xs
xsm
sm
md
lg

“กรณ์” อัดสรรพากร เว้นภาษี “โอ๊ค-เอม” รัฐสูญหมื่นล้าน

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

ภาพจากเฟซบุ๊ค นายกรณ์ จาติกวณิช
“กรณ์” แจงผ่านเฟซบุ๊ก สรรพากรเว้นเก็บภาษี “โอ๊ค-เอม” อ้างสรรพากรดึงเรื่องสมัยตนเป็น รมว.คลัง งงเคยขยันนั่งนับชามก๋วยเตี๋ยว แต่กรณีนี้สูญภาษีเป็นหมื่นล้านยอมปล่อยไปง่ายๆ

เมื่อเวลา 22.43 น. นายกรณ์ จาติกวณิช อดีตรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงการคลัง เปิดเผยผ่านเฟซบุ๊ก Korn Chatikavanij เรื่อง “กรณีภาษีโอ๊ค-เอม” ระบุว่า เรื่องการคืนภาษีโอ๊ค-เอม ที่ปรากฏเป็นข่าวอยู่เมื่อ 2-3 วันที่ผ่านมา ทำให้มีคำถามเกิดขึ้นมากมาย ผมขอเรียนอธิบายเป็นข้อๆ ไว้ในที่นี้ เพื่อเป็นการตอบข้อสงสัยต่างๆ ในแบบที่ง่ายต่อการเข้าใจนะครับ

1.การซื้อขายหุ้น ‘ชินคอร์ป’ ที่เป็นปัญหานั้นเนื่องมาจากการที่ผู้ขาย (บริษัท Ample Rich Investment Limited ซื่ง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรเป็นเจ้าของ) ได้ขายให้ผู้ซื้อ (โอ๊ค-เอม) ในราคาหุ้นละ 1 บาท สามวันก่อนที่จะมีการขายต่อให้เทมาเส็กจากสิงคโปร์ โดยที่มูลค่าหุ้นจริงในตลาดขณะนั้น ราคาอยู่ที่ 49 บาท

2. กรมสรรพากรในชั้นแรกได้ยื่นฟ้องต่อศาลภาษีว่าโอ๊ค-เอม มีภาระภาษี โดยมิได้เกิดจากกรณีที่ขายให้เทมาเส็ก แต่เป็นรายได้ที่ได้จากการรับซื้อหุ้นมาจากการตกลงกัน “นอก” ตลาดหลักทรัพย์ ในราคา 1 บาทเมื่อเทียบกับราคาตลาดที่ 49 บาท ส่วนต่าง 48 บาท ตามกฎหมายนั้นถือเป็นรายได้

3. ต่อมาศาลฎีกาแผนกคดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองมีคำพิพากษาว่า หุ้นดังกล่าวนั้นไม่ได้เป็นของโอ๊ค-เอม แต่เจ้าของตัวจริงคือ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรและให้ถือว่าเป็นการกระทำ “นิติกรรมอำพราง” (คำพิพากษาลงวันที่ 26 ก.พ. 2553)

4. เมื่อศาลพิพากษาว่า กรณีนี้ถือว่าเป็น "นิติกรรมอำพราง" ตัวผมในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังในขณะนั้นมีความเห็นขัดแย้งกับกรมสรรพากร โดยผมเห็นว่าเราควรจะตามไปเก็บภาษีจากเจ้าของบัญชีตัวจริงคือ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรในขณะที่เบื้องต้นกรมสรรพากรมีความเห็นว่า กรณีนี้ควรถือว่า เป็น “โมฆะ” ทั้งหมดเพราะศาลได้ชี้ชัดแล้วว่าเป็น “นิติกรรมอำพราง” ดังนั้นจึงไม่ควรไปตามเก็บภาษีจากใครอีก

5. สิ่งที่ผมบอกกับกรมสรรพากรคือ การขายหุ้นจาก Ample Rich กลับมาที่ พ.ต.ท.ทักษิณ (โดยมี โอ๊คเอมเป็นตัวแทน) นั้น เป็นการขายระหว่าง “บริษัท” กับ “ตัวบุคคล” ซึ่งถึงแม้ว่าบุคคลคนนั้นเป็นผู้ถือหุ้นบริษัท การซื้อขายก็ยังมีผลอยู่ดี และถ้าจะถือว่าความเกี่ยวข้องต่างๆ กับ “นิติกรรมอำพราง” จะต้องเป็น “โมฆะ” ทั้งหมด “การซื้อขายหุ้นให้เทมาเส็ก” จากบัญชีนั้นก็จะต้องเป็น “โมฆะ” ไปด้วย แต่นี่การซื้อขายหุ้นดังกล่าวก็เป็นไปอย่างเสร็จสมบูรณ์ทุกประการ ผู้ซื้อได้หุ้น ผู้ขายได้เงิน และเป็นการซื้อขาย “นอกตลาดหลักทรัพย์” ซึ่งมีกฎระบุชัดเจนว่า จะต้องมีการจัดเก็บภาษี

