เก้าอี้ประธานคณะกรรมาธิการและโควต้ากรรมาธิการสามัญ สภาผู้แทนราษฎร จำนวน 35 คณะของพรรคการเมืองทั้งหมดในสภาผู้แทนราษฎร ที่แต่ละพรรคการเมืองยื้อแย่งกันร่วมเกือบสองเดือน สุดท้ายก็สามารถตกลงกันได้
แบ่งโควตากันไปตามหลักเกณฑ์ที่แต่ละพรรคแต่ละฝ่ายต่างพอใจกับเก้าอี้ที่ได้กันไปแล้ว
เท่าที่ติดตามมาพบว่า พรรคเพื่อไทยมีปัญหากับการจัดสรรเก้าอี้ประธานคณะกรรมาธิการมากที่สุด เพราะเพื่อไทยมี ส.ส.260 กว่าคน ส.ส.ที่ไม่ได้มีตำแหน่งอะไรทางการเมืองก็อยากได้เป็นประธานกรรมาธิการฯ
เพื่อหวังเครื่องราชฯ-สายสะพาย และผลประโยชน์ต่างๆ ที่จะตามมา
มีการอ้างเหตุผลความชอบธรรมสารพัด เช่นโควตา ส.ส.ในส่วนของภาคอีสานบอกมี ส.ส.มากสุดต้องได้อย่างน้อย 9 ที่นั่ง ส่วน ส.ส.หญิงเพื่อไทยก็ไม่น้อยหน้า บอกยุคนี้นารีเป็นใหญ่ ส.ส.หญิงเพื่อไทยมีหลายสิบคน ต้องแยกออกมาไม่นับรวมโควตาภาค อย่างน้อยก็ต้อง 2 เก้าอี้ประธานกรรมาธิการ
แย่งกันสุดฤทธิ์จนสุดท้ายต้องตกลงกันภายใน กำหนดสเปกกันหลายทอดเป็นต้นว่า ใครเป็นประธานกรรมาธิการสมัยที่แล้วห้ามเป็นสมัยนี้ ต้องให้คนอื่นเป็นบ้าง และยังมีเงื่อนไขว่ารอบนี้ให้เป็นแค่คนละ 2 ปี แล้วต้องลาออกให้คนอื่นเป็นบ้าง
หากเป็นไปตามสูตรที่ว่านี้ และสภาชุดนี้อยู่เกิน 2 ปี เท่ากับว่าเพื่อไทยได้โควตามา 19 คณะ ก็จะมีคนเป็นประธาน กมธ.สามัญรวม 38 คน ทำให้อย่างน้อยก็แก้ปัญหาเฉพาะหน้าการแย่งตำแหน่งกันในพรรคไปก่อน
แต่คนในเพื่อไทยก็แย่งกันเป็นสมัยนี้ก่อนทั้งนั้น เพราะใครจะไปรู้ว่าสภาจะอยู่เกิน 2 ปีหรือจะลากยาวไปจนครบวาระหรือเปล่า ก็ต้องเอาชัวร์ไว้ก่อน
ตัวแทนของพรรคเพื่อไทยและพรรคอื่นๆ หรือแม้แต่กับประชาธิปัตย์ ที่จะมานั่งทำหน้าที่ตรวจสอบฝ่ายบริหาร แทนที่จะเลือกสรรคนดีมีความสามารถเข้ามาทำงานแต่คงจะไม่ได้เป็นเช่นนั้น
ในส่วนเพื่อไทยเห็นได้ชัดว่าบางคนที่มีชื่อจะเป็นประธานกรรมาธิการ เป็นพวกอกหักไม่ได้เป็นรัฐมนตรี ก็มานั่งรอตรงนี้ก่อน รวมถึงพวกรอจ่อขึ้นเป็นรัฐมนตรีก็มาฝึกงานตรงนี้เพื่อรอเป็นรัฐมนตรี
โผประธาน กมธ.ที่ออกมา ดูชื่อหลายคนสังคมคงคาดหวังอะไรไม่ได้จากกรรมาธิการหลายคณะ ที่ต่อไปจะแสดงบทบาทการตรวจสอบฝ่ายบริหาร
