ้น เชลล์ กับเอสโซ่ ไม่ดีใจเหรอ

จินดารัตน์ - เรื่องอะไรไม่ขึ้นตาม

สนธิ - เรื่องอะไรไม่ขึ้นตาม เข้าใจหรือยัง เหมือนสมัยหนึ่ง วิโรจน์ นวลแข เขาอยู่แบงก์กรุงไทย เขากำหนดราคา เขากำหนดว่า เงินกู้ก็ตาม ใครก็ตาม ตอนนั้นเป็นช่วงของการฟื้นฟูหนี้ ใครก็ตามที่ต้องการฟื้นฟูบริษัท สมมุติว่าเป็นหนี้แบงก์กรุงเทพอยู่ 100 ล้าน เจรจาหนี้แบงก์กรุงเทพแล้วเหลือ 50 ล้าน ลดหนี้ จะให้แบงก์กรุงเทพรับผิดชอบต่อ แบงก์กรุงเทพไม่เอา เพราะถือว่าคุณหนี้เสียกับผมแล้ว วิโรจน์กวาดไปหมดเลย 50 ล้านมาอยู่กับผม แล้วผมให้เงินทุนเพิ่มอีก กวาดไปจนกระทั่งธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกสิกรไทย เริ่มเสียลูกค้าไปเยอะเลย พวกนี้ก็เลยเริ่มพลิก ว่าถ้าอย่างนั้นแล้ว ถ้าคุณเจรจาหนี้กับผมเสร็จแล้ว ถ้าคุณต้องการเงินกู้เพิ่ม มานั่งคุยกันต่อ นี่คือลักษณะแบงก์กรุงเทพเป็นตัว เขาเรียก Catalize ตัวขัด ไม่ให้มีการผูกขาดกัน หรือว่าดอกเบี้ยแบงก์กรุงเทพ ถ้าดอกเบี้ยเงินฝากมันต่ำ ดอกเบี้ยกรุงไทยตั้งเพิ่มบวกอีก 1 เปอร์เซ็นต์ เงินมันก็จะไหลจากแบงก์อื่นมาที่แบงก์กรุงไทย นั่นคือตัวสร้างความสมดุลขึ้นมา หรือดอกเบี้ยเงินกู้ที่โน่นสูงกว่า กรุงไทยจะต่ำกว่า ลักษณะฉันใดฉันนั้น ปตท.ตั้งมาก็ด้วยเหตุผลอันนี้ แต่ในที่สุด ปตท.กลายเป็นมาเฟียในการกำหนดราคาเอง เอาล่ะ เรามาดูต่อไป
จังหวะที่ ปตท.เข้ามา และจังหวะที่ทักษิณเข้ามา เป็นจังหวะที่ต่างชาติกำลังเริ่มเข้ามาที่จะขอสัมปทานต่างๆ เพราะว่าตอนนั้นมีการค้นพบเทคโนโลยีใหม่ในการตรวจสอบแหล่งน้ำมัน ทั้งในทะเล ทั้งบนบก โดยใช้ดาวเทียม ช่วงทักษิณพอดี ช่วงปี 2544 สิบสองปีที่แล้ว เทคโนโลยีนั้นเพิ่งเกิดขึ้น พอเทคโนโลยีนี้มันเกิดขึ้นแล้ว การสำรวจจากดาวเทียม มันเอาดาวเทียมบินผ่านทั่วโลกเลย ทุกจุด แล้วมันก็ส่งลำแสงมาเช็กแต่ละจุดๆ คือความที่มันชำนาญในเรื่องธรณีวิทยามาก และในทะเลมาก ทะเลเดี๋ยวอีกเรื่องหนึ่ง เอาธรณีวิทยา มันจะรู้เลยว่าลักษณะ ข้อมูลที่ดาวเทียมมันสำรวจมา ถ้าชั้นดินที่มันสำรวจดู เป็นอย่างนี้ๆ องค์ประกอบมีครบตามที่มันวิจัยมาแล้ว โอกาสที่ตรงนั้นมีน้ำมันจะมีถึง 70 เปอร์เซ็นต์

เติมศักดิ์ - แม่นยำมาก

สนธิ - แม่นยำมาก มันแม่นยำมาก แล้วเติมอย่าลืมว่าในทะเลนั้น ความที่ฝรั่งมันเป็นคนซึ่งขุดเจาะน้ำมันในทะเลเป็นเจ้าแรก เพราะฉะนั้นเทคโนโลยีการที่จะดูว่ามันมีน้ำมันใต้ทะเล ชั้นหินใต้ทะเลตรงไหน มันสูงกว่าทุกคน อย่าลืมว่ามันมีเรือดำน้ำที่ดำลึกนะ และมันสำรวจตลอดเวลา ใต้ทะเล มันจะรู้เลย มันจะสำรวจแล้วมันก็ส่งภาพออกมา เพราะฉะนั้นแล้วในขณะนี้ ถ้าถามว่าประเทศทางตะวันตกที่มีเทคโนโลยีแบบนี้ มันรู้มั้ยว่าในโลกนี้มีแหล่งน้ำมันที่ไหน มันรู้หมดแล้ว พอมันรู้หมดทุกแห่งมีน้ำมัน แต่ละบริษัทมันก็จะเริ่มพล็อต กระบวนการให้ได้มาซึ่งสัมปทานตรงนั้น และนั่นคือที่มาของอะไร ที่มาของการซื้อบริษัทกัน ที่มันซื้อบริษัทนี่มันไม่ใช่ซื้อแหล่งน้ำมันที่มันมีอยู่แล้วนะ มันซื้ออนาคต การวิจัย การค้นพบของมัน แล้วมันก็รวมรีเซิร์ฟที่มันมีอยู่เข้ามา ทำให้หุ้นของมันขึ้นไป เข้าใจหรือยังเติม เพราะว่าไอ้ที่มีน้ำมันอยู่แล้ว มันไม่สนใจนี่ มันตายตัวนี่ คูเวต อิหร่าน อิรัก ซาอุดีอาระเบีย กาตาร์ มันไม่สนใจ เพราะมันรู้ว่ามีเจ้าของแล้ว

เติมศักดิ์ - ของตาย

สนธิ - ของตาย รัสเซียมันเข้าไปยุ่งไม่ได้ นั่นคือทำไมตอนช่วงสงครามอัฟกานิสถาน ไอ้กันถึงพยายามบุกเอเชียกลางไง ไปตั้งกองทัพอากาศที่ทาจิกิสถาน คาซัคสถาน พยายามดึงพวกนี้ พวกสถานต่างๆ ออกมาให้อยู่กับไอ้กัน เพื่อที่ไอ้กันจะได้มีแหล่งน้ำมันที่เอเชียกลาง แต่เผอิญไอ้พวกสถานต่างๆ มันฉลาดกว่าคนไทยเยอะ

เติมศักดิ์ - มันรู้ทัน

สนธิ - มันรู้ทัน ผมนี่ไม่เข้าใจ ถ้าพูดถึงเรื่องทรัพยากรธรรมชาติ เรื่องแผ่นดินของไทยนะ คนไทย (แม่ง) โง่ฉิบหาย โง่บัดซบเลย โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้าราชการไทย และทหารไทย มันเป็นอย่างนั้นจริงๆ นะ ทีนี้พอมันมีข้อมูลอย่างนี้ทั่วโลกปั๊บ มันก็เริ่ม mapping แล้วไง เพราะฉะนั้นแล้วมันจะรู้ทันทีเลยว่าอ่าวไทยมีที่ไหนบ้าง มาเลเซียมีที่ไหนบ้าง อินโดฯ มีที่ไหนบ้าง อินโดฯ มันไม่ไปยุ่ง เพราะอินโดฯ มันขุดเจาะน้ำมันมานานแล้ว มันรู้ของมันเอง สังเกตสิมันไม่ไปยุ่งอินโดฯ เลย เห็นมั้ย สังเกตประเทศส่วนไหนที่มันไม่มายุ่ง แสดงว่ามีเจ้าของแล้ว แล้วมันฉลาด ไปหลอกเขาไม่ได้ บรูไน ไปยุ่งมั้ย ไม่ยุ่ง มันมายุ่งที่ไหนล่ะตอนนี้ ที่ยุ่งมากที่สุด เขมร ไทย เวียดนาม ไอ้พวกโง่บัดซบทั้งหลาย

เติมศักดิ์ - แล้วทำให้เรายุ่งเหยิงด้วยนะ

สนธิ - แล้วทำให้เรายุ่งเหยิง นี่เวลาจะเข้าใจ ปตท.ต้องเข้าใจภาพอย่างนี้ ปตท.นี่เป็นเครื่องมือ เติมอย่าลืม 320 ล้านหุ้น บวกกับที่ซื้อเพิ่มอีก เป็น 700 ล้านหุ้น อย่าลืมตัวนี้ ให้จำไว้ตลอดเวลาเลย เติมคิดว่าไอ้ที่มันกำไร 900,000 ล้านบาท ตีง่ายๆ แล้วกัน 35 เปอร์เซ็นต์ ไปที่ 900,000 ล้านบาท เท่าไร เอา 30 เปอร์เซ็นต์แล้วกัน 270,000 ล้าน 300,000 ล้าน 12 ปี นั่นคือเงินปันผล ตามตัวเลขกลมๆ ตามเปอร์เซ็นต์ของการถือหุ้น ที่จ่ายไปให้ฝรั่งหัวดำ เข้าใจหรือยัง