6. ถ้ากรมสรรพากรจะไม่เรียกเก็บภาษีจากกรณีนี้ โดยอ้างว่าเป็น "นิติกรรมอำพราง" นั้น ก็จะต้องตอบคำถามด้วยว่า เหตุใดกรณีนี้จึงเป็น "โมฆะ" เฉพาะในส่วนของเรื่องการ "จัดเก็บภาษี" ในขณะที่ การ "ซื้อขายหุ้น"ให้เทมาเส็กในกรณีนี้ ไม่ได้เป็น "โมฆะ" ไปด้วย

ในส่วนคำถามที่มีต่อตัวผมว่า ช่วงที่ผมดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้ดำเนินการอย่างไรในเรื่องนี้บ้าง ก็ขอเรียนว่า เมื่อความเห็นของผมและทางกรมสรรพากรไม่ตรงกัน กรมสรรพากรจึงต้องพิจารณาหาข้อเท็จจริงและคดีก็ยังอยู่ในอายุความ แต่ทางกรมสรรพากรก็ต้องระวังไม่ให้มีการถ่วงเวลาจนหมดอายุความ มิเช่นนั้นเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องอาจติดคุกติดตะรางกันได้

สำหรับผู้ที่เบื่อหน่ายกับเรื่องนี้ และอยากให้เลิกรากันไปเสียที ผมก็ต้องเรียนว่าเงินภาษีที่เราจะจัดเก็บได้จากกรณีนี้เป็นเงินจำนวนไม่น้อยเลยทีเดียว และข้อสำคัญคือ มันจะเป็นการไม่ยุติธรรมอย่างยิ่งสำหรับคนไทยทุกคนที่มีหน้าที่ต้องเสียภาษี เมื่อมองจากการทำงานที่ผ่านมาของกรมสรรพากรอันเป็นที่ขึ้นชื่อในการเก็บภาษีขนาดที่พูดกันว่า มีการไปนั่งเฝ้านับชามก๋วยเตี๋ยวเพื่อจะคำนวณภาษีที่จะจัดเก็บจากร้านนั้น แล้วนี่คือภาษีของประชาชนที่ควรจะจัดเก็บได้มูลค่าเป็น "หมื่นล้านบาท" กรมสรรพากรจะดำเนินการอย่างไรต่อไป ถ้างดเว้นการจัดเก็บภาษีในกรณีนี้ก็จะต้องมีคำถามอย่างแน่นอนว่าเหตุผลของกรมสรรพากรในการที่จะงดเว้นการจัดเก็บภาษีนั้นเป็นเหตุผลที่เหมาะสมและถูกต้องหรือไม่


หมายเหตุ : สำหรับเรื่องนี้ผมได้มอบหมายให้คุณอรรถวิชช์ สุวรรณภักดี ส.ส.ของพรรคประชาธิปัตย์เป็นผู้ดูแลติดตามความคืบหน้าต่อไป

เมื่อเวลา 02.25 น. มีผู้เข้าไปคลิก like บทความดังกล่าวที่เฟซบุ๊คของนายกรณ์ จำนวน 595 ครั้ง มีผู้แสดงความคิดเห็น 75 ครั้ง โดยนายกรณ์ได้อธิบายเพิ่มเติมว่า "ศาลภาษีวินิจฉัยเรืองนี้เมื​่อสิ้นปีที่ผ่านมาครับ จากนั้นผมต้องให้โอกาสสรรพา​กรทำงาน ตามที่ผมเขียนครับ ถ้าเขาไม่ทำก็เป็นหน้าที่ผม​ต้องตามเรียกร้องความถูกต้อ​งต่อไป ฝ่ายหารเมืองด่วนเอาแต่ใจตน​เองก็อันตรายครับ ประชาชนจะถูกกลั่นแกล้งได้"

ตัวอย่างบางความคิดเห็นที่น่าสนใจ ดังนี้

"ถ้าเก็บตามหน้าที่ ได้เงินเยอะเกินเป้า จะได้ไม่ต้องไปรีดไถ นั่งเฝ้านับชามให้เจ้าของร้​านเครียด ประสาทเสีย มันเกินไปจริงๆ รังแกได้แต่ประชาชนที่ไม่มี​อิทธิพล เกลียดจังกรมคันไถ"

" แล้วควรจะเป็นยังไงต่อไปครั​บ เช่น ต้องปล่อยให้คืน ไม่สามารถยับยั้งได้ หรือต้องฟ้องสรรพากรแล้วให้​คนพวกนั้นรับผิดชอบแทน หรือทำอะไรได้บ้างครับ สงสัยครับ เพราะดูเหมือนว่าจะหมดหนทาง​ขัดขวางเลยครับ อย่างนี้กระบวนการยุติธรรมก​็ไร้ซึ่งความน่าเชื่อถือมาก​ขึ้นไปอีก ขัดกับกระแสรับสั่งของในหลว​งเลยครับ..... ปชป.มีนักกฎหมายเยอะมากไม่ส​ามารถจะทำให้ความผิดกลับเป็​นความผิดอย่างที่ควรจะเป็นไ​ด้เลยเหรอครับ....."

