xs
xsm
sm
md
lg

นายกฯ คาดจีดีพีโต 6.5% แนะจัดทำงบฯ 56 แบบพึ่งพา ศก.ภายใน

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
“ยิ่งลักษณ์” วิเคราะห์เศรษฐกิจโลกมีความผันผวน แนะจัดทำงบประมาณรายจ่ายปี 56 แบบพึ่งพาเศรษฐกิจภายในประเทศ ใช้ความได้เปรียบจุดยุทธศาสตร์พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ลั่นปี 55 ปีแห่งการฟื้นฟู เชื่อจีดีพีโตร้อยละ 5.5-6.5 ตามเป้า

วันนี้ (23 ก.พ.) ที่อิมแพค เมืองทองธานี น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้เป็นประธานพิธีเปิดการประชุมสัมมนานโยบายการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2556 โดยได้กล่าวเปิดงานว่า หากเราดูสถานการณ์ภาครวมของเศรษฐกิจวันนี้ เศรษฐกิจโลกมีความผันผวน ที่สหรัฐอเมริกาที่เศรษฐกิจมีความเปราะบาง มีปัญหาเรื่องหนี้สินทำให้ช่วง 4 ปีที่แล้วเกิดการว่างงาน และวันนี้ยังเกิดปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจในสหภาพยุโรปที่มีแนวโน้มจะขยายตัวไปสู่สถาบันการเงิน และการผลิตต่างๆ ในส่วนของภูมิภาครวมถึงราคาน้ำมัน และวัตถุดิบในตลาด ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ก็จะส่งผลต่อประเทศไทย แม้ว่าเราเองจะมีความพยายามกระจายความเสี่ยงไปยังกลุ่มประเทศอื่นๆ ซึ่งวันนี้ตลาดที่น่าสนใจมีก็มีอยู่หลายประเทศ แต่บนความเสี่ยงนี้ก็มีโอกาสเกิดขึ้น เพราะมีหลายประเทศที่น่าสนใจซึ่งมีอิทธิพลในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เช่น จีน อินเดีย ไทย และกลุ่มประเทศในอาเซียน

“ดังนั้น การทำงบประมาณในปีนี้เป็นส่วนสำคัญที่ตอบโจทย์ปัญหาต่างๆ ตั้งแต่ความเสี่ยงที่เกิดจากความผันผวนของเศรษฐกิจโลก สิ่งที่ต้องแก้คือ การพึ่งพาเศรษฐกิจในประเทศ ที่จะทำให้อย่างไรให้เกิดการใช้จ่ายในประเทศมากขึ้น รายได้ของการส่งออก การเพิ่มผลผลิตโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ โดยเฉพาะกลุ่มเอสเอ็มอี ที่จะมีผลทำให้สินค้าดีขึ้นและการส่งออกเพิ่มขึ้นรวมถึงการใช้จ่ายของภาครัฐ ฉะนั้นการทำงบประมาณจึงเป็นสิ่งสำคัญที่เราต้องเข้าใจและเห็นทิศทางของการกระตุ้นเศรษฐกิจประเทศ เพื่อการทำงบประมาณจะไปแนวทางเดียวกัน” น.ส.ยิ่งลักษณ์ระบุ

นายกฯ กล่าวด้วยว่า เราจะมาคุยกันว่าจะทำอย่างไรให้ประเทศไทยพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและเตรียมตัวที่จะก้าวไปสู่ประเทศอาเซียน ซึ่งความผันผวนของเศรษฐกิจโลกเป็นจุดแข็งที่ทำให้ทุกประเทศให้ความสนใจในประเทศไทยไม่ว่าจะเป็นจีน ญี่ปุ่น อินเดีย เพราะประเทศไทยเป็นอยู่ในจุดยุทธศาสตร์ที่ดี และเป็นประตูสู่อาเซียน ถามว่าหากจะลงทุนในอาเซียนลงทุนในประเทศไทยน่าสนใจกว่า เพราะมีวัฒนธรรมที่ดี มีแรงงานที่มีคุณภาพ มีสภาพภูมิประเทศที่น่าอยู่ ตรงนี้เป็นจุดได้เปรียบของประเทศไทยที่เราต้องมีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในจุดนี้ ตนฝากให้หัวหน้าส่วนราชการและผู้ว่าราชการจังหวัดเห็นในทิศทางเดียวกันกับรัฐบาล