เติมศักดิ์ - 300,000 ล้าน ในช่วง 12 ปี

สนธิ - นั่นคือคำตอบสุดท้าย นี่คือคำตอบสุดท้ายว่าทำไมน้ำมันบ้านเรา (แม่ง) โคตรแพง เข้าใจหรือยัง เพราะมันต้องทำทุกอย่างให้แพง เติม เพื่อให้ ปตท.กำไรมากขึ้น

เติมศักดิ์ - ก็เข้ากระเป๋าตัวเอง

สนธิ - เข้ากระเป๋าตัวเองไง เติม ผมจะให้คุณดูอะไรอย่างหนึ่ง ผมเพิ่งพูดกับแอนว่า อยู่เมืองไทยมันต้องทำใจ มันต้องใช้หลักธรรมเข้าประกอบ ผมพูดว่าไงนะแอน บอกเติมซิ

จินดารัตน์ - ปล่อยให้มันเป็นตามบุญตามกรรม ให้กรรมทำงานด้วยตัวของมันเอง

สนธิ - มันเป็นเวรกรรมของชาติบ้านเมือง

จินดารัตน์ - ใครทำอย่างไรก็รอรับผลกรรมนั้น

เติมศักดิ์ - ต้องให้ธรรมะจัดสรร

จินดารัตน์ - บางคนทนไม่ได้เลย

สนธิ - คือพิสูจน์อีกอันที่พิสูจน์ให้เห็นชัด คือ ปตท.มันชอบอ้างราคาน้ำมันที่สิงคโปร์ ใช่มั้ย มันอ้างราคาน้ำมันที่สิงคโปร์นะ ผมจะให้คุณดู มาตั้งแต่ปี 2549 มันอ้างตลาดสิงคโปร์ตลอดเวลา มันบอกมันต้องอ้างสิงคโปร์ เพราะสิงคโปร์เป็นตลาดกลาง เอาล่ะไม่เป็นไร มึงอ้าง กูไม่ว่า มึงจะคิดตามราคาสิงคโปร์ใช่มั้ย ไม่ว่า 2549 ราคาตลาดบาร์เรลในสิงคโปร์ ในตลาดโลกนะ สิงคโปร์โค้ด บาร์เรลละ 73.25 เหรียญ อัตราแลกเปลี่ยนตอนนั้น 37.80 บาทต่อดอลลาร์ สิงคโปร์ เบนซิน 95 (แม่ง) ขาย 17.45 บาทต่อลิตร ประเทศไทยซึ่งอ้างราคาสิงคโปร์เหมือนกัน (แม่ง) ขาย 27.47 บาท ต่างกัน 10 บาท
2550 ราคาน้ำมันบาร์เรลละ 83 เหรียญ ราคาแลกเปลี่ยน 34 บาทต่อดอลลาร์ สิงคโปร์ขาย 18 บาท เมืองไทยขาย 29 บาท
2551 ราคาน้ำมันบาร์เรลละ 102 เหรียญ อัตราแลกเปลี่ยนเฉลี่ย 33 บาท เงินบาทแข็งขึ้นแล้วนะ สิงคโปร์ขาย 21.50 บาทต่อลิตร เมืองไทยขาย 39.73 บาท ส่วนต่างยิ่งวันยิ่งห่าง 49 ห่าง 10 บาท 50 ห่าง 10.90 บาท 51 ห่าง 18.23 บาท
2552 บาร์เรลละ 70 เหรียญ อัตราแลกเปลี่ยน 34 บาท สิงคโปร์ 15.18 บาท เมืองไทย 42 บาท ห่างกัน 100 เปอร์เซ็นต์ 2553 บาร์เรลละ 88.37 เหรียญ เงินบาท 31.68 บาทต่อ 1 เหรียญ สิงคโปร์ 17.61 บาท เมืองไทยยัง 42.29 เหมือนเดิม อัตราแลกเปลี่ยนแข็งขึ้น แต่ส่วนต่างของน้ำมันยังเท่าเดิม

เติมศักดิ์ - ทั้งๆ ที่อัตราแลกเปลี่ยนมันแข็งขึ้น

สนธิ - ถูกต้องแข็งขึ้น 2 บาท 2554 2 ปีที่แล้ว บาร์เรลละ 119 เหรียญ อัตราแลกเปลี่ยนเฉลี่ย 30.50 บาท สิงคโปร์ 22.95 เมืองไทย 44.91 บาท

จินดารัตน์ - ร้อยเปอร์เซ็นต์เลย

สนธิ - 2555 ปีที่แล้ว น้ำมันบาร์เรลละ 124 เหรียญ อัตราแลกเปลี่ยนเฉลี่ย 31.08 บาท สิงคโปร์ขาย 24.31 บาท เมืองไทยขาย 45.76 บาท เติมคุณหาตรรกะให้ผมหน่อย เข้าใจหรือยัง แสดงว่าไอ้ส่วนต่างนั้นมันบวกฉิบหายเลย เพื่อเข้ากระเป๋าพวกมันเอง ราคาน้ำมันบ้านเราต้องอยู่ ต้องถูกควบคุม ต้องเป็นสินค้าควบคุม ในเมื่อคุณอ้างราคาสิงคโปร์ เราต้องดัดหลังมันด้วยราคาน้ำมันในสิงคโปร์ สิงคโปร์มันไม่มีน้ำมันนะมันสั่งเข้า มันไม่ต่างกับไทยถ้ามันจะอ้าง ถูกไม่ถูก มันมีโรงกลั่นเราก็มีโรงกลั่น โรงกลั่นของมันๆ ซื้อน็อตตัวนี้เราก็มีน็อตตัวนี้เหมือนกัน ค่าแรงมันแพงกว่าเราเสียด้วยซ้ำ ทำไมน้ำมันมันถึงแพง ถูกกว่าเราตั้งครึ่งนึงเห็นไหม ดูแค่นี้ ไม่ต้องไปดูอเมริกา ดูแค่สิงคโปร์กับเรา เพราะฉะนั้นไอ้ที่ต่างกว่า 100 กว่าเปอร์เซ็นต์มันเข้ากระเป๋าใครบ้าง มันขี่ไปหลายทางผมจะเอาให้ดู ผมจะบอกวันนี้ต้อง

เติมศักดิ์ - หลักๆ เข้ากระเป๋าไอ้พวก 320 ล้านหุ้นแน่นอน

จินดารัตน์ - 35 เปอร์เซ็นต์

สนธิ - ทีนี้ผมจะให้ดูอันนึง น่าสนใจมาก ผมไปวิเคราะห์งบลงทุนตารางเปรียบเทียบ การเติมโตของ ปตท. ปตท.มันมีบริษัทในเครือเยอะเข้าใจไหม แต่บริษัทในเครือหลายบริษัทมันไม่ได้ถือหุ้น 100 เปอร์เซ็นต์ มันถือ 30 เปอร์เซ็นต์บ้าง 25 เปอร์เซ็นต์บ้าง 75 เปอร์เซ็นต์บ้างแล้วแต่ แต่ส่วนใหญ่จะถือเยอะ

จินดารัตน์ - ประมาณ 45 บริษัท

สนธิ - ผมจะให้คุณสังเกตอย่างนะ ตั้งแต่ปี 2544 12 ปีที่แล้ว พอมันเริ่มเข้าตลาดหลักทรัพย์ สัดส่วนของกำไรที่ ปตท.ได้มาจากบริษัททุกบริษัทที่รวมกัน คิดแล้วตั้งแต่ปี 2544 มันเข้าตลาดปีแรกมันกำไร 729 เปอร์เซ็นต์ปีแรก

เติมศักดิ์ - 729 เปอร์เซ็นต์

สนธิ - ปีที่ 2 กำไร 60.78 เปอร์เซ็นต์ แล้วผมจะดูให้ โอเค จะเห็นได้ชัดว่า ถ้าคุณดูมางบกำไรขาดทุน ปตท. และบริษัทย่อยกำไรสุทธิ หลังจากปี 2549 เป็นต้นมา 49 50 51 52 53 54 55 56 สัดส่วนกำไร ปตท.เมื่อเปรียบเทียบกับ ปตท.บวกบริษัทย่อย สัดส่วนจะลดลงอยู่ราวๆ 50 -60 เปอร์เซ็นต์ แต่ตั้งแต่ปี 44 -49 44 45 46 47 48 49 สัดส่วนกำไร ปตท.เมื่อเทียบกับงบรวมจะอยู่ที่ 80-90 เปอร์เซ็นต์ แปลว่าอะไร แปลว่ามันโดนด่ามาก มันเลยผ่อนกำไรมันไปอยู่บริษัทย่อย เข้าใจหรือยัง ทีนี้บริษัทย่อยมันเกิดอะไรขึ้น มันเอาบริษัทย่อยไปเข้าตลาดหลักทรัพย์ แล้วให้ ปตท.ถือ 25 เปอร์เซ็นต์ และอีๆ โทษนะอีห่าอีก 75 เปอร์เซ็นต์ใครถือวะ ฝรั่งหัวดำ เข้าใจหรือยังเติม แอนเข้าใจไหม
คืออย่างนี้ท่านผู้ชมต้องเข้าใจนะ ผมจะอธิบายให้ฟัง ปตท.บริษัทแม่มันมีบริษัทลูก อย่างเช่น บริษัทโรงกลั่น บริษัทลูก บริษัทนี้ แล้ววิธีการมันคือ ปตท.จะไปถือหุ้นในบริษัทย่อย มันอาจจะถืออยู่ 46 เปอร์เซ็นต์ 37 เปอร์เซ็นต์ ส่วนอีกสมมุติมันถือ 30 อีก 70 ของใคร อีก 70 เปอร์เซ็นต์มันก็เอาเข้าตลาดหลักทรัพย์ มันขายให้พวกฝรั่งหัวดำ พวกมัน เท่ากับไอ้พวกที่ถือหุ้นอยู่ 320 ล้านหุ้น หรือ 700 ล้านหุ้นมาถือตรงนี้ด้วย แล้วทีนี้มันก็ผ่อนกำไร สมมุติว่า ราคาที่มันต้องจ้างไอ้บริษัทย่อยนี่ 10 บาท มันก็จ่ายเป็นค่าจ้าง 100 บาทแทน ให้มันแพงขึ้น เพื่อให้งบของ ปตท.ที่เป็นส่วนที่ได้จากบริษัทย่อยมันน้อยลง แต่มาปูดที่บริษัทย่อย แล้วพวกมันกินบริษัทย่อย เข้าใจยังเติม

