กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เผย พื้นที่ประสบอุทกภัยต่อเนื่อง 14 จังหวัด เส้นทางคมนาคม เป็นอัมพาต เตือนจังหวัดริมน้ำเจ้าพระยา-โขง ระวังภาวะน้ำไหลหลากและดินถล่ม แนะสังเกตสัญญาณเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติ
วันนี้ (22 ส.ค.) นายวิบูลย์ สงวนพงศ์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กล่าวว่า ขณะนี้ยังคงมีสถานการณ์อุทกภัยใน 14 จังหวัด ซึ่งส่งผลให้เส้นทางคมนาคมสัญจรไม่ได้ 14 เส้นทาง ในพื้นที่ 8 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ นครสวรรค์ พิจิตร พิษณุโลก แม่ฮ่องสอน สุโขทัย เพชรบูรณ์ และนครพนม และจากการติดตามคาดหมายลักษณะอากาศ พบว่า แม้ในช่วง 2-3 วันข้างหน้า ปริมาณฝนในภาคเหนือ จะลดลง แต่ปริมาณน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาที่ไหลผ่านจังหวัดนครสวรรค์ ยังมีแนวโน้มอยู่ในเกณฑ์สูงสุด ไม่เกิน 2,300-2,400 ลูกบาศก์เมตร ต่อวินาที ส่งผลให้ระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้นไม่เกิน 30 เซนติเมตร ทำให้ต้องเฝ้าระวังในเขตพื้นที่ลุ่มต่ำริมสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณจังหวัดชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา นอกจากนี้ เนื่องจากยังมีฝนตกหนักใน จ.เชียงราย อย่างต่อเนื่อง ทำให้ระดับน้ำในแม่น้ำโขงตอนบนเพิ่มขึ้น ส่งผลให้พื้นที่ที่อยู่ติดลำน้ำสาขาของลำน้ำโขงตอนบน บริเวณ จ.เชียงราย ยังคงมีน้ำท่วมขังต่อไปอีก และลำน้ำโขงบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือด้านจังหวัดหนองคาย นครพนม มุกดาหาร รวมถึงลำน้ำสาขาของแม่น้ำโขง ได้แก่ ลำน้ำสงคราม ลำน้ำก่ำ ลำน้ำห้วยมุก และ ลำน้ำห้วยแข้ ยังมีระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
นายวิบูลย์ กล่าวต่อว่า ศอส.ได้ประสานแจ้งเตือน 8 จังหวัด ได้แก่ ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา เชียงราย หนองคาย นครพนม และ มุกดาหาร ให้ติดตามสถานการณ์น้ำและเฝ้าระวังน้ำล้นตลิ่งอย่างใกล้ชิด นอกจากนี้ จากการประสานกับกรมทรัพยากรธรณี พบว่า ฝนที่ตกหนักอย่างต่อเนื่องในพื้นที่ภาคเหนือ ทำให้ดินที่ชุ่มน้ำอยู่แล้ว อาจพังถล่มลงมาได้ โดยเฉพาะพื้นที่เสี่ยงภัยบริเวณที่ลาดเชิงเขาใน 5 จังหวัดภาคเหนือ ได้แก่ เชียงราย อ.แม่สาย อ.แม่จัน อ.เทิง พะเยา อ.ปง อ.เชียงคำ อ.จุน น่าน อ.บ่อเกลือ อ.ปัว อ.เฉลิมพระเกียรติ อ.ท่าวังผา ลำปาง อ.แม่ทะ อ.ห้างฉัตร อ.แจ้ห่ม เชียงใหม่ อ.ฝาง อ.แม่อาย ขอให้ประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ดังกล่าว เฝ้าระวังติดตามสถานการณ์ภัยพิบัติ โดยสังเกตสัญญาณเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติ หากพบสิ่งบอกเหตุ เช่น มีเสียงดังมาจากป่าต้นน้ำ สัตว์ป่าแตกตื่น ระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้นและเปลี่ยนเป็นสีเดียวกับสีดินบนภูเขา ให้รีบอพยพออกจากพื้นที่ไปตามเส้นทางที่ปลอดภัยและพ้นจากแนวการไหลของน้ำ ทั้งนี้ ศอส.ได้สั่งกำชับ 8 จังหวัดเสี่ยงน้ำล้นตลิ่งและ 5 จังหวัดเสี่ยงภัยดินถล่ม จัดเจ้าหน้าที่เฝ้าระวังสถานการณ์อย่างใกล้ชิด เตรียมอุปกรณ์เครื่องมือ และกำลังเจ้าหน้าที่ให้พร้อมปฏิบัติหน้าที่ในทันทีที่เกิดภัย
