กลางศตวรรษที่ 19 ลัทธิทุนนิยมจากตะวันตก ที่มีอังกฤษ เป็นผู้นำ ออกล่าเมืองขึ้น มาถึงภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิค เพื่อเปิดตลาดรองรับสินค้าจากประเทศของตน และกอบโกยทรัพยากรอันมีค่ากลับไป โดยใช้แสนยานุภาพทางการทหารที่เหนือกว่า ข่มขู่ บีบบังคับให้ชาติต่างๆ เปิดประเทศรับการค้า และให้อภิสิทธิ์แก่คนของตน เหนือพลเมืองเจ้าของประเทศ
ปี 1842 ประเทศจีน ในรัชสมัยราชวงศ์ชิง ต้องยอมเซ็นสนธิสัญญานานกิง หลังพ่ายแพ้สงครามฝิ่นต่ออังกฤษ ซึ่งส่งกองเรือรบมาปิดล้อม และยิงถล่มชายฝั่งแถบมณฑลกวางตุ้ง ภายใต้สนธิสัญญานี้ จีนต้องเปิดเมืองท่าชายทะเล 5 เมือง และเกาะฮ่องกง ให้เป็นเขตเช่าของอังกฤษ คนอังกฤษสามารถทำมาค้าขายได้อย่างเสรี รวมทั้งการเปิดเสรีการค้าฝิ่น ซึ่งบริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษ ส่งมาจากอินเดียขายให้คนจีนเสพ เอาเงินกลับประเทศชดเชยการขาดดุลการค้า จากการซื้อใบชาจากจีน
คนอังฤษ และคนในอาณัติในเขตเช่านี้ ได้รับ “สิทธิสภาพนอกอาณาเขต” ทำผิดไม่ต้องขึ้นศาลจีน แต่ขึ้นศาลของอังกฤษแทน
อีก 12 ปีต่อมา สหรัฐฯ ก็ใช้วิธีเดียวกับอังกฤษ ส่งกองทัพเรือภายใต้การบังคับบัญชาของพลเรือจัตวา แมทธิว เพอรรี่ บุกญี่ปุ่น บีบบังคับให้รัฐบาลโชกุน โทกุงะวะ ต้องลงนามในสนธิสัญญา คะนะงะวะ ซึ่งมีสาระสำคัญเหมือนกันสนธิสัญญานานกิง เปิดประเทศให้อเมริกาเข้ามาค้าขายโดยเสรี และมอบสิทธิสภาพนอกอาณาเขต ให้คนอเมริกัน
หนึ่งปีถัดจากที่ญี่ปุ่นต้องยอมสยบให้เรือปืนจากตะวันตก สยามในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เกรงว่า จะประสบชะตากรรมเช่นเดียวกับจีนและพม่า ซึ่งตกเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษ จึงทรงยอมทำสนธิสัญญาบาวริ่ง กับอังฤษแต่โดยดี ใน พ.ศ.2398
สนธิสัญญาบาวริ่ง มีเนื้อหาคล้ายกับสนธิสัญญานานกิง คือ คนในบังคับอังกฤษ สามารถค้าขายในสยามได้อย่างเสรี สามารถพำนัก และซื้อที่ดินได้ และ คนในบังคับอังกฤษ จะอยู่ในบังคับของกงสุลอังกฤษ ชาวสยามหากมีคดีกับคนอังกฤษ ต้องถูกพิจารณาความโดยกงสุลอังกฤษ
นับเป็นครั้งแรกที่ สยามมอบสิทธิสภาพนอกอาณาเขตแก่คนต่างชาติ และหลังจากนั้น ก็มีการทำสนธิสัญญา ในทำนองเดียวกัน และยอมยกสิทธิสภาพนอกอาณาเขต ให้สหรัฐฯ ชาติยุโรป และญี่ปุ่นรวม 14 ประเทศ สิทธิสภาพนอกอาณาเขตนี้ ถูกยกเลิกไปในรัชสมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อสยามมีการปฏิรูปกฎหมาย จนเป้นที่พอใจของอังกฟษ และฝรั่งเศส