จินดารัตน์ - รวยซ้ำรวยซาก

สนธิ - รวยซ้ำรวยซากไงเติมเห็นไหม ตอนนี้เก็ทหรือยัง อย่างนี้ถ้าเป็นงิ้วธรรมศาสตร์เขาเรียก เอี้ยะ เอี้ยะ ไม่เคยคิดเรื่องนี้มาก่อนเลยนะ

จินดารัตน์ - ไม่ได้คิดถึงบริษัทลูกไงคะ คิดแต่ตัว ปตท.ใหญ่

สนธิ - ไม่ได้

จินดารัตน์ - ลืมนึกไปว่ามันมีไอ้หัวดำนอมินีมันเยอะ

สนธิ - เติมจำได้ไหม ผมเคยอภิปราย เคยพูดในรายการทีวีว่า ไอ้บริษัทโรงกลั่นแรกๆมันค่ากลั่นผมเห็นชัดเจน สมมติว่า 10 บาท เข้าตลาดทำไมค่ากลั่นเกินเป็น 40-50 บาท ทั้งๆที่ผมพูดมาตลอดว่ามันก็เครื่องเก่าตัวนั้น ไอ้ที่ดินก็ตรงนั้นเหมือนกัน ไอ้หญ้าที่ปลูก ต้นไม้ที่ปลูกก็คนนั้น ไอ้คนที่ทำงานก็คนเดียวกัน ทำไมค่ากลั่นเพิ่มตั้ง 500 % วะ นี่คือคำตอบไงเล่า แล้วใครล่ะทำให้มันกำไรอย่างนั้น ไอ้หัวดำเหมือนกัน จนหัวหงอกหมดแล้ว นี่คือคำตอบว่าทำไมน้ำมันเราถึง 49 บาท 45 บาท น้ำมันสิงคโปร์ 21 บาท ทั้งที่มันอ้างอิงราคาน้ำมันสิงคโปร์ ก็คือราคาน้ำมันสิงคโปร์ที่มันเอามากับราคาน้ำมันของมันเท่ากัน เพราะมันอ้างอิงตรงนี้ ผมก็ถามต่อแล้วไอ้โรงกลั่นสิงคโปร์ โรงกลั่นไทยมันต่างกันตรงไหน มันก็เหมือนกัน ค่าแรงเราเสือกถูกกว่ามันอีก แต่ทำไมค่าน้ำมันเราแพงกว่ามันตั้งเท่าตัว เพราะมันลงไปบริษัทย่อยไง

จินดารัตน์ - คุณสนธิ แอนว่าวันนี้หลายคนต้องโกรธคุณสนธินะคะ เพราะทำให้รู้สึกว่าตัวเองโง้โง่ โง่มากเลย ก้มหน้าก้มตาใช้โดยไม่มีปากมีเสียง

สนธิ - ผมอยากให้คนเสื้อแดงคิดซะบ้าง และผมอยากจะให้ไอ้คนที่พวกซ้ายตกขอบทั้งหลาย ไอ้พวกที่รักชาติรักบ้านเมืองรักประชาชน ไม่ว่าจะเป็นสมศักดิ์ ภูมิธรรม หมอมิ้งค์ ที่เมื่อก่อนเป็นซ้ายอยู่ในป่า เคยต่อสู้เพื่อความเท่าเทียมกัน คุณตอบตรงนี้ให้ผมหน่อย วันนี้ราคาน้ำมันไม่มีสีเสื้อ คุณพอใจใช่ไหมให้ไอ้คนที่คุณเทิดทูนมันกระทืบพี่น้องคุณ แล้วพี่น้องคุณก็คือคนที่มีรายได้น้อยกว่าพวกพี่น้องผม ก็คุณบอกพี่น้องคุณรากหญ้าไม่ใช่เหรอ พี่น้องผมชนชั้นกลาง คุณทนให้มันกระทืบพี่น้องคุณได้อย่างไร แล้วมาจากพวกคุณทั้งนั้น ไอ้พวกคุณที่เทิดทูนฉิบหายวายป่วงหมด คุณเลิกพูดเรื่องมาตรา 112 สักทีคุณสมศักดื์ ควาย ไอ้เรื่องแบบนี้ทำไมคุณไม่พูดบ้าง ถ้าคุณแก้มาตรา 112 ทำให้น้ำมันถูกลงหรือเปล่า เข้าใจหรือยังแอน ไอ้อิบอ๋าย นี่ไง เติมอึ้งใช่ไหม ไม่เคยเก็ทเรื่องนี้ใช่ไหม เคยฟังว่าทำไมน้ำมันแพง เราผลิตแก๊สได้เท่านี้ ซื้อมาเท่านี้ ไอ้นั่นคือส่วนใหญ่ ผมเอาภาพรวมให้ดูไง

เติมศักดิ์ - ได้เห็นป่าทั้งป่าแล้ว

สนธิ - เห็นหรือยัง

จินดารัตน์ - ทุกครั้งที่เราเติมน้ำมันต่อไปนี้เราต้องคิดว่าเราเสียให้ไอ้ 35% เท่าไหร่แล้ว

สนธิ - คือมันเถียงตัวเลขไม่ออก อัตราเงินแลกเปลี่ยนที่เราซื้อน้ำมันมา เงินบาทเเข็งขึ้นเรื่อยๆแต่ทำไมน้ำมันเราแพงขึ้นเรื่อยๆวะ แล้วจากการซึ่งส่วนต่างของน้ำมันสมัย อัตราแลกเปลี่ยน 37 บาท 38 บาท เงินส่วนต่างระหว่างอัตราน้ำมันของสิงคโปร์กับเมืองไทยต่างกันแค่ลิตรละ 10 บาทเอง ผมไม่รู้จะพูดอย่างไร แต่พอมาปี 2555 อัตราแลกเปลี่ยนเรา 31 บาท 7 ปีเงินบาทเราที่ราคา 37.90 บาทตอนนั้นกลายเป็น 31 บาท แต่ส่วนต่างของน้ำมันเราเพิ่มขึ้นเป็น 21 บาท มันไม่ Make Sense มันไม่มีเหตุผล คือเอาแค่ตัวเลขนี้ก็รู้แล้ว ว่ามันไปกินกันตรงบริษัทลูกเพื่อให้ ปตท.ตัวแม่กำไรน้อยลง เพราะมันไปพลาด จำได้ไหมเราเคยไปโจมตีมันว่า ปีนั้นกำไรแสนกว่าล้าน มันฉลาดเลยโยกบัญชีลงมาข้างล่าง เพราะไอ้พวกฝรั่งหัวดำมันอยู่ข้างล่างด้วย แต่ว่านโยบายพลังงานแห่งชาติมันเป็นการสมรู้ร่วมคิดกัน ระหว่างข้าราชการประจำที่ไม่ต้องการจะปกป้องผลประโยชน์ของชาติ มีความทับซ้อน บางคนเป็นปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม แล้วมานั่งปลัดกระทรวงพลังงาน มานั่ง ปตท. มานั่งอยู่คณะกรรมการกำหนดราคา และไปนั่งอยู่คณะกรรมการพลังงานแห่งชาติ คือทั้หงมดพวกเดียวกันในการกำหนดนโยบายกำหนดราคา แอนมีข้อมูลแอนลองไล่แต่ละคนสิ

จินดารัตน์ - คุณณอคุณ ปลัดกระทรวงพลังงานนะคะ นั่งในตำแหน่ง ประธานกรรมการบริษัทรับเบี้ยประชุมและเงินเดือน 529,000 บาท และโบนัส 2,223,287 บาท รวมทั้งปีจากบริษัทเดียว 2,753,207 บาท อีก 1 ตำแหน่งคือประธานกรรมการบริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด มหาชน หรือ ปตท.สผ.ปี 2554 รับเบี้ยประชุม บวกเงินเดือน 850,000 บาท โบนัสอีก 2,400,000 เศษๆ รวมทั้งปีเฉพาะที่ ปตท.สผ. เกือบ 3,300,000 อีกตำแหน่งคือ นั่งเป็นกรรมการบริษัทไออาร์พีซี จำกัด มหาชน ลาออกเมื่อวันที่ 29 มีนาคม รับเบี้ยประชุมบวกเงินเดือน 540,000 โบนัสอีกประมาณเกือบ 2 ล้าน รวมทั้งปี 2,400,000 เกือบๆ 2,700,000 อีกตำแหน่งคือกรรมการบริษัทไทยออยล์ จำกัด มหาชน เพิ่งรับตำแหน่งเมื่อปลายปีที่แล้ว รับเบี้ยประชุมบวกเงินเดือนไป 80,000 บาท