น.ส.ยิ่งลักษณ์กล่าวต่อว่า การวางแผนในภาครวมมองว่าเศรษฐกิจในปี 2555 คาดว่าจะขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 5.5-6.5 ซึ่งถ้าย้อนไปดูปลายปี 2554 ที่ได้รับผลกระทบจากมหาอุทกภัย พบว่าเศรษฐกิจไทยไม่ได้มีการขยายตัวเลข ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 0.1 ฉะนั้นปี 2555 จะเป็นปีของการฟื้นฟู การเร่งการฟื้นฟูหลังอุทกภัยน้ำท่วม จึงเป็นที่มาของตัวเลยจีดีพี ที่เราวางไว้คือร้อยละ 5.5-6.5 ทั้งนี้ในปีงบประมาณ 2556 รัฐบาลได้กำหนดวงเงินงบประมาณรายจ่าย 2.4 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา 2 หมื่นล้านบาท ซึ่งรัฐบาลจำเป็นต้องกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลจาก 3 แสนล้านบาท ซึ่งลดลงจากปีที่แล้วที่ตั้งไว้ 4 แสนล้านบาท

น.ส.ยิ่งลักษณกล่าวอีกว่า ในเรื่องของงบประมาณ รัฐบาลขอจำกัดไม่ให้มีรายจ่ายเกินร้อยละ 2.4 เพื่อจะรักษาวินัยการเงิน การคลัง และสนับสนุนงบประมาณให้มีความสมดุลในอนาคต ทั้งนี้ตนขอมอบหลักการจากงบประมาณปี 2555 ที่รัฐบาลแถลงนโยบายต่อรัฐสภา 16 ข้อ ที่เป็นนโยบายเร่งด่วน ซึ่งนโยบายทั้งหมดจะต้องมีความต่อเนื่องมาจนถึงนโยบาลปี 2556 ก็ขอให้หน่วยงานต่างๆ กลับไปดูว่าโยบายส่วนไหนบ้างที่ตั้งงบประมาณไว้ยังไม่ครบ ก็ขอให้ตั้งให้ครบถ้วน เพราะบางส่วนเป็นงบประมาณผูกพัน ทั้งนี้ ตนอยากให้ผู้ว่าราชการจังหวัดดูความต้องการของประชาชนว่ามีความต้องการอะไรบ้าง รวมถึงการเตรียมแผนการเข้าสู่อาเซียนอย่างเป็นรูปธรรม ขอให้ทุกหน่วยงานกลับไปดู แต่ทั้งหมดนี้ต้องยึดประชาชนเป็นที่ตั้งเป็น และเป็นความต้องการเห็นพ้องต้องการของประชาชน

น.ส.ยิ่งลักษณ์กล่าวต่ออีกว่า งบประมาณที่ตั้งไว้บางครั้งเม็ดเงินที่สำนักงบประมาณได้จัดสรรลงไปไม่ตรงกับกรอบโครง เพราะเป็นการตั้งงบ ตนจึงขอเน้นว่าการใช้จ่ายของภาครัฐมีส่วนสำคัญในการกระตุ้นเศรษฐกิจ ดังนั้นการใช้จ่ายของภาครัฐต้องเป็นโครงการใกล้เคียงกับความเป็นจริง และโครงการไหนที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ก็ขอให้มีการพิจารณาตามความสำคัญ เพราะว่าการใช้จ่ายงบประมาณมาจากภาษีของประชาชน ฉะนั้น การใช้จ่ายและการตั้งงบประมาณต้องอยู่ในหลักเกณฑ์และเพื่อประโยชน์ของประชาชน ต้องรักษาวินัยทางการเงินการคลัง และกระบวนการทำงานต้องโปร่งใสสามารถตรวจสอบได้ตนให้ไฟเขียว ไม่ต้องเกรงใจ สามารถปรับงบประมาณได้ อันไหนที่ไม่จำเป็นไม่ว่ากัน เพราะเงินทุกบาทมีค่า ขอให้ทำหน้าที่เป็นตัวแทนของประชาชนในการตัดสินใจใช้เม็ดเงินนี้รวมกันอย่างมีประสิทธิภาพ
กำลังโหลดความคิดเห็น