สภาผู้ประกอบวิชาชีพวิทยุกระจายเสียงฯ พร้อมด้วยคณะศิษย์หลวงตามหาบัว ร่วมกับแรงงานทีโอที-กสท ยื่น 1.2 หมื่นรายชื่อต่อประธานสภาฯ ขอแก้ พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ ชี้ กสทช.ไม่เปิดโอกาสขึ้นทะเบียนวิทยุ ฉวยโอกาสปิดคลื่น-จับกุม อีกทั้งพบที่ผ่านมาใช้จ่ายงบประมาณฟุ่มเฟือยเกินความจำเป็น
วันนี้ (31 ม.ค.) ที่รัฐสภา สภาผู้ประกอบวิชาชีพวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย (สววท.) คณะศิษยานุศิษย์หลวงตามหาบัว กลุ่มผู้นำแรงงาน บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) และสหภาพแรงงาน บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) นำโดยนายนิคม บุญวิเศษ ประธาน สววท. ได้นำรายชื่อประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวน 12,800 รายชื่อ ยื่นต่อนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานสภาผู้แทนราษฎร เพื่อเป็นผู้เสนอร่างแก้ไข พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (ฉบับที่ ...) พ.ศ. ... เพื่อให้การกำกับดูแลการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมของประเทศ เกิดประโยชน์สูงสุด
นายนิคมกล่าวว่า สาเหตุที่ได้มีการเสนอร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ เนื่องจากในปีที่ผ่านมาการปฏิบัติหน้าที่ของ กสทช.ไม่เปิดโอกาสให้มีการขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการวิทยุประเภทธุรกิจหรือสาธารณะ และยังถือโอกาสปิดคลื่น มีการจับกุมคดีโดยไม่ฟังเสียงของ สววท. ถือเป็นการลุแก่อำนาจให้ผู้ประกอบการวิทยุต้องปฏิบัติตาม โดยไม่สนใจว่าจะขัดต่อกฎหมายรัฐธรรมนูญหรือไม่ อีกทั้ง กสทช.ยังมีการใช้จ่ายเงินงบประมาณอย่างฟุ่มเฟือย เกินความจำเป็น ดังนั้นทางกลุ่มฯ จึงได้ยื่นเสนอกฎหมายซึ่งเป็นของภาคประชาชนและภาคเอกชน
ด้านนายสมศักดิ์กล่าวภายหลังการรับหนังสือว่า ทางสภาฯ จะได้ตรวจสอบรายชื่อประชาชนที่ยื่นเสนอกฎหมาย จากนั้นก็จะนำเข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรต่อไปตามขั้นตอน
วันนี้ (31 ม.ค.) ที่รัฐสภา สภาผู้ประกอบวิชาชีพวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย (สววท.) คณะศิษยานุศิษย์หลวงตามหาบัว กลุ่มผู้นำแรงงาน บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) และสหภาพแรงงาน บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) นำโดยนายนิคม บุญวิเศษ ประธาน สววท. ได้นำรายชื่อประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวน 12,800 รายชื่อ ยื่นต่อนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานสภาผู้แทนราษฎร เพื่อเป็นผู้เสนอร่างแก้ไข พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (ฉบับที่ ...) พ.ศ. ... เพื่อให้การกำกับดูแลการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมของประเทศ เกิดประโยชน์สูงสุด
นายนิคมกล่าวว่า สาเหตุที่ได้มีการเสนอร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ เนื่องจากในปีที่ผ่านมาการปฏิบัติหน้าที่ของ กสทช.ไม่เปิดโอกาสให้มีการขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการวิทยุประเภทธุรกิจหรือสาธารณะ และยังถือโอกาสปิดคลื่น มีการจับกุมคดีโดยไม่ฟังเสียงของ สววท. ถือเป็นการลุแก่อำนาจให้ผู้ประกอบการวิทยุต้องปฏิบัติตาม โดยไม่สนใจว่าจะขัดต่อกฎหมายรัฐธรรมนูญหรือไม่ อีกทั้ง กสทช.ยังมีการใช้จ่ายเงินงบประมาณอย่างฟุ่มเฟือย เกินความจำเป็น ดังนั้นทางกลุ่มฯ จึงได้ยื่นเสนอกฎหมายซึ่งเป็นของภาคประชาชนและภาคเอกชน
ด้านนายสมศักดิ์กล่าวภายหลังการรับหนังสือว่า ทางสภาฯ จะได้ตรวจสอบรายชื่อประชาชนที่ยื่นเสนอกฎหมาย จากนั้นก็จะนำเข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรต่อไปตามขั้นตอน