สนธิ - เบ็ดเสร็จรวมเกือบ 10 ล้านต่อปี และหลายคนที่เป็นกรรมการบวกโบนัสบวกอะไรแล้วปีหนึ่งได้ 2- 3 ล้าน ต่ำสุดก็คือล้านกว่า เพราะฉะนั้นแล้ว ปตท.มันก็เลี้ยงคนพวกนี้ไง ไอ้คนพวกนี้เห็นเบี้ยประชุม โบนัสมาเยอะขนาดนั้น จริงๆมันคือเศษเนื้อติดกระดูก ก็เอา ขึ้นราคาขึ้นไป ไม่ต้องตรวจสอบ นี่คือปัญหาใหญ่ ทีนี้ปัญญาที่ใหญ่กว่านี้ของเราคืออะไร อย่าไปดูที่พลังงานไทยอย่างเดียว ต้องดูพลังงานของพม่า ดูพลังงานของเขมร เชื่อมกัน นั่นคือทำไมถึงเกิดทวาย ยังพูดไม่จบนะ ปตท.มันหน้าด้านขนาดไหน คุณรสนาเขาต้องไปฟ้องศาลปกครอง บอกว่าทรัพย์สินที่ ปตท.ขนไปต้องคืนรัฐนะ ท่อส่งแก๊ส ตลอดจนพื้นที่ที่เวนคืน คุณรสนาตีมูลค่าออกมาประมาณเกือบ 2 แสนล้านบาท ศาลปกครองมีมติตัดสินออกมาแล้วให้คืน แล้วคุณรู้ไหม วันนี้ยังไม่คืนเลย ข้อที่ 2 กรมธนารักษ์มีหน้าที่จะต้องเก็บค่าเช่า มูลค่าสินค้า 2 แสนกว่าบาทเก็บค่าเช่าปีละไม่เกินกี่พันล้านบาท แล้วก็ให้ไปเรียกค่าเช่าย้อนหลัง กรมธนารักษ์ก็ไม่ทำ ไปถามศาลปกครอง ศาลปกครองบอก ศาลปกครองไม่มีสิทธิ์บังคับใคร

เติมศักดิ์ - คือด้านหนึ่ง คนก็จะใช้สิทธิพิเศษ

สนธิ - จะใช้สิทธิของการเป็นรัฐวิสาหกิจเอามา ในขณะเดียวกันต้องการที่จะกระทืบประชาชนในเรื่องราคาน้ำมันหรือปรับรายได้ หรือทำทุกอย่าง ก็จะใช้สิทธิของความเป็นบริษัทมหาชน ใช้ 2 ด้านไง อันไหนได้เปรียบกูกระโดดเข้าฝั่งโน้น อันไหนเสียเปรียบกูกระโดดหนี เข้าใจยัง และ ปตท.มันใหญ่ขนาดไหน ถ้าเบ็ดเสร็จแล้วถ้ารวมบริษัทย่อยมันกำไรปีละแสนกว่าล้าน ปตท.มันกำลังจะกลายเป็นมาเฟียที่ใครเข้าไปคุมแล้วสามารถคุมประเทศไทยได้ เพราะทำไมรู้ไหม บางคนในขณะนี้แอบทำธุรกิจกับ ปตท.ในฐานะเป็นนักการเมืองที่เคยคุม ปตท.อยู่ แก๊สโซฮอล์ทำจากอะไร

เติมศักดิ์ - ก็อ้อย

สนธิ - แล้วก็มีอีกอันหนึ่ง คือ เอทานอล มีเอกชนซึ่งเป็นของนักการเมืองที่เคยคุม แล้วใช้สิทธิในการเคยคุม ปตท.ทำให้ ปตท.ต้องมาลงทุนกับบริษัทตัวเองที่ทำเอทานอลและขายให้ ปตท.ในราคาแพง แอนเข้าใจยัง โครงการวางท่อ โครงการก่อสร้าง โครงการ ปตท.ไม่มีโครงการไหนต่ำกว่า 1,000-2,000 ล้าน ขี้หมูราขี้หมาแห้งก็ 5,000-6,000 ล้าน 10,000-20,000 ล้าน ธรรมดา แล้วคุณคิดว่า ใครได้ บริษัทนักการเมืองได้ทั้งนั้น แล้วมันได้กันยังไง ปตท.ผูกขาดการสั่งน้ำมันเข้าในประเทศไทยแต่ผู้เดียว ปตท.ผูกขาดการใช้ท่อแก๊สแต่ผู้เดียว

เติมศักดิ์ - ใช้สิทธิในการผูกขาด

สนธิ - ใช้สิทธิในการผูกขาด ใช่ไหม แล้วมันสั่งน้ำมันเข้าแต่ผู้เดียวเนี่ย น้ำมันมันมีเปอร์เซ็นต์อยู่แล้ว คุณสั่งเท่าไรก็ตามเงินเปอร์เซ็นต์ที่จ่ายให้ไปพักไว้ที่บัญชีเมืองนอก ไม่ได้มาปรากฏในงบของ ปตท.แล้วงบบัญชีเมืองนอกจ่ายให้ใคร ก็นักการเมืองไง นักการเมืองคนไหนที่มันนั่งคุมอยู่โซนพลังงานจะได้เงินเดือนประจำ 30 ล้าน 50 ล้าน ผมอยากพูด ผมอยากให้พวกเสื้อแดงฟังเรื่องนี้ วันนี้ผมไม่ได้พูดในฐานะที่ผมเป็นแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ผมพูดในฐานะประชาชนผู้รักชาติและ รักประชาชน

เติมศักดิ์ - ว่า ใครกันแน่ที่กดขี่

สนธิ - ว่า ใครกันแน่ที่กดขี่พวกคุณ ไม่ใช่มาตรา 112 คุณเข้าใจผิดแล้ว ถ้าคุณจะฟาดฟันกับพรรคประชาธิปัตย์คุณฟาดฟันไปเลย เพราะคุณมันสมน้ำสมเนื้อ ผีกับโลง ก็ว่ากันไป แต่เรื่องนี้เป็นเรื่องของประชาชนคุณต้องเข้ามาสู้ เข้าใจยังเติม และพอคุณดูแล้วคุณจะเห็นว่า ในราคาน้ำมันบาร์เรลละ 100 กว่าเหรียญ อเมริกันต้องส่งแสนยานุภาพเข้ามา เพื่อแสดงให้เห็นนั้นคือที่มาของเรือดำน้ำนิวเคลียร์เข้ามาในอ่าวไทย

เติมศักดิ์ - ที่อ่าวสัตหีบ

จินดารัตน์ - หลายๆ คนงงว่า อยู่ๆ โผล่มาได้อย่างไร

สนธิ - เพราะว่าอเมริกา บารัก โอบามาไปประกาศนโยบายอเมริกาในเอเชียแปซิฟิกที่ออสเตรเลีย บอกว่าเป้าหมายอเมริกาในอนาคตคือ เอเชียแปซิฟิกไม่ใช่ที่ยุโรปไม่ใช่ที่ไหน ทุกแห่งลดกำลังทหารหมด แต่ที่นี่จะมีแต่เพิ่ม เพราะฉะนั้นมีการลำเลียงส่งเรือดำน้ำเข้ามามากขึ้น ส่งเรือบรรทุกเครื่องบินมากขึ้น นั้นคือที่มาว่า ทำไมจีนต้องเร่งสร้างเรือบรรทุกเครื่องบินไง เข้าใจหรือยัง นี่คือปัญหาใหญ่ เข้าใจยังตอนนี้
และทำไมต้องเป็นนครรัฐปัตตานี ก็เหมือนเดิมถ้าจะให้น้ำมันอยู่ในแพลตฟอร์มที่เขาเข้าไปโกงกินได้ เข้าไปร่วมกับฝรั่งได้ ผมเคยพูดครั้งที่แล้วเติม ถ้าลากเส้นจากตรงปัตตานี และยะลาออกไปในทะเลแล้ว นั้นคือขุมน้ำมันไง และนครรัฐปัตตานีมันไม่ใช่ไม่มีเหตุผล มันอยู่ในใจคนพวกนี้แล้ว มันถึงหลุดออกมา ทักษิณก็หลุดนครรัฐปัตตานี พล.อ.ชวลิต หลุดนครรัฐปัตตานีมาตั้งนาน ภราดร พัฒนถาบุตร ก็หลุดคำว่ารัฐปัตตานี เป็นเพียงแต่ว่าประยุทธ์ จันทร์โอชา ตกใจเพราะว่าถ้าหลุดไปมากกูตายแน่ เลยต้องไปกระซิบ เฉลิม อยู่บำรุง เฉลิม อยู่บำรุง ออกมาทำหน้าที่ปราม บอกว่าไม่มี ไม่มีพูด มันไม่มีพูดได้อย่างไร มันพูดไปแล้วตั้งไม่รู้กี่ครั้ง นายคุณที่คุณเป็นขี้ข้าเขา ยังพูดเลยที่เมืองนอกว่า รัฐปัตตานี

จินดารัตน์ - มีภาพเป็นคัทเอาท์หาเสียงของพรรคเพื่อไทยเมื่อปี 44 พรรคเพื่อไทยขอสนับสนุนนครปัตตานีท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ

เติมศักดิ์ - ชัดเจน

สนธิ - เพราะฉะนั้นแล้วอุตสาหกรรมพลังงาน มันเป็นอุตสาหกรรมที่ยิ่งใหญ่มาก มหาศาล จำได้ไหมเติมที่ผมบอกว่า ไอ้ช่วงที่บ่อน้ำมันในทะเล ที่ส่วนนึงเป็นของเขมร อีกส่วนเป็นของไทย ส่วนของไทยไม่ได้มีการพัฒนานะ ที่พิสูจน์แล้วว่าเป็นของไทย และของเขา คือไม่ได้ทะเลาะกันแล้วนะ มีบริษัทสัมปทานอยู่ 5 บริษัท จำได้ไหมผมเคยพูด บริษัทที่ไหนก็ไม่รู้ พ่อแม่อยู่ไหนไม่รู้จู่ๆ แม่งได้สัมปทานไป ผมจะบอกให้เป็นบริษัทของฝรั่งหัวดำ