โลกในศตวรรษที่ 20 และ 21 การใช้อำนาจทางการทหาร ข่มขู่บีบบังคับ เป็นไปไม่ได้แล้ว แต่ความพยายามของทุนนิยมตะวันตก ซึ่งเปลี่ยนหัวโจก จากอังกฤษ มาเป็น สหรัฐฯ ที่จะบีบบังคับให้ประเทศกำลังพัฒนา เปิดประเทศรับสินค้าและการลงทุนของตนอยางเสรี ยังคงมีอยู่ เรือปืนถูกแทนที่ด้วยข้อตกลงเปิดเสรีทางการค้า การตั้งข้อกีดกัน กติกากีดกั้นทางการค้า หากไม่ยอมทำข้อตกลง ถูกใช้เป็นข้อต่อรอง แทนกระสุนปืนใหญ่
วันอาทิตย์ที่ 18 พฤศจิกายนนนี้ ประธานาธิบดี บารัค โอบามา ตัวแทนทุนนิยมตะวันตก แวะมาเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ โดยมาพร้อมกับเรือปืนลำใหม่ที่ชื่อ “ ทีพีพี” หรือ “ ความตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจเอเชียแปซิฟิก” (TPP- Trans-Pacific Strategic Economic Partnership Agreement) และเชืเอเชิญประเทศไทยให้ร่วมลงเรือลำนี้ไปด้วยกัน
รัฐบาลนายกฯ นกแก้ว ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร โดยที่ยังไม่รู้แน่ชัดว่า TPP นีคืออะไรกันแน่ แต่กลับตอบสนองคำเชื้อเชิญ อนุมัติ ให้ ประเทศไทยประกาศเข้าร่วมการเจรจา ในกรอบข้อตกลงทีพีพีนี้ แม้ว่า จะเป็นแค่การร่วมเจรจา ยังไม่ใช่การตกลงอย่างเป็นทางการเข้าเป็นหุ้นส่วนหนึ่ง ซึงจะต้องผ่านกระบวนการ ขั้นตอนต่างๆอีกมาก แต่ก็เป็นก้าวแรก ที่จะต้องมีก้าวต่อไปตามมาแน่นอน
ทีพีพี นี้ก็คือ ข้อตกลงการค้าเสรี หรือ เอฟทีเอ แต่เป็นข้อตกลงแบบเป็นกลุ่ม เป็นพวง เหมือนเออีซี หรือ ข้อตกลงเขตการค้าเสรี ทวีปอเมริกาเหนือ หรือนาฟต้า ไม่ใช่ข้อตกลงแบบหนึ่งต่อหนึ่ง
ทีพีพี ก็ เช่นเดียวกับข้อตกลงเปิดการค้าเสรีที่ผ่านมา ที่มักจะโฆษณาชวนเชื่อให้ผู้คนเห็นแต่ด้านดี คือ จะทำให้เกิดตลาดการค้าขนาดใหญ่ มีการไหลเวียน แลกเปลี่ยนสินค้าอย่างเสรี มีกิจกรรมเศรษฐกิจเกิดขึ้นมากมาย เกิดการแข่งขัน เกิดการจ้างงาน ฯลฯ แต่ไม่ยอมพูดถึงผลกระทบ และข้อเสียเปรียบที่ประเทศ ซึ่งมีอำนาจต่อรองน้อยกว่า ไม่ยอมเปิดเผยเงื่อนไข สิทธิพิเศษต่างๆที่นักลงทุรต่าชาติได้รับ
จุดเริ่มต้นของ ทีพีพี เกิดจากการเจรจาข้อตกลงการค้าเสรีของ สามประเทศที่อยุ่ติดกับมหาสมุรทแปซิฟิคคือ นิวซีแลนด์ สิงคโปร์ และชิลี เมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2548 ต่อมาบรูไนได้เข้าร่วมด้วย เป็น 4 ประเทศ