ยิ่งการที่กรรมาธิการบางคณะแทนที่จะให้ฝ่ายค้านไปเพื่อให้เป็นช่องทางนิติบัญญัติคอยตรวจสอบรัฐบาลจะได้ถ่วงดุลกันระหว่างรัฐบาล-ฝ่ายค้าน แต่เพื่อไทยก็ล็อกเอาไว้เองตามแผนป้องกันการตรวจสอบจากฝ่ายค้าน โดยที่ฝ่ายค้านเองก็ไม่เห็นมีข่าวจะโวยวายอะไร
ที่น่าสนใจก็เช่นการุณ โหสกุล ส.ส.กทม. หรือฉายา “เก่ง สกายคิก” เพราะเคยมีเรื่องมีราวแสดงพฤติกรรมไม่เหมาะสมกับสมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ อดีต ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ ประชาธิปัตย์และแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยในรัฐสภามาแล้ว
รายนี้มีข่าวเพื่อไทยจะให้โควต้าเป็นประธาน กมธ.ความมั่นคงแห่งรัฐ ก็ไม่รู้ว่ามานั่งเป็นประธานกรรมาธิการชุดนี้ หากเรียกใครมาชี้แจงแล้วตอบไม่ได้อย่างที่ต้องการ จะเกิดรายการคิกบ๊อกซิ่งในห้องประชุมหรือไม่
ด้วยบทบาทกรรมาธิการที่ต้องทำเกี่ยวกับเรื่องความมั่นคง-ความสงบเรียบร้อยในประเทศ เช่น ปัญหาภาคใต้ แต่เมื่อเรียกทหาร-ตำรวจมาชี้แจงแล้วมีอะไรไม่เข้าหู ก็ไม่รู้ว่า เก่ง การุณจะกล้าออกลวดลายอะไรหรือไม่ เป็นเรื่องที่น่าติดตามอย่างยิ่ง
อีกคนที่ต้องพูดถึง คือสุนัย จุลพงศธร ส.ส.บัญชีรายชื่อ คนนี้แม้ไม่ได้เป็นแกนนำ นปช.แต่ก็เป็น ส.ส.สายแดงที่แสดงตัวชัดเจนว่าต้องการล้มล้างอำมาตย์และล่าสุดแสดงตัวผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัวว่าเพิ่งเดินทางไปพบทักษิณ ชินวัตร นักโทษชายที่ต่างประเทศเมื่อเร็วๆ นี้ ก็มีข่าวจะได้เป็นประธานกรรมาธิการต่างประเทศ
ข่าวแจ้งว่า รายนี้ ทักษิณ และสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รมว.ต่างประเทศล็อกโผมาเลย เพื่อให้ “สุนัย” คอยคุมเกมไม่ให้ฝ่ายค้านใช้ช่องทางกรรมาธิการต่างประเทศมาตรวจสอบ “ดร.ปึ้ง” ได้ เพราะเชื่อในความเก๋าส์ของ “สุนัย” ที่จะบล็อกประชาธิปัตย์ไม่ให้มาข้องแวะกระทรวงบัวแก้วได้ถนัด โดยเฉพาะหากจะมาใช้ช่องกรรมาธิการตรวจสอบเรื่องของทักษิณในด้านการต่างประเทศ
ผนวกกับก่อนหน้านี้สุนัยก็เพิ่งไปทำหน้าที่เป็นหัวหน้าองครักษ์พิทักษ์ รมว.ต่างประเทศ คอยกันไม่ให้ฝ่ายค้านแตะทักษิณกับสุรพงษ์ระหว่างการประชุมรัฐสภาเพื่อแถลงนโยบายรัฐบาล จนผลงานเป็นที่พอใจของทักษิณกับสุรพงษ์ จึงมีการตบรางวัลให้เป็นประธาน กมธ.ต่างประเทศ
