xs
xsm
sm
md
lg

ครม.เห็นชอบ 5 มาตรการช่วยนิคมฯ น้ำท่วม

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

รองโฆษกรัฐ เผย ครม.เห็นชอบ ก.อุตสาหกรรม เสนอ 5 มาตรการช่วยภาคอุตสาหกรรมถูกน้ำท่วม

วันนี้ (4 ม.ค.) ที่รัฐสภา เมื่อเวลา 14.00 น.นายชลิตรัตน์ จันทรุเบกษา รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า กระทรวงอุตสาหกรรมได้เสนอมาตรการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในภาคอุตสาหกรรม 5 มาตรการ ได้แก่ มาตรการที่ 1 คือ การส่งเสริมการลงทุนเพื่อการฟื้นฟูการลงทุนจากวิกฤตอุทกภัย ซึ่งคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนได้มีมติผ่านให้มีมาตรการเพื่อช่วยเหลืการลงทุนอยู่ 2 มาตรการย่อยด้วยกัน คือ 1.มาตรการทั่วไปสำหรับผู้ประกอบการ ที่ได้รับความเสียหายโดยตรงจากอุทกภัย ซึ่งผู้ประกอบการที่ได้รับการช่วยเหลืออยู่เดิมแล้วนั้น โดยมีเครื่องจักร หรืออาคารโรงงาน ที่ได้รับความเสียหาย และเป็นประเภทกิจการ ที่อยู่ในข่ายที่ได้รับการส่งเสริมภายใต้หลักเกณฑ์ปัจจุบัน ก็จะได้รับสิทธิประโยชน์อีก 2 กรณี คือ หากเป็นโครงการที่ได้รับการส่งเสริมอยู่เดิม ก็ให้ยกเว้นภาษีเงินได้ส่วนบุคคล โดยจำกัดวงเงินที่ยกเว้นให้ถือเสมือนเป็นโครงการใหม่ โดยให้ได้รับสิทธิและประโยชน์ ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคคล 8 ปี แต่ถ้าโครงการดังกล่าวยังลงทุนในจังหวัดเดิมที่ประสบอุทกภัยอยู่ ก็จะได้รับการยกเว้นภาษีในอัตราร้อยละ 150 เปอร์เซ็นต์ ของเงินลงทุน รวมกับวงเงินภาษีที่ได้รับอยู่เดิมที่ยังเหลืออยู่ แต่ถ้าหากย้ายไปลงทุนในจังหวัดอื่น ก็ให้ได้รับการยกเว้นร้อยละ 100 เปอร์เซ็นต์ ของวงเงินลงทุน

ส่วนกรณีโครงการที่ได้รับส่งเสริมอยู่เดิม ที่ได้รับสิทธิและประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้ส่วนบุคคล โดยไม่จำกัดวงเงินภาษี ที่ยกเว้นให้ได้รับสิทธิประโยชน์ จากการยกเว้นภาษีเงินได้ส่วนบุคคล เพิ่มจากสิทธิและประโยชน์ที่เหลืออยู่ ตามโครงการเดิมอีกไม่เกิน 3 ปี แต่รวมกันแล้วต้องไม่เกิน 8 ปี

มาตรการที่ 2 คือ สำหรับนิคมหรือเขตอุตสาหกรรมที่ได้รับความเสียหาย และไม่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัยนั้น กระทรวงอุตสาหกรรมจะจัดให้มีการช่วยเหลือนิคมฯ หรือเขตอุตสาหกรรมเหล่านี้ เพื่อส่งเสริมให้มีการลงทุนในการพัฒนาขั้นพื้นฐาน โดยเฉพาะในระบบสาธารณูปโภคต่างๆ เพื่อป้องกันปัญหาอุทกภัยในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่เดิม หรือขยายพื้นที่เพิ่มเติมในที่ตั้งเดิมก็ตาม ทั้งนี้ จะให้สิทธิและประโยชน์ เพื่อยกเว้นภาษีเงินได้ยกเว้นภาษีเงินได้บุคคล 8 ปี โดยผู้ขอรับการส่งเสริมดังกล่าว จะต้องดำเนินการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อป้องกันอุทกภัยและจะต้องกำหนดอัตราค่าบริการที่เก็บจากผู้ประกอบการอย่างเป็นธรรม

มาตรการที่ 3 คือ มาตรการสารพัดช่าง เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัย และบรรเทาทุกข์แก่ผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรมที่ประสบอุทกภัย และประชาชนที่อาสัยอยู่โดยรอบบริเวณใกล้เคียงโรงงาน โดยเจ้าหน้าที่ของกระทรวงอุตสาหกรรม และหน่วยงานพันธมิตรต่างๆ ได้ลงพื้นที่ช่วยเหลือผู้ประสบภัย โดยการซ่อมเซมบ้านพักอาศัยและเตรื่องใช้ไฟฟ้า อีกทั้งยังให้คำปรึกษาในเรื่องการขอสินเชื่อและการฟื้นฟูกิจการต่างๆ โดยจะเริ่มที่เขตอุตสาหกรรมนวนคร เป็นที่แรก และที่นิคมอุตสาหกรรมสหรัตนนคร จ.พระนครศรีอยุธยา เป็นลำดับต่อไป

มาตรการที่ 4 คือ มาตรการโรงการคลินิกอุตสาหกรรม เพื่อช่วยผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม ที่ประสบอุทกภัย โดยจัดเจ้าที่พร้อมที่ปรึกษา เพื่อเข้าดำเนินการตรวจสอบผู้ประกอบการ ที่ขอรับความช่วยเหลือ ซึ่งได้มีการเปิดลงทะเบียนไปตั้งแต่เมื่อวันที่ 1 พ.ย. 2554 ที่ผ่านมา และบัดนี้ได้มีผู้มาลงทะเบียนเพื่อขอความช่วยเหลือแล้ว จำนวน 2,588 ราย ซึ่งกระทรวงอุตสาหกรรม ก็ได้ส่งเจ้าหน้าที่ไปให้ความช่วยเหลือเบื้องต้นแล้ว จำนวน 575 ราย และสามารถฟื้นฟูให้กลับเข้าสู่สภาวะปกติได้แล้วจำนวน 114 ราย ส่วนเรื่องการลงทะเบียนเพื่อขอสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำปัจจุบันนั้น ได้มีผู้มาลงทะเบียนแล้วจำนวน 2,944 ราย ซึ่งมีมูลค่าความเสียหายรวมทั้งสิ้น 1.5657 ล้านบาท โดยมีผู้ประกอบการจำนวน 765 ราย จะขอรับความช่วยเหลือในด้านสินเชื่อดอกเบี้นต่ำ โดยคิดเป็นวงเงินรวมทั้งสิ้นจำนวน 3.3093 ล้านบาท

มาตรการที่ 5 คือ การสร้างเขื่อนกั้นน้ำถาวรในเขตนิคมอุตสาหกรรมและโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งตอนนี้นั้น ได้เริ่มมีการออกแบบขั้นกั้นน้ำถาวรแบบมั่นคงเพื่อป้องกันอุทกภัยแล้ว ทั้งหมด 3 แห่ง คือ เขตนิคมอุตสาหกรรมบางปะอิน เขตประกอบการอุตสาหกรรมโรจนะ และศูนย์อุตสาหกรรมนวนคร ซึ่งทั้ง 3 แห่ง ก็ได้มีการติดต่อประสาน เพื่อขอรับสินเชื่อจากธนาคารออมสิน ตามมติ ครม.แล้ว
กำลังโหลดความคิดเห็น