“เอแบคโพลล์” เผยชาวบ้าน 59.4% สงสัยงบภัยพิบัติรัฐบาล 62.8% ไม่เชื่อมั่น ขรก.ใช้งบโปร่งใส 71% แฉมีเลือกปฏิบัติ 94.9% แนะเขียนรายละเอียดค่าใช้จ่าย 74.8% เชื่อมีโกงจริง 75.4% บอกคนซื่อสัตย์เหลือน้อย 82.7% โอดรัฐไม่ชัดคุ้มครองพยาน 81.4% รับเสียขวัญเห็นเจ้านายโดนเด้ง 84.6% กลัวโดนเล่นหลังแฉ 93.8% หนุนเพิ่มโทษ
วันนี้ (13 ก.ย.) นายนพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจเรื่องขบวนการทุจริตคอร์รัปชันงบภัยพิบัติ และการเพิ่มโทษขบวนการทุจริตคอร์รัปชันในสายตาประชาชน กรณีศึกษาตัวอย่างเฉพาะคนที่ติดตามข่าวการเมืองใน 17 จังหวัดของประเทศ จำนวน 1,542 ตัวอย่าง พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 59.4 เคลือบแคลงสงสัยการใช้จ่ายงบภัยพิบัติของหน่วยงานราชการของรัฐบาลชุดปัจจุบัน โดยส่วนใหญ่หรือร้อยละ 62.8 ไม่เชื่อมั่นต่อหน่วยงานราชการในการใช้จ่ายงบประมาณภัยพิบัติว่าจะโปร่งใส นอกจากนี้ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 71.0 ระบุมีการเลือกปฏิบัติของเจ้าหน้าที่รัฐในการช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติต่างๆ
นายนพดลกล่าวว่า ที่น่าพิจารณาคือ ส่วนใหญ่เกินกว่าร้อยละ 90 หรือร้อยละ 94.9 ระบุควรติดประกาศเผยแพร่รายละเอียดการใช้จ่ายงบประมาณภัยพิบัติให้สาธารณชนทราบ โดยเมื่อสอบถามว่า มีการทุจริตงบประมาณภัยพิบัติจริงตามที่เลขาธิการคณะกรรมการการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) ตรวจพบ พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 74.8 คิดว่ามีการทุจริตคอร์รัปชันจริง แต่ที่น่าเป็นห่วงคือ เมื่อถามถึงจำนวนผู้ใหญ่ที่ดีมีความซื่อสัตย์สุจริตในสังคมไทยคอยดูแลปกป้องเจ้าหน้าที่รัฐที่ซื่อสัตย์สุจริต พบว่าส่วนใหญ่หรือร้อยละ 75.4 ระบุมีเหลือน้อยถึงไม่มีเลย ในขณะที่ร้อยละ 24.6 ระบุยังมีค่อนข้างมากถึงมาก
นายนพดลกล่าวต่อว่า นอกจากนี้ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 82.7 ระบุว่า รัฐบาลยังไม่มีความชัดเจนในการคุ้มครองพยานและเจ้าหน้าที่รัฐที่ออกมาเปิดเผยข้อมูลการทุจริต การใช้งบประมาณภัยพิบัติต่างๆ ในขณะที่ร้อยละ 17.3 ระบุชัดเจนแล้ว ที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่ง คือ เมื่อสอบถามถึงขวัญกำลังใจของเจ้าหน้าที่รัฐที่เห็นหัวหน้าตนเองโดนโยกย้ายหลังจากออกมาเปิดโปงขบวนการทุจริตคอร์รัปชัน พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 81.4 ระบุเสียขวัญกำลังใจ นอกจากนี้ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 84.6 กลัวภัยคุกคาม ถ้าออกมาเปิดโปงการทุจริตคอร์รัปชันในชุมชนของตนเองเพราะรัฐบาลไม่จริงจังคุ้มครองพยานอย่างต่อเนื่อง เจ้าหน้าที่รัฐเองยังไม่มั่นคง ไม่ปลอดภัย ในสังคมที่มีแต่โฆษณาชวนเชื่อ คนทำงานด้วยปากและได้ดี ปลอดภัย ไว้ใจใครไม่ได้ ยังไม่มีเสาหลักหรือผู้ใหญ่คนไหนของสังคมไทยที่เป็นต้นแบบต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน และส่วนใหญ่มีประวัติไม่ซื่อสัตย์กันทั้งนั้น เป็นต้น
นายนพดลกล่าวอีกว่า อย่างไรก็ตาม ที่น่าพิจารณาคือ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 93.8 ระบุควรเพิ่มโทษจำคุกตลอดชีวิตถึงประหารชีวิตกับเจ้าหน้าที่รัฐที่ทุจริตคอร์รัปชันงบภัยพิบัติ เพราะหากินบนความทุกข์เดือดร้อนของประชาชน แก้ไขปรับปรุงตัวยาก จะได้เข็ดหลาบจำ จะได้เกรงกลัวต่อบทลงโทษ จะได้แก้ไขหรือหยุดคอร์รัปชันได้อย่างแท้จริง เป็นต้น และที่น่าสนใจคือ ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 84.0 ยังคงเชื่อมั่นต่อประชาธิปไตย และส่วนใหญ่หรือร้อยละ 79.2 ยังคงเชื่อมั่นต่อระบอบประชาธิปไตย ถึงแม้มีปัญหาทุจริตคอร์รัปชันมากมาย เพราะ เป็นการปกครองที่ประชาชนยังมีโอกาสวิพากษ์วิจารณ์ มีส่วนร่วม มีสิทธิมีเสียง สาธารณชนยังมีโอกาสตรวจสอบหรือรับรู้ได้ และยึดอำนาจแล้วก็ยังมีทุจริตคอร์รัปชันเหมือนเดิม ใครขึ้นมามีอำนาจก็มีกลุ่มทุนวิ่งเข้าหาล็อบบี้ จ่ายใต้โต๊ะ และสินบนเหมือนเดิม เป็นต้น ในขณะที่ร้อยละ 20.8 ไม่เชื่อมั่น