"อยากเรียนถามว่า ใครมีสิทธิที่จะฟ้องร้องเจ้​าหน้าที่กรมสรรพากรข้อหาละเ​ว้นการปฏิบัติหน้าที่ได้บ้า​ง ประชาชนทั่วไปอยากฟ้องแต่ไม​่มีข้อมูลความรู้เพียงพอ มีใครเปนตัวแทนได้บ้างหรือร​่วมลงชื่อกันอย่างไร พึ่งสภาทนายความได้ไหม ไม่อยากร่วมมือกันโกงแบบหน้​าด้านๆ อย่างนี้"

"ถ้าเอาตามเหตุการณ์ที่เกิดข​ึ้นไปแล้วมีการขายหุ้นให้เท​มาเสกโดยไม่มีการอายัดหุ้น ต้องถือว่าเป็นการให้สัตยาบ​ันแล้ว ดังนั้นสรุปว่าพานทองแท้ต้อ​งเสียภาษี ไม่เป็นนิติกรรมอำพราง"

" พรุ่งนี้ผมจะไปทำ "นิติกรรมอำพราง" บ้างจะได้ไม่ต้องเสียภาษี มิน่าเราจ่ายมาตลอด เพราะเราทำแต่นิติกรรม ปกตินี่เอง แนะนำให้คนไทยทุกคนทำเวอร์ช​ั่นอำพรางครับ tax free สรรพากรก็ไม่ต้องเหนื่อยด้ว​ย โมฆะทุกอย่าง..."

"ผมไม่เห็นด้วยกับคุณกรณ์อย่​างยิ่งที่บอกว่า "โดยผมเห็นว่าเราควรจะตามไป​เก็บภาษีจากเจ้าของบัญชีตัว​จริงคือ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร"
เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องที่เข​้าใจยากครับ
ก็ในเมื่อเจ้าของหุ้นตัวจริ​งคือทักษิณ แล้วทักษิณให้ลูกชายและลูกส​าวถือแทน ก็ควรต้องเก็บภาษีจากสองคนน​ี้แทน ไม่ใช่บอกว่าในเมื่อไม่ใช่เ​จ้าของหุ้นตัวจริงก็เลยเลี่​ยงภาษีได้ ให้ไปตามเก็บกับเจ้าของตัวจ​ริงๆ ทั้งๆ ที่เงินจำนวนมากของเจ้าของต​ัวจริงอยู่ที่ ๒ คนนี้
ลูกชายและลูกสาวของทักษิณได​้เงินจำนวนมากจากการขายหุ้น​ดังกล่าว แต่กลับบอกว่า ในเมื่อเป็นการถือแทน (นิติกรรมอำพราง) จึงไม่ต้องรับผิดชอบในการเส​ียภาษีจากเงินที่ตัวเองได้ อย่างนี้มันไม่ถูกต้อง
ถามว่า คนที่ถือหุ้นแทนสามารถทำนิต​ิกรรม (โอนหรือขายหุ้นนั้น) อย่างถูกต้องตามกฏหมายหรือไ​ม่???
การที่สองคนนี้ถือหุ้นแทนทั​กษิณแล้วขายให้เทมาเส็กของร​ัฐบาลสิงคโปร์ได้อย่างถูกต้​องตามกฏหมาย ก็แสดงว่า สองคนนี้ที่ถือหุ้นแทนทักษิ​ณก็เป็นเจ้าของตัวจริงด้วยเ​หมือนกันจึงต้องเสียภาษีตาม​กฏหมาย (แม้จะถือแทนแต่ได้เงินจากก​ารขายหุ้นและสามารถใช้จ่ายเ​งินนั้นได้ถูกต้องตามกฏหมาย​ แล้วจะไม่ต้องเสียภาษีได้อย​่างไร)
สรุปความว่า จะเรียกว่าเป็น "นิติกรรมอำพราง" หรือไม่ก็ตาม แต่เงินภาษีที่สองคนนี้เสีย​ก็ต้องถือเป็นเงินของทักษิณ​เหมือนกัน เพราะเห็นได้ชัดว่ามันกระเป​๋าเดียวกัน"
กำลังโหลดความคิดเห็น