เติมศักดิ์ - อีกแล้ว

สนธิ - อีกแล้ว รับสัมปทานเอาไว้เป็นพื้นที่ เหมือนกับอย่างนี้ สมมุติว่าพื้นที่ในทะเลมันเป็นอย่างนี้ ครึ่งนึงอย่างนี้ ครึ่งนี้เป็นของเขมร ครึ่งนี้เป็นของไทย ของไทยสัมปทานเอาออกไปหมดแล้วนะ หาบริษัทที่เป็นสัญชาติฝรั่งหาไม่เจอ แต่เป็นลักษณะฝรั่งหัวดำ ทำไมหาไม่เจอ เพราะว่ามันไม่ใช่เชฟรอน มันไม่ใช่อะไรทั้งสิ้น แต่ด้านนี้ฝรั่งมันเริ่มพัฒนาเขมรแล้ว ถ้ามันพัฒนาเมื่อไรมันเริ่มขุดเมื่อไร เจ้าของสัมปทานอันนี้แม่งโอนให้ฝรั่งร่วมทุนด้วยเลย โดยไม่ต้องลงทุน แต่ว่าจะขอถือหุ้น 25 เปอร์เซ็นต์ เข้าใจหรือยังเติม พลังงานทรัพยากรธรรมชาติบ้านเรา บ้านเรามีเหมืองทองคำเยอะเลย มีเยอะนะแอน แต่ว่าคนที่ไปทำการวิจัยและตรวจสอบว่า มีไม่มี คือบริษัทออสเตรเลีย ไม่ใช่คนไทย ถ้าเมืองไทยมันมีปัญญากู้ 2 ล้านล้านบาทมาได้ แล้วอีก 3.5 แสนล้าน สำหรับกันน้ำท่วม มันกันสักแสนล้านมา เพื่อลงทุนในเรื่องการวิจัย ทรัพยากรในบ้านเราไม่ได้

จินดารัตน์ - สำรวจเอง

สนธิ - ทั้งทะเลและบนบก ด้านเหมืองทองคำเกิดเจอเหมืองทองคำแล้ว และมันได้สัมปทานไป คำถามคือมันจะเข้าอีหรอบเดิมของน้ำมันหรือเปล่า

จินดารัตน์ - มันบอกเราหรอว่ามีอยู่เท่าไรใช่ไหมคะ

สนธิ - ใช่ เพราะฉะนั้นแล้ว สัมปทานของเมืองไทยทุกวันนี้ ที่ถูกต้องเรียกคืนหมด ขอเจรจาใหม่ บริษัทฝรั่งค่าสัมปทานมันจ่ายเราจริง แต่สิ่งที่มันลงทุนไปเช็กไม่ยาก 1.คุณสร้างบ่อขุดเจาะเท่าไรตีราคามา 2.เมื่อคุณตีราคามาได้เรียบร้อยแล้ว ถามว่าตั้งแต่คุณขุดเจาะมา คุณสูบน้ำมันออกไปกี่ปีแล้ว ราคาตลาดโลกเท่าไร หักบวกลบแล้วคุณได้ทุนคืนหรือยัง ขุดเจาะ อย่างดีที่สุดผมก็จ่ายค่าขุดเจาะขุดดินไป แล้วผมยึดสัมปทานคืน หรือถ้าคุณยังอยากได้สัมปทานต่อ เรามาเปลี่ยนสัญญาสัมปทานใหม่ แทนที่คุณจะให้ผม 20 25 30 เปอร์เซ็นต์ คุณต้องให้ผม 75 เปอร์เซ็นต์ หรือ 80 เปอร์เซ็นต์ และต้องให้บนพื้นฐานของราคาตลาดโลก ไม่ใช่บนพื้นฐานของที่คุณขายไป เพราะคุณจะตั้งอีกบริษัทนึง เพื่อขายราคาถูกให้กับอีกบริษัทนึง เข้าใจหรือยัง สมุมติราคาน้ำมันตลาดโลกร้อยนึง คุณตั้งบริษัทมาเพื่อขายบริษัทนี้ 50 และคุณจ่ายสัมปทานบนพื้นฐาน 50 ผมไม่เอาตรงนี้ ผมจะเอาราคา 100 ทำไมคนไทยมันคิดตรงนี้ไม่เป็น นี่ไง ที่เหลือไม่ต้องไปคุยแล้ว เติม เรื่องน้ำมันแพงตรงนั้นตอนนี้ชัดแล้วใช่ไหม

เติมศักดิ์ - ชัดเจน

สนธิ - ชัดเจนเลยใช่ไหม

จินดารัตน์ - ปวดตับ ปวดใจ

สนธิ - ไม่รู้ใครถามมา วันนี้เข้าใจหรือยัง ที่บอกให้ผมพูด

จินดารัตน์ - คุณเติมมีคำถามนึง เขาบอกว่าช่วยให้คุณสนธิ อยากให้คุณสนธิแฉเรื่อง ปตท.เอาให้เข้าใจง่ายๆ นะครับ วัวควายไม่เข้าใจ

สนธิ - แอนวันนี้ถามจริงๆ วันนี้แอนกับเติมคิดว่า เข้าใจไหมที่ผมพูด

เติมศักดิ์ - เข้าใจ และทำให้เข้าใจมากขึ้นว่า ทำไมต้องทวงคืนพลังงาน

สนธิ - ต้องทวงคืน

จินดารัตน์ - คุณสนธิ แอนไปเปิดวิสัยทัศน์กับพันธกิจของ ปตท. วิสัยทัศน์บริษัทเขาตั้งเอาไว้ว่า ก้าวสู่การเป็นบริษัทพลังงานไทยข้ามชาติชั้นนำ ส่วนพันธกิจเขาบอกมีสำหรับประเทศ สังคม ชุมชน พนักงาน ผู้ถือหุ้น ผู้ค้าต่อลูกค้า ดูที่เขาเขียนสำหรับประเทศนะคะ พันธกิจที่มีต่อประเทศคือ สร้างความมั่นคงด้านพลังงานในระยะยาว โดยการจัดหาพลังงานในปริมาณที่เพียงพอ มีคุณภาพได้มาตรฐาน และราคาเป็นธรรม เพื่อเสริมสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจ ส่วนต่อลูกค้าอย่างเรา สร้างความพึงพอใจ และผูกพันแก่ลูกค้า โดยการนำเสนอผลิตภัณฑ์ และบริการที่มีคุณภาพในระดับมาตรฐานสากล ด้วยราคาเป็นธรรม เป็นธรรมไหม เหมือนไม่ได้ทำ เศร้า จะมาทำอย่างเดียวที่ประสบความสำเร็จ คุณสนธิ สำหรับผู้ถือหุ้น

สนธิ - คืออย่างนี้ เติม ทุกอย่างที่มันทำ มันทำเพื่อให้ราคาหุ้นมันขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของน้ำมัน ไม่ว่าจะเป็นราคาน้ำมัน ไม่ว่าจะเป็นราคาแก๊ส ทั้งที่ราคาแก๊สควรจะต่ำมันไม่ทำ มันจงใจทำให้สูง เพื่อให้ปันผลมันสูงขึ้นไง แล้วราคากำไรมันไม่ได้โผล่ที่ ปตท. จะไปโผล่บริษัทลูกมัน ไอ้ฝรั่งหัวดำมันกินบนและกินล่างไง ผมนี่รู้ทันมันหมด จริงๆ ไม่ได้พูดเล่น ผมรู้ว่ามันขยับยังไง ไอ้ 2 ล้านล้านของมัน ที่มันจะกู้มานี่นะ บวกกับไอ้เรื่องที่มันวางสามเหลี่ยมน้ำมันพม่า เขมร ไทย สามเหลี่ยมอย่างนี้เลย มันจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับ 2 ล้านล้าน มันโกงโครงสร้างคมนาคม เข้าใจยัง แล้วมองภาพใหญ่ เพราะฉะนั้นแล้วประเทศจะเสียเอกราช จะสูญเสีย 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จะเสียพื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตร จะเสียอะไรให้เขมร ช่างหัวมัน ไม่ใช่ประเทศมัน ประเทศมันแต่มันไม่สนใจ ผมถึงบอกไง จำได้มั้ยผมเคยพูดว่าระหว่างทักษิณ กับชาเบซ มันต่างกันตรงไหน อาทิตย์ที่แล้วจำได้มั้ย ต่างกันตรงนี้

เติมศักดิ์ - คนหนึ่งทำเพื่อพี่น้องร่วมชาติ

สนธิ - ถูกต้อง

เติมศักดิ์ - อีกคนหนึ่งทำเพื่อ ..

จินดารัตน์ - พี่น้องร่วมครรภ์มารดา

เติมศักดิ์ - กระเป๋าตัวเอง

จินดารัตน์ - คุณทอมมี่บอกว่า ได้ข่าวว่า ปตท.จะจัดเสวนาเคลียร์เรื่อง ทำไมต้องขายน้ำมันที่ราคานี้ จัดที่ห้องประชุม ปตท. คิดว่ายังไงครับ

สนธิ - คุณแน่จริง คุณเปิดเวทีสาธารณะสิ เอาคุณรสนาเข้าไป เอาปานเทพเข้าไป เอาหม่อมหลวงกรณ์เข้าไป ทำไมคุณไม่เปิด คุณไปเปิดในห้องประชุม ปตท.