วันนี้ (13 ก.ย.) นายนพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจเรื่องขบวนการทุจริตคอร์รัปชันงบภัยพิบัติ และการเพิ่มโทษขบวนการทุจริตคอร์รัปชันในสายตาประชาชน กรณีศึกษาตัวอย่างเฉพาะคนที่ติดตามข่าวการเมืองใน 17 จังหวัดของประเทศ จำนวน 1,542 ตัวอย่าง พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 59.4 เคลือบแคลงสงสัยการใช้จ่ายงบภัยพิบัติของหน่วยงานราชการของรัฐบาลชุดปัจจุบัน โดยส่วนใหญ่หรือร้อยละ 62.8 ไม่เชื่อมั่นต่อหน่วยงานราชการในการใช้จ่ายงบประมาณภัยพิบัติว่าจะโปร่งใส นอกจากนี้ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 71.0 ระบุมีการเลือกปฏิบัติของเจ้าหน้าที่รัฐในการช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติต่างๆ
นายนพดลกล่าวว่า ที่น่าพิจารณาคือ ส่วนใหญ่เกินกว่าร้อยละ 90 หรือร้อยละ 94.9 ระบุควรติดประกาศเผยแพร่รายละเอียดการใช้จ่ายงบประมาณภัยพิบัติให้สาธารณชนทราบ โดยเมื่อสอบถามว่า มีการทุจริตงบประมาณภัยพิบัติจริงตามที่เลขาธิการคณะกรรมการการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) ตรวจพบ พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 74.8 คิดว่ามีการทุจริตคอร์รัปชันจริง แต่ที่น่าเป็นห่วงคือ เมื่อถามถึงจำนวนผู้ใหญ่ที่ดีมีความซื่อสัตย์สุจริตในสังคมไทยคอยดูแลปกป้องเจ้าหน้าที่รัฐที่ซื่อสัตย์สุจริต พบว่าส่วนใหญ่หรือร้อยละ 75.4 ระบุมีเหลือน้อยถึงไม่มีเลย ในขณะที่ร้อยละ 24.6 ระบุยังมีค่อนข้างมากถึงมาก
นายนพดลกล่าวต่อว่า นอกจากนี้ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 82.7 ระบุว่า รัฐบาลยังไม่มีความชัดเจนในการคุ้มครองพยานและเจ้าหน้าที่รัฐที่ออกมาเปิดเผยข้อมูลการทุจริต การใช้งบประมาณภัยพิบัติต่างๆ ในขณะที่ร้อยละ 17.3 ระบุชัดเจนแล้ว ที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่ง คือ เมื่อสอบถามถึงขวัญกำลังใจของเจ้าหน้าที่รัฐที่เห็นหัวหน้าตนเองโดนโยกย้ายหลังจากออกมาเปิดโปงขบวนการทุจริตคอร์รัปชัน พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 81.4 ระบุเสียขวัญกำลังใจ นอกจากนี้ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 84.6 กลัวภัยคุกคาม ถ้าออกมาเปิดโปงการทุจริตคอร์รัปชันในชุมชนของตนเองเพราะรัฐบาลไม่จริงจังคุ้มครองพยานอย่างต่อเนื่อง เจ้าหน้าที่รัฐเองยังไม่มั่นคง ไม่ปลอดภัย ในสังคมที่มีแต่โฆษณาชวนเชื่อ คนทำงานด้วยปากและได้ดี ปลอดภัย ไว้ใจใครไม่ได้ ยังไม่มีเสาหลักหรือผู้ใหญ่คนไหนของสังคมไทยที่เป็นต้นแบบต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน และส่วนใหญ่มีประวัติไม่ซื่อสัตย์กันทั้งนั้น เป็นต้น
นายนพดลกล่าวอีกว่า อย่างไรก็ตาม ที่น่าพิจารณาคือ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 93.8 ระบุควรเพิ่มโทษจำคุกตลอดชีวิตถึงประหารชีวิตกับเจ้าหน้าที่รัฐที่ทุจริตคอร์รัปชันงบภัยพิบัติ เพราะหากินบนความทุกข์เดือดร้อนของประชาชน แก้ไขปรับปรุงตัวยาก จะได้เข็ดหลาบจำ จะได้เกรงกลัวต่อบทลงโทษ จะได้แก้ไขหรือหยุดคอร์รัปชันได้อย่างแท้จริง เป็นต้น และที่น่าสนใจคือ ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 84.0 ยังคงเชื่อมั่นต่อประชาธิปไตย และส่วนใหญ่หรือร้อยละ 79.2 ยังคงเชื่อมั่นต่อระบอบประชาธิปไตย ถึงแม้มีปัญหาทุจริตคอร์รัปชันมากมาย เพราะ เป็นการปกครองที่ประชาชนยังมีโอกาสวิพากษ์วิจารณ์ มีส่วนร่วม มีสิทธิมีเสียง สาธารณชนยังมีโอกาสตรวจสอบหรือรับรู้ได้ และยึดอำนาจแล้วก็ยังมีทุจริตคอร์รัปชันเหมือนเดิม ใครขึ้นมามีอำนาจก็มีกลุ่มทุนวิ่งเข้าหาล็อบบี้ จ่ายใต้โต๊ะ และสินบนเหมือนเดิม เป็นต้น ในขณะที่ร้อยละ 20.8 ไม่เชื่อมั่น