กนอช.เผย มีเจ้าของพื้นที่สนใจเสนอให้ทำพื้นที่รับน้ำระยะยาวแล้ว 3 ล้านไร่ ชี้ อีก 2 สัปดาห์ชัดเจน ก่อนส่งทีมเจรจาลงทำความเข้าใจชาวบ้าน ยันเดินหน้า 246 โครงการ ส่วนยกระดับ “บรมราชชนนี-พุทธมณฑล 4-5” ต้องทบทวนหลังอยู่นอกแผน
วันนี้ (12 มี.ค.) ที่ทำเนียบรัฐบาล นายกิจจา ผลภาษี ที่ปรึกษาคณะกรรมการนโยบายน้ำและอุทกภัยแห่งชาติ (กนอช.) กล่าวภายหลังการประชุม ว่า ได้มีการหารือกันถึงพื้นที่รับน้ำระยะยาวตามเป้าหมายของรัฐบาลจำนวน 2 ล้านไร่ แต่ขณะนี้มีการเสนอพื้นที่เข้ามาเกินกว่าเป้าหมาย คือ จำนวน 3 ล้านไร่ จึงต้องมีการคัดเลือกพื้นที่ที่เหมาะสมให้ได้ 2 ล้านไร่ จากนั้นจะต้องทำรายละเอียดเป็นแผนที่ที่ชัดเจนภายใน 2 สัปดาห์ เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องลงไปทำความเข้าใจกับชาวบ้าน
นายกิจจา กล่าวว่า นอกจากนี้ ในที่ประชุมยังได้มีการหารือกันถึงเงินชดเชยสำหรับประชาชน และเกษตรกรที่อาศัยอยู่ในพื้นที่รับน้ำ เช่น กรณีน้ำท่วมในขณะที่กำลังทำการเพาะปลูก ตรงนี้อาจจะได้รับเงินชดเชยมากกว่าพื้นที่ที่เพาะปลูกเสร็จแล้ว และไม่ได้ทำประโยชน์อะไรต่อ เช่น พื้นที่ที่กำลังทำการเพาะปลูกอยู่อาจได้รับเงินชดเชยประมาณะ 4,000-5,000 บาทต่อไร่ ส่วนกรณีที่เพาะปลูกเสร็จแล้ว อาจจะได้รับลดหลั่นกันไป ประมาณ 600-800 บาทต่อไร่ อย่างไรก็ตาม ทางคณะกรรมการ คาดว่า ปีนี้น้ำไม่น่าจะท่วมมากจนต้องใช้พื้นที่รับน้ำถึง 2 ล้านไร่ ซึ่งก่อนจะถึงฤดูฝนและน้ำจะมา เราจะทำการพูดคุยกับประชาชน และประกาศก่อนว่าจะใช้พื้นที่ใดบ้าง
นายกิจจา กล่าวอีกว่า ในการประชุมครั้งนี้ยังได้มีการหารือกันถึงแผนต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ โดยได้มีการกำชับให้ทำแผนออกมาให้ชัดเจน โครงการต่างๆ ที่จะเบิก-จ่ายเงิน จะต้องมีรายละเอียด ทุกอย่างต้องครบถ้วน นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้มอบหมายให้ตน นายปีติพงษ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา ที่ปรึกษาคณะกรรมการ กนอช.และคณะกรรมการบริหารจัดการน้ำและอุทกภัย (กบอ.) ไปตรวจสอบความซ้ำซ้อนของ 246 โครงการ ที่ได้มีการเสนอให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) รับทราบไปเมื่อสัปดาห์ที่แล้วอีกครั้ง ซึ่งตนยืนยันว่า โครงการทั้งหมด 246 โครงการ ล้วนแต่อยู่ในแผนการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมทั้งสิ้น แต่ถ้าโครงการใดอยู่นอกแผนตนรับไม่ได้
นายกิจจา กล่าวว่า ส่วนโครงการต่อทางยกระดับถนนพระบรมราชชนนี ไปจังหวัดนครปฐม และโครงการยกระดับถนนพุทธมณฑลสาย 4 และ สาย 5 นั้น ยืนยันว่า ไม่ได้อยู่ในแผนระยะเร่งด่วนและระยะยาว ถึงแม้จะผ่านความเห็นชอบจาก ครม.มาแล้วก็ตาม ซึ่งทางคณะกรรมการกนอช.จะต้องเอาไปตรวจสอบก่อน และจะทำหรือไม่ก็ยังไม่รู้ เพราะอาจต้องใช้ระยะเวลานานมาก 3 ปี โดยไม่แน่ว่าจะแล้วเสร็จหรือไม่ ดังนั้น ทางคณะกรรมการ กนอช.อาจจะอนุมัติเงินให้แค่ทำการสำรวจ หรือทำการศึกษาเท่านั้น แต่คงไม่อนุมัติค่าดำเนินการก่อสร้างให้ หากจะมีการดำเนินการจริงๆคงต้องไปใช้งบปกติของกระทรวงเท่านั้น
“ทั้ง 3 โครงการดังกล่าว ไม่มีอยู่ในแผนของระยะยาว แต่โครงการนี้มีการเพิ่มเข้า ซึ่งมีการถกเถียงกันในที่ประชุมโดยนายกฯก็ไม่ได้ต่อว่าอะไร เพียงแต่บอกว่าในเมื่อมันไม่อยู่ในแผนระยะเร่งด่วนหรือระยะยาว ก็เอาไปดูว่าจะเพิ่มหรือไม่ แต่ไม่ใช่อยู่ดีๆจะมาใส่ลงไป โดยฝากผม นายปีติพงษ์ และคณะกรรมการ กบอ.กลับไปตรวจสอบดู” นายกิจจา ระบุ