หลังจากได้ประธาน กมธ.-กรรมาธิการกันไปแล้ว ที่สังคมต้องจับตาต่อจากนี้ก็คือเรื่องการตั้งที่ปรึกษาในคณะกรรมาธิการ ที่รู้กันดีในกลุ่มนักการเมือง-ส.ส.ทั้งหลายว่า จะมีการตกลงกันในกรรมาธิการว่าจะให้ ส.ส.แต่ละคน ตั้งคนนอกมาเป็นที่ปรึกษากรรมาธิการรวมถึงพวกผู้ชำนาญการ-นักวิชาการได้คนละกี่โควต้า
ซึ่งพวกที่ปรึกษา กมธ.-ผู้ชำนาญการเหล่านี้จะไม่มีการระบุสเปคอะไรไว้ชัดเจน ทั้งเรื่องความรู้ การศึกษา ประสบการณ์ในสายงานกรรมาธิการแต่ละคณะ คือเปิดช่องให้ ส.ส.แต่ละคนตั้งใครก็ได้ทำได้เต็มที่
ส่งผลให้เหล่า ส.ส.ที่เป็นกรรมาธิการแต่ละคณะควานหาเอาคนใกล้ชิด-เครือญาติเช่นลูก เมีย หรือหัวคะแนน-นายทุนส่วนตัวในพื้นที่เลือกตั้ง มานั่งเอาตำแหน่งเป็นที่ปรึกษากรรมาธิการไป
วิธีการของพวกนี้ก็คือ กรรมาธิการแต่ละคณะก็จะตกลงกันเอาเองว่า ส.ส.หนึ่งคนจะตั้งคนเป็นที่ปรึกษากรรมาธิการ-ผู้ชำนาญการได้กี่คน เพราะตามระเบียบของสภาฯไม่ได้กำหนดไว้ว่า ตั้งได้ไม่เกินกี่คนแต่ก็จะไม่ให้น่าเกลียดเกินไป
ผลตอบแทนในตำแหน่งที่ปรึกษากรรมาธิการ มีตั้งแต่เบี้ยประชุมแต่ละครั้งของกรรมาธิการ เป็นจำนวนเงินหลักพันในการเซ็นชื่อเข้าประชุมกรรมาธิการแต่ละคณะ พวกที่ปรึกษากรรมาธิการเหล่านี้ไม่ได้สนใจในเบี้ยประชุม
แต่สิ่งที่ต้องการมากกว่าคือเอาตำแหน่งไปพิมพ์นามบัตรและใช้ช่องทางตรงนี้หาผลประโยชน์ต่างๆ มากมาย เช่นขอติดตามคณะกรรมาธิการไปเที่ยวต่างประเทศที่แต่ละปีกรรมาธิการแต่ละคณะก็จะยกทีมไปเที่ยวอย่างน้อยก็ปีละ 1-2 ครั้งช่วงปิดประชุมสภาฯ
รวมถึงผลประโยชน์ต่างๆ ที่คนพวกนี้จะรับเป็นนายหน้าให้กับพวก ส.ส.บางคน เช่นการเรียกรับเงินกับพวกข้าราชการหรือบริษัทเอกชน เมื่อกรรมาธิการตรวจสอบเรื่องต่างๆ เพื่อให้ยุติเรื่อง
เหมือนกับที่รังสิมา รอดรัศมี ส.ส.สมุทรสงคราม พรรคประชาธิปัตย์แฉกลางสภาฯเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาว่าที่ปรึกษากรรมาธิการหลายคณะมักเอาตำแหน่งไปพิมพ์นามบัตร แต่ไม่เคยเข้าประชุมอะไร แล้วก็หาประโยชน์ต่างๆในทางมิชอบ ทำให้สภาฯเสื่อมเสีย
แถมบางรายหวังที่หวังตำแหน่งก็เพราะต้องการเครื่องราชฯ เลยใช้เงินเพียงแค่ 4 แสนบาทในการซื้อเก้าอี้ที่ปรึกษากรรมาธิการฯ
