กมธ.ปรองดอง นัดถกร่าง กม.เพื่อความปรองดอง หลังสถาบันพระปกเกล้า ปฏิเสธยกร่างให้ เหตุเป็นอุปสรรคต่อการสร้างความปรองดอง 20 ธ.ค.ด้าน “กมธ.ฝั่ง ปชป.” โวยให้ความสำคัญเสื้อแดงมากกว่าปัญหาขัดแย้งใต้ ซัดมีเป้าหมายนำไปสู่การนิรโทษแกนนำแดง-ทักษิณ
วันนีู (18 ธ.ค.) ผู้้สื่อข่าวรายงานว่า ภายหลังจากที่ นายวุฒิสาร ตันไชย รองเลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า ฐานะประธานคณะทำงานศึกษาแนวทางปรองดอง ตามที่กรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการสร้างความปรองดองแห่งชาติ (กมธ.ปรองดอง) สภาผู้แทนราษฎรเสนอ ได้ปฏิเสธที่จะยกร่างแก้ไขกฎหมายที่พบว่าเป็นอุปสรรคต่อการสร้างความปรองดอง ให้ กมธ.ปรองดอง พล.อ.สนธิ บุญยรัตนกลิน ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคมาตุภูมิ ในฐานะประธาน กมธ.กล่าวว่า เรื่องดังกล่าวตนยังไม่ได้รับรายงาน แต่หากทางสถาบันพระปกเกล้า ปฏิเสธ ทางกรรมาธิการต้องมาหารือกันอีกครั้ง ส่วนความเป็นไปได้ที่จะให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายคณะอื่นพิจารณาหรือไม่นั้น คงต้องหารือในที่ประชุม
ด้าน นายเจะอามิง โตะตาหยง ส.ส.นราธิวาส พรรคประชาธิปัตย์ ฐานะรองประธาน กมธ.ปรองดอง กล่าวต่อประเด็นดังกล่าว ว่า ทาง กมธ.ปรองดอง ควรนำเรื่องดังกล่าวมาพิจารณา หรือ กำหนดแก้ไขหรือยกร่างกฎหมายด้วยตนเอง เพราะหากให้หน่วยงานอื่นหรือคนนอกรับไปทำนั้น อาจจะไม่ตรงตามหลักการและเหตุผล อย่างไรก็ตาม ในความเห็นส่วนตัวมองว่าหากจะมีการแก้ไขหรือยกร่างกฎหมายใหม่ต้องไม่ใช่ เพื่อคนๆ เดียว ซึ่งการทำงานในกรรมาธิการ ที่ผ่านมาเห็นได้ชัดเจนว่าจะมุ่งเน้นเฉพาะเรื่องของคนเสื้อแดงเป็นหลัก และมีเป้าหมายเพื่อนิรโทษกรรม พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ ให้พ้นจากความผิด โดยได้หยิบยกประเด็นของคนเสื้อแดงมาพูดมากกว่ากลุ่มคนเสื้อเหลืองรวมไปถึงปัญหาความขัดแย้งในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ ที่ต้องยอมรับว่ามีปัญหามากและรอการแก้ไขอย่างเร่งด่วน
“ผมเคยเสนอในที่ประชุมให้ยกวาระการแก้ไขปัญหาในพื้นที่ชายแดนภาคใต้มาพิจารณา ซึ่งพยายามเสนอให้เป็นวาระพิจารณา แต่ที่ประชุมโดยเสียงส่วนใหญ่กลับพูดเฉพาะเรื่องคนเสื้อแดงอย่างเดียว ผมจึงจับทิศทางลมได้ว่าเป้าหมายสุดท้ายแล้วเพื่อที่จะช่วยแกนนำเสื้อแดงและคุณทักษิณ และกรรมาธิการปรองดองนั้นเพื่อเป็นบันไดนำไปสู่เป้าหมาย ความเห็นส่วนตัวผมไม่คัดค้านหากจะแก้ไขกฎหมายเพื่อช่วยกลุ่มคนเสื้อแดงระดับรากหญ้า ซึ่งเป็นประชาชนที่เข้าร่วมชุมนุม แต่หากเพื่อแกนนำหรือคุณทักษิณผมไม่เห็นด้วย” นายเจะอามิง กล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานถึงวาระการประชุมคณะกรรมาธิการปรองดอง ในวันที่ 20 ธ.ค.นี้ ว่า ได้เชิญตัวแทนของคณะกรรมการกฤษฎีกา และ นายกสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวมาให้ข้อมูล โดยในส่วนของคณะกรรมการกฤษฎีกานั้นจะเป็นการให้ความเห็นเกี่ยวกับคำนิยามของคำว่านักโทษการเมือง รวมถึงประเด็นข้อเสนอแนะอื่นๆ