ในปี 2553 ทีพีพี(4 ) ได้ขยายเป็น ทีพีพี(9) คือ มีประเทศที่เข้าร่วมเจรจาเพิ่มอีก 5 ประเทศ ได้แก่ สหรัฐฯ ออสเตรเลีย เปรู เวียดนาม และมาเลเซีย
เม็กซิโก แคนาดา และญี่ปุ่น ได้แสดงความสนใ จและประกาศว่า จะเข้าร่วมเป็นหุ้นส่วน แต่ การพิจารณารับสมาชิกใหม่ จะต้องเป็นฉันทามติของ สมาชิกดั้งเดิม 9 ประเทศ ( ทีพีพี 9 ) ประเทศที่จะเข้าร่วมต้องหารือกับแต่ละประเทศสมาชิกจนครบ 9 ประเทศและ จะต้องปฏิบัติตาม กติกาที่ ทั้ง 9 ประเทศนี้ได้เจรจากันไปหลายรอบแล้ว
การเจรจาการค้าแบบพหุภาคีรอบโดฮา ซึ่งเริ่มต้นขึ้นเมื่อปี 2544 แม้ว่า เวลาจะผ่านไปแล้ว 10 ปี แต่ไม่มีความคืบหน้าแต่อย่างใด เพราะการเจรจารอบนี้ ประเทศกำลังพัฒนาไม่ยอมตามความต้องการของประเทศที่พัฒนาแล้ว ที่ต้องการเปิดตลาดรองรับการลงทุน การบริการ และการปกป้องทรัพย์สินทางปัญญา เพราะการเจรจาในรอบอุรุกวัย ประเทศกำลังพัฒนายอมเปิดตลาดให้สินค้าอุตสาหกรรมจากประเทศพัฒนาแล้ว แต่กลับถูกประเทศพัฒนาแล้วหักหลัง ตั้งกฎเกณฑ์กีดกันการนำเข้าสินค้าเกษตร รวมทั้งให้เงินอุดหนุนกัยสินค้าเกษตรในประเทศของตน
การเจรจาแบบพหุภาคีถึงทางตัน สหรัฐฯ จึงหันมาให้ความสำคัญกับการเจรจาแบบสองต่อสอง หรือทวิภาคี ทำข้อตกลงการค้าเสรีหรือเอฟทีเอรายประเทศ ทีพีพี. กลายเป็นช่องทางที่สำคัญอันหนึ่งของสหรัฐ ฯที่จะผลักดัน ให้ประเทศในย่านเอเชีย แปซิฟิค เปิดตลาดให้กับการค้า การลงทุน และปกป้องทรัพย์สินทางปัญญาของกลุ่มทุนใประเทศ ได้อย่างรวดเร็ว ไม่ต้องเสียเวลาไล่เจรจาไปทีละประเทศ
ที่สำคัญคือ เงื่อนไข ความต้องการของสหรัฐฯ ที่เอฟทีเอ ให้ไม่ได้ ก็เอามาใส่ไว้ในทีพีพี
ถึงแ ม้ว่า ทีพีพี จะมีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมการค้าเสรี แต่ในร่างข้อตกลงที่เล็ดรอดออกมา ซึ่งมีทั้งหมด 26 บท มีเพียง 2 บทเท่านั้น ที่เป็นเรื่องเกี่ยวกับการค้า ที่เหลือเป็นเรื่องของการลงทุน การเปิดเสรีภาคบริกา การคุ้มครองทรัพยืสินทางปัญญา นโยบายการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ นโยบายการแข่งขันฯ
การค้าเสรี เป็นเพียงขนมหวานที่ถูกหยิบออกมาล่อให้ประเทศต่างๆ กระโจนเข้ามาร่วมวงเท่านั้น แต่สาระที่แท้จริงคือ การเปิดตลาดให้กับบริษัทเอกชนของสหรัฐฯ ในทุกๆเรื่อง นอกจากเรื่องการค้า
