“ผู้บัญชาการทหารสูงสุด” เผยผลประชุมเหล่าทัพตามผลงานโครงการพระราชดำริ ให้ทุกฝ่ายพร้อมป้องกันประเทศ ขุดลอกคลองตามนโยบายรัฐ ยันชายแดนไทย-เขมรไม่น่าห่วง ระบุตั้งเสธ.บก.ทท.นำทีมเจ้าหน้าที่อาวุโสเจรจา โอ่เริ่มสนิทกันมาก ชี้ทำตามมติศาลโลกต้องเท่าเทียมได้ประโยชน์ 2 ฝ่าย
วันนี้ (17 พ.ค.) ที่กองทัพอากาศ เมื่อเวลา 09.00 น. พล.อ.ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นประธานในการประชุม ผบ.เหล่าทัพ ครั้งที่ 4/2555 โดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก พล.ร.อ.สุรศักดิ์ หรุ่นเริงรมย์ ผู้บัญชาการทหารเรือ พล.อ.อ.อิทธพร ศุภวงศ์ ผู้บัญชาการทหารอากาศ และ พล.ต.อ.ปานศิริ ประภาวัต รอง ผบ.ตร. เข้าร่วมประชุม โดยก่อนเข้าประชุม พล.อ.อ.อิทธพรได้มอบและประดับเครื่องหมายความสามารถในการบินชั้นกิตติมศักดิ์ของกองทัพอากาศให้แก่ พล.อ.เสถียร เพิ่มทองอินทร์ ปลัดกระทรวงกลาโหม พล.อ.ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร ผู้บัญชาการทหารสูงสุด พล.ร.อ.สุรศักดิ์ หรุ่นเริงรมย์ ผู้บัญชาการทหารเรือ พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ดร.ณัฐณิชาช์ เพิ่มทองอินทร์ ภริยาปลัดกระทรวงกลาโหม คุณเพ็ญลักษณ์ ปฏิมาประกร ภริยาผู้บัญชาการทหารสูงสุด คุณพรจิตร์ หรุ่นริงรมย์ ภริยาผู้บัญชาการทหารเรือ คุณสาวิตรี ดามาพงศ์ ภริยาผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
โดย พล.อ.ธนะศักดิ์กล่าวถึงผลการประชุม ผบ.เหล่าทัพว่า การประชุมวันนี้เป็นการติดตามผลการดำเนินงานในช่วงที่ผ่านมา รวมทั้งได้มอบนโยบายการปฏิบัติภารกิจต่างๆ ดังนี้ 1. การดำเนินงานโครงการพระราชดำริในความรับผิดชอบของกองทัพไทย ซึ่งถือเป็นเรื่องที่จะดำเนินการเป็นลำดับแรก 2. ให้ทุกหน่วยมีความพร้อมในการป้องกันประเทศ การรักษาความมั่นคงภายใน รวมทั้งการสนับสนุนการแก้ไขปัญหายาเสพติด การต่อต้านการก่อการร้าย และปัญหาแรงงานต่างด้าว 3. โครงการขุดลอกแหล่งน้ำในพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศของกองทัพไทยที่ให้การสนับสนุนตามโครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัยของรัฐบาลจำนวน 537 โครงการ ซึ่งดำเนินการได้ดีอยู่แล้ว ขอให้ดำเนินการให้แล้วเสร็จตามกำหนดในเดือนพฤษภาคมนี้ และ 4. ให้ทุกหน่วยดำเนินการให้ความช่วยเหลือประชาชนที่ประสบภัยแล้งในพื้นที่ต่างๆ