จินดารัตน์ - เศร้า

สนธิ - เติมเคลียร์แล้วใช่มั้ยวันนี้

เติมศักดิ์ - เคลียร์ครับ

จินดารัตน์ - เราพักกันก่อนนะคะ

สนธิ - เหมือนกับเรียนจบเรื่องพลังงานแล้วใช่มั้ยตอนนี้

จินดารัตน์ - ง่ายจริง แอนว่าควายก็เข้าใจ

สนธิ - อ้าว จริงๆ ผมนี่อยากจะบอกฝากคนเสื้อแดงที่แอบดูรายการนี้ หรือผู้นำเสื้อแดงที่จำเป็นต้องดูรายการนี้ วันนี้คุณไม่ต้องมาสนใจว่าผมเป็นแกนนำพันธมิตรฯ หรือเปล่า ผมพูดในฐานะคนไทยที่รักชาติ อยากให้ทรัพยากรธรรมชาติตกอยู่ในมือคนไทย และอยากให้คนไทยได้รับความยุติธรรม ไม่โดนรังแกอย่างนี้ คุณเห็นด้วยกับผมมั้ย ถ้าคุณเห็นด้วยกับผม ถึงเวลาที่คุณจะต้องลุกขึ้นมาสู้บ้างแล้ว คุณอย่าไปหูหนวกตาบอด สู้ในเรื่องที่เขาหลอกใช้คุณ หรือแกนนำพวกคุณบางคนเต็มใจสู้ให้เขา เพราะคุณได้ผลประโยชน์ แต่ชาติบ้านเมืองเป็นยังไงช่างมัน อันนั้นก็ช่วยไม่ได้

จินดารัตน์ - ได้ข่าวแว่วมาว่ามีแดงบางกลุ่มที่เขาเริ่มทนไม่ไหวแล้วนะคะคุณสนธิ

สนธิ - คือวันนี้ ถ้ามาถึงเรื่อง ปตท. เรื่องผลประโยชน์ของสัมปทานน้ำมัน มันทรัพย์ของพวกเรานะ คุณจะเสียอะไรก็ตาม นี่มันทรัพย์ของพวกเรา แล้วถ้าเราเรียกคืนมาหมดแล้ว เราจัดสรรสัมปทานให้มันถูกต้อง ให้เราได้ในส่วนที่เราควรจะได้ คุณรู้มั้ยเงินที่มันได้มามันพอเพียงยังไงที่มันจะทำให้คนจน หรือคนที่ลำบาก ที่ไม่มีโอกาสในประเทศ มันมีชีวิตที่ดีขึ้น แทนที่จะไปตกอยู่ในมือนายคุณ กลุ่มของนายคุณ

จินดารัตน์ - รอรับเศษเงินที่เขาโปรยมา

สนธิ - ใช่ แล้วรอรับเศษเงินที่มันโยน เขาเรียกว่าเศษกระดูกติดเนื้อ เนื้อติดกระดูก โยนให้กิน มาแทะ

เติมศักดิ์ - นี่ล่ะคือที่มาของความเหลื่อมลำจริงๆ

สนธิ - นี่คือความเหลื่อมล้ำจริงๆ แล้วก็ไอ้โง่ ไอ้หัวขาว ที่ออกไทยพีบีเอส ผมถามคุณ และผมจะถามซ้ำ ถ้าคุณแก้มาตรา 112 แล้วคุณจะทำให้ราคาน้ำมันลงหรือเปล่า ควาย!!

จินดารัตน์ - พักก่อนแล้วกัน พักกันสักครู่ค่ะคุณผู้ชม

จินดารัตน์ - กลับมาช่วงสุดท้ายนะคะ มาถึงช่วงคำถาม มีการแสดงความคิดเห็นเข้ามาเยอะค่ะ เรื่อง ปตท. แอนขออนุญาตอ่านเรื่อง ปตท.ก่อนนะคุณเติม มีท่านหนึ่งบอกว่า ถามหน่อยว่าต้องทำให้ ปตท.มีกำไรสูงสุดใช่มั้ย จึงทำให้ตอนนี้เรื่องไบโอดีเซล 100 เปอร์เซ็นต์ ตามแนวพระราชดำริ มีอันต้องเงียบหายไป เพราะถือว่าเป็นคู่แข่งทางการค้าของ ปตท. / รายการนี้ดีมาก ได้ความรู้เรื่องน้ำมันแบบเต็มๆ ลุงสนธิ ความรู้สูง ผมรักพันธมิตรฯ ครับ / คุณลุงครับ ช่วยเอาตารางเปรียบเทียบน้ำมันที่ลุงอ่านมาเมื่อกี้ ลงให้ได้มั้ยครับ อยากได้คลิปวันนี้ด้วย อยากดูหลายๆ รอบ จะได้เข้าใจ ยอมรับว่าอึ้ง ที่แท้น้ำมันแพงๆ ของบ้านเรามาจากการต้องการแค่เงินปันผลสูงๆ ของฝรั่งหัวดำ / กินกันเต็มๆ บริษัทลูก แล้วมากินใน ปตท.อีก และการใช้จ่ายต่างๆ ให้ ปตท.ลงทุน มีอีกท่านหนึ่ง พี่หลินบอกว่า ถ้าเรื่องพลังงานที่คุณสนธิพูด ถูกเผยแพร่ในสื่อสาธารณะ คนไทยส่วนใหญ่ในประเทศคงไม่โง่ดักดานอย่างที่เป็นอยู่ทุกวันนี้

สนธิ - แต่มันต้องแก้ความโง่สื่อสาธารณะก่อนนะ

จินดารัตน์ - อันนั้นยากมากเลยค่ะ วันนี้เรื่องพลังงานสนุกมากครับ ได้ความรู้ในสิ่งที่ไม่เคยรู้ ชอบจังเลย น่าจะรวมเป็นเล่มนะคะ พวกเราไม่เคยลืมว่ามันทำอะไรกับพวกเราไว้บ้าง นี่คร่าวๆ นะคะ

เติมศักดิ์ - หลายๆ เรื่องที่คุณสนธิเคยพูดไว้ในอดีต ทั้งเรื่องหมิ่นสถาบัน ทั้งเรื่องระบอบทักษิณ ปตท. เขาพระวิหาร สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ เวลาได้พิสูจน์แล้วว่าสิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องจริง ไม่เกี่ยวกับชอบหรือไม่ชอบพรรคอะไร แต่ขนาดมีคนรู้ทันแบบคุณสนธิออกมาปกป้องประเทศชาติบ้านเมืองเรายังฉิบหายได้ขนาดนี้

สนธิ - ด้วยเหตุนี้ต้องปล่อยให้ชาติบ้านเมืองรับเวรรับกรรม ไปตามกรรมที่ชาติบ้านเมืองได้ทำเอาไว้ ผมพูดกับแอนก่อนที่เติมมา ผมบอกว่า พวกเรานี่ทำได้ดีที่สุดแล้ว ไม่รู้จะทำยังไงดีกว่านี้อีกแล้ว สุดๆ แล้วพวกเรา เติมก็สุดๆ แอนก็สุดๆ ผมก็สุดๆ จะให้ทำอะไรมากกว่านี้

จินดารัตน์ - เต็มเหนี่ยวแล้วนะคะ

สนธิ - เต็มเหนี่ยวแล้ว

จินดารัตน์ - มีบางคนเขากระแนะกระแหนคุณสนธิ เขาบอกว่าชอบพูดว่าให้บ้านเมืองฉิบหายก่อนเนี่ย ใจร้ายใจดำ ใจจืดใจดำ

สนธิ - จริงๆ มันเป็นอย่างนั้นจริงๆ นะ ไม่ได้ใจร้ายใจดำหรอก เพราะว่าคนมันไม่ใช่ปัญหาเรื่องด้อยปัญญาอย่างเดียวนะ คนมันไม่สนใจนะแอน มันเป็นไปได้ยังไง น้ำมัน 2 ลิตร 100 แล้วคนมันมีชีวิตอยู่ได้ยังไง ผมว่าเติมเดือนนึงน้ำมันต้องมีหมื่นกว่า ใช่มั้ย

เติมศักดิ์ - ใช่ครับ

สนธิ - น้ำมันมีหมื่นกว่า แล้วไอ้คนซึ่งเงินเดือนแค่ไม่ถึง 2 หมื่น แล้วมันเสือกอยากจะมีรถ เพราะว่านโยบายประชานิยม รถคันแรก มันเซฟไปแสนนึง แล้วมันต้องเสียค่าน้ำมันเดือนละเกือบหมื่น มันอยู่ได้ยังไง สังคมไทยมันถึงสาสม มันต้องโดนไง แล้วเติมรู้มั้ย คุณมาบวกเลขประชานิยมที่มันใช้กันนี่นะ ยิ่งลักษณ์ขึ้นมานี่ มันใช้ไป 680,000 ล้านนะ เพื่อให้คนลุ่มหลงหลงใหลกับประชานิยม 680,000 ล้านนะเติม ผมบวกตัวเลขหมดทุกอย่าง บางครั้งรู้มากไป ก็ทุกข์ทรมาน เพราะฉะนั้นแล้ว หลายๆ ครั้งผมจะเป็นคนไม่พูดอะไร เพราะทะลึ่งรู้มาก เหมือนอย่างที่ผมเล่าให้เติมฟังวันนี้ ผมรู้มานานแล้ว แต่ผมก็ดีใจที่ยังมีคนอย่างปานเทพ คนอย่างคุณรสนา คนอย่างหม่อมหลวงกรณ์ หลายๆ คนที่ออกมา แล้วก็เจาะลึกแต่ละเรื่องให้เห็น ผมก็ต้องชมเขา เขาก็สุดๆ ของเขาเหมือนกัน คุณรสนาไปฟ้องศาลปกครอง ฟ้องแล้วฟ้องอีกนะ ฟ้องครั้งแรกชนะในเรื่องของเอาท่อส่งก๊าซคืน ฟ้องครั้งที่ 2 บอกมันยังไม่ส่งคืนเลย แล้วก็ไม่ได้จ่ายเงินค่าเช่าด้วย
ปตท.นี่ถ้ามีอำนาจในมือในรัฐบาล มันจัดการได้ง่าย มันไม่ยากหรอก

