กมธ.สถาบันการเงินวุฒิฯ ซัด รบ.ไม่มีจำเป็นเร่งออก พ.ร.ก.กู้เงิน เชื่อกระทบต่อธนาคารทั้งระบบ คาดแบงก์ชาติต้องแบกรับภาระต้นทุน 8 พันล้าน
วันนี้ (7 ก.พ.) คณะกรรมาธิการการเงิน การคลัง การธนาคาร และสถาบันการเงิน วุฒิสภา จัดงานเสวนาเรื่อง การวิเคราะห์พระราชกำหนด 4 ฉบับ และแนวทางการดำเนินนโยบายการเงิน การคลังของประเทศในอนาคต นางกิริฎา เภาพิจิตร นักเศรษฐศาสตร์ ธนาคารโลก มองว่า รัฐบาลไม่มีความจำเป็นที่ต้องประกาศใช้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการวางระบบบริหารจัดการน้ำและสร้างอนาคตประเทศ พ.ศ. 2555 วงเงินกู้ 350,000 ล้านบาท เนื่องจากมองว่ารัฐบาลสามารถใช้เงินในปีงบประมาณในการวางแผนพัฒนาระบบแบบบูรณาการ เพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในระยะยาว ส่วนพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการวางระบบบริหารจัดการน้ำและสร้างอนาคตประเทศ พ.ศ. 2555 วงเงินกู้ 350,000 ล้านบาทนั้น ส่วนตัวมองว่าจะส่งผลกระทบการทำงานของธนาคารพาณิชย์ในเรื่องขีดความสามารถในการแข่งขันกับธนาคารของรัฐ เนื่องจากธนาคารพาณิชย์ต้องส่งเงินเข้ากองทุนประกันเงินฝากเพิ่มขึ้นแต่ธนาคารของรัฐกลับไม่ต้องจ่ายเงินเข้ากองทุนประกันเงินฝาก
สำหรับพระราชกำหนดให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัย พ.ศ. 2555 นั้น ส่วนตัวมองว่า ธนาคารแห่งประเทศไทยจะต้องแบกรับต้นทุนเป็นจำนวนมากในการปล่อยเงินกู้อัตราดอกเบี้ยต่ำให้กับธนาคารพาณิชย์ เพื่อให้ธนาคารพาณิชย์นำเงินไปปล่อยกู้ให้กับผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาอุทกภัยต่อไป โดยมาตรการนี้จะทำให้ธนาคารแห่งประเทศไทยต้องขาดทุนกว่า 8 พันล้านบาท
ด้าน นายธวัชชัย ยงกิตติกุล เลขาธิการสมาคมธนาคารไทย เห็นว่า พระราชกำหนดให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัย พ.ศ. 2555 ไม่ใช่มาตรการที่ทำกำไรให้กับธนาคารแห่งประเทศไทยและรัฐบาล แต่ประโยชน์ทั้งหมดจะตกแก่ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาอุทกภัยอย่างแท้จริง ส่วนพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการวางระบบบริหารจัดการน้ำและสร้างอนาคตประเทศ พ.ศ. 2555 นั้น ส่วนตัวมองว่า จะกระทบต่อธนาคารพาณิชย์ที่ต้องจ่ายเงินเพิ่มในการจัดส่งเงินเข้ากองทุนสำรองเงินฝาก พร้อมกันนี้ ยังเป็นการลดศักยภาพในการแข่งขันกับธนาคารนานาชาติหากประเทศไทยก้าวสู่ประชาชนอาเซียนในปี 2558 รวมทั้งแสดงความกังวลว่า มาตรการนี้จะกระทบต่อการขยายตัวของการฝากเงินในธนาคารพาณิชย์อีกด้วย
วันนี้ (7 ก.พ.) คณะกรรมาธิการการเงิน การคลัง การธนาคาร และสถาบันการเงิน วุฒิสภา จัดงานเสวนาเรื่อง การวิเคราะห์พระราชกำหนด 4 ฉบับ และแนวทางการดำเนินนโยบายการเงิน การคลังของประเทศในอนาคต นางกิริฎา เภาพิจิตร นักเศรษฐศาสตร์ ธนาคารโลก มองว่า รัฐบาลไม่มีความจำเป็นที่ต้องประกาศใช้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการวางระบบบริหารจัดการน้ำและสร้างอนาคตประเทศ พ.ศ. 2555 วงเงินกู้ 350,000 ล้านบาท เนื่องจากมองว่ารัฐบาลสามารถใช้เงินในปีงบประมาณในการวางแผนพัฒนาระบบแบบบูรณาการ เพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในระยะยาว ส่วนพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการวางระบบบริหารจัดการน้ำและสร้างอนาคตประเทศ พ.ศ. 2555 วงเงินกู้ 350,000 ล้านบาทนั้น ส่วนตัวมองว่าจะส่งผลกระทบการทำงานของธนาคารพาณิชย์ในเรื่องขีดความสามารถในการแข่งขันกับธนาคารของรัฐ เนื่องจากธนาคารพาณิชย์ต้องส่งเงินเข้ากองทุนประกันเงินฝากเพิ่มขึ้นแต่ธนาคารของรัฐกลับไม่ต้องจ่ายเงินเข้ากองทุนประกันเงินฝาก
สำหรับพระราชกำหนดให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัย พ.ศ. 2555 นั้น ส่วนตัวมองว่า ธนาคารแห่งประเทศไทยจะต้องแบกรับต้นทุนเป็นจำนวนมากในการปล่อยเงินกู้อัตราดอกเบี้ยต่ำให้กับธนาคารพาณิชย์ เพื่อให้ธนาคารพาณิชย์นำเงินไปปล่อยกู้ให้กับผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาอุทกภัยต่อไป โดยมาตรการนี้จะทำให้ธนาคารแห่งประเทศไทยต้องขาดทุนกว่า 8 พันล้านบาท
ด้าน นายธวัชชัย ยงกิตติกุล เลขาธิการสมาคมธนาคารไทย เห็นว่า พระราชกำหนดให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัย พ.ศ. 2555 ไม่ใช่มาตรการที่ทำกำไรให้กับธนาคารแห่งประเทศไทยและรัฐบาล แต่ประโยชน์ทั้งหมดจะตกแก่ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาอุทกภัยอย่างแท้จริง ส่วนพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการวางระบบบริหารจัดการน้ำและสร้างอนาคตประเทศ พ.ศ. 2555 นั้น ส่วนตัวมองว่า จะกระทบต่อธนาคารพาณิชย์ที่ต้องจ่ายเงินเพิ่มในการจัดส่งเงินเข้ากองทุนสำรองเงินฝาก พร้อมกันนี้ ยังเป็นการลดศักยภาพในการแข่งขันกับธนาคารนานาชาติหากประเทศไทยก้าวสู่ประชาชนอาเซียนในปี 2558 รวมทั้งแสดงความกังวลว่า มาตรการนี้จะกระทบต่อการขยายตัวของการฝากเงินในธนาคารพาณิชย์อีกด้วย