พล.อ.ธนะศักดิ์ยังกล่าวถึงสถานการณ์ชายแดนไทย-กัมพูชาว่าไม่รู้สึกห่วงอะไร ขณะนี้ได้ตั้งคณะเจ้าหน้าที่อาวุโส (Senior staff talk) ของสองประเทศประชุมพูดคุยกัน ฝ่ายไทยมี พล.อ.วรพงษ์ สง่าเนตร เสนาธิการทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย ควบคุมบังคับบัญชาทั้งหมด และเจ้าหน้าที่ระดับเจ้ากรมฯ ที่เกี่ยวข้องร่วมในคณะด้วย ซึ่งในปลายปีนี้จะมีการฝึกร่วมบรรเทาสาธารณภัย ไทย-กัมพูชา โดยมีประเทศมาเลเซียมาร่วมฝึกด้วย ซึ่งการฝึกดังกล่าวได้หยุดพักไป แต่ขณะนี้สองประเทศเริ่มมีความสนิทสนมกัน มีการหารือระดับท้องถิ่นขึ้นมาตามลำดับจนถึงระดับรัฐบาล และไม่นานมานี้มีการเปิดเมืองคู่แฝดสี่แห่งฝั่งตรงข้าม จ.สุรินทร์ แสดงถึงความสัมพันธ์ก็จะแน่นแฟ้นมากขึ้น
“สำหรับ Senior staff talk ที่ตั้งขึ้นมาจะพูดคุยกันทุกเรื่อง และไม่ได้มีเฉพาะกับกัมพูชา กับพม่าเราก็คุยอยู่ และใช้เวทีนี้ในการพูดคุยกับประเทศเพื่อนบ้านโดยรอบ เป็นเวทีที่เราเปิดอกได้ทุกเรื่องว่าใครจะทำอะไร แล้วนำมาสู่จุดศูนย์กลางที่ออกมา และได้ประโยชน์ร่วมกันสองฝ่าย ต่อไปนี้ถ้ามีสิ่งไหนที่เป็นปัญหา มีความเข้าใจไม่ถูกต้อง เราก็สายตรงพูดคุยกันได้ จะเร็วขึ้น ง่ายขึ้น “ พล.อ.ธนะศักดิ์กล่าว
เมื่อถามถึงกรณีที่กระทรวงต่างประเทศได้ขอคำแนะนำจากเหล่าทัพต่อการนำผู้สังเกตการณ์ประเทศอินโดนีเซียเข้ามาในพื้นที่เขตปลอดทหารตามมติคุ้มครองชั่วคราวของศาลโลก พล.อ.ธนะศักดิ์กล่าวว่า ตรงนี้ไม่ง่าย เพราะทุกเรื่องต้องมาคุยในคณะทำงานร่วม Joint working group (JWG) โดยในการประชุมครั้งแรกได้พูดกันว่าเราจะสร้างสิ่งที่ดีร่วมกัน สร้างความร่วมมือในการเก็บกู้วัตถุระเบิด อะไรที่จะทำให้เกิดปัญหาก็ให้หยุดสิ่งเหล่านั้น ผลลัพธ์ออกมาค่อนข้างดี ในการประชุมครั้งต่อไปที่ประเทศกัมพูชา จะไปคุยว่าการปฏิบัติตามมติคุ้มครองชั่วคราวของศาลโลกจะทำอย่างไร แต่เรายืนยันอย่างเดียวว่าการปฏิบัติทุกอย่างต้องเท่าเทียม โปร่งใส และอยู่ภายใต้ความยุติธรรม ปฏิบัติได้ เป็นประโยชน์ต่อสองฝ่าย จาก 9-10 เดือนที่เราสัมพันธ์ดีกัน
เมื่อถามว่ายังยืนยันหรือไม่ว่าปัญหาระหว่างไทย-กัมพูชาเป็นการแก้ไขปัญหาระหว่างสองฝ่าย พล.อ.ธนะศักดิ์กล่าวว่า ขณะนี้เป็นอย่างนั้น ตอนที่นายกรัฐมนตรีไปเยือนอินโดนีเซีย ทางรมว.ต่างประเทศของไทย ได้แถลงว่าได้คุยกับ รมว.ต่างประเทศของอินโดนีเซียว่าขณะนี้ ถ้าเราคุยกันได้ก็คุยกันไป คนอื่นก็ไม่น่าจะต้องเข้ามา แต่การจะเข้ามาก็ต้องเข้ามาภายใต้การยินยอมของทั้งสองฝ่าย เมื่อไทยกับกัมพูชาเป็นเพื่อนสนิทและอยู่กันมานาน แต่สะดุด และมีแอ็กซิเดนต์เล็กน้อย ขณะนี้กลับมาสนิทเหมือนเดิมจึงคุยกันได้ ในเรื่องผลประโยชน์ร่วมกันก็จะทำให้สองประเทศก้าวไปข้างหน้า ถ้ามัวแต่ติดใจเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ก็จะถ่วงกันไปกันมา พายเรือคนละข้าง สองฝ่ายก็ต้องทำให้ดีที่สุด หากมีอะไรทางเจ้ากรมกิจการชายแดนของไทยก็จะโทรศัพท์สายตรงถึงเจ้ากรมกิจการชายแดนของกัมพูชาเพื่อประสานงานกัน และในระดับบน จะมีเสนาธิการทหารกองบัญชาการกองทัพไทย และ พล.อ.เนียง พาด รมช.กลาโหมกัมพูชา เป็นคู่ประสานกันระดับบน