เติมศักดิ์ - อยู่ที่จะทำหรือเปล่า

สนธิ - อยู่ที่จะทำหรือเปล่า ประการแรก ท่อส่งก๊าซคืนมา ปรับราคาค่าเช่าเสียใหม่ ประการที่ 2 ก๊าซที่บอกคุณไม่พอ เพราะคุณเอาส่วนหนึ่งที่ผลิตก๊าซได้เอาไปให้กับอุตสาหกรรมปิโตรเคมิคัล ก็ง่ายนิดเดียว อุตสาหกรรมปิโตรเคมิคัลก็ไม่ต้องส่งให้มัน เอามาใช้ในประเทศ ส่วนอุตสาหกรรมปิโตรเคมิคัล คุณจะใช้ก๊าซ คุณซื้อก๊าซนอกเข้ามา ก็จบ เมืองไทยแก๊สก็ไม่แพง แม่ค้าขายกล้วยแขกก็ไม่ต้องขายกล้วยแพง อาหารก็ลดลงได้อีก แค่นี้มันก็ไม่ทำ เหมือนกับวันนี้ ทำไมมันต้องเจรจาเอฟทีเอกับอียู แล้วก็ค้านกัน เติมรู้หรือเปล่าเรื่องอะไร มันจะไปยอมรับให้ต่อทะเบียนสิทธิบัตรยา การต่อทะเบียนสิทธิบัตรยาเท่ากับประเทศไทยไม่มีสิทธิผลิตยาเพื่อแลกอะไร แลกกับการส่งไก่ ส่งกุ้ง ของซีพี แลกกับให้ซีพีรวยแต่ให้คนไทยใช้ยาแพงขึ้น นี่ไงประเทศไทย นี่ไงกิตติรัตน์ ณ ระนอง ฟังแล้วช้ำใจไหม คนไทยไม่มีสิทธิใช้ยาถูกก็เพราะว่า สิทธิบัตรยาต้องเซ็นเพื่อแลกกับการส่งไก่ ส่งกุ้ง ให้นายทุนรวยต่อไป

เติมศักดิ์ - อยากรู้ว่าเงินกู้ 2 ล้านล้าน ที่รับบาลจะกู้ประชาชนจะได้ประโยชน์อะไรบ้างครับ

สนธิ - ทำไมต้องเป็นเงินกู้นอกงบประมาณ เงินกู้นอกงบประมาณคือตรวจสอบไม่ได้ข้อแรก ข้อสองเมื่อตรวจสอบยากมันสามารถจะบวก 30% เข้าทุกโครงการได้ ตรงนี้ต่างหากคือต้องเป็นเงินกู้นอกงบประมาณ แล้วพอครบคุณรู้ไหมดอกเบี้ยเงินกู้ 2 ล้านล้าน ปีหนึ่งเฉพาะดอกอย่างเดียวที่ต้องส่ง แสนกว่าล้าน เฉพาะดอก ทุกวันนี้งบขาดดุลของเราทุกปีต้องกู้มา 2 แสนกว่าล้าน บวกอีกแสนกว่าล้าน 3 แสนกว่าล้าน แล้วจะเอาที่ไหนกินล่ะ เพียงเพราะพวกมันอยากจะทำมาหากินบนโครงการต่างๆ จบ

จินดารัตน์ - มีคนอึดอัดขัดข้องใจเรื่องช่องไทยพีบีเอส ว่าทำไมถึงเอาคนอย่างสมศักดิ์ หัวโต มาออกเกือบทั้งอาทิตย์ ขอความเห็นคุณสนธิหน่อย

สนธิ - คือไอ้ช่องไทยพีบีเอสมันเกิดเพระาพวกเอ็นจีโออยากให้เกิด วัตถุประสงค์อันแรก ที่ต่อสู้กันมาต้องการเป็นสื่ออิสระ เอาลงไปสู่ประชาชนทุกภาคส่วน ชุมชนเล็ก ชุมชนน้อย จะได้มีสิทธิมีเสียงปรากฏว่าไปๆมาๆกลายเป็นปากเสียงของพวกที่ต้องการล้มเจ้า โดยแฝงมาในนามสื่อมวลชน และไทยพีบีเอสมันเอางบประมาณมาจากค่าเหล้า จากภาษีเหล้าปีละ 2 พันล้าน เพื่อเปิดโอกาสคนอย่างสมศักดิ์ ออกมาทั้งอาทิตย์คือไอ้พวกนี้มันเป็นประเภทลืมตัว มันไม่เคยรู้ เหมือนอย่างมาตรา 112 พูดอยู่นั่น แล้วสมศักดิ์เองก็ยอมรับว่าคนของทักษิณทั้งนั้น ก็แสดงว่าคนของทักษิณมีเจตนาจะล้มเจ้าสิ ถ้าหากโทษมาตรา 112 มันแรงไปคุณก็บอกว่า โทษแรงไปหน่อยน่าจะแก้ไข ปรับปรุง แต่ไม่ใช่บอกว่าไม่มีความจำเป็น เพราะมาตรา 112 ไม่ได้ไปหนักหัวกบาลใครเลยนี่ ผมถึงบอกไงว่าปัญหาประเทศชาติเขาจะกู้มา 2 ล้านล้านเพื่อให้มันโกงกินทั้งหมดคุณสมศักดิ์ไม่เคยสนใจ ไม่สนใจห่าอะไรเลย น้ำมันเมืองไทยแพงกว่าสิงคโปร์ 20 บาทต่อลิตรทั้งที่ราคาโค้ดมาเท่ากัน กลั่นจากโรงงานแบบเดียวกัน คุณสมศักดิ์ไม่เคยสนใจ ผมถึงบอกว่า ถ้าแก้ ถ้าไม่มีมาตรา 112 สมศักดิ์น้ำจะแตกเหรอ จะสำเร็จความใคร่เลยเหรองานนี้ เสียดายเป็นอาจารย์ โง่เหมือนควาย และไอ้พวกไทยพีบีเอสเหมือนกัน กินจากเงินภาษีอากรพวกนี้ แทนที่จะทำอะไรให้ถูกต้อง สรุปแล้วไทยพีบีเอสผมจะถามคุณอย่างหนึ่ง คุณจะเป็นโทรทัศน์อะไรกันแน่

เติมศักดิ์ - แล้วหลังจากที่ปล่อยให้ออกมาวิจารณ์สถาบันพระมหากษัตริย์อย่างนี้ทั้งอาทิตย์ วันนี้เพิ่มมาทำเป็นรู้สึกตัวด้วยกระแสสังคมทำเป็นรู้สึกตัวช้า ดราม่า งด

จินดารัตน์ - งดตอนจบ

สนธิ - มันบัดซบไอ้พวกนี้ มีเบื้องหลังทั้งนั้น นายภิณโญก็แอคอาร์ตตลอดเวลา เคยมาขอสัมภาษณ์ผมครั้งที่บ้านพระอาทิตย์จำได้ไหม ผมไม่เคยกลัวเลยนายภิณโญ และหลังจากนั้นก็ไม่กล้ามาคุยกับผม ก็ผมสวนเอาง่ายๆ เลย เชิญผมไปไทยพีบีเอสผมจะไปให้เสียตีนผมทำไม เสียศักดิ์ศรีตีนผมเปล่าๆ และไม่อยากไปเหยียบที่นั้นด้วย เพราะตึกเก่าชินวัตรก็ยังอยู่ที่นั้น ทำไมต้องไปเหยียบที่้นั้น

เติมศักดิ์ - คือ ไทยพีบีเอสเนี่ย ต้องโดนสังคมกดดันมากกว่านี้

สนธิ - ต้องโดน คุณเอาเงินเดือน ปีหนึ่งคุณได้งบประมาณ 2,000 ล้าน คุณถลุงกันยังไง และคุณปล่อยให้นายภิณโญมาอวดอุตริทำเป็นเก่งอย่างโน้นอย่างนี้

จินดารัตน์ - แต่ก็อีกนะคะ คนดูส่วนใหญ่ก็ไม่รู้จะคิด จะรู้สึกเหมือนเราหรือเปล่า

สนธิ - ก็ช่างมันเถอะ ปล่อยมันไปตามเวรตามกรรม ผมถึงบอกว่าต้องปล่อย สังคมไทยมันต้องล่มสลาย มันถึงจะรู้สึกกัน ไม่ใช่ผมใจดำหรอก ผมรู้ถึงสัจธรรมว่า ข้อเท็จจริงมันเป็นอย่างนี้ ปล่อยมันไปเถอะ

