ที่ประชุมอนุฯ ปคอป. อ้างชดเชยตาย 4.5 ล้าน คำนวนจากรายได้ประชากรไทยเฉลี่ย พร้อมตั้งคณะทำงาน 3 ชุด ดูตั้งแต่ปลายปี 48, กรอบวงเงินและช่วยธุรกิจพื้นที่ชุมนุม แย้มหักออกพวกถูกเยียวยาไปแล้ว
วันนี้ (19 ม.ค.) ที่ทำเนียบรัฐบาล นายธงทอง จันทรางศุ ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะคณะอนุกรรมการด้านการเยียวยาทางแพ่ง ซึ่งเป็นการประสานงานและติดตามผลการดำเนินงานตามข้อเสนอแนะของอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (ปคอป.) ที่มีนายยงยุทธ วิชัยดิษฐ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.มหาดไทยเป็นประธาน แถลงภายหลังการประชุมว่า สำหรับการเยียวยาทางด้านการเงินจะต้องใช้หลักการและมาตรการที่มีความเฉพาะเจาะจงเป็นพิเศษ ไม่ยึดติดกับหลักเกณฑ์ที่ทำมาในอดีต ไม่ว่าจะเป็นกฎหมายการช่วยเหลือเยียวยา หลักเกณฑ์เรื่องความเสียหายตามปกติ หรือกรณีภัยพิบัติในปกติ จะต้องมีการเยียวยาทุกมิติ ทั้งด้านจิตใจ ค่าเสียโอกาส ให้กับทุกฝ่าย ซึ่งในการประชุมคอป.ได้มีการเสนอหลักการดังกล่าวเป็นตัวเลขขึ้นมา เช่น การชดเชยกรณีเสียชีวิต 4.5 ล้านบาท ข้อเสนอจาก ปคอป.ได้มีฐานการคำนวนจากการคิดคำนวณรายได้ประชาชาติ ซึ่งรายได้ประชากรไทยโดยเฉลี่ยปีละ 1.5 แสนบาท เมื่อหารเป็นรายเดือนประมาณ 1 หมื่นเศษ เมื่อนำตัวเลขไปคูนจำนวนปี ช่วงอายุเฉลี่ยประชากรไทยอยู่ที่ประมาณ 65 ปี และอายุเฉลี่ยผู้ที่ได้รับผลกระทบอายุเฉลี่ยประมาณ 30-35 ปี แปลว่าเขาอาจจะมีชีวิตยืนยาวอีกเฉลี่ยประมาณ 30 ปี เมื่อนำไปคูณกับ 1.5 แสน จะได้ 4.5 ล้านบาท
นายธงทองกล่าวต่อว่า เมื่อ ครม.ให้ความเห็นชอบแล้วเมื่อวันที่ 10 ม.ค.ที่ผ่านมา ยังมีการบ้านอีกมาก โดยมีการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการชุดนี้ขึ้นมาเพื่อดูในรายละเอียดและวิธีการจ่ายเงิน เช่น จะต้องจ่ายให้ใครบ้าง ซึ่งมีกรอบครอบคลุมให้จ่ายผู้ที่ได้รับผลกระทบจาการชุมนุมทั้งหลาย ก่อนเหตุการณ์รัฐประหาร 19 กันยายน หรือประมาณ ปี 2548 จนถึงปี 2553 ซึ่งเราจะต้องไปพิจารณาว่าผู้ที่อยู่ตั้งแต่ช่วงนี้เป็นใคร ได้รับผลกระทบมากน้อยเพียงใด และต้องมาดูในเรื่องการสวมสิทธิ์ จึงต้องมาลงในรายละเอียด วิธีจ่ายว่าจะจ่ายเป็นงวดเดียวหรือลำดับเวลาหลายงวด เพราะบางครั้งมีการจ่าย เช่น ค่าศึกษาเล่าเรียนของบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ นอกจากนี้ต้องดูในเรื่องของความรอบคอบ หากมีบางรายเคยได้รับไปแล้วตำกว่ามากน้อยกว่าเพียงใด ให้เอาจำนวนที่รับไปแล้วมาหักออกจำนวนที่จะจ่ายตามเกณฑ์ในคราวนี้ด้วย ซึ่งในการประชุมวันนี้ยังไม่ได้ข้อสรุป จึงต้องมีการตั้งคณะทำงานขึ้นมา 3 ชุด