สำหรับการเจรจาในกรอบ ทีพีพี ผ่านไปแล้ว 14 รอบ นับตั้งแต่เดือน มีนาคม 2553 การเจรจารอบที่ 14 จะมีขึ้นในเดือนธันวาคมนี้ที่นิวซีแลนด์ ถึงแม้โอบามา จะประกาศในการประชุมเอเปค เมื่อปีที่แล้ว ที่ประเทศญี่ปุ่นว่า ทีพีพี คือ ข้อตกลงการค้าแห่งศตวรรษที่ 21 เป็นข้อตกลงระดับสูง ที่จะเป็นต้นแบบ ให้กับการเจรจาการค้าทั่วโลก แต่ รายละเอียดของข้อตกลงกลับถูกปิดความลับ ไม่มีใครเคยได้เห็นร่างข้อตกลงเหล่านี้เลย แม้แต่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร์ และวุฒิสมาชิก ต่างกับการเจรจาเอฟทีเอ อื่นๆ ที่มีการเปิดเผยข้อมูลอย่างโปร่งใส จนต้องมีการลงชื่อ ส่งจดหมายไปถึงนายรอน เคิร์ก ผู้แทนสำนักงานการค้าสหรัฐฯ ซึ่งเป็นตัวแทนในการเจรจา ทีพีพี ขอให้ส่งร่างข้อตกลงไปให้ แต่ก็ไม่ได้รับการสนองตอบอย่างใด
นอกจากตัวแทนประเทศสมาชิก 9 ประเทศ ทีเข้าเจรจาแล้ว ผู้ที่เข้าถึงรายละเอียด ของการเจรจาก็คือ ที่ปรึกษาจำนวน 600 กว่าคนของบริษัทเอกชนสหรัฐฯ ซึ่งที่ปรึกษาเหล่านี้ มีบทบามสำคัญในการชี้นำทิศทาง การเจรจาให้กับสำนักงานผู้แทนการค้าสหรัฐฯ (USTR) ซึ่งเป็นผู้นำในการทำข้อตกลง ทีพีพี
ในสหรัฐอเมริกา นอกจากสมาชิกรัฐสภาจะเรีกยร้องให้มีการเปิดเผยร่างข้อตกลงฯ แล้ว กลุ่มองค์กรด้านแรงงาน กลุ่มผู้คุ้มครองผู้บริโภค กลุ่มรณรงค์ด้านสิ่งแวดล้อม ยังได้เคลื่อนไหว เรียกร้องให้ยูเอสทีอาร์ เปิดเผยรายละเอียดของร่างข้อตกลงด้วย เช่นเดียวกับ กลุ่มประชาสังคมในออสเตรเลีย ชิลี มาเลเซีย และนิวซีแลนด์ ต่างก็เรียกร้องให้ผู้นำของตน เปิดเผยว่า ทีพีพี พูดถึงเรื่องอะไรบ้าง
ในวันที่ 12 มิถุนายน ปีนี้ ร่างข้อตกลง ทีพีพี บางส่วน ที่เกียวกับ การลงทุน ก็เล็ดรอดออกมาสู่สายตาสาธารณะชน โดยถูกแปะไว้ในหน้าเว็บ http://tinyurl.com/tppinvestment ซึ่งทำให้เข้าใจได้ว่า ทำไมการเจรจาข้อตกลง ทีพีพี ซึ่งควรจะเปิดเผย โปร่งใส ให้สมกับเป็นข้อตกลงการค้าแห่งศตวรรษที่ 21 จึงถูกปิดเป็นความลับ ราวกับอยู่ในยุคสงครามเย็น