วันนีู (18 ธ.ค.) ผู้้สื่อข่าวรายงานว่า ภายหลังจากที่ นายวุฒิสาร ตันไชย รองเลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า ฐานะประธานคณะทำงานศึกษาแนวทางปรองดอง ตามที่กรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการสร้างความปรองดองแห่งชาติ (กมธ.ปรองดอง) สภาผู้แทนราษฎรเสนอ ได้ปฏิเสธที่จะยกร่างแก้ไขกฎหมายที่พบว่าเป็นอุปสรรคต่อการสร้างความปรองดอง ให้ กมธ.ปรองดอง พล.อ.สนธิ บุญยรัตนกลิน ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคมาตุภูมิ ในฐานะประธาน กมธ.กล่าวว่า เรื่องดังกล่าวตนยังไม่ได้รับรายงาน แต่หากทางสถาบันพระปกเกล้า ปฏิเสธ ทางกรรมาธิการต้องมาหารือกันอีกครั้ง ส่วนความเป็นไปได้ที่จะให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายคณะอื่นพิจารณาหรือไม่นั้น คงต้องหารือในที่ประชุม
ด้าน นายเจะอามิง โตะตาหยง ส.ส.นราธิวาส พรรคประชาธิปัตย์ ฐานะรองประธาน กมธ.ปรองดอง กล่าวต่อประเด็นดังกล่าว ว่า ทาง กมธ.ปรองดอง ควรนำเรื่องดังกล่าวมาพิจารณา หรือ กำหนดแก้ไขหรือยกร่างกฎหมายด้วยตนเอง เพราะหากให้หน่วยงานอื่นหรือคนนอกรับไปทำนั้น อาจจะไม่ตรงตามหลักการและเหตุผล อย่างไรก็ตาม ในความเห็นส่วนตัวมองว่าหากจะมีการแก้ไขหรือยกร่างกฎหมายใหม่ต้องไม่ใช่ เพื่อคนๆ เดียว ซึ่งการทำงานในกรรมาธิการ ที่ผ่านมาเห็นได้ชัดเจนว่าจะมุ่งเน้นเฉพาะเรื่องของคนเสื้อแดงเป็นหลัก และมีเป้าหมายเพื่อนิรโทษกรรม พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ ให้พ้นจากความผิด โดยได้หยิบยกประเด็นของคนเสื้อแดงมาพูดมากกว่ากลุ่มคนเสื้อเหลืองรวมไปถึงปัญหาความขัดแย้งในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ ที่ต้องยอมรับว่ามีปัญหามากและรอการแก้ไขอย่างเร่งด่วน
“ผมเคยเสนอในที่ประชุมให้ยกวาระการแก้ไขปัญหาในพื้นที่ชายแดนภาคใต้มาพิจารณา ซึ่งพยายามเสนอให้เป็นวาระพิจารณา แต่ที่ประชุมโดยเสียงส่วนใหญ่กลับพูดเฉพาะเรื่องคนเสื้อแดงอย่างเดียว ผมจึงจับทิศทางลมได้ว่าเป้าหมายสุดท้ายแล้วเพื่อที่จะช่วยแกนนำเสื้อแดงและคุณทักษิณ และกรรมาธิการปรองดองนั้นเพื่อเป็นบันไดนำไปสู่เป้าหมาย ความเห็นส่วนตัวผมไม่คัดค้านหากจะแก้ไขกฎหมายเพื่อช่วยกลุ่มคนเสื้อแดงระดับรากหญ้า ซึ่งเป็นประชาชนที่เข้าร่วมชุมนุม แต่หากเพื่อแกนนำหรือคุณทักษิณผมไม่เห็นด้วย” นายเจะอามิง กล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานถึงวาระการประชุมคณะกรรมาธิการปรองดอง ในวันที่ 20 ธ.ค.นี้ ว่า ได้เชิญตัวแทนของคณะกรรมการกฤษฎีกา และ นายกสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวมาให้ข้อมูล โดยในส่วนของคณะกรรมการกฤษฎีกานั้นจะเป็นการให้ความเห็นเกี่ยวกับคำนิยามของคำว่านักโทษการเมือง รวมถึงประเด็นข้อเสนอแนะอื่นๆ