นายธงทองกล่าวต่อว่า คณะกรรมการชุดที่ 1 นางสุวนา สุวรรณจูฑะ รองปลัดกระทรวงยุติธรรม เป็นหัวหน้าคณะ ดูแลช่วงที่ย้อนไปในปลายปี 48 ว่ามีเหตุการณ์อะไรบ้าง จำนวนผู้ที่ได้รับผลกระทบมีใคร จำนวนเท่าไหร่ การช่วยเหลือเยียวยาที่ได้รับจากภาครัฐไปแล้วมีอะไรบ้าง ไม่ว่าจะเป็นข้าราชการ ทหาร ตำรวจ สื่อมวลชน นักท่องเที่ยว จะเสื้อสีอะไรก็แล้วแต่ หากใครได้รับผลกระทบถึงชีวิตหรือร่างกายจะไปตรวจสอบ เพื่อเป็นฐานในการหักจำนวนออก หากได้รับการเยียวยาไปแล้ว แต่ถ้ายังไม่ได้ก็จะให้อย่างถูกต้องตามหลักเกณฑ์
นายธงทองกล่าวอีกว่า คณะทำงานชุดที่ 2 นางระรินทิพย์ ศิโรรัตน์ รองปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและคาวมมั่นคงของมนุษย์ เป็นหัวหน้าทีม โดยชุดนี้จะนำมติ ครม.เรื่องกรอบวงเงินไปแจกแจงรายละเอียดว่าจะมีกฎเกณฑ์ในการจ่ายอย่างไร ความซ้ำซ้อนกับกฎกติกาต่างๆ เป็นอย่างไร จะไปสร้างความชัดเจนในเรื่องนี้ ส่วนชุดที่ 3 มอบนายวีระวงศ์ จิตต์มิตรภาพ ดูในเรื่องภาคธุรกิจต่างๆ ในย่านที่มีการชุมนุม เช่น ถนนพระรามที่ 1 ถนนราชดำริ เป็นต้น ซึ่งเป็นพื้นที่ชุมนุมจะต้องมีการดูแล อาจจะมีการเยียวยาภาคธุรกิจที่ได้รับผลกระทบ และการทำงานจะมีความสอดคล้องระหว่างภาคธุรกิจ ภาคเอกชน และภาคราชการ ทั้งนี้ คณะกรรมการใน 2 ชุดแรกจะต้องมารายงานความคืบหน้าในการทำงานภายใน 2 สัปดาห์ คือในวันที่ 6 กุมภาพันธ์นี้
วันนี้ (19 ม.ค.) ที่ทำเนียบรัฐบาล นายธงทอง จันทรางศุ ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะคณะอนุกรรมการด้านการเยียวยาทางแพ่ง ซึ่งเป็นการประสานงานและติดตามผลการดำเนินงานตามข้อเสนอแนะของอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (ปคอป.) ที่มีนายยงยุทธ วิชัยดิษฐ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.มหาดไทยเป็นประธาน แถลงภายหลังการประชุมว่า สำหรับการเยียวยาทางด้านการเงินจะต้องใช้หลักการและมาตรการที่มีความเฉพาะเจาะจงเป็นพิเศษ ไม่ยึดติดกับหลักเกณฑ์ที่ทำมาในอดีต ไม่ว่าจะเป็นกฎหมายการช่วยเหลือเยียวยา หลักเกณฑ์เรื่องความเสียหายตามปกติ หรือกรณีภัยพิบัติในปกติ จะต้องมีการเยียวยาทุกมิติ ทั้งด้านจิตใจ ค่าเสียโอกาส ให้กับทุกฝ่าย ซึ่งในการประชุมคอป.ได้มีการเสนอหลักการดังกล่าวเป็นตัวเลขขึ้นมา เช่น การชดเชยกรณีเสียชีวิต 4.5 ล้านบาท ข้อเสนอจาก ปคอป.ได้มีฐานการคำนวนจากการคิดคำนวณรายได้ประชาชาติ ซึ่งรายได้ประชากรไทยโดยเฉลี่ยปีละ 1.5 แสนบาท เมื่อหารเป็นรายเดือนประมาณ 1 หมื่นเศษ เมื่อนำตัวเลขไปคูนจำนวนปี ช่วงอายุเฉลี่ยประชากรไทยอยู่ที่ประมาณ 65 ปี และอายุเฉลี่ยผู้ที่ได้รับผลกระทบอายุเฉลี่ยประมาณ 30-35 ปี แปลว่าเขาอาจจะมีชีวิตยืนยาวอีกเฉลี่ยประมาณ 30 ปี เมื่อนำไปคูณกับ 1.5 แสน จะได้ 4.5 ล้านบาท