เพราะ ทีพีพี เป็นข้อตกลงที่ให้ความคุ้มครองกับนักลงทุนอย่างสูง มากกว่าข้อตกลงเอฟทีเอใดๆ ตัวอย่างเช่น สิทธิในการซื้อที่ดิน ครอบครองทรัพยากรธรรมชาติ โรงงาน ของนักลงทุนจากประเทศสมาชิก ทีพีพี . โดยที่รัฐบาลในประเทศที่เข้าไปลงทุนไม่อาจแทรกแซงได้ สิทธิที่จะเคลื่อนย้ายเงินทุนเข้าออกได้อย่างเสรี โดยรัฐบาลหรือธนาคารกลางของประเทศที่เข้าไปลงทุน ไม่อาจออกกฎควบคุมการเคลื่นย้ายเงินทุนได้ การห้ามประเทศสมาชิก ออกกฎหมายควบคุมการดำเนินงาน หรือ เงื่อนไขบังคับการใช้ชิ้นส่วน วัตถุดิบใน ประเทศ การขยายคำจำกัดความของ คำว่า “นักลงทุน” ให้ครอบคลุมไปถึง การซื้อหุ้น หรือตราสารอนุพัน์ การถือใบอนุญาต การเป็นเจ้าของทรัพยืสินทางปัญญาฯ
การคุ้มครองนักลงทุนต่างชาติที่สำคัญที่สุดคือ เมื่อเกิดข้อพิพาทระหว่างนักลงทุนกับรัฐบาล หรือเมื่อใดที่นักลงทุนเห็นว่า กฎหมายในประเทศ หรือการดำเนินการใดๆของรัฐบาล อาจทำให๋ “กำไรที่คาดหวัง ในอนาคต”ของตนลดลง นักลงทุนสามารถนำคดีไปฟ้องเรียกร้องค่าเสียหายต่ออนุญาโตระหว่างประเทศ ซึ่งประกอบด้วยนักกฎหมายจากภาคเอกชน 3 คน ที่พิจารณาคดี ภายใต้หลักเกณฑ์ที่ธนาคารโลกและองค์การสหประชาชาติ กำหนด
อภิสิทธ์ที่ให้กับนักลงทุนเช่นนี้ ไม่ต่างอะไรกับ สิทธิสภาพนอกอาณาเขต ในศตวรรษที่ 19 เพราะศาลยุติธรรมในแต่ละประเทศ สมาชิก ไม่มีอำนาจพิจารณาคดีพิพากระหว่างนักลงทุนเอกชนกับรัฐ ที่เกิดขึ้นในประเทศของตน ต้องให้อนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศ เป็นผู้ชี้ขาด เป็นการยกฐานะของนักลงทุนต่างชาติ ให้เหนือกว่ารัฐ และประชาชนในประเทศที่เข้าไปลงทุน
สหรัฐฯ เป็นประเทศเดียว ที่ผลักดันให้มี “ สิทธิสภาพนอกอาณาเขต” แก่นักลงทุน เพราะเป็นเงื่อนไขปกติที่สหรัฐ ฯ ทำกับประเทศอื่นๆ ในข้อตกลงการค้าที่ผ่านมา ซึ่งทำห้บริษัทเอกชนของสหรัฐ ฯ มีรายได้จากการเรีบกร้องค่าเสียหายจากรัฐบาลของประทเศกำลังพัฒนาไม่ต่ำกว่า 350 ล้านเหรียญสหรัฐในช่วงที่ผ่านมา
สมมติว่า มีทีพีพีแล้ว ในตอนที่ โรงไฟฟ้าบ่อนอก ต้องล้มเลิกไป เพราะการต่อต้านของชุมชน และประเทศไทยเป็นสมาชิกทีพีพี บริษัท กัลฟ์ อิเล็คทริค จากสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นผู้ลงทุน สามารเรียกร้องค่าเสียหายจากรัฐบาลไทย โดยข้ามหัวระบบศาลไท ยนำคดีไปฟ้องคต้อคณะอนุญาดตตุลาการระหว่างประเทศได้
แม้ มติ ครม. เมื่อวันที่ 13 พย. ที่ผ่านมา จะเป็นแค่การประกาศว่า ไทยจะเข้าร่วมเจรจา แต่ในความเป็นจริง การเจรจาในกรอบ ทีพีพี ได้เดินหน้าไปมากแล้ว มีการบรรลุข้อตกลงไปหลายเรื่อง ประเทศที่มาทีหลัง ไม่มีสิทธิต่อรอง แก้ไข มีแต่ว่า จะเข้าหรือไม่เข้า จะรับหรือไม่รับเท่านั้น