เรื่องฉาวโฉ่แบบนี้ ถ้ากรรมาธิการแต่ละคณะไม่ป้องกันให้ดี มีหวังได้เน่ากันทั้งหมด
แบ่งโควตากันไปตามหลักเกณฑ์ที่แต่ละพรรคแต่ละฝ่ายต่างพอใจกับเก้าอี้ที่ได้กันไปแล้ว
เท่าที่ติดตามมาพบว่า พรรคเพื่อไทยมีปัญหากับการจัดสรรเก้าอี้ประธานคณะกรรมาธิการมากที่สุด เพราะเพื่อไทยมี ส.ส.260 กว่าคน ส.ส.ที่ไม่ได้มีตำแหน่งอะไรทางการเมืองก็อยากได้เป็นประธานกรรมาธิการฯ
เพื่อหวังเครื่องราชฯ-สายสะพาย และผลประโยชน์ต่างๆ ที่จะตามมา
มีการอ้างเหตุผลความชอบธรรมสารพัด เช่นโควตา ส.ส.ในส่วนของภาคอีสานบอกมี ส.ส.มากสุดต้องได้อย่างน้อย 9 ที่นั่ง ส่วน ส.ส.หญิงเพื่อไทยก็ไม่น้อยหน้า บอกยุคนี้นารีเป็นใหญ่ ส.ส.หญิงเพื่อไทยมีหลายสิบคน ต้องแยกออกมาไม่นับรวมโควตาภาค อย่างน้อยก็ต้อง 2 เก้าอี้ประธานกรรมาธิการ
แย่งกันสุดฤทธิ์จนสุดท้ายต้องตกลงกันภายใน กำหนดสเปกกันหลายทอดเป็นต้นว่า ใครเป็นประธานกรรมาธิการสมัยที่แล้วห้ามเป็นสมัยนี้ ต้องให้คนอื่นเป็นบ้าง และยังมีเงื่อนไขว่ารอบนี้ให้เป็นแค่คนละ 2 ปี แล้วต้องลาออกให้คนอื่นเป็นบ้าง
หากเป็นไปตามสูตรที่ว่านี้ และสภาชุดนี้อยู่เกิน 2 ปี เท่ากับว่าเพื่อไทยได้โควตามา 19 คณะ ก็จะมีคนเป็นประธาน กมธ.สามัญรวม 38 คน ทำให้อย่างน้อยก็แก้ปัญหาเฉพาะหน้าการแย่งตำแหน่งกันในพรรคไปก่อน
แต่คนในเพื่อไทยก็แย่งกันเป็นสมัยนี้ก่อนทั้งนั้น เพราะใครจะไปรู้ว่าสภาจะอยู่เกิน 2 ปีหรือจะลากยาวไปจนครบวาระหรือเปล่า ก็ต้องเอาชัวร์ไว้ก่อน
ตัวแทนของพรรคเพื่อไทยและพรรคอื่นๆ หรือแม้แต่กับประชาธิปัตย์ ที่จะมานั่งทำหน้าที่ตรวจสอบฝ่ายบริหาร แทนที่จะเลือกสรรคนดีมีความสามารถเข้ามาทำงานแต่คงจะไม่ได้เป็นเช่นนั้น
ในส่วนเพื่อไทยเห็นได้ชัดว่าบางคนที่มีชื่อจะเป็นประธานกรรมาธิการ เป็นพวกอกหักไม่ได้เป็นรัฐมนตรี ก็มานั่งรอตรงนี้ก่อน รวมถึงพวกรอจ่อขึ้นเป็นรัฐมนตรีก็มาฝึกงานตรงนี้เพื่อรอเป็นรัฐมนตรี
โผประธาน กมธ.ที่ออกมา ดูชื่อหลายคนสังคมคงคาดหวังอะไรไม่ได้จากกรรมาธิการหลายคณะ ที่ต่อไปจะแสดงบทบาทการตรวจสอบฝ่ายบริหาร
ยิ่งการที่กรรมาธิการบางคณะแทนที่จะให้ฝ่ายค้านไปเพื่อให้เป็นช่องทางนิติบัญญัติคอยตรวจสอบรัฐบาลจะได้ถ่วงดุลกันระหว่างรัฐบาล-ฝ่ายค้าน แต่เพื่อไทยก็ล็อกเอาไว้เองตามแผนป้องกันการตรวจสอบจากฝ่ายค้าน โดยที่ฝ่ายค้านเองก็ไม่เห็นมีข่าวจะโวยวายอะไร