วันนี้ (12 มี.ค.) ที่ทำเนียบรัฐบาล นายกิจจา ผลภาษี ที่ปรึกษาคณะกรรมการนโยบายน้ำและอุทกภัยแห่งชาติ (กนอช.) กล่าวภายหลังการประชุม ว่า ได้มีการหารือกันถึงพื้นที่รับน้ำระยะยาวตามเป้าหมายของรัฐบาลจำนวน 2 ล้านไร่ แต่ขณะนี้มีการเสนอพื้นที่เข้ามาเกินกว่าเป้าหมาย คือ จำนวน 3 ล้านไร่ จึงต้องมีการคัดเลือกพื้นที่ที่เหมาะสมให้ได้ 2 ล้านไร่ จากนั้นจะต้องทำรายละเอียดเป็นแผนที่ที่ชัดเจนภายใน 2 สัปดาห์ เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องลงไปทำความเข้าใจกับชาวบ้าน
นายกิจจา กล่าวว่า นอกจากนี้ ในที่ประชุมยังได้มีการหารือกันถึงเงินชดเชยสำหรับประชาชน และเกษตรกรที่อาศัยอยู่ในพื้นที่รับน้ำ เช่น กรณีน้ำท่วมในขณะที่กำลังทำการเพาะปลูก ตรงนี้อาจจะได้รับเงินชดเชยมากกว่าพื้นที่ที่เพาะปลูกเสร็จแล้ว และไม่ได้ทำประโยชน์อะไรต่อ เช่น พื้นที่ที่กำลังทำการเพาะปลูกอยู่อาจได้รับเงินชดเชยประมาณะ 4,000-5,000 บาทต่อไร่ ส่วนกรณีที่เพาะปลูกเสร็จแล้ว อาจจะได้รับลดหลั่นกันไป ประมาณ 600-800 บาทต่อไร่ อย่างไรก็ตาม ทางคณะกรรมการ คาดว่า ปีนี้น้ำไม่น่าจะท่วมมากจนต้องใช้พื้นที่รับน้ำถึง 2 ล้านไร่ ซึ่งก่อนจะถึงฤดูฝนและน้ำจะมา เราจะทำการพูดคุยกับประชาชน และประกาศก่อนว่าจะใช้พื้นที่ใดบ้าง
นายกิจจา กล่าวอีกว่า ในการประชุมครั้งนี้ยังได้มีการหารือกันถึงแผนต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ โดยได้มีการกำชับให้ทำแผนออกมาให้ชัดเจน โครงการต่างๆ ที่จะเบิก-จ่ายเงิน จะต้องมีรายละเอียด ทุกอย่างต้องครบถ้วน นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้มอบหมายให้ตน นายปีติพงษ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา ที่ปรึกษาคณะกรรมการ กนอช.และคณะกรรมการบริหารจัดการน้ำและอุทกภัย (กบอ.) ไปตรวจสอบความซ้ำซ้อนของ 246 โครงการ ที่ได้มีการเสนอให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) รับทราบไปเมื่อสัปดาห์ที่แล้วอีกครั้ง ซึ่งตนยืนยันว่า โครงการทั้งหมด 246 โครงการ ล้วนแต่อยู่ในแผนการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมทั้งสิ้น แต่ถ้าโครงการใดอยู่นอกแผนตนรับไม่ได้
นายกิจจา กล่าวว่า ส่วนโครงการต่อทางยกระดับถนนพระบรมราชชนนี ไปจังหวัดนครปฐม และโครงการยกระดับถนนพุทธมณฑลสาย 4 และ สาย 5 นั้น ยืนยันว่า ไม่ได้อยู่ในแผนระยะเร่งด่วนและระยะยาว ถึงแม้จะผ่านความเห็นชอบจาก ครม.มาแล้วก็ตาม ซึ่งทางคณะกรรมการกนอช.จะต้องเอาไปตรวจสอบก่อน และจะทำหรือไม่ก็ยังไม่รู้ เพราะอาจต้องใช้ระยะเวลานานมาก 3 ปี โดยไม่แน่ว่าจะแล้วเสร็จหรือไม่ ดังนั้น ทางคณะกรรมการ กนอช.อาจจะอนุมัติเงินให้แค่ทำการสำรวจ หรือทำการศึกษาเท่านั้น แต่คงไม่อนุมัติค่าดำเนินการก่อสร้างให้ หากจะมีการดำเนินการจริงๆคงต้องไปใช้งบปกติของกระทรวงเท่านั้น
“ทั้ง 3 โครงการดังกล่าว ไม่มีอยู่ในแผนของระยะยาว แต่โครงการนี้มีการเพิ่มเข้า ซึ่งมีการถกเถียงกันในที่ประชุมโดยนายกฯก็ไม่ได้ต่อว่าอะไร เพียงแต่บอกว่าในเมื่อมันไม่อยู่ในแผนระยะเร่งด่วนหรือระยะยาว ก็เอาไปดูว่าจะเพิ่มหรือไม่ แต่ไม่ใช่อยู่ดีๆจะมาใส่ลงไป โดยฝากผม นายปีติพงษ์ และคณะกรรมการ กบอ.กลับไปตรวจสอบดู” นายกิจจา ระบุ