นายธงทองกล่าวต่อว่า เมื่อ ครม.ให้ความเห็นชอบแล้วเมื่อวันที่ 10 ม.ค.ที่ผ่านมา ยังมีการบ้านอีกมาก โดยมีการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการชุดนี้ขึ้นมาเพื่อดูในรายละเอียดและวิธีการจ่ายเงิน เช่น จะต้องจ่ายให้ใครบ้าง ซึ่งมีกรอบครอบคลุมให้จ่ายผู้ที่ได้รับผลกระทบจาการชุมนุมทั้งหลาย ก่อนเหตุการณ์รัฐประหาร 19 กันยายน หรือประมาณ ปี 2548 จนถึงปี 2553 ซึ่งเราจะต้องไปพิจารณาว่าผู้ที่อยู่ตั้งแต่ช่วงนี้เป็นใคร ได้รับผลกระทบมากน้อยเพียงใด และต้องมาดูในเรื่องการสวมสิทธิ์ จึงต้องมาลงในรายละเอียด วิธีจ่ายว่าจะจ่ายเป็นงวดเดียวหรือลำดับเวลาหลายงวด เพราะบางครั้งมีการจ่าย เช่น ค่าศึกษาเล่าเรียนของบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ นอกจากนี้ต้องดูในเรื่องของความรอบคอบ หากมีบางรายเคยได้รับไปแล้วตำกว่ามากน้อยกว่าเพียงใด ให้เอาจำนวนที่รับไปแล้วมาหักออกจำนวนที่จะจ่ายตามเกณฑ์ในคราวนี้ด้วย ซึ่งในการประชุมวันนี้ยังไม่ได้ข้อสรุป จึงต้องมีการตั้งคณะทำงานขึ้นมา 3 ชุด
นายธงทองกล่าวต่อว่า คณะกรรมการชุดที่ 1 นางสุวนา สุวรรณจูฑะ รองปลัดกระทรวงยุติธรรม เป็นหัวหน้าคณะ ดูแลช่วงที่ย้อนไปในปลายปี 48 ว่ามีเหตุการณ์อะไรบ้าง จำนวนผู้ที่ได้รับผลกระทบมีใคร จำนวนเท่าไหร่ การช่วยเหลือเยียวยาที่ได้รับจากภาครัฐไปแล้วมีอะไรบ้าง ไม่ว่าจะเป็นข้าราชการ ทหาร ตำรวจ สื่อมวลชน นักท่องเที่ยว จะเสื้อสีอะไรก็แล้วแต่ หากใครได้รับผลกระทบถึงชีวิตหรือร่างกายจะไปตรวจสอบ เพื่อเป็นฐานในการหักจำนวนออก หากได้รับการเยียวยาไปแล้ว แต่ถ้ายังไม่ได้ก็จะให้อย่างถูกต้องตามหลักเกณฑ์
นายธงทองกล่าวอีกว่า คณะทำงานชุดที่ 2 นางระรินทิพย์ ศิโรรัตน์ รองปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและคาวมมั่นคงของมนุษย์ เป็นหัวหน้าทีม โดยชุดนี้จะนำมติ ครม.เรื่องกรอบวงเงินไปแจกแจงรายละเอียดว่าจะมีกฎเกณฑ์ในการจ่ายอย่างไร ความซ้ำซ้อนกับกฎกติกาต่างๆ เป็นอย่างไร จะไปสร้างความชัดเจนในเรื่องนี้ ส่วนชุดที่ 3 มอบนายวีระวงศ์ จิตต์มิตรภาพ ดูในเรื่องภาคธุรกิจต่างๆ ในย่านที่มีการชุมนุม เช่น ถนนพระรามที่ 1 ถนนราชดำริ เป็นต้น ซึ่งเป็นพื้นที่ชุมนุมจะต้องมีการดูแล อาจจะมีการเยียวยาภาคธุรกิจที่ได้รับผลกระทบ และการทำงานจะมีความสอดคล้องระหว่างภาคธุรกิจ ภาคเอกชน และภาคราชการ ทั้งนี้ คณะกรรมการใน 2 ชุดแรกจะต้องมารายงานความคืบหน้าในการทำงานภายใน 2 สัปดาห์ คือในวันที่ 6 กุมภาพันธ์นี้