ที่น่าสนใจก็เช่นการุณ โหสกุล ส.ส.กทม. หรือฉายา “เก่ง สกายคิก” เพราะเคยมีเรื่องมีราวแสดงพฤติกรรมไม่เหมาะสมกับสมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ อดีต ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ ประชาธิปัตย์และแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยในรัฐสภามาแล้ว
รายนี้มีข่าวเพื่อไทยจะให้โควต้าเป็นประธาน กมธ.ความมั่นคงแห่งรัฐ ก็ไม่รู้ว่ามานั่งเป็นประธานกรรมาธิการชุดนี้ หากเรียกใครมาชี้แจงแล้วตอบไม่ได้อย่างที่ต้องการ จะเกิดรายการคิกบ๊อกซิ่งในห้องประชุมหรือไม่
ด้วยบทบาทกรรมาธิการที่ต้องทำเกี่ยวกับเรื่องความมั่นคง-ความสงบเรียบร้อยในประเทศ เช่น ปัญหาภาคใต้ แต่เมื่อเรียกทหาร-ตำรวจมาชี้แจงแล้วมีอะไรไม่เข้าหู ก็ไม่รู้ว่า เก่ง การุณจะกล้าออกลวดลายอะไรหรือไม่ เป็นเรื่องที่น่าติดตามอย่างยิ่ง
อีกคนที่ต้องพูดถึง คือสุนัย จุลพงศธร ส.ส.บัญชีรายชื่อ คนนี้แม้ไม่ได้เป็นแกนนำ นปช.แต่ก็เป็น ส.ส.สายแดงที่แสดงตัวชัดเจนว่าต้องการล้มล้างอำมาตย์และล่าสุดแสดงตัวผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัวว่าเพิ่งเดินทางไปพบทักษิณ ชินวัตร นักโทษชายที่ต่างประเทศเมื่อเร็วๆ นี้ ก็มีข่าวจะได้เป็นประธานกรรมาธิการต่างประเทศ
ข่าวแจ้งว่า รายนี้ ทักษิณ และสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รมว.ต่างประเทศล็อกโผมาเลย เพื่อให้ “สุนัย” คอยคุมเกมไม่ให้ฝ่ายค้านใช้ช่องทางกรรมาธิการต่างประเทศมาตรวจสอบ “ดร.ปึ้ง” ได้ เพราะเชื่อในความเก๋าส์ของ “สุนัย” ที่จะบล็อกประชาธิปัตย์ไม่ให้มาข้องแวะกระทรวงบัวแก้วได้ถนัด โดยเฉพาะหากจะมาใช้ช่องกรรมาธิการตรวจสอบเรื่องของทักษิณในด้านการต่างประเทศ
ผนวกกับก่อนหน้านี้สุนัยก็เพิ่งไปทำหน้าที่เป็นหัวหน้าองครักษ์พิทักษ์ รมว.ต่างประเทศ คอยกันไม่ให้ฝ่ายค้านแตะทักษิณกับสุรพงษ์ระหว่างการประชุมรัฐสภาเพื่อแถลงนโยบายรัฐบาล จนผลงานเป็นที่พอใจของทักษิณกับสุรพงษ์ จึงมีการตบรางวัลให้เป็นประธาน กมธ.ต่างประเทศ