วันนี้ (17 พ.ค.) ที่กองทัพอากาศ เมื่อเวลา 09.00 น. พล.อ.ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นประธานในการประชุม ผบ.เหล่าทัพ ครั้งที่ 4/2555 โดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก พล.ร.อ.สุรศักดิ์ หรุ่นเริงรมย์ ผู้บัญชาการทหารเรือ พล.อ.อ.อิทธพร ศุภวงศ์ ผู้บัญชาการทหารอากาศ และ พล.ต.อ.ปานศิริ ประภาวัต รอง ผบ.ตร. เข้าร่วมประชุม โดยก่อนเข้าประชุม พล.อ.อ.อิทธพรได้มอบและประดับเครื่องหมายความสามารถในการบินชั้นกิตติมศักดิ์ของกองทัพอากาศให้แก่ พล.อ.เสถียร เพิ่มทองอินทร์ ปลัดกระทรวงกลาโหม พล.อ.ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร ผู้บัญชาการทหารสูงสุด พล.ร.อ.สุรศักดิ์ หรุ่นเริงรมย์ ผู้บัญชาการทหารเรือ พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ดร.ณัฐณิชาช์ เพิ่มทองอินทร์ ภริยาปลัดกระทรวงกลาโหม คุณเพ็ญลักษณ์ ปฏิมาประกร ภริยาผู้บัญชาการทหารสูงสุด คุณพรจิตร์ หรุ่นริงรมย์ ภริยาผู้บัญชาการทหารเรือ คุณสาวิตรี ดามาพงศ์ ภริยาผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
โดย พล.อ.ธนะศักดิ์กล่าวถึงผลการประชุม ผบ.เหล่าทัพว่า การประชุมวันนี้เป็นการติดตามผลการดำเนินงานในช่วงที่ผ่านมา รวมทั้งได้มอบนโยบายการปฏิบัติภารกิจต่างๆ ดังนี้ 1. การดำเนินงานโครงการพระราชดำริในความรับผิดชอบของกองทัพไทย ซึ่งถือเป็นเรื่องที่จะดำเนินการเป็นลำดับแรก 2. ให้ทุกหน่วยมีความพร้อมในการป้องกันประเทศ การรักษาความมั่นคงภายใน รวมทั้งการสนับสนุนการแก้ไขปัญหายาเสพติด การต่อต้านการก่อการร้าย และปัญหาแรงงานต่างด้าว 3. โครงการขุดลอกแหล่งน้ำในพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศของกองทัพไทยที่ให้การสนับสนุนตามโครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัยของรัฐบาลจำนวน 537 โครงการ ซึ่งดำเนินการได้ดีอยู่แล้ว ขอให้ดำเนินการให้แล้วเสร็จตามกำหนดในเดือนพฤษภาคมนี้ และ 4. ให้ทุกหน่วยดำเนินการให้ความช่วยเหลือประชาชนที่ประสบภัยแล้งในพื้นที่ต่างๆ
พล.อ.ธนะศักดิ์ยังกล่าวถึงสถานการณ์ชายแดนไทย-กัมพูชาว่าไม่รู้สึกห่วงอะไร ขณะนี้ได้ตั้งคณะเจ้าหน้าที่อาวุโส (Senior staff talk) ของสองประเทศประชุมพูดคุยกัน ฝ่ายไทยมี พล.อ.วรพงษ์ สง่าเนตร เสนาธิการทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย ควบคุมบังคับบัญชาทั้งหมด และเจ้าหน้าที่ระดับเจ้ากรมฯ ที่เกี่ยวข้องร่วมในคณะด้วย ซึ่งในปลายปีนี้จะมีการฝึกร่วมบรรเทาสาธารณภัย ไทย-กัมพูชา โดยมีประเทศมาเลเซียมาร่วมฝึกด้วย ซึ่งการฝึกดังกล่าวได้หยุดพักไป แต่ขณะนี้สองประเทศเริ่มมีความสนิทสนมกัน มีการหารือระดับท้องถิ่นขึ้นมาตามลำดับจนถึงระดับรัฐบาล และไม่นานมานี้มีการเปิดเมืองคู่แฝดสี่แห่งฝั่งตรงข้าม จ.สุรินทร์ แสดงถึงความสัมพันธ์ก็จะแน่นแฟ้นมากขึ้น