วันนี้ (22 ส.ค.) นายวิบูลย์ สงวนพงศ์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กล่าวว่า ขณะนี้ยังคงมีสถานการณ์อุทกภัยใน 14 จังหวัด ซึ่งส่งผลให้เส้นทางคมนาคมสัญจรไม่ได้ 14 เส้นทาง ในพื้นที่ 8 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ นครสวรรค์ พิจิตร พิษณุโลก แม่ฮ่องสอน สุโขทัย เพชรบูรณ์ และนครพนม และจากการติดตามคาดหมายลักษณะอากาศ พบว่า แม้ในช่วง 2-3 วันข้างหน้า ปริมาณฝนในภาคเหนือ จะลดลง แต่ปริมาณน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาที่ไหลผ่านจังหวัดนครสวรรค์ ยังมีแนวโน้มอยู่ในเกณฑ์สูงสุด ไม่เกิน 2,300-2,400 ลูกบาศก์เมตร ต่อวินาที ส่งผลให้ระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้นไม่เกิน 30 เซนติเมตร ทำให้ต้องเฝ้าระวังในเขตพื้นที่ลุ่มต่ำริมสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณจังหวัดชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา นอกจากนี้ เนื่องจากยังมีฝนตกหนักใน จ.เชียงราย อย่างต่อเนื่อง ทำให้ระดับน้ำในแม่น้ำโขงตอนบนเพิ่มขึ้น ส่งผลให้พื้นที่ที่อยู่ติดลำน้ำสาขาของลำน้ำโขงตอนบน บริเวณ จ.เชียงราย ยังคงมีน้ำท่วมขังต่อไปอีก และลำน้ำโขงบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือด้านจังหวัดหนองคาย นครพนม มุกดาหาร รวมถึงลำน้ำสาขาของแม่น้ำโขง ได้แก่ ลำน้ำสงคราม ลำน้ำก่ำ ลำน้ำห้วยมุก และ ลำน้ำห้วยแข้ ยังมีระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
นายวิบูลย์ กล่าวต่อว่า ศอส.ได้ประสานแจ้งเตือน 8 จังหวัด ได้แก่ ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา เชียงราย หนองคาย นครพนม และ มุกดาหาร ให้ติดตามสถานการณ์น้ำและเฝ้าระวังน้ำล้นตลิ่งอย่างใกล้ชิด นอกจากนี้ จากการประสานกับกรมทรัพยากรธรณี พบว่า ฝนที่ตกหนักอย่างต่อเนื่องในพื้นที่ภาคเหนือ ทำให้ดินที่ชุ่มน้ำอยู่แล้ว อาจพังถล่มลงมาได้ โดยเฉพาะพื้นที่เสี่ยงภัยบริเวณที่ลาดเชิงเขาใน 5 จังหวัดภาคเหนือ ได้แก่ เชียงราย อ.แม่สาย อ.แม่จัน อ.เทิง พะเยา อ.ปง อ.เชียงคำ อ.จุน น่าน อ.บ่อเกลือ อ.ปัว อ.เฉลิมพระเกียรติ อ.ท่าวังผา ลำปาง อ.แม่ทะ อ.ห้างฉัตร อ.แจ้ห่ม เชียงใหม่ อ.ฝาง อ.แม่อาย ขอให้ประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ดังกล่าว เฝ้าระวังติดตามสถานการณ์ภัยพิบัติ โดยสังเกตสัญญาณเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติ หากพบสิ่งบอกเหตุ เช่น มีเสียงดังมาจากป่าต้นน้ำ สัตว์ป่าแตกตื่น ระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้นและเปลี่ยนเป็นสีเดียวกับสีดินบนภูเขา ให้รีบอพยพออกจากพื้นที่ไปตามเส้นทางที่ปลอดภัยและพ้นจากแนวการไหลของน้ำ ทั้งนี้ ศอส.ได้สั่งกำชับ 8 จังหวัดเสี่ยงน้ำล้นตลิ่งและ 5 จังหวัดเสี่ยงภัยดินถล่ม จัดเจ้าหน้าที่เฝ้าระวังสถานการณ์อย่างใกล้ชิด เตรียมอุปกรณ์เครื่องมือ และกำลังเจ้าหน้าที่ให้พร้อมปฏิบัติหน้าที่ในทันทีที่เกิดภัย