หลังจากได้ประธาน กมธ.-กรรมาธิการกันไปแล้ว ที่สังคมต้องจับตาต่อจากนี้ก็คือเรื่องการตั้งที่ปรึกษาในคณะกรรมาธิการ ที่รู้กันดีในกลุ่มนักการเมือง-ส.ส.ทั้งหลายว่า จะมีการตกลงกันในกรรมาธิการว่าจะให้ ส.ส.แต่ละคน ตั้งคนนอกมาเป็นที่ปรึกษากรรมาธิการรวมถึงพวกผู้ชำนาญการ-นักวิชาการได้คนละกี่โควต้า
ซึ่งพวกที่ปรึกษา กมธ.-ผู้ชำนาญการเหล่านี้จะไม่มีการระบุสเปคอะไรไว้ชัดเจน ทั้งเรื่องความรู้ การศึกษา ประสบการณ์ในสายงานกรรมาธิการแต่ละคณะ คือเปิดช่องให้ ส.ส.แต่ละคนตั้งใครก็ได้ทำได้เต็มที่
ส่งผลให้เหล่า ส.ส.ที่เป็นกรรมาธิการแต่ละคณะควานหาเอาคนใกล้ชิด-เครือญาติเช่นลูก เมีย หรือหัวคะแนน-นายทุนส่วนตัวในพื้นที่เลือกตั้ง มานั่งเอาตำแหน่งเป็นที่ปรึกษากรรมาธิการไป
วิธีการของพวกนี้ก็คือ กรรมาธิการแต่ละคณะก็จะตกลงกันเอาเองว่า ส.ส.หนึ่งคนจะตั้งคนเป็นที่ปรึกษากรรมาธิการ-ผู้ชำนาญการได้กี่คน เพราะตามระเบียบของสภาฯไม่ได้กำหนดไว้ว่า ตั้งได้ไม่เกินกี่คนแต่ก็จะไม่ให้น่าเกลียดเกินไป
ผลตอบแทนในตำแหน่งที่ปรึกษากรรมาธิการ มีตั้งแต่เบี้ยประชุมแต่ละครั้งของกรรมาธิการ เป็นจำนวนเงินหลักพันในการเซ็นชื่อเข้าประชุมกรรมาธิการแต่ละคณะ พวกที่ปรึกษากรรมาธิการเหล่านี้ไม่ได้สนใจในเบี้ยประชุม
แต่สิ่งที่ต้องการมากกว่าคือเอาตำแหน่งไปพิมพ์นามบัตรและใช้ช่องทางตรงนี้หาผลประโยชน์ต่างๆ มากมาย เช่นขอติดตามคณะกรรมาธิการไปเที่ยวต่างประเทศที่แต่ละปีกรรมาธิการแต่ละคณะก็จะยกทีมไปเที่ยวอย่างน้อยก็ปีละ 1-2 ครั้งช่วงปิดประชุมสภาฯ
รวมถึงผลประโยชน์ต่างๆ ที่คนพวกนี้จะรับเป็นนายหน้าให้กับพวก ส.ส.บางคน เช่นการเรียกรับเงินกับพวกข้าราชการหรือบริษัทเอกชน เมื่อกรรมาธิการตรวจสอบเรื่องต่างๆ เพื่อให้ยุติเรื่อง
เหมือนกับที่รังสิมา รอดรัศมี ส.ส.สมุทรสงคราม พรรคประชาธิปัตย์แฉกลางสภาฯเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาว่าที่ปรึกษากรรมาธิการหลายคณะมักเอาตำแหน่งไปพิมพ์นามบัตร แต่ไม่เคยเข้าประชุมอะไร แล้วก็หาประโยชน์ต่างๆในทางมิชอบ ทำให้สภาฯเสื่อมเสีย
แถมบางรายหวังที่หวังตำแหน่งก็เพราะต้องการเครื่องราชฯ เลยใช้เงินเพียงแค่ 4 แสนบาทในการซื้อเก้าอี้ที่ปรึกษากรรมาธิการฯ
เรื่องฉาวโฉ่แบบนี้ ถ้ากรรมาธิการแต่ละคณะไม่ป้องกันให้ดี มีหวังได้เน่ากันทั้งหมด