“สำหรับ Senior staff talk ที่ตั้งขึ้นมาจะพูดคุยกันทุกเรื่อง และไม่ได้มีเฉพาะกับกัมพูชา กับพม่าเราก็คุยอยู่ และใช้เวทีนี้ในการพูดคุยกับประเทศเพื่อนบ้านโดยรอบ เป็นเวทีที่เราเปิดอกได้ทุกเรื่องว่าใครจะทำอะไร แล้วนำมาสู่จุดศูนย์กลางที่ออกมา และได้ประโยชน์ร่วมกันสองฝ่าย ต่อไปนี้ถ้ามีสิ่งไหนที่เป็นปัญหา มีความเข้าใจไม่ถูกต้อง เราก็สายตรงพูดคุยกันได้ จะเร็วขึ้น ง่ายขึ้น “ พล.อ.ธนะศักดิ์กล่าว
เมื่อถามถึงกรณีที่กระทรวงต่างประเทศได้ขอคำแนะนำจากเหล่าทัพต่อการนำผู้สังเกตการณ์ประเทศอินโดนีเซียเข้ามาในพื้นที่เขตปลอดทหารตามมติคุ้มครองชั่วคราวของศาลโลก พล.อ.ธนะศักดิ์กล่าวว่า ตรงนี้ไม่ง่าย เพราะทุกเรื่องต้องมาคุยในคณะทำงานร่วม Joint working group (JWG) โดยในการประชุมครั้งแรกได้พูดกันว่าเราจะสร้างสิ่งที่ดีร่วมกัน สร้างความร่วมมือในการเก็บกู้วัตถุระเบิด อะไรที่จะทำให้เกิดปัญหาก็ให้หยุดสิ่งเหล่านั้น ผลลัพธ์ออกมาค่อนข้างดี ในการประชุมครั้งต่อไปที่ประเทศกัมพูชา จะไปคุยว่าการปฏิบัติตามมติคุ้มครองชั่วคราวของศาลโลกจะทำอย่างไร แต่เรายืนยันอย่างเดียวว่าการปฏิบัติทุกอย่างต้องเท่าเทียม โปร่งใส และอยู่ภายใต้ความยุติธรรม ปฏิบัติได้ เป็นประโยชน์ต่อสองฝ่าย จาก 9-10 เดือนที่เราสัมพันธ์ดีกัน
เมื่อถามว่ายังยืนยันหรือไม่ว่าปัญหาระหว่างไทย-กัมพูชาเป็นการแก้ไขปัญหาระหว่างสองฝ่าย พล.อ.ธนะศักดิ์กล่าวว่า ขณะนี้เป็นอย่างนั้น ตอนที่นายกรัฐมนตรีไปเยือนอินโดนีเซีย ทางรมว.ต่างประเทศของไทย ได้แถลงว่าได้คุยกับ รมว.ต่างประเทศของอินโดนีเซียว่าขณะนี้ ถ้าเราคุยกันได้ก็คุยกันไป คนอื่นก็ไม่น่าจะต้องเข้ามา แต่การจะเข้ามาก็ต้องเข้ามาภายใต้การยินยอมของทั้งสองฝ่าย เมื่อไทยกับกัมพูชาเป็นเพื่อนสนิทและอยู่กันมานาน แต่สะดุด และมีแอ็กซิเดนต์เล็กน้อย ขณะนี้กลับมาสนิทเหมือนเดิมจึงคุยกันได้ ในเรื่องผลประโยชน์ร่วมกันก็จะทำให้สองประเทศก้าวไปข้างหน้า ถ้ามัวแต่ติดใจเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ก็จะถ่วงกันไปกันมา พายเรือคนละข้าง สองฝ่ายก็ต้องทำให้ดีที่สุด หากมีอะไรทางเจ้ากรมกิจการชายแดนของไทยก็จะโทรศัพท์สายตรงถึงเจ้ากรมกิจการชายแดนของกัมพูชาเพื่อประสานงานกัน และในระดับบน จะมีเสนาธิการทหารกองบัญชาการกองทัพไทย และ พล.อ.เนียง พาด รมช.กลาโหมกัมพูชา เป็นคู่ประสานกันระดับบน