จินดารัตน์ - พ่อแม่พี่น้องอย่าเสียใจเลยนะคะ ถ้าจะปล่อยมันไปอย่างนี้

สนธิ - ปล่อยมันไป แล้วก็อยู่กับ ASTV อย่างเดียวพอ เอ๊ะแอนจำได้ไหม เติมผมเนี่ย เคยพูดคำหนึ่งมาและผมก็เน้นเรื่องนี้อยู่ แล้ว วันหนึ่งเหตุการณ์มันเหมือนกับสิ่งที่ผมพูดนั้นถูกต้อง ผมเคยพูดบอกว่า จากนี้ไปให้พวกเรารวมตัวกันเอาไว้ ให้รักกันเอาไว้ มีแต่พวกเราเท่าที่จะช่วยพวกเราด้วยกันเอง ให้องค์ความรู้ซึ่งกันเอง ให้ปัญญาซึ่งกันเอง ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ผมพูดประจำเลยจำได้ไหม เหมือนผมจะรู้ว่า สังคมไทยเนี่ยจะแตกแล้ว เมื่อสังคมไทยมันแตกคนที่เกาะกลุ่มได้อย่างพวกเราจะอยู่รอด ให้จำไว้

จินดารัตน์ - ก็เหมือนโดนสึนามินะคะ

สนธิ - ใช่ไหม

เติมศักดิ์ - มีคำถามเกี่ยวกับศึกษาที่น่าสนใจ อยากถามคนสนธิเรื่องการศึกษาเดียวนี้ทำไมเด็กไม่ค่อยรู้เรื่องประวัติศาสตร์หรือว่ารู้น้อยมาก

สนธิ - ผมคิดว่า ถ้าถามอันนี้ ถ้าตอบอันนี้มันยาวจะเอาเป็นสั้นๆ ก็แล้วกัน ผมคิดว่า ระบบการศึกษาของแต่ละประเทศ ไม่ใช่ประเทศไทยอย่างเดียวที่มีปัญหา ประเทศจีนก็เริ่มมีปัญหา เดียวนี้ประวัติศาสตร์จีน ซึ่งประวัติศาสตร์จีนมี 2 ยุค ยุคก่อนสาธารณรัฐ 3 ยุคนะ ก่อนสาธารณรัฐราชวงศ์ชิงยุคสุดท้าย และยุคสาธารณรัฐ ยุคที่ซุนยัดเซ็นขึ้นมา แล้วหลังจากนั้นก็เป็นคอมมิวนิสต์ เพราะฉะนั้นแล้วประเทศจีนในขณะนี้เนี่ย ถ้าจะไปเน้นยุคคอมมิวนิสต์ก็ต้องไปเน้นเหมา เจ๋อตง ซึ่งถ้าเขาไปเน้นเหมา เจ๋อตง เขาก็จะเจอในยุคของ The Great Leap Forward ยุคก้าวกระโดดไกล ที่คนตายหลายสิบล้านคน ยุคเจียงชิง ซึ่งเขาไม่อยากพูดตอนนั้น ยุคเรดการ์ดเขาไม่อยากพูดถึงตอนนั้น

เติมศักดิ์ - มันเป็นบาดแผล

สนธิ - มันเป็นบาดแผล ถ้าเขาพูดถึงโจวเอินไหลแล้วเขาไม่พูดถึงเหมา เจ๋อตงก็ไม่ได้ เข้าใจไหม เพราะฉะนั้นช่วงหลังรัฐบาลจีนหรือการศึกษาจีนมักจะเลี่ยงทางนี้ไป นั้นคือจีน แต่ไทยไม่ใช่ ไทยอย่างน้อยที่สุดกรุงรัตนโกสินทร์มีมา 200 กว่าปีแล้ว จะดีจะชั่วยังไงก็ตาม เขาบอกว่า ประวัติศาสตร์เนี่ยบางทีมันไม่แม่นยำ มันมีหลายอย่างซึ่งมันพึงพาได้ มันไม่เที่ยงตรง แต่อย่างน้อยที่สุดไอ้ประวัติศาสตร์ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 มา สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่เราเริ่มเสียดินแดน ยุคนั้นน่าที่จะเริ่มมาได้ 5 6 7 8 9 น่าจะเริ่มมาได้ และที่สำคัญคือว่า ถ้าจะเรียนประวัติศาสตร์ต้องเรียนให้รู้ว่า ไทยที่มาทุกวันนี้มันเป็นมาได้อย่างไง ทำไมไทยถึงเป็นไทยอย่างนี้ สมัยก่อนคนจีนเข้ามาตอนยุคไหน อินเดียเข้ามาตอนยุคไหน พระพุทธศาสนาเข้ามาตอนยุคไหน และอธิบายตรงนั้นไป ให้คนเข้าใจเพราะว่า ประเทศไทยเป็นศูนย์รวมของวัฒนธรรมอินเดีย และวัฒนธรรมจีน คือจากทะเลอันดามัน และมหาสมุทรแปซิฟิก อันดามันคือฝั่งอินเดียมูฟไง แปซิฟิกคือทางเอเชีย แปซิฟิกก็คือจีนนั้นแหละมูฟเข้ามา ด้วยเหตุนี้อาหารไทยในเมืองไทย มันเป็นส่วนผสมของจีนและอินเดีย คิดดีๆ ไปดูสิ

จินดารัตน์ - มีแต่เครื่องเทศ

สนธิ - อาหารไทยเป็นส่วนผสมของจีน และอินเดีย และอาหารจีนเมืองไทย ก็ไม่เหมือนอาหารจีนที่เมืองจีน เพราะมันมีส่วนของมันโดยเฉพาะ มันเป็นสิ่งที่ปรุงแต่ง เหมือนกับอาหารจีนทางใต้อย่างนี้ ต้นตระกูลพวกชาวจีนแคระ พวกจีนไหหลำที่อยู่ทางใต้ หรือจีนแต้จิ๋วมาเนี้ยะ เวลาเขาทำอาหารเขาก็เริ่มใส่ Ingredient ทางท้องถิ่นเข้ามา

เติมศักดิ์ - มิกซ์กัน

สนธิ - เหมือนคุณไปกินก๋วยเตี๋ยวหรือบะหมี่ ที่เมืองปีนัง ลักซาใช่ไหม มันคล้ายๆ ข้าวซอยบ้านเรา เพราะมันมีเครื่องเทศ เพราะฉะนั้นประเทศไทยเลยเป็นศูนย์รวมของ 2 วัฒนธรรมเข้ามา ตรงนี้ประวัติศาสตร์ตรงนี้ทำไมไม่มีใครพูด และพูดให้เห็นเลยว่า ไอ้ 2 วัฒนธรรมที่รวมเข้ามาในที่สุดมันก็หล่อหลอมกลายเป็นประเทศสยาม ที่มีปัญหาก็จอมพล ป. ทะลึ่งไปเปลี่ยนคำว่า สยามเป็นไทย เพราะไทยอ้างว่า คนไทยเท่านั้น มีที่ไหนในประเทศไทยที่ไหนมีคนไทย ถ้าไม่ใช่ขอม ถ้าไม่ใช่เขมรก็เป็นลาว ถ้าไม่ใช้ลาวก็ส่วนนึงผสมพม่า มาเลย์ คนใต้ คนจีน ผสมกันแหลกลานเลย แล้วคนเข้ามาคอมเมนต์ด่าผมไอ้เจ๊กลิ้ม ผมก็เฉยๆ ผมลูกเจ๊ก ผมมีเชื้อเจ๊กอยู่ ผมไม่เถียงอะไร

เติมศักดิ์ - นี่แหละสยามแหละ

สนธิ - นี่แหละคือ สยามที่แท้จริง ประวัติศาสตร์เราไม่เคยเขียนตรงนี้ ไม่เคยให้ความสนใจ อย่าว่าแต่ครูสอนเลย ที่เขียนคำถามมาถามผม คุณกลับไปถามลูกคุณดูเอง หรือตัวคุณเองว่า คุณรู้ว่าพ่อแม่คุณเกิดที่ไหน โตที่ไหน จำได้ไหมที่ผมเคยพูดแอน เรียนหนังสือที่ไหน จบชั้นอะไร ทำงานที่ไหน ปู่มาจากไหน ย่ามาจากไหน เรายังไม่รู้เลย

จินดารัตน์ - รากเหง้าตัวเอง

สนธิ - เราต้องรู้รากเหง้าเราก่อน และถ้าเราไม่รู้จักตัวเราเอง เราอยู่ได้อย่างไร

จินดารัตน์ - และได้ข่าวว่า หลักสูตรการศึกษาทุกวันนี้ เรียนประวัติศาสตร์แบบผิวเผินมาก

สนธิ - ผิวเผิน

เติมศักดิ์ - และขาดการวิเคราะห์แน่นอน

สนธิ - ใช่

เติมศักดิ์ - อันนี้ส่วนใหญ่ก็ได้พูดไปแล้ว

จินดารัตน์ - งั้นเดี๋ยวตอนนี้ทีมงานรวบรวมคำถามไว้แล้ว

สนธิ - เริ่มคำถามแต่ว่าจะนัดกันอีกที

จินดารัตน์ -หมดเวลาแล้ว

สนธิ - หมดเวลาแล้ว วันนี้เศร้าหมอง

เติมศักดิ์ - ยิ่งรู้ยิ่งเจ็บ

สนธิ - ยิ่งรู้ยิ่งเจ็บเออดี คำนี้ใช้ได้ เติมแหมวันนี้ลึกซึ้งมาก ยิ่งรู้ยิ่งเจ็บ

จินดารัตน์ - แล้วเวลาผิดปรับนะคะ ผิดเยอะนะวันนี้ วันนี้ขอบคุณสำหรับการติดตามชมนะคะ และข้อมูลดีๆ แบบนี้ติดตามได้ทุกวันศุกร์กับคุณสนธิ วันนี้ลาไปก่อน สวัสดีค่ะ/ครับ


กำลังโหลดความคิดเห็น